นายกฯ ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือที่เราเรียกกันว่า เคอร์ฟิว คุมโควิด-19 เริ่มใช้ 26 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 หวังระงับการระบาดโควิด-19 (COVID-19)
พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คือ
พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คือ กฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษแก่รัฐบาลในการควบคุมสถานการณ์ที่อาจกระทบต่อ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ เพื่อความปลอดภัยของประเทศ
เคอร์ฟิว คือ
เคอร์ฟิว คือ การประกาศห้ามประชาชนออกจากเคหสถานในบริเวณพื้นที่ที่กำหนด ตามระยะเวลาที่ระบุไว้อย่างชัดเจน และ จะเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ภายใต้บังคับของกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงอื่นๆ ในเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะไม่ปกติ เช่นอยู่ในภาวะสงครามหรือมีเหตุกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐอย่างรุนแรง
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโควิด-19
โดยที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายและเป็นอันตรายอย่างมากต่อชีวิตของผู้ได้รับเชื้อ ประกอบกับในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคทั้งยังไม่มียารักษาโดยตรง จึงมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศให้การระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการระบาดใหญ่ และขอให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดเด็ดขาดยิ่งขึ้่น การระบากของโรคดังกล่าวจึงเป็นสถารการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชนซึ่งต้องใช้มาตรการเข้มงวด และเร่งด่วนเพื่อควบคุมมิให้โรคแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง ประกอบกับมีการกักตุนสินค้าจำเป็นต่อการเฝ้าระวังและควบคุมติดตามการระบาด การป้องกัน และการรักษาโรค ตลอดจนการกักตุนเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชน ซึ่งต้องไม่ให้เกิดภาวะขาดแคลนอันจะเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน กรณีจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของประชาชน และการดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชดำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร สำหรับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปควบคู่กัน
ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2563
สาระสำคัญของข้อกำหนดภายใต้ประกาศฉบับนี้ ได้แก่
- ห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง
- ปิดสถานที่เสี่ยง (ดำเนินการไปแล้วบางส่วน)
- ปิดช่องทางเข้าประเทศ
- เสนอข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้สูงวัย คนป่วย และเด็ก
- ห้ามกักตุนสินค้า -ขึ้นราคาสินค้าโดยไม่มีเหตุผล
- ห้ามเสนอข่าวบิดเบือน
ข้อแนะนำการปฏิบัติ
- หากไม่จำเป็นให้อยู่บ้าน โดยเฉพาะผู้ที่อายุมากกว่า 70 ปี, เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและผู้มีโรคประจำตัว
- งดการเดินทางข้ามเขตจังหวัด หากจำเป็นจะทำการตรวจคัดกรองก่อน
- พกบัตรประชาชนติดตัวตลอด
ประกาศเคอร์ฟิวโควิด-19
ตามที่ได้ประกาศสถานณ์การฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรและได้ออกข้อกำหนด (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 แล้วนั้น
เพื่อให้มีมาตรการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงได้โดยเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถารการณ์ฉุกเฉิน 2548 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 22.00 นาฬิกา ถึง 04.00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่มีความจำเป็นหรือเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ การธนาคารการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตการเกษตร ยา เวชพภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ หนังสือพิมพ์ การขนส่ง น้ำมันเชื้อเพลิง การขนส่งพัสดุภัณฑ์ การขนส่งสินค้าเพื่อนการนำเข้าหรือส่งออก การขนย้ายประชาชน ไปสู่ที่เอกเทศเพื่อกักกันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ การเข้าออกเวรทำงานผลัดกลางคืนตามปกติหรือการเดินทางมาจากหรือไปยังท่าอากาศยาน โดยมีเอกสารรับรองความจำเป็นหรือเอกสารเกี่ยวกับสินค้าหรือการเดินทาง และมีมาตรการป้องกันโรคตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 1) หรือเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งต่าง ๆ ของทางราชการ หรือมีเหตุจำเป็นอื่น ๆ โดยได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ผู้ใดฝ่าฝืนข้อนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ตามมาตรา 18 แห่งพระนสชกำหนดบริหารราชการในสถารการณ์ฉุกเฉิน 2548
