ความรู้ Tech

10 มหาวิทยาลัยดังด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์

QS World University Ranking ประกาศผลจัดอันดับประจำปี 10 มหาวิทยาลัยดังด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีมหาวิทยาลัยอะไร ประเทศไหนบ้างมาดูกัน

มหาวิทยาลัยดังด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์

Massachusetts Institute of Technology

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology : MIT)

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology, ตัวย่อ เอ็มไอที [MIT], เรียกโดยชุมชน MIT ว่า “the Institute แปลว่า สถาบัน”) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อเสียงมานานในเรื่องงานวิจัยและการศึกษาในสาขาเคมี ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่าง ๆ แล้วเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นต่อ ๆ มาในสาขาชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และการจัดการ

MIT ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1861 เพราะการพัฒนาทางอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในสหรัฐ MIT ใช้รูปแบบมหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคของยุโรป ที่เน้นการศึกษาในห้องปฏิบัติการ และเพราะเน้นเรื่องเทคโนโลยีประยุกต์ในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษามาตั้งแต่ต้น จึงมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับธุรกิจและอุตสาหกรรม ในคริสต์ทศวรรษ 1930 ภายใต้การดูแลของอธิการบดีคาร์ล คอมป์ตัน และรองอธิการบดีแวเนวาร์ บุช สถาบันได้เริ่มเปลี่ยนไปเน้นการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ในปี ค.ศ. 1934 MIT ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสมาคมมหาวิทยาลัยอเมริกัน ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความกว้างขวางและคุณภาพของโปรแกรมงานวิจัยและการศึกษาของสถาบัน

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น นักวิจัยในสถาบันทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เรดาร์ และระบบนำวิถีอาศัยหลักความเฉื่อย (inertial navigation system) ภายใต้การนำของอธิการบดีเจมส์ คิลเลียน ในช่วง ค.ศ. 1948-1959 MIT ได้ขยายทั้งคณะศึกษาและทั้งสิ่งก่อสร้างในบริเวณมหาวิทยาลัยออกอย่างรวดเร็วโดยอาศัยงานวิจัยทางการทหาร วิทยาเขตในปัจจุบันที่มีขนาด 425 ไร่ได้เปิดใช้ในปี ค.ศ. 1916 ที่ครอบคลุมเนื้อที่กว่า 1.6 ตาราง กม. ทางด้านทิศเหนือของแม่น้ำชาลส์

Advertisement

ในปัจจุบัน MIT มีคณะถึง 32 คณะรวมอยู่ใน 5 โรงเรียน (school) เป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เลิศที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง โดยปี ค.ศ. 2014 มีบุคคลผู้สืบเนื่องกับมหาวิทยาลัยผู้ได้รับรางวัลโนเบลถึง 81 คน ได้รับเหรียญวิทยาศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Medal of Science) 52 คน ได้ทุนการศึกษาโรดส์ สคูลาร์ส 45 คน เป็น MacArthur Fellow 38 คน เป็น Fields Medalists 2 คน MIT เป็นมหาวิทยาลัยที่เข้ายากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ในรุ่นนักศึกษาปริญญาตรีปี ค.ศ. 2018 (ปีรับ 2014) มีผู้สมัคร 18,356 คน สถาบันรับไว้ 1,447 คน คือมีอัตราการรับผู้สมัคร (ระดับปริญญาตรี) ที่ร้อยละ 7.9

นอกจากการศึกษาและงานวิจัยแล้ว MIT ยังมีวัฒนธรรมในการเริ่มกิจการธุรกิจอีกด้วย รายได้ของบริษัทที่ศิษย์เก่าช่วยกันตั้งขึ้น รวมทั้งหมดจะประกอบเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 11 ของโลก

ทีมกีฬาของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อว่า “ดิเอนจิเนียส์” (the Engineers) แข่งขันในกีฬา 31 ประเภท โดยมากแข่งในภาค 3 ของสมาคมกีฬาวิทยาลัยแห่งชาติ (National Collegiate Athletic Association) และในภาค 1 เฉพาะในกีฬาพายเรือ โดยเป็นโรงเรียนหนึ่งในสมาคมวิทยาลัยเพื่อกีฬาพายเรือทิศตะวันออก (Eastern Association of Rowing Colleges) สำหรับนักกีฬาพายเรือชาย และสมาคมวิทยาลัยเพื่อกีฬาพายเรือหญิงทิศตะวันออก (Eastern Association of Women’s Rowing Colleges) สำหรับนักกีฬาพายเรือหญิง

Stanford University

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University)

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University อ่านว่า สแตนเฟิร์ด) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า มหาวิทยาลัยลีแลนด์สแตนฟอร์ดจูเนียร์ (Leland Stanford Junior University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ตั้งอยู่ที่เมือง สแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อยู่ห่างจากซานฟรานซิสโกประมาณ 60 กม. (37 ไมล์) สแตนฟอร์ดตั้งอยู่ในศูนย์กลางของซิลิคอนแวลลีย์ในเคาน์ตีซานตาคลารา และมหาวิทยาลัยอยู่ในบริเวณเมืองพาโลอัลโต มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) โดยเริ่มโครงการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2429 (ค.ศ. 1885)

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับสองของโลกโดย Academic Ranking of World Universities ถูกจัดให้อยู่ในระดับ เดียวกับ Harvard, Yale, Princeton, MIT, Caltech บางครั้งเรียกย่อ ๆ ในกลุ่มเด็กนักเรียน High School ว่ากลุ่ม HYPSMC หมายถึงกลุ่มมหาวิทยาลัยที่สมัครเข้าเรียนยาก นอกจากนี้สแตนฟอร์ดยังได้รับการขนานนามให้เป็นหนึ่งในสามมหาวิทยาลัยชั้นนำทางเทคโนโลยี นอกเหนือจาก MIT และ Caltech และมีนักวิจัยรางวัลโนเบลจำนวนมาก โดยเฉพาะในสาขาฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และเศรษฐศาสตร์ นอกจากนี้ สแตนฟอร์ดยังมีคลังข้อมูลและศูนย์เก็บเอกสารทางด้านศิลปศาสตร์ และสังคมศาสตร์์ที่มีชื่อเสียงระดับสากล เช่น US Federal Government Archive ห้องเก็บหนังสือโบราณ และยังมีบุคลากรชั้นแนวหน้าในสาขาต่างๆทุกสาขา

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้เตรียมพร้อมให้นักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทที่มีชื่อเสียงมากมาย อาทิ เช่น Nike, Hewlett-Packard, Electronic Arts, Sun Microsystems, Nvidia, Yahoo!, Cisco Systems, Silicon Graphics และ Google เป็นต้น

Carnegie Mellon University

มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University)

มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ตั้งอยู่ในเมืองพิตซ์เบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2510 โดยสถาบันเทคโนโลยีคาร์เนกี และสถาบันวิจัยอุตสาหกรรมเมลลอน คาร์เนกีเมลลอนรู้จักในชื่อมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งหนึ่งในโลกในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และการแสดง

บุคลากรจากคาร์เนกีเมลลอนได้รับรางวัลโนเบล 13 รางวัล รางวัลทัวริง 8 รางวัล รางวัลเอมมี 7 รางวัล รางวัลออสการ์ 3 รางวัล และ รางวัลโทนี 4 รางวัล

University of California, Berkeley

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley)

