วันงดสูบบุหรี่โลก (WHO WORLD NO TOBACCO DAY) ตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี มารู้จักกิจกรรมและคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกกัน
วันงดสูบบุหรี่โลก
องค์การอนามัยโลกได้มีการประกาศให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น วันงดสูบบุหรี่โลก (World No Tobacco Day) ตั้งแต่ปี 2531 เนื่องจากเล็งเห็นอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพ ของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ ให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรมและกระตุ้นให้รัฐบาลกำหนดนโยบาย/กฏหมายเพื่อควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลกระบุชัดเจนว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่สามารถป้องกันได้ และกำหนดให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก (World No Tobacco Day) วันงดสูบบุหรี่โลกครั้งแรก ใช้คำขวัญ “บุหรี่หรือสุขภาพ ต้องเลือกสุขภาพ”
คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก
- 2531 — บุหรี่หรือสุขภาพ ต้องเลือกสุขภาพ
- 2532 — พิษของบุหรี่ต่อสตรี ยิ่งมีมากกว่าบุรุษ
- 2533 — เติบโตอย่างสดใส ห่างไกลจากภัยบุหรี่
- 2534 — สถานที่สาธารณะและยวดยานปลอดบุหรี่
- 2535 — ที่ทำงานปลอดบุหรี่ สุขภาพดี ชีวีปลอดภัย
- 2536 — บุคลากรสาธารณสุขร่วมสร้างสรรค์สังคมปลอดบุหรี่
- 2537 — ทุกสื่อร่วมใจต้านภัยบุหรี่
- 2538 — บุหรี่ก่อความสูญเสียมากกว่าที่คุณคิด
- 2539 — ศิลปะและกีฬาไม่พึ่งพาบุหรี่
- 2540 — ผนึกกำลังเพื่อสังคมปลอดบุหรี่
- 2541 — คนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่
- 2542 — อนาคตมีคุณค่า เมื่อบอกลา…เลิกบุหรี่
- 2543 — บุหรี่คร่าชีวิต อย่าหลงผิดตกเป็นเหยื่อ
- 2544 — เห็นใจคนรอบข้าง ร่วมสร้างอากาศสดใส ปลอดจากภัยควันบุหรี่
- 2545 — กีฬาปลอดบุหรี่ ส่งผลดีต่อสุขภาพ
- 2546 — ภาพยนตร์ปลอดบุหรี่ ส่งผลดีต่อเยาวชน
- 2547 — “บุหรี่ : ยิ่งสูบ…ยิ่งจน” ครอบครัวปลอดบุหรี่ จะมั่งมีและแข็งแรง
- 2548 — ทีมสุขภาพร่วมใจ ขจัดภัยบุหรี่
- 2549 — บุหรี่ทุกชนิดนำชีวิตสู่ความตาย
- 2550 — ไร้ควันบุหรี่ สิ่งแวดล้อมดี ชีวีสดใส
- 2551 — เยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจ ต้านภัยบุหรี่
- 2552 — เตือน! ควันบุหรี่ฆ่าคุณ
- 2553 — หญิงไทยฉลาด ไม่เป็นทาสตลาดบุหรี่
- 2554 — พิทักษ์สิทธิตามกฎหมาย มุ่งสู่สังคมไทยปลอดบุหรี่
- 2555 — จับตา เฝ้าระวัง ยับยั้งอุตสาหกรรมยาสูบ
- 2556 — ไม่ใช้ ไม่รับ ไม่สนับสนุนโฆษณายาสูบร้าย ทำลายชีวิต
- 2557 — บุหรี่ ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด
- 2560 — บุหรี่ภัยคุกคามต่อการพัฒนา
- 2561 — บุหรี่ตัวร้ายทำลายหัวใจ
กิจกรรมวันงดสูบบุหรี่โลก
- จัดทำชุดสื่อรณรงค์สร้างกระแส และชุดข้อมูลสำหรับสื่อมวลชน
- จัดการแถลงข่าวประเด็น นักวิชาการรวมพลังร่วมประกาศเจตจำนงร่วมกันในการปกป้องเด็กไทยจากบุหรี่ รวมถึงศิลปินดารา
- กิจกรรมเนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก มหกรรมสื่อเยาวชน การแสดงผลงานของเยาวชนที่ชนะการประกวดสื่อสร้างสรรค์วัยมันไร้ควันบุหรี่ นิทรรศการ มหกรรมสื่อเยาวชน
- การจัดนิทรรศการ วันงดสูบบุหรี่โลก โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนเครือข่ายให้ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์
