วันสื่อสารแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 4 สิงหาคม ของทุกปี เพื่อรำลึกถึงความสำคัญวันสื่อสารแห่งประเทศไทย มารู้จักประวัติความเป็นมาความสำคัญของการสื่อสารกัน
วันสื่อสารแห่งชาติ
การสื่อสารในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา “กรมไปรษณีย์และกรมโทรเลข” ขึ้น เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2526 และได้ทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นผู้สำเร็จราชการทั้งกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขเป็นพระองค์แรกต่อมาในปี 2441 ทั้ง 2 กรมนี้ได้รวมเป็นกรมเดียวกัน มีชื่อใหม่ว่า “กรมไปรษณีย์โทรเลข”
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กิจการสื่อสารของไทยได้พัฒนาก้าวหน้ามาเป็นสำดับ มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของทางราชการขึ้นอีกหลายหน่วยงาน เช่น กรมประชาสัมพันธ์ บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นต้น ในส่วนของภาคเอกชนก็มีบริษัทห้างร้านที่ดำเนินกิจการด้านการ สื่อสารเพิ่มมากขึ้น หน่วยงานเหล่านี้ได้ร่วมกันสนองพระราชปณิธานในอันที่จะพัฒนากิจการสื่อสารของประเทศให้เจริญก้าวหน้าตลอดมาจนบัดนี้
ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการสื่อสารได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ และบทบาทของภาคเอกชนมีมากขึ้นรวมทั้งการแข่งขัน ในกิจการสื่อสารทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ได้ทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ความได้เปรียบในเรื่องเศรษฐกิจของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ขึ้นอยู่กับการมีระบบการสื่อสารให้เจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับประเทศอื่น คณะรัฐมนตรีได้ตระหนักถึงบทบาทความสำคัญของการสื่อสารดังกล่าวเป็นอย่างดี จึงได้มีมติเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2546 กำหนดให้วันที่ 4 สิงหาคมของทุกปีเป็น “วันสื่อสารแห่งชาติ” นับตั้งแต่ 2526 เป็นต้นมา
ได้มีการจัดงานวันสื่อสารแห่งชาติขึ้นเป็นประจำทุกปี (ยกเว้นปี 2533 คณะกรรมการจัดงานวันสื่อสาร แห่งชาติได้มีมติให้งดการจัดแสดงนิทรรศการ คงมีแต่เฉพาะงานพิธีและการประชุมทางวิชาการเรื่องเทคโนโลยีพื้นฐานและการวางแผนระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม) และในการจัดงานวันสื่อสารแห่งชาติแต่ละปี จะเน้นหัวข้อการจัดงานแตกต่างกันไปทุกปี เช่น
- ปี 2528 หัวข้อการจัดงาน คือ การสื่อสารกับเยาวชนแห่งชาติ
- ปี 2530 หัวข้อการจัดงาน คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการสื่อสาร
- ปี 2535 หัวข้อการจัดงาน คือ การสื่อสารเพื่อทศวรรษหน้า
- ปี 2538 หัวข้อการจัดงาน คือ การสื่อสารกับการพัฒนาเทคโนโลยีการสนเทศ เนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศให้ปี 2538 เป็นปีเทคโนโลยีสารสนเทศไทย
กิจกรรมในวันสื่อสารแห่งชาติ
- พิธีถวายเครื่องสักการะพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
- การกล่าวคำปราศรัยของพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
- การจัดทำดวงตาไปรษณียากรที่ระลึกวันสื่อสารแห่งประเทศไทย
- การจัดนิทรรศการแสดงเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม
การสื่อสาร
การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส อาจอยู่ในรูปแบบของท่าทางสัญลักษณ์ บางอย่างอยู่ในรูปแบบของภาษา การสื่อสารเกิดจากความต้องการที่คนจะส่งข้อมูลหากัน การศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารอาจจำแนกได้หลายหมวดหมู่
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
- เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform) ในการทำการสื่อสาร ผู้ทำการสื่อสารควรมีความ ต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบ
- เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ถ่ายทอดวิชาความรู้ หรือเรื่องราวเชิงวิชาการ เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
- เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain) ผู้ทำการสื่อสารอาจ ใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ หรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร โดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยาต่าง ๆ
- เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ใน การสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ หรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร และอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน
- เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสาร การแสวงหาความรู้ ของผู้รับสาร โดยอาศัยลักษณะของสาร ในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้ เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำการสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน
- เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide) ในการดำเนินชีวิตของคนเรามี สิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำ อยู่เสมอก็คือ การตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการตัดสินใจ นั้นอาจได้รับการเสนอแนะ หรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ ทางเลือกในการ ตัดสินใจของเราจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอแนะนั้น