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ตั้งอยู่ในเมืองเบิร์กลีย์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองซานฟรานซิสโก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) และเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดในบรรดากลุ่มมหาวิทยาลัยในแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์มีชื่อเสียงในหลากหลายด้านเช่น ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม วิทยาศาสตร์ รวมถึงมีการค้นพบไซโคลตรอน (cyclotron) โดย เออร์เนสต์ ลอว์เรนซ์ และมีการค้นพบธาตุเคมี 17 ธาตุใหม่ การพัฒนาอินเทอร์เน็ต การพัฒนายูนิกซ์ BSD และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกลำดับที่ 4 สำหรับการจัดอันดับของ Academic Ranking of World Universities ของปี 2012 และ อันดับที่ 5 สำหรับการจัดมหาวิทยาที่มีชื่อเสียงของ Times Higher Educationของปี 2013 สำหรับนักศึกษาที่อาศัยอยู่ใน California จะมีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนและค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 12,876 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี (ปี พ.ศ. 2555) ส่วนนักศึกษาปริญญาตรีที่มาจากที่อื่นจะมีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนและค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 35,754 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี ในปี พ.ศ. 2555 มีนักศึกษาทั้งหมด 35,899 คน เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 25,574 คน พื้นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยหากมองจากมหาวิทยาลัยจะสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของอ่าว ซานฟรานซิสโก และสะพานโกลเดนเกต ได้

University of Cambridge

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge)

เคมบริดจ์ (Cambridge) เป็นเมืองมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ในอังกฤษ สหราชอาณาจักร และเป็นศูนย์กลางการปกครองของเคมบริดจ์เชียร์ เมืองอยู่ห่างจากลอนดอนไปทางเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 80 กม. และห้อมล้อมไปด้วยเมืองและหมู่บ้านขนาดเล็กจำนวนหนึ่ง เมืองนี้ยังเป็นหัวใจของศูนย์เทคโนโลยีชั้นสูง ที่รู้จักกันในชื่อ ซิลิคอนเฟน (Silicon Fen) และเป็นส่วนสำคัญของเขตอุตสาหกรรมความรู้ ออกซฟอร์ด-เคมบริดจ์อาร์ก (Oxford-Cambridge Arc)

เมืองเคมบริดจ์เป็นที่รู้จักมากที่สุดจากการเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จากการสำรวจสำมะโนประชากร เมื่อปี ค.ศ. 2001 มีประชากร 108,863 คน (รวมนักเรียน 22,153 คน)

University of Oxford

มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (University of Oxford)

มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (University of Oxford หรือ Oxford University) หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า ออกซฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096 ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนเป็นอันดับสอง ออกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองออกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น ทั้งสอง”มหาวิทยาลัยโบราณ”มักจะถูกเรียกว่า”ออกซบริดจ์”

มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถ​​าบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่ออกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน ออกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก ออกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ

Harvard University

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University)

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University อ่านว่า ฮารฺเวิรฺด) มหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกาได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลก แห่งหนึ่งและเป็นหนึ่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งเมื่อปี 8 กันยายน พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) มีอายุครบ 370 ปีใน พ.ศ. 2549

ฮาร์วาร์ดเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก โดยในปี พ.ศ. 2552-2553 มหาวิทยาลัยฮาร์ยาร์ดยังคงได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา โดยนิตยสารยูเอสนิว และได้รับการจัดอันดับโดยไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ ให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลก ติดต่อกันมายาวนานหลายปี

กลุ่มผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดดคือ คณะนักบวชที่เรียกตนเองว่า “เพียวริตัน” ซึ่งอพยพมาจากประเทศอังกฤษโดยได้มีตั้งวิทยาลัยขึ้นมา มีจุดประสงค์ที่จะสร้างนักบวชเพื่อให้สามารถเผยแพร่ศาสนาตามแนวทางของลัทธิของตนได้ โดยเริ่มต้นในชื่อว่า “เดอะ นิว คอลเลจ” (The New College) ในปี พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ วิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard College) เมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ. 2182 (ค.ศ. 1639) ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ จอห์น ฮาร์วาร์ด นักบวชเพียวริแตนท่านหนึ่ง ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเอมมานูเอล (Emmanuel College) ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ผู้ได้ทำพินัยกรรมบริจาคหนังสือจำนวนประมาณ 400 เล่มและเงินจำนวนหนึ่งที่ไม่มากนักแก่ทางวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1780) วิทยาลัยได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัย ในชั้นแรกนั้นวิทยาลัยมีครูเพียงคนเดียว และมีนักเรียนชุดแรก 12 คน โดยเป็นลักษณะโรงเรียนกินนอน

