วันสำคัญ

วันพยาบาลสากล

วันพยาบาลสากล ตรงกับวันที่ 12 พฤษภาคม ของทุกปี กำหนดให้เป็นวันพยาบาลสากล เพื่อระลึกถึงผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพพยาบาล มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล

วันพยาบาลสากล

วันพยาบาลสากล (ภาษาอังกฤษ: International Nurses Day ;IND) สภาพยาบาลระหว่างประเทศ (International Council of Nurses, ICN) ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพพยาบาล ได้กำหนดให้วันที่ 12 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันพยาบาลสากล (International Nurses Day) โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี 2514

ทั้งนี้เนื่องจากวันที่ 12 พฤษภาคม เป็นวันเกิดของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพการพยาบาล และเป็นผู้ที่มีอุดมการณ์ตั้งใจจะบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อมวลมนุษย์อย่างแท้จริง จนได้รับการยกย่องและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล

มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล

มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) เป็นชาวอังกฤษ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2363 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ครอบครัวของ Florence Nightingale จัดว่ามีฐานะ จึงทำให้เธอได้รับการศึกษาอย่างดี Florence Nightingale มีความตั้งใจที่จะเป็นพยาบาล ดังนั้นเมื่อเธออายุได้ 20 ปี ได้ขอบิดามารดาเรียนพยาบาลแต่ไม่ได้รับการอนุญาตเนื่องจากในสมัยนั้นงานพยาบาลไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร แต่เธอก็ยังมุ่งมั่นที่จะทำงานเสียสละเพื่อดูแลผู้เจ็บป่วยจนหาโอกาสได้ไปเยี่ยม และดูงานตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ในทวีปยุโรป จนสุดท้ายมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ก็ได้เข้าศึกษาอบรมวิชาพยาบาลที่ประเทศเยอรมนีได้ดังใจฝัน

Advertisement

ต่อมาในปี 2400 เกิดสงครามไครเมีย (Crimean War) มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้อาสาสมัครไปช่วยดูแลทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม เธอเสียสละทรัพย์สิน และขอเรี่ยไรจัดหาเครื่องเวชภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือทหาร อีกทั้งยังได้ออกตระเวนตรวจเยี่ยม เพื่อรักษาและให้กำลังใจทหารแม้ในเวลาค่ำคืน จนได้รับสมญานามว่า “สุภาพสตรีแห่งดวงประทีป” (The lady of the lamp)

ภายหลังสงครามสิ้นสุด Florence Nightingale ได้ริเริ่มพัฒนากิจการพยาบาลให้ก้าวหน้า จนในที่สุดได้มีผู้ร่วมกันก่อตั้งกองทุนการศึกษาสำหรับพยาบาล “ไนติงเกล” เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน จากนั้นมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ก็ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้จัดระเบียบด้านสุขภาพในกองทัพประเทศอังกฤษ และวางแผนงานด้านสุขาภิบาลในประเทศอินเดีย จนก่อตั้งโรงเรียนพยาบาลที่เป็นต้นแบบของโรงเรียนพยาบาลทั่วโลก นอกจากนี้มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ยังได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะผู้บุกเบิกวิชาชีพการพยาบาลอีกด้วย

ประวัติการพยาบาลไทย

ประวัติการพยาบาลไทย

ความสำคัญของการพยาบาล และบุคลากรในด้านการพยาบาลมีมาอย่างต่อเนื่องนับแต่อดีต การพยาบาลไทยนั้น กล่าวได้ว่าเริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2439 โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงความทุกข์ทรมานและการเสียชีวิตในการคลอดของสตรี ในสมัยก่อนสำหรับผู้หญิงเรียกได้ว่าการคลอดลูกเหมือนการออกศึก ในยุคนั้นใช้หมอตำแยซึ่งไม่ค่อยมีความรู้ในการทำคลอด และพระองค์ก็ได้ทรงประสบกับพระองค์เองด้วย

