Technologyเรื่องน่าสนใจ

20 ปี Google ผ่านอะไรมาบ้าง

กูเกิล (Google Inc.) เป็นบริษัทมหาชนอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล Gmail ,Google Maps ,ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน ,เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย

20 ปี ของ Google

Larry Page Sergey Brin
Sergey Brin กับ  Larry Page

ปี 1996

Larry Page (แลร์รี เพจ) และ Sergey Brin (เซอร์เกย์ บริน) เริ่มต้นทำเสิร์ชเอนจินใช้ชื่อว่า BackRub ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

Google
Google Search

ปี 1998

ทั้งคู่ได้ก่อตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการในนาม Google เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 ในโรงจอดรถของเพื่อนที่ เมืองเมนโลพาร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย

Eric Schmidt
Eric Schmidt

ปี 2001

Eric Schmidt เข้ามานั่งตำแหน่งประธานใน Google และช่วยบริษัทขยายกิจการจากบริษัทที่มีรายได้ไม่ถึง 100 ล้านเหรียญจนกลายเป็น Google ในปัจจุบันที่มีรายได้กว่า 302,000 ล้านเหรียญ สิ้นสุดการทำหน้าที่ CEO ให้กับ Google วันที่ 4 เมษายน 2011

Gmail
Gmail

ปี 2004

Google เปิดตัว Gmail และเข้าตลาดหุ้น มีการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก เมื่อ 19 สิงหาคม 2004 เพิ่มมูลค่าของบริษัท 1.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Advertisement

Google Maps
Google Maps

ปี 2005

เปิดตัว Google Maps เป็นเว็บไซต์ค้นหาส่วนหนึ่งของกูเกิล โดยเน้นที่การค้นหาบริการและร้านค้าต่างๆ โดยการใส่สิ่งที่ต้องการค้นหา เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยว หรือ ธนาคาร และใส่สถานที่ที่ต้องการค้นหา เช่น นิวยอร์ก หรือถนนสเตตในเมืองชิคาโก แล้วกูเกิลแผนที่จะแสดงผลว่ามีร้านที่ต้องการอยู่จำนวนกี่ร้าน และแสดงตำแหน่งพร้อมหมายเลขโทรศัพท์

YouTube
YouTube

ปี 2006

Google บุกจีน และ เข้าซื้อ YouTube ด้วยการแลกหุ้น ด้วยมูลค่าถึง 1,650 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 62,700 ล้านบาท)

Google Chrome
Google Chrome

ปี 2008

เปิดตัว Google Chrome และระบบแอนดรอยด์ในโทรศัพท์ T-Mobile G1 และ HTC Dream

Google Chrome เป็นซอฟต์แวร์เว็บเบราว์เซอร์ พัฒนาโดยกูเกิล เปิดตัวครั้งแรกในปี 2008 โดยยังรองรับระบบปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ก่อนจะออกโปรแกรมให้กับ ลินุกซ์, แมคโอเอส, ไอโอเอส และ แอนดรอยด์ ในภายหลัง

Android เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ในอดีตถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่นสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้แพร่ไปยังอุปกรณ์หลายชนิดเพราะเป็นมาตรฐานเปิด เช่น Nikon S800C กล้องดิจิตอลระบบแอนดรอยด์ หม้อหุงข้าว Panasonic ระบบแอนดรอยด์ และ Smart TV ระบบแอนดรอยด์ รวมถึงกล่องเสียบต่อ TV ทำให้สามารถใช้ระบบแอนดรอยด์ได้ด้วย Android Wear นาฬิกาข้อมือระบบแอนดรอด์ เป็นต้น ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) ซึ่งต่อมา กูเกิล ได้ทำการซื้อต่อบริษัทในปี 2005 แอนดรอยด์ถูกเปิดตัวเมื่อ ปี 2007

พร้อมกับการก่อตั้งโอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มของบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสารคมนาคม ที่ร่วมมือกันสร้างมาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์พกพา โดยสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เครื่องแรกของโลกคือ HTC Dream  วางจำหน่ายเมื่อปี 2008

Google China
Google จีน

ปี 2010

Google ถูกแบนออกจากจีน และถูก Oracle ฟ้องสิทธิบัตรแอนดรอยด์ และ เริ่มทำรถไร้คนขับก่อนที่จะแยกเป็นอีกบริษัทคือ Waymo

Google+
Google+

ปี 2011

เปิดตัว Google+ เจาะตลาดโซเชียลเน็ตเวิร์ค (ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร)

Google+ เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์คจากทาง Google ทำงานโดยรวมบริการหลายอย่างของทางกูเกิลเข้าไว้ที่เดียวกัน ปัจจุบันได้มีการรับรองการทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ และ แอปพลิเคชันของแอนดรอยด์ และไอโฟน ซึ่งมีแผนการที่จะพัฒนาสำหรับโทรศัพท์มือถือไอโฟน ได้มีการวิเคราะห์มาว่าบริการตัวนี้ของกูเกิลจะเป็นคู่แข่งกับเครือข่ายสังคมเฟซบุ๊ก สุดท้ายก็พ่ายแพ้ให้กับเจ้าอื่นแต่ก็ยังมีการเปิดตัวอยู่จนถึงปัจจุบัน แม้ผู้ใช้จะน้อยลงอย่างมาก

