เป็นธรรมดาในชีวิตที่ของคนเราที่สักครั้งต้องพบเจอกับความตาย และหากคน ๆ นั้นเป็นคนในครอบครัว จะมีวิธีจัดการมรดก และทรัพย์สมบัติอย่างไร และหากผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ ทายาทจะต้องดำเนินการอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
มรดก
มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ กฎหมายมรดกมีไว้เพื่อให้การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้ตายเป็นไปอย่างยุติธรรม
พินัยกรรม
พินัยกรรม คือ เอกสารทางกฎหมายที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นเอกสารในการกำหนดการจัดการทรัพย์สินของผู้ตาย การทำพินัยกรรมยังช่วยให้ผู้ทำพินัยกรรมสามารถจัดการทรัพย์สินของตัวเองได้อย่างอิสระ และเป็นไปตามความประสงค์ของผู้ทำ อีกทั้งยังช่วยป้องกันปัญหาหรือข้อพิพาทระหว่างทายาท หลังจากการที่ผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตแล้ว
หลักจากที่ผู้ตายได้เสียชีวิต
ในฐานะทายาท ต้องดำเนินการจัดการทรัพย์สินของผู้ตาย แต่ก่อนจะจัดการทรัพย์สินของผู้ตายได้ต้องมีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกก่อน และถ้าหากผู้ตายทำพินัยกรรม ทายาทต้องตรวจสอบพินัยกรรม ตามขั้นตอนดังนี้
- พินัยกรรมฉบับนั้น ทำถูกต้องตามแบบหรือไม่
- พินัยกรรมฉบับนั้น เป็นของปลอมหรือไม่
- พินัยกรรมฉบับนั้น ได้ระบุการแบ่งทรัพย์สิน ทุกรายการกับความเป็นจริงหรือไม่
- พินัยกรรมฉบับนั้น ได้ระบุการตั้งผู้จดการมรดกไว้หรือไม่
กรณีพินัยกรรม ได้ระบุการตั้งผู้จัดการมรดกไว้
การตั้งผู้จัดการมรดกที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม ทายาทต้องสอบถามคนที่มีชื่อระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดกว่ายินยอมหรือไม่ หากยินยอม ก็สามารถดำเนินการขอตั้งผู้จัดการมรดก กรณีมีพินัยกรรม โดยระบุชื่อผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม แต่หากสอบถามคนที่มีชื่อระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดกว่ายินยอมหรือไม่ แล้วเขาไม่ยินยอม ต้องดำเนินการตั้งผู้จัดการมรดก แบบพินัยกรรม ไม่ได้ระบุตั้งผู้จัดการมรดกไว้
กรณีพินัยกรรม ไม่ได้ระบุตั้งผู้จัดการมรดกไว้
การดำเนิน การตั้งผู้จัดการมรดก จึงเป็นหน้าที่ของทายาทที่ต้องปรึกษาหารือกัน ว่าจะให้ใครเป็นผู้จัดการมรดก เพื่อมาทำการแบ่งปันทรัพย์สินของผู้ตาย หรือทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมต่อไป
หากท่านมีปัญหาในการจัดการหรือตรวจสอบพินัยกรรม รวมถึงการตั้งผู้จัดการมรดก ให้ติดต่อเรา TAPANAT&PARTNERS เราจะดูแลท่านเอง