วันสำคัญ

วันเกิด Google เว็บไซต์ Search Engine ที่ทุกคนรู้จัก

วันเกิด Google ตรงกับวันที่ 27 กันยายน ของทุกปี มาทำความรู้จักประวัติ Google เว็บไซต์ Search Engine ชื่อดังให้มากขึ้นกันเถอะ

วันเกิด Google

วันเกิด Google

กูเกิล (Google Inc.) (แนสแด็ก: GOOG และ LSE: GGEA) เป็นบริษัทมหาชนอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏใน Search Engine ของ Google e-mail Google Maps ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และ
You Tube รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีพนักงาน 98,771 คน (2018)

ประวัติ Google
image : Shawn Collins

ประวัติ Google

1995-1997 ช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้น

ในปี 1955 ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทกูเกิล 2 คนคือ แลร์รี่ เพจ และเซอร์เกย์ บริน ทั้งสองคนได้รู้จักกันที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สาขา Computer science ซึ่งในขณะนั้นทั้งคู่ยังเป็นนักศึกษาอยู่ แลร์รี่ เพจ อายุ 22 ปี เซอร์เกย์ บริน อายุ 21ปี ซึ่งแลร์รี่นั้นพึ่งจบจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน และสนใจที่จะมาเรียนต่อระดับปริญญาเอกที่สแตนฟอร์ด เซอร์เกย์จึงได้รับมอบหมายให้ให้พาแลร์รี่ไปชมรอบ ๆ มหาวิทยาลัย จนในเดือนมกราคม ปี 1996 แลร์รี่ เพจและเซอร์เกย์ บริน ได้ทำงานวิจัยร่วมกันในเครื่องมือค้นหา หรือ search engines ที่สมัยนั้นเรียกว่า BackRub ที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นและถูกนำไปใช้งานบนเซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดนานกว่า 1 ปี แต่ตอนหลังถูกยกเลิกไป

จากนั้นพวกเขาได้สร้างเครื่องมือค้นหารุ่นใหม่ที่มีชื่อว่า google ออกมา โดยกูเกิลจะส่งตัวสำรวจข้อมูลที่ชื่อว่า spider หรือ robot ออกสู่เครือข่าย www. เพื่อทำการค้นหาข้อมูลเมื่อพบหน้าเวปเพจใหม่พวกมันจะทำเนาแล้วส่งกลับมาให้เครื่องที่รออยู่ต้นทาง ในปี 1998 พวกเขาเก็บหน้าเวปได้มากถึง 25 ล้านหน้า แต่ตอนนั้นการใช้เครื่องมือค้นหายังไม่แพร่หลาย เจ้าของเวปไซต์บางคนจึงอาจไม่พอใจที่ถูกแทรกซึม จนเกือบจะมีการฟ้องร้องกันเพราะความเข้าใจผิด อย่างเช่นนักร้องชาวสิงคโปรที่เปิดเวปไซต์เป็นสาธารณะให้ทุกคนเข้าไปเก็บข้อมูลได้ แต่เขาก็ตกใจและรู้สึกถูกรุกล้ำที่จู่ ๆ คอมพิวเตอร์จากสแตนฟอร์ดได้มีการดาวน์โหลดเวปไซด์ของเขาไปพัน ๆ หน้า จนทางกูเกิลต้องออกมาชี้แจงว่า มันไม่ใช่การขโมยหน้าเวปเพื่อเอาไปเผยแพร่ซ้ำ แต่เป็นเพียงแค่การทำสารบัญทำให้คนค้นหาได้ง่ายขึ้น

ที่มาของชื่อ Google

กูเกิลจดทะเบียนโดเมนในวันที่ 15 กันยายน 1997 ในชื่อ google.com โดยชื่อ google นั้นเป็นการเล่นคำ มาจากคำว่า googol ซึ่งเป็นคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ที่ใช้เรียกจำนวนที่เขียนด้วยเลข 1 และตามหลังด้วยเลข 0 อีก 100 ตัว เซอร์เกย์ บริน เคยกล่าวแบบติดตลกไว้ว่าอาจจะเป็นเพราะในสมัยนั้นกูเกิลยังไม่มีโปรแกรมเช็คคำสะกดก็เลยทำให้ชื่อของกูเกิลเขียนออกมาเป็นแบบนี้ กำลังสงสัยว่าเป็นมุกใช่ไหมนี่?