ข้อ 2 ในกรณีที่มีการประกาศหรือสั่ง ห้าม เตือนหรือแนะนำในลักษณะเดียวกับข้อ 1 วรรคหนึ่ง สำหรับจังหวัด พื้นที่หรือสถานที่ใดโดยกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่เข้มงวดหรือเคร่งครัด กว่าข้อกำหนดนี้ให้ปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้นต่อไปด้วย
ข้อ 3 ในกรณีที่ไม่อาจเคลื่อนย้ายบุคคลใดซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทางเพื่อออกไปนอกราชอาณาจักรได้ ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครจัดที่เอกเทศเพื่อควบคุมหรือกักกันบุคคลดังกล่าวเพื่อป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนด
ข้อแตกต่างของ พ.ร.บ. ความมั่นคง กับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
หัวข้อ | พ.ร.บ.ความมั่นคง | พ.ร.ก.ฉุกเฉิน |
ประชาชนสามารถฟ้องร้องเอาผิดเจ้าหน้าที่ | ได้ | ไม่ได้ |
อนุญาตให้มีการชุมนุม | ได้ | ไม่ได้ |
การปิมล้อม-ตรวจค้น-จับคุม ของเจ้าหน้าที่ | ไม่ได้ | ได้ |
การายงาน รัฐสภา และเปิดให้ รัฐสภาสอบถาม | ต้องทำ | ไม่ต้องทำ |
การฟ้องร้องเอาผิด เจ้าหน้าที่ | ได้ | ไม่ได้ |
สามารถจับกุมตัว โดยไม่ต้องมีหมายจับ | ไม่ได้ | ได้ |
สามารถตรวจสอบการสื่อสาร ทุกรูปแบบ | ไม่ได้ | ได้ |
สามารถออกคำสั่ง เรียกตัวบุคคล ยึดหรืออายัด อาวุธ สินค้า ตรวจค้น รื้อถอน ทำลาย สิ่งปลูกสร้าง | ไม่ได้ | ได้ |
การเคอร์ฟิวในอดีตที่ผ่านมา
- การประกาศเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 โดยนายกรัฐมนตรีสุจินดา คราประยูร ในช่วงเหตุการณ์ชุมนุมขับไล่นายกรัฐมนตรี
- การประกาศเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 โดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในช่วงการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลาประมาณสามเดือน
- การประกาศเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2550 โดยแม่ทัพภาคที่สี่ประกาศห้ามออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 20.00 น. ถึงเวลา 04.00 น. ในเขตท้องที่ อำเภอยะหา และอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา หลังจากมีเหตุลอบวางระเบิดและลอบยิงประชาชนอย่างต่อเนื่อง
ข้อห้ามตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ม.9) (ในอดีต)
- ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด
- ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกันฃ
- ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่นใดที่มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร
- ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือยานพาหนะ
- ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ
- ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัย
อำนาจเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ม.11) (ในอดีต)
- มีอำนาจจับกุม ควบคุมบุคคลต้องสงสัย
- มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคล ต้องสงสัยมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่
- มีอำนาจออกคำสั่งยึด อายัดอาวุธ
- มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ทำลาย
- มีอำนาจออกคำสั่งตรวจสอบ สั่งพิมพ์ การสื่อสารด้วยวิธีต่าง ๆ
- ห้ามมิให้กระทำ หรือให้กระทำการใด ๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษา-ความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศและประชาชน
- มีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกจากราชอาณาจักร
- มีอำนาจสั่งการ ให้คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักรในกรณีเป็นผู้ต้องสงสัย
- การซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ใด ๆ ซึ่งอาจใช้ในการก่อการร้าย ต้องได้รับอนุญาตเจ้าหน้าที่
- ออกคำสั่งให้ทหารช่วยเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครองหรือตำรวจระงับเหตุร้ายแรง