บุหรี่
บุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 120 มิลลิเมตร และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร) มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อกระดาษ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟ และอีกด้านหนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน คำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายใน แต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสมุนไพรอื่น ๆ เช่น กัญชา
ประวัติบุหรี่
ชาวอินเดียนแดงซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา ได้เริ่มต้นใช้ยาสูบเป็นพวกแรก โดยปลูกยาสูบเพื่อใช้เป็นยาและนำมาสูบในพิธีกรรมต่าง ๆ ในปี 2035 เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) เดินเรือไปขึ้นฝั่งที่ซันซัลวาดอร์ ในหมู่เกาะเวสต์อินดีส์นั้น ได้เห็นชาวพื้นเมืองนำเอาใบไม้ชนิดหนึ่งมามวนและจุดไฟตอนปลายแล้วดูดควัน ต่อมาปี 2091 มีการปลูกยาสูบในบราซิลซึ่งเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสในทวีปอเมริกาใต้ เพื่อเป็นสินค้าส่งออก เป็นผลให้ยาสูบแพร่หลายเข้าไปในประเทศโปรตุเกสและสเปนตามลำดับ ต่อมาในปี 2103 นายฌอง นิโกต์ (Jean Nicot) เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศโปรตุเกส ได้ส่งเมล็ดยาสูบมายังราชสำนักฝรั่งเศส ชื่อของนายนิโกต์จึงเป็นที่มาของชื่อสารนิโคติน (Nicotin) ที่รู้จักกันในปัจจุบัน ในปี 2107 เซอร์จอห์น ฮอคกินส์ (Sir John Hawkins) ได้นำยาสูบเข้าไปในประเทศอังกฤษ และในปี 2155 นายจอห์น รอลฟ์ (John Rolfe) ชาวอังกฤษ ประสบผลสำเร็จในการปลูกยาสูบเชิงพาณิชย์ เป็นครั้งแรก และ 7 ปีต่อมา ก็ได้ส่งออกผลผลิตไปยังประเทศอาณานิคมเป็นจำนวนมหาศาล อีก 200 ปีต่อมา การทำไร่ยาสูบเชิงพาณิชย์จึงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วโลก
ประเภทของบุหรี่
บุหรี่มี 2 ชนิดคือ บุหรี่ที่มวนเอง และบุหรี่ที่ผลิตโดยเครื่องจักร บุหรี่ที่มวนเอง ทำโดยใช้ใบตองแห้ง ใบบัว หรือกระดาษ ที่ใช้มวนห่อใบยาสูบ บุหรี่ชนิดนี้จะดับง่าย เนื่องจากไม่มีการปรุงแต่งสารเคมี ที่ช่วยให้ไฟติดทน สำหรับบุหรี่ที่ผลิตโดยเครื่องจักรมี 2 ชนิด คือ บุหรี่ที่ไม่มีก้นกรอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุหรี่ราคาถูก และบุหรี่ที่มีก้นกรอง
นอกจากนี้บริษัทบุหรี่ยังผลิตบุหรี่ ชนิดที่เรียกว่า “ไลต์” และ “ไมลด์” โดยระบุไว้ว่า เป็นบุหรี่ชนิดรสอ่อน ที่มีอันตรายต่อสุขภาพน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา แต่จากการวิจัยพบว่า บุหรี่ทั้ง 2 ชนิด มิได้มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดาแต่อย่างใด เพียงแต่ต่างกันที่รสชาติเท่านั้น และบุหรี่ชนิดที่มีก้นกรอง จะสามารถกรองละอองสาร ที่มีขนาดใหญ่ได้บางชนิดเท่านั้น โดยสารทาร์และนิโคติน ซึ่งมีขนาดเล็กยังคงผ่านเข้าไปได้ ในปริมาณเดียวกับการสูบบุรี่ ที่ไม่มีก้นกรอง
บุหรี่ ต่างจาก ซิการ์ (Cigar) ตรงที่บุหรี่นั้นมีขนาดเล็กว่า และใบยาสูบนั้นจะมีการบดหรือซอย รวมทั้งกระดาษที่ห่อ ซิการ์โดยปกติจะใช้ใบยาสูบทั้งใบ ซิการ์ชนิดที่มีขนาดเล็กพิเศษเท่าบุหรี่ เรียกว่า ซิการ์ริลโล (Cigarillo) บุหรี่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนสงครามแห่งครายเมีย เมื่อทหารแห่งจักรวรรดิอังกฤษ เริ่มเลียนแบบการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อใบยาสูบ จากทหารตุรกีแห่งอาณาจักรออตโตมัน
