วันสำคัญ

วันกาชาดสากล ICRC

วันกาชาดสากล ICRC ตรงกับวันที่ 8 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเกิดของ อังรี ดูนังต์ (Jean Henri Dunant) เป็นวันกาชาดสากล

วันกาชาดสากล

วันกาชาดสากล

วันกาชาดสากล (ภาษาอังกฤษ: International Committee of the Red Cross ; ICRC) เกิดจากภายใต้แรงผลักดัน และเหตุการณ์อันน่าสลด ของสงครามการสู้รบอย่างดุเดือดระหว่างกองกำลังทหารของฝรั่งเศสร่วมกับอิตาลี กับกองกำลังทหารของออสเตรีย ณ บริเวณใกล้ ๆ หมู่บ้านของซอลเฟริโน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของอิตาลี นายธนาคารชาวสวิสเซอร์แลนด์ ญัง อังรี ดูนังต์ ได้พบเห็นเหตุการณ์อันน่าสลดใจ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2402 เพราะมีทหารบาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขาดคนช่วยเหลือพยาบาล เขาจึงได้รวบรวมบรรดาหมอชาวออสเตรียและกลุ่มนักเรียนแพทย์อิตาเลียน มาช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บ โดยไม่เลือกว่าเป็นฝ่ายมิตรหรือศัตรู และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของวันกาชาดสากล

แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ ญัง อังรี ดูนังต์ ถ่ายทอดผ่านหนังสือ “ความทรงจำที่ซอลเฟริโน” ขึ้น หลังจากที่เขาเดินทางกลับถึงกรุงเจนีวา โดยมีใจความสำคัญระบุตอนหนึ่งว่า “จะเป็นไปไม่ได้หรือ ที่จะจัดตั้งองค์กรอาสาสมัคร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือดูแลทหารบาดเจ็บในสงคราม” และเสนอแนะว่า ควรจะมีการตระเตรียมอุปกรณ์ และเครื่องมือในการพยาบาลให้พร้อมในยามสงบ เพราะเมื่อมีสงครามเกิดขึ้นจะได้ช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บทุกฝ่ายได้ทันท่วงที และขอให้ทหารฝ่ายใดผ่ายหนึ่งอย่ายิงคนที่ช่วยบรรเทาทุกข์เหล่านี้ เพราะอาสาสมัครเหล่านี้ยังจะให้ประโยชน์ในยามที่เกิดทุพภิกขภัย เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ฯลฯ

มีผู้แทนจาก 16 ประเทศ เข้าร่วมประชุม จากข้อเสนอแนะดังกล่าว ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดการประชุมระหว่างประเทศขึ้น ณ กรุงเจนีวา และการประชุมครั้งนี้ ได้นำไปสู่การก่อตั้งสภากาชาดสากลขึ้น ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในปี 2406 และได้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อบรรเทาทุกข์ทหารบาดเจ็บ” ขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันคือ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ

ได้กำหนดให้ วันที่ 8 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันกาชาดโลก โดยคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ผู้ก่อตั้ง วันกาชาดสากล นายอังรี ดูนังต์ (HENRY DUNANT) เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2371 ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี 2402

Advertisement

สัญลักษณ์กาชาดสากล

สัญลักษณ์กาชาดสากล

กิจการกาชาดถือกำเนิดขึ้น โดยมีเครื่องหมายสีแดงบนพื้นขาว เป็นสัญลักษณ์ของกาชาดที่รู้จักกันทั่วโลก และการใช้เครื่องหมายนี้เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต้นกำเนิดของกาชาด สัญลักษณ์ดังกล่าวจะมีลักษณะกลับกันกับธงชาติของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่า เครื่องหมายกากบาทมีความสำคัญทางศาสนาคริสต์ จึงได้มีการกำหนดเครื่องหมายเสี้ยววงเดือนแดงใช้ในประเทศมุสลิม โดยเรียกว่า “สภาเสี้ยววงเดือนแดง” แทน “สภากาชาด” แต่ก็มีหลักการและหน้าที่ไม่แตกต่างกัน โดยยึดหลักการกาชาด 7 ประการคือ มนุษยธรรม, ความไม่ลำเอียง, ความเป็นกลาง, ความอิสระ, บริการอาสาสมัคร, ความเป็นเอกภาพ, ความเป็นสากล