Advertisement

ผลการตอบรับอย่างดีของผู้ใช้งานกูเกิลในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ทำให้มีการใช้งานมากขึ้นจนคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่รับไม่ไหว แลร์รี่ เพจและเซอร์เกย์ บรินจึงมองหาหุ้นส่วนที่ต้องการจดทะเบียนเทคโนโลยีนี้ วัตถุประสงค์ของพวกเขาต้องการให้ผู้คนได้เข้าถึงและรู้จักเทคโนโลยีมากขึ้นมากกว่าการทำเงิน แต่เมื่อพวกเขานำลิขสิทธิ์ของเครื่องมือค้นหานี้ไปเสนอให้กับหลายบริษัท เช่น Yahoo, AOL หรือบริษัทอื่น ๆ แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรเพราะในสมัยนั้นต่างก็คิดว่าเครื่องมือค้นหาที่ใช้งานกันอยู่ในตอนนั้นก็ถือว่าโอเคในระดับหนึ่งแล้ว พวกเขาเกือบจะขายกูเกิลให้กับ AltaVista ในราคา 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐโชคดีที่บริษัทแม่นั้นไม่เห็นด้วย เวลาที่เอาไปนำเสนอให้กับใครทุกจะบอกว่าดีแต่ก็ไม่มีใครซื้อ หรือจะว่าง่าย ๆ นักธุรกิจสมัยนั้นมองว่ากูเกิลไม่ใช่เครื่องมือที่จะทำเงินได้นั่นเอง

การก่อตั้ง Google Inc.

ดังนั้นเซอร์เกย์ บรินและแลร์รี่ เพจจึงคิดที่จะตั้งบริษัทขึ้นมารองรับ พวกเขาเริ่มมองหาผู้ร่วมลงทุน ในเดือนสิงหาคม ปี 1998 แอนดี้ เบคโทลไชม์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Sun Microsystems ก็เป็นคนแรกที่มองเห็นศักยภาพของเทคโนโลยีใหม่นี้แม้ว่าเขาไม่ค่อยรู้ว่าระบบค้นหานี้จะทำเงินได้อย่างไร เขาควักสมุดเช็คออกมาเขียนกันสด ๆ บนหลังคารถ แล้วก็ถามว่าแลร์รี่และเซอร์เกย์ว่า จะให้เขียนสั่งจ่ายในนามใคร พวกเขาจึงบอกว่าตั้งใจจะตั้งชื่อว่า Google ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีตัวตนซะด้วยซ้ำ จนวันที่ 4 กันยายน หรือสองสัปดาห์หลังจากที่รับเช็คมาแล้ว แลร์รี่และเซอร์เกย์จึงได้ไปยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัท Google Inc. ในรัฐแคลิฟอร์เนีย จากนั้นก็มีการเปิดบัญชีธนาคารในชื่อใหม่ของบริษัทเพื่อฝากเช็คจำนวน 100,000 ดอลล่าห์สหรัฐ ของแอนดี้ เบคโทลไชม์