ส่วนประกอบบุหรี่
ตัวบุหรี่แต่ละมวนจะประกอบไปด้วยกระดาษห่อยาสูบมวนบุหรี่ ซึ่งมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาวประมาณ 120 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร และใบยาสูบบดหรือซอยที่ผ่านกรรมวิธีกระบวนการผลิตยาสูบ แล้วเพิ่มสารเคมีในบุหรี่ เพื่อให้เป็นที่ถูกใจของผู้สูบบุหรี่ มีจำนวนมากกว่า 4,000 ชนิดเลยทีเดียว แล้วบรรจุในกระดาษห่อ โดยด้านหนึ่งจะใช้สำหรับจุดไฟ ส่วนอีกด้านมีก้นกรองสำหรับดูด
สารเคมีในบุหรี่และโทษของสารแต่ละชนิด
- นิโคติน — เป็นสารเคมีในบุหรี่ที่ทำให้คนติดบุหรี่และมีผลต่อการกระตุ้นสมองกับกดประสาทส่วนกลาง หากถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดจะมีผลต่อต่อมหมวกไต ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดที่แขนขาหดตัว และเพิ่มไขมันในเส้นเลือด
- อะซีโตน — มีผลต่อระบบหายใจที่ทำให้มีอาการระคายเคืองในเยื่อบุทางเดินหายใจ รู้สึกเวียนศีรษะ เป็นพิษที่ปอดที่ทำให้เกิดพังผืด เซลล์ตับตาย และหากสะสมในสมองจะทำให้ระบบประสาทเสื่อม
- แอมโมเนียม — มีผลในการรบกวนการหลั่งสารสื่อประสาท รบกวนการสร้างพลังงานภายในเซลล์สมองต่าง ๆ เกิดอาการระคายเคืองแสบตาและจมูก
- สารหนู — ทำลายระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งยังทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด
- บิวเทน — เป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ทำให้สายตาพร่ามัว ร่างกายเมื่อยล้า ปวดศีรษะ และยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็ง
- แคดเมียม — มีผลต่อไตกับสมองที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
- คาร์บอนมอนนอกไซด์ — ทำลายเม็ดเลือดแดงไม่ให้จับออกซิเจนได้เท่าเวลาปกติ ส่งผลให้ร่างกายเกิดการขาดออกซิเจน ทำให้การตัดสินใจช้า มึนงง เหนื่อยง่าย และเป็นต้นเหตุของโรคหัวใจ
- โครไลโนไทรล์ — ทำให้เกิดโรคโลหิตจางอย่างอ่อน ปลายมือเท้าซีด เม็ดเลือดขาวลด ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองกับเยื่อบุตา จมูก และปอด
- ไซยาไนด์ / ไฮโดรเจนไซยาไนด์ — ทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะมากในตอนเช้า เนื่องจากไซยาไนด์เข้าไปทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมตอนต้นนั่นเอง
- ไนโตรเจนไดออกไซด์ — ทำลายเยื่อบุหลอดลมตอนปลาย ทำให้เกิดผนังถุงลมโป่งพอง เมื่อถุงลมเล็ก ๆ แตกรวมกันเป็นถุงลมใหญ่จะส่งผลให้มีถุงลมน้อยลง และการยืดหยุ่นในการหายใจน้อยลงด้วยเช่นกัน
- ฟอร์มาลดีไฮด์ — ทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ทางเดินหายใจและเยื่อบุตา ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ อีกทั้งยังเป็นสารเคมีที่ใช้ในการดองศพ
- ตะกั่ว — มีผลต่อระบบประสาท เลือด ไต และระบบสืบพันธุ์ ทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อม เป็นโรคความดันโลหิตสูง การได้ยินผิดปกติ ก่อให้เกิดมะเร็ง็็ง็ โดยมักจะพบสารเคมีชนิดนี้ในโรงงานอุตสาหกรรม
- เมทิล เอทิล คีโทน — ทำให้จมูกกับตาระคายเคืองและกดระบบประสาท
- ปรอท — มีผลต่อสมองที่ทำให้ความจำเสื่อม ใจสั่น และเป็นสาเหตุการเกิดโรคไต