ปัจจุบันมีสภากาชาดของประเทศต่าง ๆ ที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศจำนวน 181 ประเทศ สำหรับสภากาชาดไทยเป็นสมาชิกของสหพันธ์สภากาชาด และสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศลำดับที่ 31

หลักการกาชาดสากล

หลักการกาชาดสากล

มนุษยธรรม

กาชาดกำเนิดขึ้นเนื่องมาจากความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในสนามรบ โดยไม่เลือกเชื้อชาติ วรรณะ ลัทธิศาสนา ซึ่งการช่วยเหลือกระทำทั้งในประเทศของตนเอง และต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อป้องกันและบรรเทาทุกข์ทรมานของมนุษย์ทุกหนแห่ง โดยกาชาด มีจุดมุ่งหมายที่จะคุ้มครองชีวิตและสุขภาพของทุกคน เคารพต่อสิทธิมนุษยชน สนับสนุน และส่งเสริมความเข้าใจ ความเป็นมิตรภาพและความร่วมมือ รวมถึงการส่งเสริมสันติภาพ ระหว่างประชากรทั้งมวล

ความไม่ลำเอียง

กาชาดไม่เลือกปฏิบัติในเรื่อง สัญชาติ เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ชั้น วรรณะ หรือความคิดเห็นทางการเมือง กาชาดเพียรพยายามอย่างเดียวที่จะบรรเทาทุกข์ทรมาน โดยให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนที่สุด

ความเป็นกลาง

เพื่อที่จะได้รับความวางใจจากทุกฝ่าย กาชาดไม่อาจเกี่ยวข้องหรือเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในการสู้รบ ไม่ว่าในเวลาใดหรือกรณีขัดแย้งใด ๆ อันเนื่องมาจากทางการเมือง เชื้อชาติ ศาสนา หรือลัทธินิยม

ความเป็นอิสระ

กาชาดเป็นอิสระ สภากาชาดแห่งชาติแม้จะมีส่วนช่วยเหลือในบริการด้านมนุษยธรรมของรัฐบาลของตนเอง และอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายของประเทศตน จะต้องธำรงความเป็นอิสระอยู่เสมอไป เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติตามหลักการกาชาดได้ทุกเวลา

บริการอาสาสมัคร

กาชาดเป็นองค์การอาสาสมัครในการบรรเทาทุกข์ โดยไม่มีความปรารถนาผลประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น

ความเป็นเอกภาพ

ในประเทศที่พึงมีสภากาชาดได้เพียงแห่งเดียว สภากาชาดต้องเปิดให้แก่คนทั่วไป สภากาชาดต้องปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมทั่วทุกดินแดนของตน

ความเป็นสากล

กาชาดเป็นสถาบันสากล ซึ่งสภากาชาดทั้งมวลมีฐานะเท่าเทียมกัน มีส่วนในความรับผิดชอบและมีบทบาทหน้าที่เท่าเทียมกัน ในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

สภากาชาดไทย

สภากาชาดไทย เป็นองค์กรการกุศลระดับชาติดำเนินการเพื่อมนุษยธรรม ตามหลักกาชาดสากลเป็นองค์กรที่มีลักษณะเป็น พลวัต และนวัตกรรมมีวิสัยทัศน์ที่จะก้าวไปข้างหน้าสู่ความเป็นเลิศและเป็นไปตามคติทัศน์ของสภากาชาดไทย คือ การบรรเทาทุกข์ บำรุงสุข บำบัดโรค กำจัดภัย เพื่อประโยชน์สุขและเป็นที่พึ่งของประชาชน

ประวัติสภากาชาดไทย

ประวัติสภากาชาดไทย

สภากาชาดไทย เป็นสภากาชาดประจำประเทศไทย มีภารกิจปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เดิมเรียก “สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม” ริเริ่มก่อตั้งโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ ซึ่งมีสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงเป็นสภานายิกาพระองค์แรก สันนิบาตสภากาชาดมีมติรับสภากาชาดสยามเป็นสมาชิกในวันที่ 8 เมษายน 2464

2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่าง ประเทศสยาม กับ ประเทศฝรั่งเศส เรื่องดินแดนฝั่งซ้ยแม่น้ำโขง ซึ่งส่งผลให้ทหารบาดเจ็บล้มตายมาก แต่ไม่มีองค์การกุศลหลักที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือพยาบาลและบรรเทาทุกข์ ดังนั้น ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ จึงได้ชักชวนสตรีอาสาสมัครขึ้น และได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตั้ง “สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม”

เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสว่า เป็นความคิดอันดีตามแบบอย่างประเทศที่เจริญแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง “สภาอุณาโลมแดง” ขึ้น เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2436 ซึ่งถือเป็น “วันสถาปนาสภากาชาดไทย” นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ทรงเป็น “สภาชนนี” สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ทรงเป็น “สภานายิกา” และท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ เป็นเลขานุการิณีสภาอุณาโลมแดง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำริว่า ถ้าได้จัดโรงพยาบาลของกาชาด ก็จะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง พระองค์จึงได้ร่วมกับพระราชภราดาภคินี ทรงบริจาคทรัพย์รวมกับทุนของสภาอุณาโลมแดง สร้างโรงพยาบาลขึ้นในที่ดินส่วนพระองค์ แล้วโปรดเกล้าฯ ขนานนามตามพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า “โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์” เพื่อเป็นอนุสรณ์ในพระราชบิดา และให้โรงพยาบาลนี้เป็นของสภากาชาดสยาม

2463 สภากาชาดไทยได้รับการรับรองจาก “ส่วนการรับรองระหว่างประเทศ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ”

2464 สภากาชาดไทยเข้าเป็นสมาชิกของ “สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ”

กิจกรรมวันสภากาชาดสากล

กิจกรรมวันสภากาชาดสากล

กิจกรรมการวันกาชาดสากล ได้จัดให้มีงานประจำปีในทุก ๆ ปี โดยสภากาชาดไทย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเผยแพร่หลักการ การดำเนินงาน ผลงาน กิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งหาเงินเพื่อมาใช้ในกิจกรรมสาธารณกุศลไว้รับใช้ประชาชนที่เดือดร้อนต่อไป

จัดนิทรรศการ

ทางคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศได้เตรียมกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเกมส์ และกิจกรรมสนุก ๆ ไว้ให้เล่นพร้อมของรางวัล และจะมีการประกวดวาดภาพสำหรับเด็ก ๆ ซึ่งในการเปิดงาน อาจมีการต้อนรับขบวนพาเหรดของอาสาสมัคร หาความรู้จากนิทรรศการ ร่วมตอบคำถาม รับของที่ระลึก

ร่วมพิธีเปิดงานวันกาชาดโลก

ซึ่งการจัดงานวนกาชาดสากล ที่ทางสภากาชาดไทยจัดขึ้น จะมี พิธีเปิดงานวันกาลาดโลก มีการปฏิบัติงานของอาสายุวกาชาด การเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ตรวจสุขภาพ

ทางสภากาด เปิดให้การบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ตรวจสุขภาพฟัน และรับชุดของขวัญและกิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ ซึ่งในสถานพยาบาล หน่วยงานการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล เยาวชนไทยมาร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์กับสภากาชาดไทยอีกด้วย นอกจากนี้ คณะกุลบุตร-กุลธิดากาชาดและอาสายุวกาชาด ยังได้ร่วมจัดการแสดงบนเวทีในชุดต่าง ๆ

รับบริจาคเลือดและอวัยวะ

นอกจากนี้ยังมีการรับบริจาคโลหิต เสต็มเซลล์ อวัยวะ-ดวงตา บริการตรวจสุขภาพฟัน กิจกรรมอื่น ๆ รวมไปถึงสภากาชาดไทยยังได้เปิดให้ผู้มาร่วมงานเข้าชมสวนงู และการแสดงของงูฟรี

เพื่อแสดงออกด้านจิตอาสาตามแนวคิดหลักของวันกาชาดโลก ปลุกจิตอาสาในตัวคุณ ทุกปีสภากาชาดไทยจะมีการจัดบู๊ธนิทรรศการ และรับแจ้งความจำนงเป็นอาสาสมัครสภากาชาดไทย หรือแสดงออกถึงความมีจิตอาสาของท่านผ่านบนบอร์ดจิตอาสาภายในงานอีกด้วย

คำขวัญวันกาชาดสากล

คำขวัญวันกาชาดสากล 2561 Everywhere for everyone – กาชาดเข้าถึงทุกที่ ช่วยเหลือทุกคน

Advertisement

กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button