เมื่อเริ่มก่อตั้งบริษัทใหม่ ๆ กูเกิลนั้นได้เช่าโรงจอดรถของเพื่อนที่ Menlo Park เพื่อตั้งเป็นสำนักงาน พนักงานคนแรกของบริษัทคือ Craig Silverstein ซึ่งเป็นเพื่อนที่เรียนปริญญาเอกด้วยกัน พวกเขาทำงานกันตลอด 24 ชั่วโมงเนื่องจากมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมากถึงวันละ 10,000 ครั้ง เริ่มมีคนพูดถึงกูเกิลกันมากขึ้น PC Magazine จัดอันดับ google ให้เป็น 1 ใน 100 สุดยอดเวปไซต์บริษัทกูเกิลเติบโตอย่างรวดเร็วมีผู้สนใจร่วมลงทุนด้วยเป็นจำนวนเงินสูงถึง 25 ล้านเหรียญ สำนักงานกูเกิลได้ย้ายไปอยู่ในย่านธุรกิจ

ปี 1999 กูเกิลอายุครบ 1 ปี มีพนักงาน 39 คน มีผู้เข้ามาใช้บริการสูงถึง 3 ล้านครั้งต่อวัน 1 ปีถัดมาก็เพิ่มเป็น 60 ล้านครั้งต่อวัน มีการนำโฆษณามาอยู่ในหน้าค้นหา มีการขยายบริษัทไปยังประเทศอิตาลี สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่นและจีน ต่อมามีการเพิ่มพนักงานอีกหลายร้อยคน ซึ่งมีตั้งแต่ระดับด็อกเตอร์หัวกะทิและมือดี ๆ อีกมากมาย เซอร์เกย์ บรินกล่าวว่าพนักงานของกูเกิลนั้นนอกจากจะหัวดี ทำงานเก่ง กระตือรือล้น แล้วยังต้องเป็นคนที่เข้ากันได้กับวัฒนธรรมของกูเกิล บรรยากาศในที่ทำงานเป็นแบบเปิดกว้าง มีอิสระ สนุกสนาน ทำให้ทุกคนตื่นตัวกับงาน มีความคิดสร้างสรรค์ ทำงานได้ดีมากขึ้น

ในสำนักงานของกูเกิลนั้น จะเป็นเหมือนกับห้องคิดงานผสมกับห้องเด็กเล่น ทำให้ใครก็อยากอยู่ทำงานด้วย มีอาหารให้ทานฟรี มีห้องสำหรับเล่นดนตรี มีโต๊ะพูลให้พนักงานเล่นและแลกเปลี่ยนความคิดกันไปด้วย วัฒนธรรมแบบนี้นี่เองที่กระตุ้นและจุดประกายทำให้พนักงานมีความคิดที่จะสร้างสรรค์ ค้นคิดสิ่งใหม่ ๆ ออกมา เช่นการค้นหาด้วยรูปภาพ แค็ตตาล็อก การเปรียบเทียบราคา ค้นหารายงานข่าว กิจการของกูเกิลนั้นเจริญเติบไปอย่างรวดเร็ว ปลายปี 2003 กูเกิลก็ได้เซ็นต์สัญญากับเจ้าของสินค้าไปแล้วกว่าแสนราย มีคนใช้งานกูเกิลในการประมวลค้นหามากกว่า 200 ล่านครั้งต่อวัน กูเกิลกลายเป็น search engines ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ปี 2004 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของกูเกิล มีการเปิดตัว Gmail ขึ้นในวัน April Fool’s Day เดือนเมษายน มีใครจำได้ไหมว่าในสมัยก่อนใครจะสมัคร Gmail ได้ ต้องได้รับคำเชิญจากสมาชิกเท่านั้น จนในทุกวันนี้มีคนใช้มากกว่า 425 ล้านคน ทราบหรือไม่ว่าชื่อ Gmail ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ตอนเริ่มโปรเจ็กต์พอล บุคเฮต์ตั้งชื้อให้ว่า Caribou โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการ์ตูน Dilbert และก็เป็นชื่อที่เรียกกันเฉพาะภายในกูเกิล นอกจากนี้แล้วในปี 2004 กูเกิลยังได้ซื้อกิจการของบริษัทจัดทำแผนที่ดิจิตัล Keyhole ซึ่งต่อมาก็กลายเป็น Google Earth ให้พวกเราได้ใช้กันแบบฟรีๆ ในทุกวันนี้