ต่อมาเมื่อประเทศเปิดรับการแพทย์แผนตะวันตกมากขึ้น มีมิชชันนารีเข้ามามากแต่มักจะเป็นหมอสอนศาสนาที่มีแต่ผู้ชายทั้งหมด ซึ่งในสมัยก่อนสตรีรักนวลสงวนตัวมากโดยเฉพาะหญิงชาววัง ทำให้ไม่สามารถรักษากับหมอผู้ชายได้ พระองค์ท่านเล็งเห็นถึงความยากลำบากนี้จึงได้ก่อตั้ง “โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาล” ขึ้นมา เพื่อให้สตรีเป็นแพทย์และพยาบาลผดุงครรภ์ที่มีความรู้ในการทำคลอดสตรีเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก

แม้ในยุคแรกโรงเรียนแห่งนี้เน้นการเรียนการสอนด้านการผดุงครรภ์ แต่ผู้ที่มาเรียนก็ต้องเรียนการพยาบาลด้วย เนื่องจากต้องดูแลพยาบาลคนไข้และคนที่มาคลอด จนกระทั่งในยุคที่มีการพัฒนาสูงสุด คือ ยุคของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร ที่พระองค์ท่านไปศึกษาต่างประเทศ และกลับมาพัฒนาการแพทย์ให้เจริญรุ่งเรือง อีกทั้งพระองค์ยังมีสายพระเนตรยาวไกล หากการแพทย์เจริญเพียงอย่างเดียวการพยาบาลไม่เจริญก็ไม่ได้เพราะต้องทำงานควบคู่กันจึงได้พัฒนาการพยาบาลด้วย พระองค์ทรงพัฒนาทั้งหลักสูตรทั้งสถานที่ โดยเฉพาะทุนร็อกกี้ เฟลเลอร์ พระองค์ท่านให้พยาบาลชาวอเมริกันมาปรับปรุงหลักสูตรการพยาบาลของไทยให้เป็นมาตรฐานเทียบเท่าสากล มีห้องแล็ปในการเรียนซึ่งถือเป็นการพัฒนาทั้งการพยาบาลและการผดุงครรภ์ควบคู่กันไป

คำขวัญวันพยาบาลสากล

คำขวัญวันพยาบาลสากล

  • พ.ศ. 2528 สุขภาพอนามัยสตรี (Nurses and Women Health)
  • พ.ศ. 2529 เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคแก่เด็กทุกคน (Universal Child Immunization)
  • พ.ศ. 2530 บทบาทของพยาบาลกับการดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพ (Occupational Health)
  • พ.ศ. 2531 ช่วยแม่ลูกสุขสันต์ในวันเกิด (Help Her Have a Happy Birth-Day)
  • พ.ศ. 2532 สุขภาพวัยเรียนต้องเพียรส่งเสริม (School Health)
  • พ.ศ. 2533 พยาบาลและสิ่งแวดล้อม (Nurses and the Environment)
  • พ.ศ. 2534 พยาบาลเชิงรุก – เพื่อสุขภาพจิตของปวงประชา (Mental Health and Nursing)
  • พ.ศ. 2535 สุขกาย สุขใจ ในวัยทอง (Health Ageing)
  • พ.ศ. 2536 คุณภาพการพยาบาล และความคุ้มค่า (Quality, Cost and Nursing)
  • พ.ศ. 2537 ครอบครัวสุขสันต์ – วันพยาบาลสากล (Health Families for Healthy Nation)
  • พ.ศ. 2538 พยาบาลเสริมสร้างวิถี – สู่สุขภาพสตรี (Women’ Health: Nurses Pave the Way)
  • พ.ศ. 2539 เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า พยาบาลพัฒนางานวิจัย (Better Health Through Nursing Research)
  • พ.ศ. 2540 อนาคตประเทศจะสดใส เยาวชนไทยต้องสุขภาพดี (Healthy Young People = A Brighter Tomorrow)
  • พ.ศ. 2541 สุขภาพชุมชนไทยดี ทุกคนมีส่วนร่วม (Partnership for Community Health)
  • พ.ศ. 2542 อดีตที่ผ่านมาบอกความก้าวหน้าในอนาคต (Celebrating Nursing Past – Claiming the Future)
  • พ.ศ. 2543 เพื่อท่าน…พยาบาลพร้อมดูแล (Nurses – Always There for You)
  • พ.ศ. 2544 พยาบาลพร้อมช่วยท่าน : ร่วมป้องกันความรุนแรง (Nurses, Always There for You : United Against Violence)
  • พ.ศ. 2545 พยาบาลพร้อมช่วยท่าน : ร่วมกันดูแลครอบครัว (Nurses, Always there for you : Caring For Families)
  • พ.ศ. 2546 พยาบาลพร้อมช่วยท่าน : ร่วมต้านมลทินเอดส์ (Nurses : Fighting AIDS Stigma; Caring For All)
  • พ.ศ. 2547 พยาบาลเคียงข้างผู้ยากไร้ รวมน้ำใจต้านความจน (Nurses : Working With The Poor, Against Poverty)

