ปกติเราเตอร์ตามบ้าน หรืออุปกรณ์กระจายสัญญาณ Wi-Fi จะมีอุปกรณ์ที่รองรับคลื่นมากมาย 802.11 b/a/g/ac บางคนอาจจะสับสนได้ กลุ่ม Wi-Fi Alliance เลยประกาศชื่อเรียกให้กับมาตรฐาน Wi-Fi ใหม่ มีผลทั้งหมด 3 รุ่น Wi-Fi 6 ใช้เรียกแทนเทคโนโลยี 802.11ax ,Wi-Fi 5 ใช้เรียกแทนเทคโนโลยี 802.11ac ,Wi-Fi 4 ใช้เรียกแทนเทคโนโลยี 802.11n
Wi-Fi 6 คือ
เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจาก Wi-Fi 5 (802.11ac) ที่ให้ความเร็วประมาณ 400 Mbps แต่ Wi-Fi 6 (802.11ax) ให้ความเร็วสูงกว่า 2 Gbps มีการทดสอบจาก Huawei พบกว่า ทำความเร็วได้สูงสุดถึง 10.53 Gbps หรือประมาณ 1.4 GB ต่อวินาทีในการรับส่งข้อมูล
802.11ax ยังคงใช้คลื่นความถี่ 5 GHz เช่นเดียวกับ Wi-Fi 5 (802.11ac) เนื่องจากมีช่องสัญญาณที่กว้างสามารถเลือกใช้ได้เป็นจำนวนมาก และยังคงรองรับจำนวน MIMO 4 Spatial Streams เหมือนเดิม นอกจากนั้นยังแก้ไขปัญหาสัญญาณหาย ความเร็วตกเวลาอยู่ในสถานที่ที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก เช่น ในห้างสรรพสินค้า สนามกีฬา หรือ คอนเสิร์ตฮอลล์ใหญ่ ๆ อุปกรณ์ที่รองรับจะได้รับเครื่องหมาย Wi-Fi Certified 6 และจะเริ่มทำตลาดตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นไป
Wi-Fi 6E คือ
Wi-Fi 6E โดยมี E ย่อมาจาก Extension Wi-Fi 6E ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน Wi-Fi 6 แต่มีข้อแตกต่างที่สำคัญอย่างหนึ่ง Wi-Fi 6E สามารถใช้ย่านความถี่ 6GHz ได้ ใช้ช่องสัญญาณ 80MHz เพิ่มเติมสูงสุด 14 ช่องหรือช่องสัญญาณ 160MHz เพิ่มเติมอีก 7 ช่อง ซึ่งทำให้เหมาะสำหรับการใช้งาน เช่น อพาร์ตเมนต์ในเมือง สำนักงาน และศูนย์การประชุม
Wi-Fi 6E ยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ทั้งหมด แต่ถ้าคุณต้องการใช้ย่านความถี่ 6GHz คุณจะต้องมีอุปกรณ์ที่รองรับ Wi-Fi 6E เท่านั้นที่สามารถเชื่อมต่อกับ Wi-Fi 6 GHz ได้
มาตรฐาน Wi-Fi
Wi-Fi | Wi-Fi Alliance | ช่องสัญญา | แบนด์วิดธ์ |
---|---|---|---|
802.11n | Wi-Fi 4 | 2.4GHz, 5GHz | 20MHz, 40MHz |
802.11ac | Wi-Fi 5 | 2.4GHz, 5GHz | 20MHz, 40MHz, 80MHz |
802.11ax | Wi-Fi 6 | 2.4GHz, 5GHz | 20MHz, 40MHz, 80MHz, 160MHz |
802.11ax | Wi-Fi 6E | 2.4GHz, 5GHz, 6GHz | 20MHz, 40MHz, 80MHz, 160MHz |
- Wi-Fi 1 ใช้เรียกแทนเทคโนโลยี 802.11b ออกปี 1999
- Wi-Fi 2 ใช้เรียกแทนเทคโนโลยี 802.11a ออกปี 1999
- Wi-Fi 3 ใช้เรียกแทนเทคโนโลยี 802.11g ออกปี 2003
- Wi-Fi 4 ใช้เรียกแทนเทคโนโลยี 802.11n ออกปี 2009
- Wi-Fi 5 ใช้เรียกแทนเทคโนโลยี 802.11ac ออกปี 2014
- Wi-Fi 6 ใช้เรียกแทนเทคโนโลยี 802.11ax ออกปี 2019
- Wi-Fi 6E ใช้เรียกแทนเทคโนโลยี 802.11ax ออกปี 2020
ข้อดีของ Wi-Fi 6 หรือ 802.11ax
รองรับเทคโนโลยี MU-MIMO
ถูกออกแบบมาสำหรับสภาวะแวดล้อมที่มีการใช้คลื่นสัญญาณวิทยุอย่างหนาแน่น และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน โดยรองรับเทคโนโลยี Multi-user, Multiple-input, Multiple-output (MU-MIMO) ซึ่งช่วยให้ Access Point สามารถรับส่งข้อมูลให้กับผู้ใช้ได้สูงสุดถึง 8 คนพร้อมกันด้วยความเร็วที่เท่า ๆ กัน
มาพร้อมกับเทคโนโลยี OFDMA
Orthogonal Frequency Division Multiple Access (OFDMA) เป็นเทคโนโลยีการซอยช่องสัญญาณออกเป็นช่องย่อย ๆ จำนวนมากเพื่อนำส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ที่แตกต่างกันพร้อม ๆ กัน ดังนั้น Access Point จะสามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ได้มากขึ้นและรวดเร็วขึ้นในคราวเดียว เหมาะสำหรับยุค Internet of Things ที่ทุกอุปกรณ์มีการเชื่อมต่อถึงกัน
