โซเชียล

ขอทานออนไลน์ ก็ติดคุกได้

จากกรณีที่ชาวเน็ตวิจารณ์กระหึ่ม เมื่อหญิงสาวคนหนึ่งชื่อ “ทับทิม กรพิน” โพสต์ในเฟซบุ๊ค ทับทิม กรพินธุ์ ขอให้ผู้ติดตามในเฟซบุ๊คของตัวเองช่วยกันบริจาคเงินให้คนละ 1 บาท เพื่อนำไปจ่ายค่าผ่อนรถเบนซ์ โดยมีคนโอนเงินไปให้จริงๆ จนมีการติดแฮชแท็ก #ขอทานยุค2018

ทับทิม กรพิน โพสต์ขอเงิน

ทับทิม กรพิน

ทับทิม กรพิน ระบุว่า “เพื่อนๆในเฟสและผู้ติดตามอีก 30,000 กว่าคน ทับทิมมีเรื่องให้ช่วยคะ ขอคนละ 1 บาทได้มั้ยค่ะ ช่วยทับทิม ผ่อนรถเดือนนี้หน่อย (เลขบัญชี) กสิกร (ชื่อบัญชี) #โครงการปันน้ำใจคนละ 1 บาท #ใครไม่ชอบปล่อยผ่านนะค่ะไม่ต้องคอมเม้นต์ด่า ข่วยแชร์หน่อยนะค่ะ

ขอทานออนไลน์ ติดคุก

ประเทศไทยเรามีกฎหมายห้ามขอทานแล้ว โดยเป็นพระราชบัญญัติ ควบคุมขอทาน พ.ศ. 2559 ซึ่งในมาตรา 13 ระบุว่า ห้ามบุคคลใดทำการขอทานการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการขอทาน

  1. การขอเงินหรือทรัพย์สินจากผู้อื่นเพื่อเลี้ยงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการขอด้วยวาจา ข้อความ หรือการแสดงกิริยาอาการใด
  2. การกระทำด้วยวิธีการใดให้ผู้อื่นเกิดความสงสารและส่งมอบเงินหรือทรัพย์สินให้

มาตรา 19 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 13 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทีนี้ก็ต้องมาดูว่า การขอทานในโซเชียล เป็นการขอเงินเพื่อเลี้ยงชีวิตรึเปล่า ถ้าไม่เอามาเลี้ยงชีวิต ก็ต้องดูว่า เป็นการทำให้คนอื่นเกิดความสงสารเลยโอนเงินให้หรือไม่ นอกจากนั้น การขอเงินที่บอกว่าจะเอาไปซื้อข้าวกินแล้วไม่ทำตาม หรือหลอกลวง ก็อาจจะเข้าข่ายฉ้อโกงประชาชนได้ อีกอย่างนึง รายได้ที่มาจากการขอทาน อาจต้องเสียภาษีด้วย ซึ่งต้องดูเป็นกรณีไป

Advertisement

สรุป ผู้ใดขอทาน มีโทษสูงสุด คุก 1 เดือน ปรับ 1 หมื่น

ที่มา – สายตรงกฎหมาย

Advertisement

กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button