![5G คืออะไร ประโยชน์ของ 5G](/wp-content/uploads/2018/11/5g-cover.jpg)
มาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีการสื่อสารในอนาคต 5G คืออะไร แล้ว 5G มีประโยชน์ยังไงบ้าง มีความเร็วมากขึ้นแค่ไหนมาทำความรู้จักกัน
![5G คือ](/wp-content/uploads/2018/11/5g.jpg)
5G คือ
5G (เครือข่ายโทรศัพท์มือถือรุ่นหรือระบบไร้สายรุ่นที่ 5) คือ เครือข่ายไร้สายที่ถูกพัฒนาและเริ่มใช้ในปี 2561 เป็นต้นมา เทคโนโลยีพื้นฐานได้แก่คลื่นความถี่ (Millimeter wave bands 26, 28, 38, และ 60 GHz) มีประสิทธิภาพสูงสุดถึง 20 Gbps MIMO (Multiple Input Multiple Output – 64-256 antennas) ประสิทธิภาพสูงซึ่งเร็วกว่า 4G ถึง 10 เท่า 5G ย่านความถี่ต่ำและกลางใช้ความถี่ระหว่าง 600 MHz ถึง 6 GHz โดยเฉพาะระหว่าง 3.5-4.2 GHz
ในปี 2560 หลายบริษัทต่างพัฒนาเทคโนโลยี 5G เช่น Samsung, Intel, Qualcomm, Nokia, Huawei, Ericsson, ZTE ฯลฯ แม้ว่า 5G จะครอบคุลมทั่วโลกภายในปี 2563 เกาหลีใต้ได้เริ่มให้บริการเทคโนโลยีนี้ที่โอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ในปี 2561 Verizon วางแผนจะให้บริการ 5G FWA ใน 4 เมืองในสหรัฐ แซคราเมนโต แอลเอ อินเดียแนโพลิส และฮิวสตัน
![ความเป็นมาของ 5G](/wp-content/uploads/2018/11/1g-5g.jpg)
ความเป็นมาของ 5G
- 1G การคุยกันด้วยเสียง
- 2G รองรับการส่งข้อความหากัน
- 3G เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั่วไป
- 4G ดูภาพและเสียงได้
- 5G การเชื่อมต่อสิ่งของทุกสิ่ง
![ประโยชน์ของ 5G](/wp-content/uploads/2018/11/comparing-4g-and-5g.jpg)
ประโยชน์ของ 5G
ความเร็ว (Speed) ความเร็วในที่นี้คือความเร็วในการใช้งานด้านข้อมูล ยกระดับการใช้ดาต้าไปอีกขั้น เรียกเป็นศัพท์เทคนิคว่า Enhanced Mobile Broadband หรือ EMBB
ขีดความสามารถของการเชื่อมต่ออุปกรณ์กับอุปกรณ์ คือ ขยายขีดความสามารถในการเชื่อมต่อ ทำให้หุ่นยนต์ 2 ตัวทำงานร่วมกันและสื่อสารกันได้ไวขึ้น ความสามารถในส่วนนี้มีศัพท์เทคนิคว่า Massive machine type communications หรือ mMTC
ตอบสนองได้รวดเร็วและหน่วงน้อยลง ในส่วนนี้เป็นการเพิ่มความสามารถของเครือข่ายให้ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ ศัพท์เทคนิคเรียกว่า Ultra-reliable and low latency communications โดยจะทำให้เทคโนโลยีมีประสิทธิภาพในการตอบสนองที่รวดเร็ว มีความหน่วงน้อยลง (Low Latency)
5G
- ความเร็ว (Speed) 20 Gbps
- จำนวนการเชื่อมต่อที่รองรับ (Connection) 1,000,000/sq.km.
- เวลาในการตอบสนอง (Response Time) 1ms (ใช้งานจริงจะอยู่ราว 3-4ms)
- ความหนาแน่นของการใช้งาน (Connection Density) 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม.
4G
- ความเร็ว (Speed) 1 Gbps
- จำนวนการเชื่อมต่อที่รองรับ (Connection) 100,000/sq.km.
- เวลาในการตอบสนอง (Response Time) 40ms
- ความหนาแน่นของการใช้งาน (Connection Density) 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม.
ข้อดีของ 5G
- ความละเอียดสูงและการสร้างแบนด์วิดธ์ขนาดใหญ่
- เทคโนโลยีที่จะรวบรวมทุกเครือข่ายบนแพลตฟอร์ม
- มีประสิทธิภาพมากขึ้นและความเร็วเพิ่มขึ้น
- สามารถเผยแพร่ข้อมูลขนาดใหญ่ ได้อย่างรวดเร็ว
ข้อเสียของ 5G
- เทคโนโลยียังอยู่ภายใต้กระบวนการผลิตและพัฒนา
- อุปกรณ์เก่าจะไม่สามารถใช้งาน 5G ได้
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมีค่าใช้จ่ายสูง
- ปัญหาด้านการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของยังไม่ได้รับการแก้ไข
5G ในไทย
AIS ได้ทำการทดสอบ 5G ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกแล้ว AIS นำเอา 5G มาทดสอบและแสดงให้คนไทยได้เห็น ในด้านเทคโนโลยีมีความพร้อมแล้ว แต่โจทย์ถัดไปคือ ภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ จะนำเอาเทคโนโลยีที่ล้ำหน้านี้ไปใช้ปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างไร ในงานมีการจัดแสดงนวัตกรรมของเทคโนโลยี 5G ทั้งหมด 5 บูธด้วยกันคือ
- 5G Super Speed เป็นการแสดงศักยภาพของเครือข่าย 5G เพื่อให้เห็นถึงความเร็วในการรับส่งสัญญาณ (Throughput) และความหน่วง (Latency)
- 5G Ultra Low Latency – Cooperative Cloud Robot เป็นการสาธิตประสิทธิภาพการตอบสนองที่รวดเร็วของเครือข่าย 5G โดยการใช้หุ่นยนต์สามตัวในการหาจุดสมดุล ที่ทำให้ลูกบอลอยู่กึ่งกลางกระดาน การสาธิตแสดงเวลาที่หุ่นยนต์ใช้ในการหาจุดสมดุลผ่านการสื่อสารระหว่างกันโดยใช้เครือข่าย 4G เปรียบเทียบกับเครือข่าย 5G
- 5G for Industry 4.0 หุ่นยนต์จะมีบทบาทอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 การทำงานร่วมกันของเครื่องจักรจากหลายสายการผลิตต้องการการเชื่อมต่อไร้สายที่มีความหน่วงต่ำและความน่าเชื่อถือสูง ซึ่งจะทำให้สายการผลิตทำงานได้เร็วขึ้น ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการสาธิตหุ่นยนต์ YuMi® Dual-Arm Collaborative Robot จาก ABB ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย 5G
- 5G Virtual Reality – immersive video การสาธิต การดูวีดีโอที่แสดงสภาวะเสมือนจริง (immersive video) ผ่านเครือข่าย 5G ผู้ที่ใส่แว่นตา VR จะสามารถมองเห็นได้รอบด้าน 360 องศา การดูวีดีโอ VR ที่มีความคมชัด ต้องการ bandwidth ที่สูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นการถ่ายทอดสด หรือ live streaming
- 5G FIFA Virtual Reality ทดลองความเร็วของเครือข่าย 5G ด้วยตัวคุณเอง โดยการเตะลูกบอล Virtual Reality ที่จุดโทษผ่านเครือข่าย 5G