ความสำคัญของการสื่อสาร
- การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร ทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน การทำธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาการทางสังคม จึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร
- การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง วิถีชีวิตของผู้คน ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
- การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสาร จำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ
การสื่อสารมีกี่ประเภท
1. จำนวนผู้ทำการสื่อสาร
การสื่อสารภายในตัวบุคคล (intrapersonal communication)
ตัวอย่างการสื่อสาร
- การพูดกับตัวเอง
- การคิดคำนึงเรื่องต่าง ๆ
- การร้องเพลงฟังเอง
- การคิดถึงงานที่จะทำ
การสื่อสารระหว่างบุคคล (interpersonal communication)
ตัวอย่างการสื่อสาร
- การพูดคุยระหว่างบุคคล 2 คนขึ้นไป
- การพูดคุย
- การเขียนจดหมาย
- การโทรศัพท์
- การประชุมกลุ่มย่อย เป็นต้น
การสื่อสารกลุ่มใหญ่ (large group communication)
ตัวอย่างการสื่อสาร
- การอภิปรายในหอประชุม
- การพูดหาเรื่องเลือกตั้ง
- การปราศรัยในงานสังคม
- การกล่าวปาฐกถา ในหอประชุม
- การบรรยายทางวิชาการ ณ ศูนย์เรียนรวม
การสื่อสารในองค์กร (organizational communication)
ตัวอย่างการสื่อสาร
- การสื่อสารในบริษัท
- การสื่อสารในหน่วยงาน ราชการ
- การสื่อสารในโรงงาน
- การสื่อสารของธนาคาร
การสื่อสารมวลชน (mass communication)
ตัวอย่างการสื่อสาร
- หนังสือพิมพ์, นิตยสาร
- วิทยุ
- โทรทัศน์
- ภาพยนตร์
2. การเห็นหน้ากัน
การสื่อสารแบบเผชิญหน้า (face to face communication)
ตัวอย่างการสื่อสาร
- การสนทนาต่อหน้ากัน
- การประชุมสัมมนา
- การสัมภาษณ์เฉพาะหน้า
- การเรียนการสอนในชั้นเรียน
- การประชุมกลุ่มย่อย
การสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้า (interposed communication)
ตัวอย่างการสื่อสาร
- เอกสารการสื่อสารที่ผ่าน สื่อมวลชนทุกชนิด
- หนังสือพิมพ์
- วิทยุ
- โทรทัศน์
- วีดิทัศน์การสื่อสารที่ผ่าน สื่อมวลชนทุกชนิด
- จดหมาย/โทรเลข/โทรสาร
- อินเตอร์เน็ต
3. ความสามารถในการโต้ตอบ
การสื่อสารทางเดียว (one-way communication)
ตัวอย่างการสื่อสาร
- การสื่อสารที่ผ่านสื่อมวลชนทุกชนิด
- วิทยุ/โทรทัศน์/วีดิทัศน์
- โทรเลข/โทรสาร
- ภาพยนตร์
การสื่อสารสองทาง (two-way communication)
ตัวอย่างการสื่อสาร
- การสื่อสารระหว่างบุคคล
- การสื่อสารในกลุ่ม
- การพูดคุย / การสนทนา
4. ความแตกต่างระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร
การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ (interracial communication)
ตัวอย่างการสื่อสาร
- ชาวไทยสื่อสารกับคน ต่างประเทศ
- คนจีน, มาเลย์, อินเดีย ใน ประเทศมาเลเซีย สื่อสารกัน
การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (gosscultural communication)
ตัวอย่างการสื่อสาร
- การสื่อสารระหว่างคนไทยภาคใต้กับภาคเหนือหรือ ภาคอื่น ๆ
- ชาวไทยสื่อสารกับชาวเขา เป็นต้น
การสื่อสารระหว่างประเทศ (international communication)
ตัวอย่างการสื่อสาร
- การเจรจาติดต่อสัมพันธ์ทางการทูต
- การเจรจาในฐานะตัวแทน รัฐบาล
5. การใช้ภาษา
การสื่อสารเชิงวัจนภาษา (verbal communication)
ตัวอย่างการสื่อสาร
- การพูด, การบรรยาย
- การเขียนจดหมาย, บทความ
การสื่อสารเชิงอวัจนภาษา (non-verbal communication)
ตัวอย่างการสื่อสาร
- การสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ, คำพูด
- อาการภาษา, กาลภาษา, เทศภาษา, สัมผัสภาษา, เนตรภาษา, วัตถุภาษา และปริภาษา
ประโยชน์ของการสื่อสาร
- เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร คือ การแจ้งข้อมูลข่าวสารขององค์การต่อพนักงานเพื่อให้พนักงานสามารถประสาน และบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
- เพื่อกระตุ้นและจูงใจ การ จูงใจเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาการทำงานของพนักงานในองค์การ จะได้รับการจูงใจและการกระตุ้นจากการสื่อสาร องค์การจะมีประสิทธิภาพหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการชักจูงผ่านการ สื่อสารดังกล่าว
- เพื่อประเมินผลการทำงาน ปัจจุบัน องค์การมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจึงทำให้ต้องมีการประเมินผลการทำงานสม่ำ เสมอเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการทำงาน ดังนั้นกระบวนการสื่อสารจะต้องมีประสิทธิภาพและสมบูรณ์พร้อมมีการส่งข้อมูล ย้อนกลับ ซึ่งจะทำให้องค์การสามารถดำเนินงานไปในแนวทางที่ถูกต้อง
- เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในหมู่คณะ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับพนักงานผู้บริหารกับผู้บริหาร พนักงานกับพนักงานทั้งในสายการบังคับบัญชาที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการก็ จะเกิดจากการสื่อสารระหว่างกันทั้งสิ้น การสื่อสารจึงเป็นตัวสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและทำให้องค์การดำรงอยู่ และพัฒนาไปได้ในทุกสถานการณ์
- เพื่อวินิจฉัยสั่งการหน้าที่ อย่างหนึ่งของฝ่ายบริหารก็คือการออกคำสั่งกับกลุ่มบุคคลที่อยู่ในองค์การ การออกคำสั่งดังกล่าวจำเป็นต้องใช้การสื่อสารที่รวดเร็ว แน่นอนและถูกต้อง ดังนั้นถ้าผู้บริหารไม่ใช้การสื่อสารก็ไม่สามารถสั่งการหรือมอบหมายหน้าที่ ให้พนักงานดำเนินการได้เลย