ข่าว

กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศ ฤดูหนาวในประเทศไทย 2561

กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศให้ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561 โดยอุณหภูมิต่ำสุดบริเวณประเทศไทยตอนบนลดลงอยู่ในเกณฑ์อากาศหนาวเย็นเกือบทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับลมชั้นบนระดับล่างเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือหรือลมตะวันออก ส่วนลมชั้นบนระดับบนเปลี่ยนเป็นลมตะวันตก รวมทั้งปริมาณและการกระจายของฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนลดลงอย่างต่อเนื่อง สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไป

Advertisement

ฤดูหนาวเดือนไหน 2561
ฤดูหนาว 2561

ลักษณะของฤดูหนาว

ฤดูหนาว (ภาษาอังกฤษ: Winter) เป็นฤดูที่มีอากาศหนาวที่สุดในปี ฤดูหนาวในเขตอบอุ่นและเขตหนาวของซีกโลกเหนือ โดยทั่วไปจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน ถึง 28 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ในระยะนี้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือได้พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไป อากาศจะหนาวเย็น ยกเว้นภาคใต้ของประเทศไทยอุณหภูมิจะลดลงได้บ้างเป็นครั้งคราวและจะมีฝนตกตามชายฝั่งทะเลตะวันออก ตั้งแต่ชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส

ความสำคัญของฤดูหนาว

ช่วงฤดูหนาวในประเทศไทย ประชาชนจะนิยมท่องเที่ยวในเขตภาคเหนือ บริเวณแถบที่สูงและภูเขา เช่น เที่ยวชมทิวทัศน์บนดอยต่างๆ ชมอุทยานพรรณไม้ฤดูหนาว มีทะเลหมอกท่ามกลางอากาศหนาวเย็น หากอุณภูมิต่ำมากๆ ถึง 1 องศาเซสเซียสจะมีโอกาสได้ชมแม่คะนิ้งหรือน้ำค้างแข็ง ซึ่งปัจจุบันมีการจัดสถานที่ท่องเที่ยวช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นที่นิยมมาก นอกจากนี้ยังมีประเพณีของไทยที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศหนาวเย็นในช่วงนี้ด้วย อาทิเช่น

ประเพณีตีคลีไฟ ในช่วงฤดูหนาวหลังออกพรรษา ใช้หลักการเล่นคล้ายคลึงกับการเล่นฟุตบอล คือ ใช้ไม้ตีลูกคลีส่งต่อ ๆ กัน และพยายามตีให้เข้าประตูฝ่ายตรงข้าม

Advertisement

ประเพณีให้ทานไฟ จัดขึ้นโดยชาวบ้านจะเตรียมไม้ฟืน ถ่าน หรือเตาไฟ สำหรับก่อให้เกิดความร้อนและความอบอุ่น และแบ่งปันให้แก่พระสงฆ์ บางแห่งนิยมใช้ไม้ฟืนหลายอันมาซ้อนกันเป็นเพิงก่อไฟ แล้วนิมนต์พระสงฆ์มานั่งผิงไฟ เพื่อให้เกิดความอบอุ่นทั้งพระสงฆ์และชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียง และมีการทำขนมนมที่ปรุงโดยใช้ไฟแรงและเป็นขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมเบื้อง ขนมครก ขนมครกข้าวเหนียว ข้าวเกรียบปากหม้อ เป็นต้น

ข้อดีของหน้าหนาว

1. ลดอาการเจ็บปวด

เพราะอากาศเย็น ๆ จะทำให้ฮอร์โมนนอร์อะดรีนาลีน ในร่างกายพุ่งขึ้นถึง 3 เท่าเลยทีเดียว และยังทำให้หลอดเลือดแดงเล็กที่ไปเลี้ยงอวัยวะภายในต่าง ๆของร่างกาย เกิดการบีบตัวทำให้ ความดันเลือดสูงขึ้น จุดไหนที่มีอาการเจ็บปวดก็จะค่อย ๆ มีเลือดไปเลี้ยง จึงทำให้อาการเจ็บปวดลดลง

2. ลดอาการอักเสบ

ไม่เพียงความหนาวจะช่วยลดความรุนแรงของอาการเจ็บปวดได้เท่านั้น อากาศเย็นยังสามารถลดอาการอักเสบ โดยเฉพาะการอักเสบของข้อ และลดอาการบวมแดงของแผล ได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้หากอากาศเย็นมากเกินไปก็ไม่ดีเหมือนกันนะ

3. ออกกำลังกายได้นานขึ้น

เมื่อร่างกายเจอกับอากาศเย็น พลังงานในร่างกายจะสูงขึ้นจึงมีพลังที่ใช้ในการออกกำลังกายได้นานขึ้น หรือ อึดขึ้นกว่าตอนออกกำลังกายในช่วงฤดูอื่น ดังนั้นหากปกติคุณเป็นคนที่ขี้เกียจออกกำลังกาย การเลือกฤดูหนาวเป็นช่วงออกกำลังกายก็จะเหมาะมากเลยล่ะ

4. ร่างกายสามารถเบิร์นแครอลี่ได้ดีกว่าเดิม

นอกจากอากาศหนาว จะช่วยทำให้สามารถออกกำลังกายได้นานขึ้นแล้ว ฤดูหนาวที่มีอากาศเย็น ๆ ยังทำให้ไขมันสีน้ำตาลหรือบราวน์แฟต ซึ่งเป็นไขมันที่มีอยู่ในร่างกายที่ทำหน้าที่เผาผลาญไขมันที่ถูกเก็บสะสมไว้เป็นพลังงานความร้อน สำหรับให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย จะทำงานได้ดีมากขึ้น จึงเท่ากับว่าร่างกายจะมีโอกาสได้ใช้พลังงานเผาผลาญไขมันสะสมมากขึ้นนั่นเอง

5. พาหะนำโรคลดลง

เพราะอากาศหนาวยุงลายหรือพาหะของโรคติดต่อหลายชนิดมักสู้ไม่ไหว และไม่เหมาะสมในการขยายพันธุ์ ยิ่งเป็นเชื้อโรคหรือแบคทีเรียที่ชอบความชื้นมากๆ พอเจอสภาพอากาศแห้ง ๆ ของฤดูหนาวก็ทำอะไรไม่ได้ ดังนั้นช่วงฤดูหนาวจึงเป็นช่วงปลอดภัยต่อพาหะนำโรคพอสมควร

แต่ก็ใช่ว่าจะชะล่าใจมาก เพราะถึงแม้พาหะพาเชื้อโรคอย่างยุงและแมลงจะลดน้อยลงก็จริง แต่แมลงวัน และเชื้อโรคอีกหลายชนิดที่ชอบอากาศเย็น ๆ ก็มีอยู่บ้าง จึงมีความจำเป็นที่ต้องดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี ด้วย

6. สุขภาพจิตดีขึ้น

เพราะหน้าที่ผ่านมาต้องเจอกับอากาศร้อนและความเปียกแฉะของฤดูฝนมาโดยตลอด พอมาถึงหนาว จึงได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ต้นไม้ใบหญ้าเปลี่ยนสี อากาศเย็นๆที่เหมือนอยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา แถมยังได้ใส่เสื้อผ้าสวยๆป้องกันความหนาวที่ดูแปลกตาได้อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เป็นโอกาสที่ดีที่สุดต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่จะดีขึ้นเลยทีเดียว

Advertisement

Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button