โซเชียล

สรุปเรื่องราว ไผ่ทองไอศครีม เลือดข้นไอติมจาง

ไทม์ไลน์ ไผ่ทอง

  • 2493 อากง ซีกิมเช็ง เริ่มออกเร่ขายไอติม
  • 2498 อากงแต่งงานกับอาม่าน้ายเฮียง และเริ่มต้นธุรกิจไอศครีม
  • 2506 – 2527 เปิดโรงงานอย่างเป็นทางการครั้งแรกโดยใช้ชื่อว่า โรงงานไอสครีม ซีกิมเชง ตราหมีบิน ตั้งอยู่ที่ถนนดำรงรักษ์แห่งแรก
  • 2514 – 2527 เปิดโรงงานเพิ่มอีก 1 แห่งที่ถนนเจริญรัถ และใช้ชื่อไอสครีมตรมหมีบิน เช่นกัน
  • 2526 ย้ายโรงงาน จากถนนดำรงรักษ์ และถนนเจริญรัถ มาอยู่บ้านเลขที่ 964/4 และก่อตั้งยี่ห้อ ไผ่ทองไอสครีม ซึ่งมาจากชื่อผู้คิดค้น คือ คุณสุณี ชัยผาติกุล เป็นผู้ก่อตั้งชื่อ และประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าร่วมกับ นายปรีชา ชัยผาติกุล
  • 2535 logo แบบที่ 2
  • 2538 กลางเดือนกุภาพันธ์ 2538 นายบุญชัย ลูกชายคนเล็กหนี้ออกจากบ้าน และขาดการติดต่อไปหลายปี ต่อมาได้กลับมาขอขมา พ่อ-แม่ เพื่อกลับเข้ามาในครอบครัวเมื่อกลางปี 2544
  • 2541 เนื่องจากมีการเพิ่มจำนวนของสาขาและกำลังผลิตไม่พอ จึงย้ายโรงงานอีกครั้งมาอยู่ที่ เลขที่ 151, 153 หมู่ 5 ถนนพุทธมณฑล สาย 5 (สมุทรสาคร) และจัดตั้ง “หจก. ไผ่ทองซีกิมเช็ง” ซึ่งเป็นบิดา และมีนายกิมเช็ง โดยมีนายเฮียง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของ หจก.ไผ่ทองซีกิมเช็ง
  • 2542 นายกิมเซ็ง แซ่ซี นางน้ายเฮียง และ นายปรีชาขออนุญาต นางสาวสุณี (สิริณัฐ) เจ้าของเครื่องหมายการค้าไผ่ทองไอสครีมไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดย นายปรีชา ชัยผาติกุล เป็นผู้ดำเนินการ จดเครื่องหมายการค้า ไผ่ทองไอสครีมที่มีโลโก้ต้นไผ่ ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า แต่ติด เหมือน คล้าย กับ เครื่องหมายการค้าของน้ำปลาตราไผ่ทอง จึงปรับให้เป็นสากลมากขึ้น (โลโก้เก่า) ได้รับจดทะเบียนเครื่องหมาย และ ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2542 จนถึงปัจจุบัน
  • 2561 ต้นปี ได้เกิดเหตุการณ์ ไผ่ทองปลอม ขายทับซ้อนในหลายเขตพื้นที่จึงให้ทนายตรวจสอบ และ ดำเนินคดีต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
    ปุจจุบัน เดือนพฤษภาคม 2561 ได้ปรับ Logo ให้ทันสมัยมากขึ้น
ไผ่ทองไอสครีม 1
ไผ่ทองไอสครีม 2

ฟังความจาก ไผ่ทองไอสครีม

ไผ่ทองไอสครีม

ไผ่ทองไอสครีม ก่อตั้งมา 68 ปี จากรุ่นพ่อแม่ ปัจจุบันคุณแม่น้ายเฮียง แซ่ซี อายุ 82 ปี ยังดูแลธุรกิจ โดยก่อนหน้านั้นลูก ๆ 8 คนก็ช่วยกันทำงาน ลักษณะเป็นกงสี แต่ต่อมาลูกคนที่ 6 คือ พี่บุญชัย ได้ออกจากบ้านไปตั้งแต่ปี 2535 ไปทำธุรกิจหลากหลาย จนล่าสุดทราบว่าไปทำธุรกิจไอศกรีม ภายใต้ชื่อ และ โลโก้คล้ายกัน ชื่อต่างกันที่ตัวสะกด ที่ของพี่บุญชัยใช้ชื่อ ไผ่ทองไอศครีม เพราะมีลูกค้าโทรมาถามถึงเรื่องคุณภาพ และการส่งขาย โดยที่ทางบ้านไม่ทราบ เพราะไม่ได้ติดต่อกับพี่บุญชัยมานานหลายปี

