สมาร์ทโฟน

อาการที่ชี้ว่าคุณเสพติดโทรศัพท์ สามารถเลิกติดมือถือได้ใน 12 วิธี

โรคกลัวการขาดมือถือ (Nomophobia) หรือ โนโมโฟเบีย เป็นชื่อที่มีการเสนอของโรคกลัวชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยกลัวการไม่มีโทรศัพท์มือถือหรือโรคติดมือถือ แม้ว่าโรคนี้จะไม่มีอยู่ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 5 (DSM-5) แต่เบียนชิและฟิลลิปส์ได้อธิบายไว้ว่ามีปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีผลต่อการใช้มือถือมากเกินไป คนที่มีความภูมิใจแห่งตนต่ำอาจใช้มือถือเพื่อสร้างความมั่นใจ และบุคคลที่มีลักษณะเปิดเผยอาจใช้มือถือมากเกินไป เป็นไปได้ที่อาการของโนโมโฟเบียอาจเกิดจากอาการทางจิตที่มีอยู่แล้ว และบุคคลที่มีความเสี่ยงมักเป็นโรคกลัวสังคม หรือโรควิตกกังวลเมื่อเข้าสังคม ความวิตกกังวลสังคม

โรคติดมือถือ หรือ ติดโทรศัพท์

Nomophobia คืออาการติดมือถือที่บัญญัติขึ้นเมื่อปี 2010 โดย YouGov มาจากคำว่า No Mobile Phone Phobia พบมากในกลุ่มคนอายุ 18 – 24 ปี ถึง 70% รองลงมากลุ่มคนวัยทำงานอายุ 25 – 34 ปี และกลุ่มใกล้เกษียณอายุ 55 ปี ขึ้นไป

พฤติกรรมติดมือถือ

  • เล่นมือถือตลอดเวลา
  • รู้สึกกังวลเมื่อมือถือไม่อยู่กับตัวหรือแบตหมด
  • คอยเช็คข้อความจากโซเชีบลมีเดีย จับโทรศัพท์ขึ้นมาดูบ่อย ๆ แม้ไม่จำเป็น
  • ตื่นนอนต้องเช็กโทรศัพท์ก่อน และเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน ติดเล่นเกมในมือถือ
  • ใช้เวลาแต่ละวันคุบกับคนผ่านมือถือ มากกว่าคุยกับคนรอบข้าง
  • ตัวสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ ถ้าไม่มีมือถืออยู่กับตัวแบตหมด อยู่ในที่ไร้สัญญาณ

4 อาการติดมือถือจนอันตราย

มีอาการทางสายตา

ตาล้า ตาพร่า ตาแห้งจากการเพ่งสายตา จ้องหน้าจอเล็ก ๆ ที่มีแสงจ้านานเกินไปทำให้วุ้นในสายตาเสื่อมจอประสาทตาเสื่อม

Advertisement

ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่

ปวดเมื่อยจาการก้มหน้า ค้อมตัวลงทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ปวดหัว

นิ้วล็อก

นิ้วล็อกเกิดจากการใช้นิ้วกด จิ้ม สไลด์หน้าจอเป็นเวลานาน

เป็นโรคอ้วน

นั่งเล่นมือถือทั้งวันไม่ลุกไปทำอะไรอย่างอื่น

วิธีแก้อาการติดโทรศัพท์

วิธีแก้อาการติดโทรศัพท์

  1. กำหนดขอบเขตปลอดมือถือ มือถือได้เข้ามาในชีวิตประจำวันของเรามากจนเราอาจไม่ทันสังเกต คุณควรปิดการเชื่อมต่อในช่วงเวลาที่สำคัญ
  2. ตื่นนอนดีขึ้น อย่าจับโทรศัพท์ในช่วง 30 นาทีแรกหลังจากที่ตื่นนอน การทำกิจวัตรประจำวันในช่วงเช้าโดยปราศจากโทรศัพท์จะช่วยให้คุณเริ่มต้นวันใหม่ได้อย่างมีสมาธิ
  3. งดใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ระหว่างมื้ออาหาร พร้อมกับงดใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ
  4. ประกาศเคอร์ฟิวเพื่อตัวเอง พยายามห้ามตัวเองไม่ให้เล่นโทรศัพท์หลังสามทุ่ม
  5. ตัดขาดความสัมพันธ์ เรามักจะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเล่นเพราะอาการเบื่อ พยายามห้ามมือตัวเองยกเว้นเฉพาะตอนที่มีข้อความหรืออีเมลสำคัญ
  6. ปิดการแจ้งเตือนทุกอย่าง ปรับการตั้งค่าโทรศัพท์ให้แจ้งเตือนเฉพาะสายเรียกเข้าและข้อความแทนที่จะเป็นการอัปเดตจากสื่อโซเชียล
  7. ปล่อยสมองให้ว่าง คุณมักจะเลื่อนดู Facebook หรือเล่น Twitter ขณะรอ? ลองทำจิตใจให้ว่างเปล่าแทนที่จะวุ่นวายอยู่กับมือถือ
  8. หาเวลาว่าง หากิจกรรมให้ตัวเองสักวันละ 1 ชั่วโมงโดยที่ไม่ต้องอยู่หน้าจอ อ่านหนังสือ เล่นเกมกับลูก ๆ หรือออกกำลังกาย
  9. จัดระเบียบใหม่ เราจะไม่หยุดใช้มือถือ แค่เลือกเฉพาะสิ่งที่จำเป็นต้องใช้
  10. ตั้งเตือนให้ปิดการทำงาน ตั้งค่าเตือนทุก ๆ 40 นาทีให้ไปเดินเล่นหรือดื่มน้ำสักแก้ว อะไรก็ได้ที่ทำให้จิตใจปลอดโปร่งก่อนที่จะกลับไปอยู่หน้าจอ
  11. ตั้งค่าปิดการทำงานโดยใช้แอปพลิเคชั่น ดาวน์โหลดแอพเลิกติดมือถือที่ตรวจสอบการใช้โทรศัพท์ของคุณ เช่น AppDetox และคุณสามารถตั้งค่าให้แอปพลิเคชั่นเปิดในบางช่วงได้ เช่น เวลาทำงาน
  12. ใช้โทรศัพท์เพื่อการมีสุขภาพที่ดี ใช้แอปพลิเคชั่นเพื่อฝึกสมาธิทุกเช้าซึ่งวิธีนี้จะมีประโยชน์ต่อสมองและร่างกายของเรา นอกจากนี้ยังสามารถใช้แอปพลิเคชั่นนับก้าว

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

Tanjen S.

ติดตามข่าวสารล่าสุดในวงการไอทีและเกมส์ วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอเป็นบทความข่าวที่น่าสนใจ อ่านง่าย และเข้าใจง่าย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button