- พอโลเนียม — เป็นสารกัมมันตรังสีที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด และยังเป็นพาหะร้ายแรงที่จะทำให้ผู้คนรอบข้างที่ไม่สูบบุหรี่ได้รับสารพิษต่าง ๆ ในบุหรี่ไปด้วย
- ทาร์ — ก่อให้เกิดโรคมะเร็งที่ปอด กล่องเสียง หลอดอาหาร หลอดลม ไต กระเพาะปัสสาวะ และอวัยวะอื่น ๆ ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังและมีเสมหะ
โทษของบุหรี่และโรคที่เกิดจากบุหรี่
- เสี่ยงตาบอดถาวร
- เสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- เสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
- เสี่ยงโรคระบบทางเดินอาหาร
- เสี่ยงหลอดเลือดสมองตีบ
- เสี่ยงถุงลมโป่งพอง
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
- เสี่ยงแท้งลูก
- เสี่ยงโรคหอบหืด
- ทำลายสุขภาพทารกในครรภ์
- เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดได้ถึง 2 เท่า
- ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองช้ากว่าปกติ
อาการของคนสูบบุหรี่
ผมร่วง
การ สูบบุหรี่กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายไวต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น Lupus erythematosus ซึ่งทำให้ผมร่วง ผื่นขึ้นใบหน้า หนังศีรษะและมือ
ต้อกระจก
เชื่อ กันว่าการสูบบุหรี่ทำให้สุขภาพดวงตาเสื่อมลงคนที่สูบบุหรี่มีอัตราการเกิด ต้อกระจกสูงกว่าคนปกติถึง 40 % โดยต้อกระจกจะทำให้เลนส์ดวงตามัว ขวางลำแสงและอาจทำให้ตาบอดได้
ฟันผุ
สูบ บุหรี่มีผลรบกวนต่อสภาพทั่วไปในช่องปาก ทำให้เกิดคราบฟันเหลืองและฟันผุได้ คนที่สูบบุหรี่จะมีโอกาสสูญเสียฟันได้มากกว่าคนปกติ 1 เท่าครึ่ง
กระดูกพรุน
คาร์บอน มอนนอกไซด์เป็นก๊าซพิษหลักที่พ่นออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์และควันบุหรี่จะไป จับกับเม็ดเลือดได้ดีกว่าออกซิเจน ภายในร่างกายของคนที่สูบบุหรี่ ทำให้ออกซิเจนในเม็ดเลือดลดลงถึง 15 % ผลที่ตามมาคือ กระดูกของคนที่สูบบุหรี่จะสูญเสียความหนาแน่น หักง่าย ใช้เวลาในการรักษายาวนานกว่าเดิม 80 % นอกจากนี้คนที่สูบบุหรี่จะมีปัญหาปวดหลังมากกว่าคนปกติ 5 เท่า
ถุงลมโป่งพอง
นอก จากมะเร็งปอดแล้ว การสูบบุหรี่ ยังทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง ( Emplysema ) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดถุงลมบวมและแตก ส่งผลให้ปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ตามปกติ ในผู้ป่วยที่เป็นรุนแรงมากจะต้องทำการเจาะคอช่วยในการหายใจ เป็นการเปิดช่องอากาศผ่านเข้าไปในปอด
นิ้วเหลือง
ส่วนประกอบของสารทาร์ ( Tar ) ในบุหรี่ จะคั่งค้างตามนิ้วมือและเล็บ ทำให้นิ้วมือเป็นสีเหลืองน้ำตาล
เชื้ออสุจิผิดปกติ
การ สูบบุหรี่ทำให้เชื้ออสุจิผิดปกติ และทำลายพันธุกรรม ( DNA) ของเชื้ออสุจิ จึงทำให้เกิดการแท้งได้หรือเด็กเกิดมาผิดปกติ การสูบบุหรี่ยังลดปริมาณอสุจิและทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงที่องคชาตได้ น้อยลง จึงทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และยังพบว่าผู้ชายที่เป็นหมันส่วนใหญ่เป็นผู้ที่สูบบุหรี่
โรคสะเก็ดเงิน
คน ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคสะเก็ดเงินได้มากกว่าคนปกติ 2 – 3 เท่า โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคไม่ติดต่อที่มีการอักเสบของผิวหนังทำให้เกิดอาการคัน มีผื่นแดง พุพอง ทั่วร่างกาย
