หลายคนอาจจะสงสัยว่า สามกีบ มาจากไหน คืออะไร สำหรับกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่ใช้เรียกคนเห็นต่างทางความคิด
สามกีบ
สามกีบ คือ กลุ่มเสรีนิยม มองทางโลกซึ่งตั้งอยู่บนความคิดเสรีภาพและความเสมอภาค ยอมรับมุมมองหลากหลายขึ้นอยู่กับความเข้าใจหลักการเหล่านั้น แต่โดยทั่วไปสนับสนุนความคิดอย่างเสรีภาพในการพูด เสรีภาพสื่อ เสรีภาพทางศาสนา ตลาดเสรี สิทธิพลเมือง รัฐบาลฆราวาส ความเสมอภาคทางเพศและการร่วมมือระหว่างประเทศ
สามกีบสำหรับกลุ่มอนุรักษ์นิยม หมายถึง ผู้ไม่ฟังเหตุผล ผู้ไม่ฟังข้อเท็จจริง เป็นพวกชังชาติ ที่โดนจูงจมูกได้ง่าย
ประชาธิปไตยเสรีนิยม
ประชาธิปไตยเสรีนิยม หรือ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม (Liberal democracy) หรือบ้างเรียก ประชาธิปไตยแบบตะวันตก เป็นทั้งคตินิยมทางการเมืองและระบอบการปกครองรูปแบบหนึ่ง ที่การปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนจะดำเนินการใต้หลักเสรีนิยม คือ การพิทักษ์สิทธิของปัจเจกบุคคล ซึ่งโดยทั่วไปจะระบุไว้ในกฎหมาย ระบอบมีลักษณะเฉพาะ คือ
- มีการเลือกตั้งที่เที่ยงตรงยุติธรรม เสรี และมีการแข่งขันระหว่างพรรคการเมืองหลายพรรคที่แยกจากกันอย่างชัดเจน
- มีการแยกใช้อำนาจแบ่งออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ
- ใช้หลักนิติธรรมในชีวิตประจำวันโดยเป็นส่วนของสังคมเปิด (ผู้สนับสนุน สังคมเปิด [Open Society] กำหนดว่าเป็นสังคมที่ไม่เก็บความลับเรื่องที่ควรเป็นสาธารณะ คือประชาชนสามารถรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมด โดยเสรีภาพทางการเมืองและสิทธิมนุษยชน จะเป็นหลักของสังคมเปิด รัฐบาลจะต้องตอบสนองต่อความต้องการและเปิดรับความแตกต่างของประชาชน กลไกทางการเมืองต้องโปร่งใสและยืดหยุ่นได้ เป็นสังคมตรงข้ามกับระบอบเผด็จการ)
- คุ้มครองสิทธิมนุษยชน สิทธิพลเมือง เสรีภาพพลเมือง และเสรีภาพทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกันสำหรับทุกคน
อนุรักษนิยม
อนุรักษนิยม (Conservatism) หมายถึง คนที่อยากจะเก็บรักษาระบบความสัมพันธ์ทางสังคม, วัฒนธรรม, การเมืองหรือเศรษฐกิจอย่างเดิมไว้ให้คงอยู่ต่อไป ส่วนพวก “ขวา” นั้น หมายถึงคนที่มีกิจกรรมทางการเมือง นับตั้งแต่ร่วมเดินขบวน, เป่านกหวีด, ขัดขวางการเลือกตั้ง ฯลฯ โดยไม่ได้ซาบซึ้งกับคุณค่าทางวัฒนธรรมหรือสังคมที่ผ่านมาอย่างจริงจัง เช่น ไม่ชอบฟังเพลงไทย ได้แต่เคารพกราบไหว้แล้วก็รีบปิดวิทยุเสีย พวกนี้กลัวสิ่งใหม่ที่ตัวไม่คุ้นเคย หวาดระแวงกับความเปลี่ยนแปลง และร่วมกิจกรรมทางการเมืองก็ด้วยเหตุนั้น – นิธิ เอียวศรีวงศ์
ทิ้งท้าย
ไม่ควรมองข้ามความเป็นคนเพียงเพื่อต้องการกำจัดความคิดที่ไม่เหมือนฝ่ายตนเพียงเท่านั้น ไม่มีใครสมควรถูกทำร้ายเพียงเพราะความคิดที่ตรงกันข้าม
การเห็นต่างไม่ใช่เรื่องผิดเพราะ ด้วยความคิดที่ผิดแปลกแตกต่างกันอาจนำมาซึ่งผลลัพธ์หรือทางออกที่ดีได้ แต่ความเห็นต่างที่คิดริเริ่มความรุนแรงควรหมดไปจากสังคม เพราะเป็นที่มาของความวุ่นวายที่ไม่รู้จบ