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเริ่มเข้าสู่ยุคของความเป็นมหาวิทยาลัยสมัยใหม่ภายใต้การบริหารของ อธิการบดี ชาร์ล วิลเลียม อีเลียต (Charles William Eliot) ในระหว่างปี ค.ศ. 1869-1909 โดยอธิการบดีอีเลียต ได้เริ่มนำระบบวิชาเลือก การใช้ระบบหน่วยกิต การสอบคัดเลือก เข้ามาใช้กับมหาวิทยาลัย

EPFL

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์รัฐสวิส โลซาน (École polytechnique fédérale de Lausann : EPFL)

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์รัฐสวิส โลซาน (อังกฤษ: Swiss Federal Institute of Technology in Lausanne, ชื่อเต็มในภาษาฝรั่งเศสคือ École polytechnique fédérale de Lausanne

โดยมีชื่อย่อที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า EPFL) เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นสูง ทางด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเป็น 1 ใน 2 สถาบันชั้นนำทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ที่อยู่ในกำกับของ กระทรวงการเศรษฐกิจ การศึกษา และ การวิจัย ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก ขึ้นตรงต่อ สมาพันธรัฐสวิส หรือ รัฐบาลกลาง

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์รัฐสวิส โลซานได้รับการก่อตั้งในปี พ.ศ. 2396 โดยสมาพันธรัฐสวิส และเริ่มดำเนินการเรียนการสอน ในชื่อ École spéciale de Lausanne ต่อมาในปี พ.ศ. 2433 สถาบันได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในชื่อ École d’ingénieurs de l’Université de Lausanne. และในปี พ.ศ. 2512 ได้แยกตัวออกจากมหาวิทยาลัยโลซาน และเปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์รัฐสวิส โลซาน ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง ในขณะที่มหาวิทยาลัยโลซาน ขึ้นตรงต่อรัฐบาลท้องถิ่น (Canton of Vaud) ปัจจุบัน สถาบันตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเจนีวาของเมืองโลซาน ใกล้กับ มหาวิทยาลัยโลซาน ซึ่งเป็นภูมิภาคของสวิตเซอร์แลนด์ที่พูดภาษาฝรั่งเศส

ETH Zurich

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส ซูริก (ETH Zurich)

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก (อังกฤษ: Swiss Federal Institute of Technology in Zurich, ชื่อเต็มในภาษาเยอรมันคือ Eidgenössische Technische Hochschule Zürich โดยมีชื่อย่อที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ETH Zürich) เป็นมหาวิทยาลัยทางด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริกเป็นมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติเป็นสมาชิกของ IDEA League และ International Alliance of Research Universities IARU

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริกได้รับการก่อตั้งในปี ค.ศ. 1854 โดยสมาพันธรัฐสวิส และเริ่มดำเนินการเรียนการสอนในปี ค.ศ. 1855 ในชื่อ Eidgenössische Polytechnische Schule ขณะนั้นสถาบันมีการจัดการเรียนการสอนเพียง 6 สาขาวิชาหลัก ได้แก่ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล เคมี การป่าไม้ ส่วนคณะสุดท้ายเป็นการรวมตัวกันของภาควิชาย่อยต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริกเป็นสถาบันการของสมาพันธรัฐ (federal institute) อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาลกลางประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งต่างจากมหาวิทยาลัยซูริกที่เป็นเพียงสถาบันการศึกษาของรัฐ (cantonal institute) ที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐซูริก ณ ช่วงเวลาของการก่อตั้งนั้น มีการวิพากษ์วิจารณ์โต้แย้งกันอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งสมาพันธรัฐ โดยการโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มนักเสรีนิยมซึ่งสนับสนุนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งสมาพันธรัฐ ด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อต้องการให้เกิดเสรีทางความคิดโดยไม่มีการปิดกั้น และฝ่ายของกลุ่มอนุรักษนิยมที่ต้องการให้แต่ละมหาวิทยาลัยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแต่ละรัฐ ในช่วงแรกของการก่อตั้ง ทั้งสองมหาวิทยาลัยได้ตั้งอยู่ร่วมกันในอาคารของมหาวิทยาลัยซูริก