คำขวัญวันพยาบาลสากล

  • พ.ศ. 2548 พยาบาลปกป้องปวงประชา : ห่างไกลยาไร้มาตรฐาน (Nurses for Patient Safety: Targeting Counterfeit and Substandard Medicines)
  • พ.ศ. 2549 พยาบาลปลอดภัย ประชาไทยมีสุข (Safe staffing saves lives)
  • พ.ศ. 2550 สิ่งแวดล้อมปลอดภัย การพยาบาลไทยมีสุข ประชาราษฎร์เป็นสุข (Positive Practice Environments: Quality Workplaces – Quality Patient Care)
  • พ.ศ. 2551 พยาบาลก้าวนำ สร้างสรรค์บริการสุขภาพปฐมภูมิเพิ่มพูนคุณภาพบริการชุมชน (Delivering Quality, Serving Communities: Nurses Leading Primary Health Care)
  • พ.ศ. 2552 พยาบาลก้าวนำ สร้างสรรค์นวัตกรรมการดูแล เพิ่มพูนคุณภาพบริการชุมชน (Delivering Quality, Serving Communities: Nurses Leading Care Innovations)
  • พ.ศ. 2553 พยาบาลนำชุมชน สร้างสรรค์คุณภาพการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง (Delivering Quality, Serving Communities: Nurses Leading Chronic Care)
  • พ.ศ. 2554 พยาบาลสร้างสรรค์บริการ เพิ่มการเข้าถึง และเท่าเทียม (Closing The Gap: Increasing Access and Equity)
  • พ.ศ. 2555 พยาบาลสร้างสรรค์บริการ : จากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การปฏิบัติ (Closing The Gap: From Evidence to Action)
  • พ.ศ. 2556 ร่วมจิตปิดช่องว่าง พยาบาลร่วมทางเพื่อเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Closing The Gap: Millennium Development Goals)
  • พ.ศ. 2557 พยาบาล : พลังสู่การเปลี่ยนแปลง ขุมพลังแห่งสุขภาพ (Nurses: A Force for Change – A vital resource for health)
  • พ.ศ. 2558 พยาบาล : พลังการเปลี่ยนแปลงเพื่อประสิทธิผลและความคุ้มค่าในการดูแล (Nurses: A Force for Change: Care Effective, Cost Effective)
  • พ.ศ. 2559 พยาบาล : พลังการเปลี่ยนแปลง : เพื่อพลิกฟื้นการพัฒนาระบบสุขภาพ (Nurses: A Force for Change: Improving Health Systems’ Resilience)
  • พ.ศ. 2560 พยาบาล : พลังนำความสำเร็จสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Nurses: A voice to lead – Achieving the Sustainable Development Goals)
  • พ.ศ. 2561 พยาบาลเสียงแห่งพลัง : สุขภาพเป็นสิทธิมนุษยชน (Nurses A Voice to Lead – Health is a Human right)
  • พ.ศ. 2562

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button