Access Point เตรียมให้บริการในปี 2019 แต่ Endpoint อาจต้องรอถึงปี 2020
Access Point ระดับใช้งานในองค์กรที่รองรับมาตรฐาน 802.11ax เริ่มมีให้บริการแล้ว เช่น AP630, AP650 และ AP650X จาก Aerohive โดยมีราคาเริ่มต้นที่ประมาณ $1,200 (40,000 บาท) ในขณะที่ Cisco และ HPE Aruba คาดว่าจะเริ่มให้บริการ Access Point มาตรฐาน 802.11ax ในปี 2019 นี้ ส่วน Access Point ระดับใช้งานทั่วไป ทั้ง D-Link, Asus และ TP-Link ต่างเริ่มให้บริการแล้วเช่นกัน อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ Endpoint ไม่ว่าจะเป็น PC, โน๊ตบุ๊ก, แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ผู้เชี่ยวชาญหลายคนให้ความเห็นว่าจะเริ่มรองรับในปี 2020
802.11ax ยังไม่ได้เป็นมาตรฐานอย่างเป็นทางการ แต่ไม่เกินปี 2019
มาตรฐาน 802.11ax ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดีนัก ก่อนหน้านี้ร่างมาตรฐานทั้ง 2 ฉบับต่างถูกคณะกรรมการของ IEEE ตีตกไป แต่คาดว่ามาตรฐานจะเรียบร้อยภายในปี 2019 นี้ หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ร่างมาตรฐานไม่ได้รับการอนุมัติมาจากการที่ Vendor หลายรายต่างพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองออกมาก่อนที่มาตรฐานจะเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องปกติของโลก Wi-Fi อย่างไรก็ตาม จากแนวโน้มที่หลาย ๆ Vendor เริ่มให้บริการ AP มาตรฐาน 802.11ax กันแล้ว อาจกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่เริ่งให้ IEEE อนุมัติมาตรฐานก็เป็นได้
ข้อดีของ Wi-Fi 6E
ความเร็ว
ความเร็วสูงสุดตามทฤษฎีสำหรับ Wi-Fi 6E เท่ากับ Wi-Fi 6 นั่นคือ 9.6 Gbps แต่ก็เป็นไปได้ยากที่เราจะสามารถทำความเร็วระดับนั้นได้บน Wi-Fi ในความเป็นจริงความเร็วจะได้ประมาณ 25% หรือ 2 Gbps แต่ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยหลายอย่าง
สัญญาณรบกวน
การรองรับความถี่ 160MHz บน Wi-Fi 6E ยิ่งมีจำนวนแบนด์วิธมากขึ้น ก็จะทำให้ลดการทับซ้อนกันของช่องสัญญาณ โดยเฉพาะพื้นที่ใช้งานที่มีอุปกรณ์เชื่อมต่อจำนวนมาก ๆ เช่น อพาร์ตเมนต์ในเมือง สำนักงาน และศูนย์การประชุม
ความหน่วง
Low Latency ต่ำคือหัวใจสำคัญของประสบการณ์การใช้งานที่ราบรื่น เช่น การประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ, การเล่นเกมและดู Netflix 4K หรือ YouTube 4K ทำให้ Low Latency ต่ำกว่า Wi-Fi 5 ถึง 75 เปอร์เซนต์ ให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายแบบไม่มีสะดุด
Routers ที่รองรับ Wi-Fi 6
- ASUS RT-AX88U
- ASUS RT-AX95U
- ASUS GT-AX11000
- ASUS RT-AX92U
- ASUS GT-AX6000
- D-Link DIR-X6060
- D-Link DIR-X9000
- Aerohive AP630
- Aerohive AP650
- Aerohive AP650X
- Arris NVG578
- Arris Touchstone mAX
- Arris SURFboard W31
- Netgear Jaguar (Nighthawk X12)
- Netgear Leopard (RAX120)
- TP-LINK Archer AX11000
- TP-LINK Archer AX6000
- Charter RAX1V1K
- Compex HK01
- H3C WA6628
- H3C WA6528
- Huawei AP7060DN
- NEC BL1000HW
- Ruckus Wireless R730
- Calix GigaSpire GS2020E
- Calix GigaSpire GS2026E
Routers ที่รองรับ Wi-Fi 6E
- ASUS ROG Rapture GT-AXE11000
- Linksys MR7500 Hydra Pro 6E
- Netgear Nighthawk RAXE500
- Netgear Orbi RBKE963
- ASUS ZenWiFi ET8
ที่มา – techtalkthai.com ,wikidevi.com