โรคการอักเสบของผิวนังชนิด Buerger
โรค การอักเสบของผิวหนังชนิด Buerger หรือโรค thromboangitis obliterans เป็นการอักเสบของเส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำ และเส้นประสาทที่ขา และจำกัดเลือดที่ไปเลี้ยงขา ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เนื้อตาย (Gangrene) จนต้องตัดขาบริเวณที่เนื้อตาย
ผิวหนังเหี่ยวย่น
การ สูบบุหรี่ทำให้ผิวหนังดูแก่ก่อนวัย เนื่องจากไปมีผลกับโปรตีนที่ให้ความยืดหยุ่นต่อผิวหนัง ทำให้ผิวหนังขาดวิตามินเอ และไปจำกัดการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงที่ผิวหนัง สภาพผิวของคนที่สูบบุหรี่จึงแห้งหยาบและมีริ้วรอย เส้นเล็ก ๆ โดยเฉพาะรอบริมฝีปากและดวงตา
มะเร็งผิวหนัง
การ สูบบุหรี่ไม่ทำให้เกิด melanoma (มะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่งที่อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต ) แต่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะตายจาก melanoma คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งผิวหนังชนิด cutaneus squamous cell cancer มากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า ซึ่งทำให้ผิวหนังเป็นขุยลอก เป็นผื่นแดง
การสูญเสียการได้ยิน
คนที สูบบุหรี่จะสูญเสียการได้ยินมากกว่าคนปกติเนื่องจากบุหรี่ไปทำให้เกิดคราบ ( plaque ) บนผนังเส้นเลือด ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปสู่หูชั้นในได้น้อยลง นอกจากนี้ยังพบปัญหาการติดเชื้อของหูชั้นกลางในคนที่สูบบุหรี่มากกว่าคนปกติ ถึง 3 เท่า
โรคหัวใจ
สถิติ โรคพบว่า 1 ใน 3 ของการตายมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่ง ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจในประเทศกำลังพัฒนาพบว่ามีคนตายด้วย โรคหัวใจมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี โดยในแต่ละปีมีผู้ที่ตายด้วยโรคหัวใจจากการสูบบุหรี่มากกว่า 6 แสนคน การสูบบุหรี่มีผลทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและเส้นเลือดอุดตันจนเกิดเป็นโรค หัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและอัมพาต
แผลในกระเพาะอาหาร
การ สูบบุหรี่ทำให้ร่างกายมีความต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรียลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้กระเพาะอาหารไม่สามารถปรับสภาพน้ำย่อยที่มีฤทธิ์เป็นกรดให้กลายสภาพ เป็นกลางได้ภายหลังการรับประทานอาหาร ทำให้มีการกัดกร่อนของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำการรักษาได้ยากและมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ง่ายกว่า
มะเร็งมดลูกและการแท้งลูก
ผู้หญิง ที่สูบบุหรี่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งมดลูก อีกทั้งยังให้เกิดการมีบุตรยากและเกิดภาวะแทรกซ้อนเวลาตั้งครรภ์และคลอดบุตร แม่ที่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์จะทำให้เด็กที่เกิดใหม่มีน้ำหนักตัวน้อย กว่าปกติและยังมีการพบว่าคนที่สูบบุหรี่มีโอกาสที่จะแท้งลูกและทำให้เด็ก เสียชีวิตระหว่างคลอดมากกว่าคนที่ไม่สูบ 2 – 3 เท่า เนื่องจากทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน การสูบบุหรี่ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายของทารกเฉียบพลัน ( Sudden Infant Death Syndrome : SIDS ) ที่ทำให้ทารกเสียชีวิตทันที นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังไปมีผลลดระดับเอสโตรเจนทำให้การหมดประจำเดือนเกิด ขึ้นกว่าปกติ