ผลิตภัณฑ์ของ Google

ผลิตภัณฑ์ของ Google

Chrome OS

ซอฟต์แวร์ของกูเกิล จะเป็นซอฟต์แวร์ให้ดาวน์โหลดใช้งานฟรี และทำงานผ่านระบบของกูเกิล

Google Talk

ทอล์ก ซอฟต์แวร์เมสเซนเจอร์และวีโอไอพี

Google Earth

เอิร์ธ ซอฟต์แวร์ดูภาพถ่ายผ่านดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ ภูมิประเทศของแต่ละประเทศ ของโลก

Picasa

ปีกาซา ซอฟต์แวร์สำหรับดูภาพภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้งานคู่กับเว็บไซต์ปีกาซา

Google Pack

แพ็ก เป็นชุดซอฟต์แวร์พร้อมดาวน์โหลด ประกอบด้วย โปรแกรมของกูเกิลเองได้แก่ เดสก์ท็อป ปีกาซา ทูลบาร์ โฟโต้สกรีนเซฟเวอร์ เอิร์ธ ทอร์ก วิดีโอเพลย์เยอร์ และโปรแกรมอื่นรวมถึง ไฟร์ฟอกซ์ สตาร์ออฟฟิศ อะโดบี รีดเดอร์ สไกป์

Google Chrome

โครม ซอฟต์แวร์เบราว์เซอร์

SketchUp

สเก็ตช์อัป ซอฟต์แวร์สำหรับวาดภาพสเก็ตช์ และภาพ 3 มิติ

Google sky map

สกาย แมพ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ดู แผนที่ดาว ตำแหน่งดาวเคราห์ และ ดาวฤกษ์ ของ กาแล็กซี่ต่างๆๆ

Google Map

แมพ ซอฟต์แวร์สำหรับค้นหาแผนที่บนโลก

Google Docs

Google Meet Docs

เอกสาร ซอฟต์แวร์ที่ใช้เกี่ยวกับ การเก็บข้อมูล ภาพ ข้อมูล เหมือนกับ Microsoft word

Google Meet Sheet

ชีต ซอฟต์แวร์ ที่ใช้เกี่ยวกับ การทำข้อมูล กราฟเส้น ต่างๆๆ เหมือนกับ Microsoft Excle

Google Meet Slides

สไลด์ ซอฟแวร์ ที่ใช้เกี่ยวกับ การนำเสนอ ข้อมูล ความรู้ เหมือนกับ Microsoft power point

Google Keep

คิป ซอฟแวร์ ที่ใช้เกี่ยวกับ การจดบันทึก สิ่งต่างๆๆหรือสิ่งสำคัญ ซึ่งเหมือนการเก็บข้อมูลใน สมุด หรือ ไดอารี่