Advertisement

  • คนทำแบรนด์ ศ (ไผ่ทองไอศครีม) คือลูกชายคนที่ 6 หนีออกจากบ้านไปตั้งแต่ปี 38
  • ที่ออกมาพูดเพราะมีคนไปด่า ส (ไผ่ทองไอสครีม) เสือว่าไอติมอร่อยน้อยลง เขาเลยอยากบอกคนอื่นว่าที่กินอะไม่ใช่ของเขา
  • แบรนด์ ส (ไผ่ทองไอสครีม) คืออยู่กันเป็นกงสี 8 พี่น้อง (ยกเว้นคนที่ 6) ทำกันแค่ในครอบครัวไม่ดราม่า
  • แบรนด์ ส (ไผ่ทองไอสครีม) เพิ่งเอาออกตอนปี 42 เพราะงั้นที่เราเคยกินไผ่ทองที่มีไผ่ก็คือของแท้ เพราะเพิ่งเปลี่ยนโลโก้
  • ที่เปลี่ยน Logo เพราะตอนจะจดทะเบียนการค้าเจอน้ำปลาตราไผ่ทอง แล้วเขาใช้ต้นไผ่เหมือนกันเลยเปลี่ยนโลโก้ไม่ใช่ต้นไผ่แล้ว
  • อาม่าอยู่กับแบรนด์ ส (ไผ่ทองไอสครีม) และเป็นคนฟ้องแบรนด์ ศ (ไผ่ทองไอศครีม)
  • ที่แบรนด์สะกดชื่อเป็น ไอสครีม แทนที่จะเป็น ไอศกรีม (คำที่ถูกต้องตามราชบัณฑิต) เพราะลูกสาวคนนึงของตระกูลไม่ชอบ ศ คิดว่า ศ ให้ความรู้สึกเศร้า ส เสือมันดูแข็งแรง เข้มแข็ง แล้วตัวเขาชื่อว่าสุนีย์ เขาเลยตั้งใจให้สะกดด้วย สเสือ

ฟังความจาก ไผ่ทองไอศครีม

ไผ่ทองไอศครีม

นายบุญชัย ชัยผาติกุล วัย 54 ปี ในฐานะลูกคนที่ 6 เป็นลูกที่สืบสานธุรกิจจากพ่อ หลังจากปี 2526 พ่อแบ่งมรดกให้ลูกชาย 2 คนของครอบครัว จากพี่น้องทั้งหมด 8 คน ที่เป็นหญิง 6 คน

  • พี่ชายคนโตได้เลือกก่อนว่าจะเอาทรัพย์สินใด ตอนนั้นพี่ชายไม่เลือกธุรกิจไอติม และยังเป็นโรงงานแค่บ้านเช่า พี่ชายเลือกทรัพย์สินไปแล้ว
  • พ่อถามผมว่าจะเอาโรงงานไอติมไหม ถ้าไม่เอา ก็จะปิดโรงงาน ตอนนั้นอายุ 17-18 ปี แต่ก็รับ และก็เริ่มทำงานที่โรงงาน ตอนนั้นทำงานตั้งแต่ตี 4 ถึงเที่ยงคืน เหนื่อยมาก
  • เวลาผ่านไปกิจการรุ่งเรือง ขยายกิจการ จนมาซื้อตึกทำโรงงานที่สะพานขาว เป็นเจ้าของโรงงานไผ่ทองไอศครีม ตั้งแต่ปี 2530 จนปี 2538 แม่มายึดกิจการ
  • เมื่อแม่มายึด ก็ต้องไปทำมาหากินอย่างอื่น แม่พยายาม ให้โอนชื่อโรงงานให้แม่ แต่ นายบุญชัย ไม่โอน กิจการก็เอาไปแล้ว ทำไมต้องยึดบ้าน
  • แม่บอกให้โอนมา ยอมรับว่าพูดแรงออกไป ว่า รอผมตายก่อน นับตั้งแต่วันนั้น เลยไม่คุยกัน เพราะการพูดคำว่าตายสำหรับคนจีนถือว่าแรงมาก
  • เมื่อยึดโรงงานไม่ได้ แม่และพี่ ๆ จึงย้ายเครื่องจักร ไปเปิดที่อื่น ส่วนตัวเองก็กลับมาที่โรงงานเก่าปลายปี 2541 และพยายามหาทุนมาฟื้นโรงงาน เปิดใหม่ได้อีกที เมื่อปี 2543
  • ปลายปี 2559 พี่ชายคนโตยังนัดไปคุยกันที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งที่สยามพารากอน เพื่อหาทางปรองดองกันคุยกันจบด้วยดี ทั้งเรื่องการฟื้นสัมพันธ์ครอบครัว สัญญาว่าจะนัดกินข้าวกันเดือนละครั้ง หรือแม้แต่ในแง่ธุรกิจ สัญญาที่จะไม่แข่งขันเอง ไม่เล่นสงครามราคากันเอง แต่สุดท้ายการคุยกันวันนั้นไม่มีอะไรสานต่อ จนต้นปี 2561 ก็ได้รับคำฟ้อง ที่แม่ฟ้องผม เรียกค่าเสียหาย ที่นำแบรนด์ไผ่ทองไปใช้
[tds_council]เป็นเรื่องเศร้าใจที่เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งในครอบครัวแบบนี้ และในฐานะที่ถูกแม่ฟ้อง ก็ถือว่าวิกฤตินี้ เป็นโอกาสดี ที่เข้าสู่กระบวนรอศาลตัดสิน ซึ่งดีกว่าการจบลงด้วยการใช้กำลัง ทำร้ายกัน ไม่เช่นนั้นรุ่นลูกรุ่นหลานต่อๆ ไปจะขัดแย้งกันไม่จบ[/tds_council]

ที่มา – @aiy_iye , ไผ่ทองไอสครีม

Advertisement

Advertisement

Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button