Glass
Google Glass

ปี 2012

เปิดตัว Project Glass (ปัจจุบันเจาะตลาดโรงงาน)

Project Glass หรือ Google Glass คืออุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายกับแว่นตา แต่สิ่งที่แตกต่างออกไป ก็คือแว่นอันนี้ ไม่มีเลนส์ แต่มีหน้าจอที่ใสมากจนเกือบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งหน้าจอดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ที่สวม Project Glass รับทราบข้อมูลต่างๆ รวมถึงยังสามารถติดต่อสื่อสารผ่านโซเชียล เน็ตเวิร์กได้ในทันที

Chromecast
Chromecast

ปี 2013

เปิดตัว Chromecast อุปกรณ์สตรีมมิ่งที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน

DeepMind
DeepMind

ปี 2014

เข้าซื้อศูนย์วิจัย AI หรือ DeepMind ที่ทำปัญญาประดิษฐ์ชนะคนเล่นโกะระดับโลกในเวลาต่อมา

Demis Hassabis, Shane Legg และ Mustafa Suleyman ก่อตั้งบริษัทสตาร์ตอัพในปี 2011 โดยที่ Hassabis พบกับ Legg ครั้งแรกที่ Gatsby Computational Neuroscience Unit มหาวิทยาลัย University College London หลังจากนั้น บริษัทเงินทุน Horizons Ventures และ Founders Fund รวมทั้ง Scott Banister และ Elon Musk ผู้ประกอบการได้เข้ามาลงทุนในบริษัท โดยผู้ลงทุนรายแรกๆคือ Jaan Tallinn ที่ได้เป็นที่ปรึกษาของบริษัทด้วย ในปี 2014 บริษัทได้รับรางวัลบริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี จากห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เคมบริดจ์ บริษัทเป็นผู้สร้างโครงข่ายประสาทเทียมที่สามารถเรียนรู้ได้ว่าจะเล่นวิดีโอเกมให้เหมือนมนุษย์ได้อย่างไร และโครงข่ายประสาทเทียมนี้ที่สามารถเข้าถึงความจำภายนอกคล้ายกับเครื่องจักรทัวริงได้ ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถเลียนแบบความทรงจำระยะสั้นของมนุษย์ได้

ในวันที่ 26 มกราคม 2014 กูเกิลประกาศว่าได้ตกลงกับบริษัทดีปไมด์ เทคโนโลยีในการเข้าครองครองกิจการแล้ว นอกจากนี้ยังมีรายงานมาว่า เฟซบุ๊กเคยเข้ามาเจรจากับดีปไมด์ เทคโนโลยีเช่นกันแต่ได้ล้มเลิกไปก่อนในปี 2013 หลังจากนั้น บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น Google DeepMind มูลค่าในการเข้าครอบครองกิจการในครั้งนั้นอยู่ที่ประมาณ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (13,034 ล้านบาท) ถึง 500 ล้านปอนด์ (21,447 ล้านบาท) เงื่อนไขของทางดีปไมด์ในการเข้าครอบครองกิจการของกูเกิลคือ จะต้องมีการจัดตั้งบอร์ดจริยธรรมของปัญญาประดิษฐ์

Sundar Pichai
Sundar Pichai

ปี 2015

Google ปรับโครงสร้างบริษัท แยกโปรเจกต์นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์หลัก ให้อยู่ในความดูแลของ Alphabet (บริษัทแม่) แต่งตั้ง Sundar Pichai เป็นซีอีโอคนใหม่ รวมทั้งเปลี่ยนโลโก้บริษัทใหม่ด้วย

Google Assistant Pixel

ปี 2016

เปิดตัว Google Assistant สมาร์ทโฟน Pixel และ ลำโพง Google Pixel เป็นสมาร์ทโฟนของ Google จริงๆ ต่างจากตระกูล Nexus ที่ไปจ้างผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายอื่นให้มาดูแลการผลิตเป็นหลัก

Google EU

ปี 2018

EU สั่งปรับ Google 5 พันล้านดอลล่าร์ฯ (160,000 ล้านบาท) เรื่องผูกขาดการค้าผ่านแอนดรอยด์ EU อ้างว่าการกระทำของ Google ทำให้ผู้เล่นอื่นในตลาด Search บนมือถือแทบจะไม่มีหนทางมาแข่งขันบน Android ได้เลย นอกจากนี้ยังควบคุมการได้รับ License ของ Android OS เพื่อป้องกันการเติบโตของการแตกแขนงของ Android (Android Fork) ที่คู่แข่งอื่นอาจจะได้รับผลประโยชน์จากตรงนี้ ดังนั้น EU จึงยกเหตุนี้เป็นที่มาว่า Googleได้ประโยชน์การผูกขาดตลาด Search บนมือถือ นอกจากนี้ทาง EU ได้ขีดเส้นตายประมาณ 90 วันให้แก้ไขไม่เช่นนั้นจะเสี่ยงต่อการถูกปรับถึง 5% ของหลักทรัพย์ในตลาดของบริษัทแม่ของ Google อย่าง Alphabet

Advertisement

กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

Tanjen S.

ติดตามข่าวสารล่าสุดในวงการไอทีและเกมส์ วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอเป็นบทความข่าวที่น่าสนใจ อ่านง่าย และเข้าใจง่าย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button