บริการบนอินเทอร์เน็ต

  • Google Search — เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มีให้บริการมากกว่า 100 ภาษา
  • Google Groups — บริการเว็บบอร์ด และสร้างเว็บไซต์ของกลุ่ม
  • Google Image Search — บริการค้นหารูปภาพออนไลน์
  • Google Calendar — บริการปฏิทินและจดวันนัดหมาย
  • Gmail — บริการอีเมล
  • Google Zeitgeist — บริการเปิดให้ดูคำค้นหา คำนิยม รูปแบบ และแนวโน้มในการค้นหาผ่านกูเกิลเสิร์ช
  • Google Docs — บริการใช้งานซอฟต์แวร์สำนักงานรวมถึง เวิร์ด สเปรดชีต พรีเซนเตชัน ให้ผู้ใช้สามารถได้ฟรีออนไลน์ โดยเพิ่มเติมความสามารถในการแชร์และให้ผู้ใช้หลายคนสามารถแก้ไขไฟล์เดียวกันพร้อมกันได้โดยผู้ใช้ โดยเริ่มพัฒนาจากซอฟต์แวร์ ไรต์รี (Writely) และ กูเกิล สเปรดชีตส์ (Google Spreadsheet) เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อ 17 กันยายน 2550
  • Google Translate — บริการแปลข้อความผ่านเว็บไซต์ รวมถึงแปลเว็บไซต์ทั้งหน้า
  • Blogger — บริการเขียนบล็อก
  • Blog Search — บริการค้นหาบล็อก
  • Picasa — เว็บไซต์เก็บภาพ ใช้งานคู่กับซอฟต์แวร์ปีกาซา
  • Google Page — บริการสร้างเว็บไซต์
  • Google Notebok — บริการสมุดบันทึกออนไลน์
  • Google Maps — บริการแผนที่ ค้นหาที่อยู่ ค้นหาธุรกิจและร้านอาหาร
  • YouTube — บริการแชร์วิดีโอ
  • Google Video — บริการค้นหาวิดีโอออนไลน์
  • Google Webmaster — ให้บริการเครื่องมือสำหรับเว็บมาสเตอร์ ตรวจสอบเว็บไซต์ ค้นหาดัชนีการค้นหาผ่านกูเกิล ตรวจสอบโรบอตไฟล์
  • Google Scholar — บริการค้นหาวารสาร หนังสือ สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ
  • Google Sky — ดูดาว และระบบสุริยะจักรวาลผ่านเว็บไซต์
  • Google Directory — ค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ ข้อมูลจาก ดีมอซ
  • Orkut — เครือข่ายสังคมออนไลน์ลักษณะคล้ายกับ ไฮไฟฟ์ และเฟซบุ้ก ออกแบบโดยวิศวกรกูเกิลชาวตุรกี ออร์กัต บือยืกเคิกเทน (Orkut Büyükkökten) เปิดใช้งานเมื่อ มกราคม 2547
  • Google AdSense — ให้บริการโค้ดสำหรับติดตั้งโฆษณาบนเว็บไซต์ ทำงานคู่กับแอดเวิรดส์
  • Google AdWords — บริการโฆษณาผ่านเว็บไซต์ที่ติดตั้งแอดเซนส์
  • Google Analytics — บริการนับสถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ พร้อมระบบวิเคราะห์ผู้ใช้งาน
  • Google Play — บริการใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการของกูเกิลผ่านทางชื่อโดเมนส่วนตัว โดยแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้เช่น จีเมล แคเลนเดอร์ ทอล์ก ด็อกส์ โดยมีการให้บริการทั้งฟรีและเสียเงิน
  • iGoogle — ในชื่อเดิม เพอร์เซอนอลไลส์ ให้บริการทำหน้าเริ่มต้นในการเข้าชมเว็บไซต์ โดยสามารถนำเว็บฟีดและแก็ดเจ็ต จากเว็บอื่นมารวมได้
  • Google guru — เชิญให้สมาชิก Gmail เข้ามาตั้งคำถามและตอบคำถามได้ โดยมีคะแนนที่ทางกูเกิลให้เมื่อเข้ามาที่กูเกิล สามารถใช้ตั้งคำถามได้ เป็นเวอร์ชันทดลองให้ไปลองใช้กัน พบแต่ในประเทศไทยเท่านั้น (ปัจจุบันปิดใช้งานแล้ว)
  • Google Plus — เครือข่ายสังคมออนไลน์ล่าสุดจากกูเกิล (เปิดตัวในวันที่ 28 มิถุนายน 2554 โดยจำกัดจำนวนผู้ใช้งานให้ทดลองใช้เฉพาะผู้ที่มี invite หลังจากนั้นวันที่ 20 กันยายน 2554 ก็เปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปได้ใช้งานโดยไม่ต้องมี invite)
  • Google Music — บริการฟังเพลง-ดาวน์โหลดเพลงออนไลน์จากกูเกิล ในเบื้องต้นเปิดใช้เป็นทางการเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา

Advertisement

กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button