มะเร็ง
พบ ว่าส่วนประกอบมากกว่า 40 ชนิดในควันบุหรี่ ทำให้เกิดมะเร็งปอดมากกว่าคนไม่สูบ 22 เท่า และจากผลการวิจัยพบว่ายิ่งสูบบุหรี่มานานเท่าใด จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงจากการเกิดมะเร็งระบบอื่น ๆ รวมทั้ง มะเร็งจมูก (มากกว่า 2 เท่า) ลิ้น ปาก ต่อมน้ำลาย คอหอย (6 – 7 เท่า) คอ (12 เท่า) หลอดอาหาร (8 – 10 เท่า) กล่องเสียง (10 – 18 เท่า) กระเพาะอาหาร (2 – 3 เท่า) ไต (5 เท่า) กระเพาะปัสสาวะ 3 เท่า ทวารหนัก (5 -6 เท่า) และมีบางการศึกษาที่รายงานพบว่าการสูบบุหรี่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด มะเร็งเต้านม
เลิกบุหรี่
- ปรับพฤติกรรม เนื่องจากคนส่วนใหญ่ที่พยายามเลิกบุหรี่ด้วยการสูบให้น้อยลงนั้น ในที่สุดจะกลับไปสูบมากขึ้นอย่างเดิม หรือสูบมากกว่าเดิมเสียอีก โดยในระยะแรก ๆ ที่เลิกสูบ มักจะเกิดอาการอยากบุหรี่อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งถือเป็นอาการที่ไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เพราะเป็นการเสพติดมาจากพฤติกรรมการสูบเดิม ดังนั้นหากมีอาการอยากสูบบุหรี่ล่ะก็ แนะนำให้หาหมากฝรั่ง ลูกอม หรือดมยาดม เพื่อให้ติดเป็นนิสัยใหม่แทนการสูบบุหรี่ ใช้ หมากฝรั่งนิโคตินมาเคี้ยวจะดีมาก
- หลีกเลี่ยงสถานที่หรือช่วงระยะเวลาที่เคยสูบบุหรี่อยู่เป็นประจำ เพราะความเคยชินเหล่านั้น อาจจะเป็นสาเหตุทำให้หวนกลับไปสูบบุหรี่อีกครั้ง ลองหาสถานที่ใหม่ ๆ หรือเดินออกกำลังกายเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ช่วยได้มากไม่น้อย
- การดื่มน้ำก็เป็นตัวช่วยที่ดี เช่นกัน คนที่เลิกบุหรี่ควรดื่มน้ำไม่ต่ำกว่าวันละ 10 แก้วหรือปริมาณ 2 ลิตรต่อวัน เพราะน้ำจะเป็นตัวช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายและจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น
- การเลือกรับประทานอาหาร ผู้ที่เลิกบุหรี่ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภท เผ็ด เค็ม มัน หวาน เพราะอาหารประเภทเหล่านี้ก็เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้สูบอยากสูบบุหรี่เช่นกัน ในช่วงที่เลิกบุหรี่ควรรับประทานผักผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้รสเปรี้ยว ที่เป็นตัวช่วยที่ดีในการลดอาการอยากสูบบุหรี่ ผลไม้ควรเป็นผลไม้สดเท่านั้น
- การนำมะนาวมาเป็นตัวช่วย แนะนำให้หันมะนาวทั้งเปลือกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่กล่องพกติดตัวไว้ เมื่อมีความรู้สึกอยากสูบบุหรี่ขึ้นมาก็หยิบมะนาวขึ้นมาอมและขณะเวลาอมควรอมช้า ๆ และเคี้ยวเปลือกมะนาวแล้วกลืน การทำเช่นนี้จะช่วยได้เพราะรสขมของผิวมะนาวจะช่วยทำให้รู้สึกขมปากขมคอ จนไม่อยากสูบบุหรี่
- การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายทุกวัน วันละอย่างน้อย 30 นาที เพราะยิ่งออกกำลังกายมากเท่าไหร่ ปอดก็จะยิ่งแข็งแรง นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยให้ร่างกายขับพิษออกมากับเหงื่อได้อีกด้วย
- การย้ำเตือนตนเอง หากคิดที่จะสูบบุหรี่ขึ้นเมื่อไหร่ ก็ขอให้ย้ำกับตนเองอยู่เสมอว่า ที่เลิกนั้นเพื่ออะไร และให้ทำตามเป้าหมายการเลิกบุหรี่ของตนเองตามที่ตั้งใจไว้ให้ดีที่สุด