วันเต่าโลก World Turtle Day ตรงกับวันที่ 23 พฤษภาคม ของทุกปี มาช่วยกันอนุรักษ์เต่ากันเถอะ จุดประสงค์ของวันเต่าโลกคือ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับเต่า ร่วมปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์เต่า เนื่องจากเต่าเป็นสัตว์ที่มีปริมาณแนวโน้มลดลงทั่วโลก
- วันเลิกทาส 1 เมษายน เรื่องที่คนไทยควรรู้ ?
- วันไวท์เดย์ (White Day) ตรงกับ 14 มีนาคม
- วันสําคัญทางพระพุทธศาสนา มีวันไหนบ้างมาดูกัน
วันเต่าโลก
องค์กร American Tortoise Rescue เป็นองค์ที่มีภารกิจเพื่ออนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล ตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนียประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เล็งเห็นถึงการให้ความรู้ต่อประชาชนเกี่ยวกับ และอยากปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์เต่า จึงได้กำหนดให้วันที่ 23 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น วันเต่าโลก (World Turtle Day) เนื่องจากในทุกวันนี้เต่าเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ
วันเต่าโลกไทย
สำหรับในประเทศไทยเป็นเรื่องเร่งด่วนอย่างยิ่งที่ต้องหันมาร่วมมือกันอนุรักษ์เต่าทะเลด้วยเช่นกัน ซึ่งในน่าน้ำประเทศเราก็มีเต่าทะเลถึง 4 ชนิดอาศัยอยู่ ได้แก่ เต่ากระ , เต่าตะนุ , เต่ามะเฟือง และเต่าหญ้า โดยในทุก ๆ เต่าทะเลเหล่านี้ก็จะล้มตายด้วยหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรือประมงเข้าไปบุกรุกที่อยู่อาศัยของเต่าทะเลมากเกินไป ทำให้ถูกใบพัดเรือฟันกระดองจนตลาด ตลอดจนที่ที่เต่าทะเลใช้สำหรับวางไข่ก็ได้ถูกทำลายและแปรสภาพเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทำให้เต่าไม่สามารถที่จะขึ้นวางไข่ได้ตามปกติ หรือหากวางแล้วลูก ๆ เต่าโอกาสที่จะรอดชีวิตก็มีน้อย
อีกหนึ่งปัญหาที่บรรดาเต่าทะเลต้องเผชิญคือเรื่องของขยะ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำอึ้งเมื่อประเทศติดอยู่ในอันดับ 5 ที่มีการทิ้งขยะลงไปในทะเลมากที่สุด มีการพบเศษพลาสติก โฟม ซากอวนเก่า ๆ ที่กลายเป็นขยะ เป็นสาเหตุที่ทำให้เต่าทะเลเสียชีวิตในอันดับต้น ๆ อีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าเต่าทะเลนั้นกินแมงกะพรุนเป็นอาหาร ถึงแม้ในแมงกะพรุนเองจะมีพิษอยู่ก็ตาม แต่เต่าทะเลมีความสามารถในการสะสมพิษในร่างกายได้อย่างไม่เป็นอันตราย ถึงแม้ว่าเต่าทะเลจะกินแมงกะพรุนตามห่วงโซ่อาหาร แต่ด้วยจำนวนของเต่าที่มีลดน้อยลง แมงกะพรุนจึงยังมีมาก และเป็นอันตรายต่อนักท่องเที่ยวอยู่เช่นเดิม
ทำไมต้องอนุรักษ์เต่า
- ปัจจุบันเต่าเป็นสัตว์ที่มีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ จนถึงขั้นวิกฤติ แม้เต่าจะเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนก็ตาม แต่กลับมีความสามารถในการแพร่ขยายพันธุ์ต่ำ นอกจากนี้การถูกไล่ล่ายังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เต่ามีจำนวนลดลง เนื่องจากเต่าสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหาร ทำเครื่องประดับและเครื่องหนัง ตกแต่งได้ เต่าจึงเป็นสัตว์ที่ถูกไล่ล่าจากผู้แสวงหาผลประโยชน์อยู่เสมอ
- เต่าสามารถกำหนดเพศได้ด้วยอุณหภูมิ แต่ปัจจุบันอุณหภูมิของโลกเกิดความแปรปรวนและเปลี่ยนแปลงไปมาก โลกเริ่มมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เต่ามีอัตราการเกิดเป็นเพศเมียสูงขึ้น นอกจากนี้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ยังส่งผลทำให้เต่าสูญเสียพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การวางไข่อีกด้วย
เต่า
เต่า คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาแล้วกว่า 200 ล้านปี ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า “กระดอง” ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน
เต่าทะเล
เป็นเต่าจำพวกหนึ่งที่ทั้งชีวิตอาศัยอยู่แต่ในทะเลเพียงอย่างเดียว จะขึ้นมาบนบกก็เพียงแค่วางไข่เท่านั้น โดยที่เท้าทั้งสี่ข้างพัฒนาให้เป็นอวัยวะคล้ายครีบ ซึ่งเต่าทะเลทั่วโลกปัจจุบันมีทั้งหมด 7 ชนิด ใน 2 วงศ์ 5 สกุล ได้แก่
- เต่าหัวค้อน (Caretta caretta)
- เต่าตนุ (Chelonia mydas)
- เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea)
- เต่ากระ (Eretmochelys imbricata)
- เต่าตนุหลังแบน (Natator depressus)
- เต่าหญ้าแอตแลนติก (Lepidochelys kempii)
- เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea)
โดยที่เต่ามะเฟืองเป็นเต่าทะเลและเป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งในน่านน้ำไทยพบได้ถึง 5 ชนิด ไม่พบเพียง 2 ชนิดคือ
- เต่าตนุหลังแบน
- เต่าหญ้าแอตแลนติก
เต่าในประเทศไทย
- เต่ากระอาน (Batagur baska)
- เต่าลายตีนเป็ด (Callagur borneoensis)
- เต่าหับ (Cuora amboinensis) (มี 4 ชนิดย่อย)
- เต่าห้วยเขาบรรทัด (Cyclemys artipons)
- เต่าใบไม้ (Cyclemys dentata)
- เต่าห้วยคอลาย (Cyclemys tcheponensis)
- เต่าหวาย (Heosemys grandis)
- เต่าจักร (Heosemys spinosa)
- เต่าบัว (Hieremys annandalei)
- เต่าเหลือง (Indotestudo elongata)
- เต่านาหัวใหญ่ (Malayemys macrocephala)
- เต่านาอีสาน (Malayemys subtrijuga)
- เต่าหก (Manouria emys) (มี 2 ชนิดย่อย)
- เต่าเดือย (Manouria impressa)
- เต่าปากเหลือง (Melanochelys trijuga)
- เต่าทับทิม (Notochelys platynota)
- เต่าปูลู (Platysternon megacephalum) (มี 3 ชนิดย่อย)
- เต่าจัน (Pyxidea mouhotii)
- เต่าดำ (Siebenrockiella crassicollis)
- เต่าแก้มแดง (Trachemys scripta elegans)