วันสำคัญ

วันคุ้มครองผู้บริโภค 30 เมษายน

วันคุ้มครองผู้บริโภค ตรงกับวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่จัดตั้งขึ้นเพื่อปกป้อง และคุ้มครองผู้ใช้สินค้าและบริการต่าง ๆ ให้ได้รับความเป็นธรรม

วันคุ้มครองผู้บริโภค

เมื่อปี 2512 ได้มีเจ้าหน้าที่สหพันธ์องค์การผู้บริโภคระหว่างประเทศ ได้เข้ามาชักชวนองค์การเอกชนในประเทศไทยให้เข้าร่วม แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากองค์การเอกชนของประเทศไทยขณะนั้นยังไม่พร้อม อย่างไรก็ตามสหพันธ์องค์การผู้บริโภคระหว่างประเทศก็มิได้ย่อท้อ ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาชักชวนมาเป็นระยะ จนกระทั่งครั้งที่ 3 องค์การเอกชนของประเทศไทยได้รับการชักชวนได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการศึกษาปัญหาผู้บริโภคมีชื่อว่า กรรมการศึกษาและส่งเสริมผู้บริโภค ในปี 2514 และได้มีวิวัฒนาการเรื่อยมาในภาคเอกชน รวมทั้งได้ประสานงานกับภาครัฐบาล จนกระทั่งในปี 2519 และได้สลายไปพร้อมกับการเมือง

จนกระทั่งปี 2522 ในสมัย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นของ การคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคอีกครั้งหนึ่งโดยมีรองนายกรัฐมนตรี นายสมภพ โหตะกิตย์ เป็นประธานกรรมการ การปฏิบัติงานโดยอาศัยอำนาจของนายกรัฐมนตรี และศึกษาหามาตราการถาวรในการ คุ้มครองผู้บริโภค ทั้งในหลักทาง สาระบัญญัติ และการจัดองค์การของรัฐเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้พิจารณายกร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง บริโภค และรัฐบาลได้เสนอต่อรัฐสภา มีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้เป็นกฎหมายได้ รัฐบาลจึงได้นำร่างขึ้นบังคมทูล ซึ่งได้มี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ ทรงลงพระปรมาภิไธย ได้ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2522 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษเล่มที่ 96 ตอนที่ 72 วันที่ 4 พฤษภาคม 2522 มีผลการใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2522 เป็นต้นมา

พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค

พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค

พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2541 ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้

  1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ เป็นสิทธิที่จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม
  2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ เป็นสิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความสมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
  3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ เป็นสิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
  4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา เป็นสิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
  5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย เป็นสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว
สคบ.

ตราสัญลักษณ์ของ สคบ.

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้เพิ่มความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคในการซื้อหรือใช้สินค้าและบริการ โดยประกาศใช้ “ตราสัญลักษณ์ของ สคบ.” เพื่อแสดงไว้บนสินค้าหรือบริการตามเกณฑ์ที่ สคบ. กำหนด หากผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือได้รับความเสียหายจากการซื้อหรือใช้สินค้าและบริการที่มีตราสัญลักษณ์ของ สคบ. สามารถขอรับการเยียวยาชดใช้ความเสียหายได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมาย ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้เวลานานอีกต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง
Advertisement

ในเบื้องต้นมีสินค้าและบริการที่ได้รับตราสัญลักษณ์ สคบ. จำนวน 26 รายการ ได้แก่ 1. รถยนต์ใช้แล้ว 2. โทรศัพท์มือถือ 3. ทองรูปพรรณ 4. ห้างสรรพสินค้า 5. รถยนต์ใหม่ 6. หอพัก 7. บัตรเครดิต 8. ตั๋วเครื่องบิน 9. ธุรกิจซ่อมรถยนต์ 10. บ้านจัดสรรและอาคารชุด 11. เครื่องใช้ไฟฟ้า 12. ฟิตเนส 13. บริษัทนำเที่ยว 14. ธุรกิจขายตรงและธุรกิจออนไลน์ 15. ธุรกิจเสริมความงาม 16. สินค้าเกษตร 17. ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ 18. โรงเรียนกวดวิชา 19. อัญมณี 20. ศูนย์บริการดูแลเด็ก ผู้ป่วย และผู้สูงอายุ 21. โรงแรม 22. โรงภาพยนตร์ 23. สถานบริการน้ำมัน 24. โรงพยาบาล 25. บริษัทรับออกแบบ และ 26. บ้านจัดสรรและอาคารชุด ซึ่งในอนาคตจะได้ขยายผลให้ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์และการบริการต่อไป

ช่องทางการร้องเรียนผู้บริโภค

  • สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่สายด่วน 1166 หรือเว็บไซต์ ocpb.go.th
  • มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่เว็บไซต์ consumerthai.org
  • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่เว็บไซต์ fda.moph.go.th กรณีเกี่ยวข้องกับเรื่องผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุเสพติด วัตถุมีพิษ
  • สำนักงานแพทยสภา ที่เว็บไซต์ tmc.or.th กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านการรักษาพยาบาลหรือบริการของแพทย์
  • สำนักงาน กสทช. ที่สายด่วน 1200 หรือสำนักคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (รส.) โทร. 02-271-0151 ต่อ 455 โทรสาร 02-271-0151 ต่อ 454 หรือทางเว็บไซต์ bcp.nbtc.go.th กรณีพบเห็นรายการหรือโฆษณาที่เข้าข่ายหลอกลวง เกินจริง อวดอ้างสรรพคุณ เอาเปรียบหรือค้ากำไรเกินควร แจ้งได้ที่สายด่วน
  • สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ ที่เว็บไซต์ mrd-hss.moph.go.th กรณีได้รับความเสียหายจากการบริการของสถานพยาบาลเอกชน (คลินิกลดความอ้วน โพลีคลินิก โรงพยาบาลเอกชน)
  • กรมการค้าภายใน ที่สายด่วน 1569 หรือเว็บไซต์ dit.go.th กรณีเกี่ยวกับเรื่องราคาสินค้า การกักตุนสินค้า ไม่ติดป้ายราคา มาตราชั่ง ตวง วัด คุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น
  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สายด่วน 1570 หรือเว็บไซต์ dbd.go.th กรณีเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  • สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สายด่วน 1186 หรือเว็บไซต์ oic.or.th สำหรับเรื่องการประกันภัยประเภทต่าง ๆ
  • สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่เว็บไซต์ tisi.go.th กรณีร้องเรียนคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์
  • องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ที่สายด่วน 1348 หรือเว็บไซต์ bmta.co.th กรณีร้องเรียนด้านขนส่งมวลชน
  • กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่เว็บไซต์ dopa.go.th กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านการปกครอง
  • ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย สายด่วน 1213 หรือที่เว็บไซต์ 1213.or.th กรณีถูกฉ้อโกงเรื่องทางการเงิน

Advertisement

กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button