ในปี ค.ศ. 1909 สถาบันได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อยกระดับสถาบันให้มีความเทียบเท่ากับระดับมหาวิทยาลัย และในปีเดียวกันนี้เอง สถาบันยังได้รับอนุญาตให้สามารถประสาทปริญญาบัตรการศึกษาระดับปริญญาเอกได้อีกด้วย ในปี ค.ศ. 1911 สถาบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก ซึ่งเป็นชื่อที่ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

ในปี ค.ศ. 1924 สถาบันได้จัดระเบียบโครงสร้างภายในองค์กรอีกครั้ง ทำให้มีคณะวิชามากขึ้นถึง 12 คณะวิชา

National University of Singapore

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore : NUS)

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (อังกฤษ: National University of Singapore : NUS) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติของสิงคโปร์ และเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของสิงคโปร์ จากวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์(King Edward VII College of Medicine)ในปี พ.ศ. 2448 และพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ในปี 2523 ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในเอเชีย จากการศึกษาของ QS World University Rankings อยู่ในลำดับที่ 12 ของโลก และลำดับ 1 ในทวีปเอเชีย

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ก่อตั้งในสมัยที่สิงคโปร์ยังเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอังกฤษ (British Malaya) โดยในช่วงปี ค.ศ.1900 มีการจัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์แผนฝรั่งหลายแห่งในปีนังและสิงคโปร์ และเริ่มมีการเปิดโรงเรียนการแพทย์ในเวลาต่อมาเพื่อรองรับการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และการขยายตัวของประเทศจนพัฒนาเป็นวิทยาลัยแพทย์ (King Edward VII Medical College of Medicine) ในปี ค.ศ.1905 ส่วนวิทยาลัยราฟเฟิลส์ (Raffles College) เป็นวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นั้น ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1928 เพื่อเปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาทางภาษาและมีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยจากประเทศอังกฤษอีกด้วย ระหว่างช่วงปีค.ศ.1938-1949 เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจากภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางรัฐบาลอังกฤษ British Malaya Government ได้มีการริเริ่มที่จะสร้างมหาวิทยาลัยของชาวมาเลเซียขึ้นมา

โดยมีการส่งนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเบอมิงแฮมของอังกฤษ และอีกหลายท่านมาศึกษากระบวนการพัฒนาและความเป็นไปได้ จนกระทั่งในปีค.ศ.1949 ได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยมาลายาขึ้นมาเป็นผลสำเร็จจากการรวม วิทยาลัยแพทยศาสตร์ (King Edward VII Medical College of Medicine) และ วิทยาลัยราฟเฟิลส์ (Raffles College) ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ.1949 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในปีค.ศ.1959 มหาวิทยาลัยถูกแบ่งออกเป็น 2 มหาวิทยาลัยอันเนื่องจากมีวิทยาเขตหนึ่งอยู่ในกัวลาลัมเปอร์และสิงคโปร์ และมติเป็นเอกฉันท์ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1962 มหาวิทยาลัยที่กัวลาลัมเปอร์จะชื่อ มหาวิทยาลัยมาลายา ส่วนมหาวิทยาลัยในสิงคโปร์จะใช้ชื่อมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

Tanjen S.

ติดตามข่าวสารล่าสุดในวงการไอทีและเกมส์ วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอเป็นบทความข่าวที่น่าสนใจ อ่านง่าย และเข้าใจง่าย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button