วันสำคัญ

วันเช็งเม้ง 2568 คืออะไร เริ่มไหว้วันไหน ของไหว้มีอะไรบ้าง?

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมคนจีนต้องไหว้สุสานในช่วงเดือนเมษายน? อาหารคาวหวาน ขนมผลไม้ และกระดาษเงินกระดาษทอง มีความหมายอะไร? เทศกาลนี้ไม่ได้มีแค่เรื่องไหว้ขอพร หากแต่ยังสะท้อนวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และความผูกพันระหว่างชีวิตกับความตาย บทความนี้จะพาคุณเปิดมุมมองใหม่ แอบมองไปหลังฉากความเชื่อ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผสานความทันสมัย และค้นหาแก่นแท้ของวันเช็งเม้ง เชื่อว่าคุณจะสัมผัสได้ถึงหัวใจของเทศกาลอันงดงามนี้

วันเช็งเม้งหรือเชงเม้ง เริ่มไหว้วันที่ 4-5 เมษายน เป็นประเพณีไหว้บรรพบุรุษของชาวจีน ประวัติความเป็นมา เชงเม้ง ตำนาน ความหมาย ความสำคัญ เป็นยังไงมาดูกัน

วันเช็งเม้ง คืออะไร?

วันเช็งเม้ง

ชิงหมิง หรือ เช็งเม้ง (ภาษาอังกฤษ: Qingming Festival) หรือ เฉ่งเบ๋ง หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ เม้ง หรือ เบ๋ง หมายถึง สว่าง รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์ เช็งเม้งในประเทศจีน เริ่มไหว้วันที่ 4-5 เมษายน ไปจนถึง 19-20 เมษายน (แต่ก็มีหลายครอบครัวที่เริ่มไหว้ก่อนหน้านั้นประมาณ 2 สัปดาห์ หรือที่เรียกว่า “สารทชุงฮุง”) เป็นฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะคลายความหนาวเย็น เริ่มเข้าสู่ความอบอุ่น มีฝนตกปรอย ๆ มีบรรยากาศสดชื่น ท้องฟ้าใสสว่าง (เป็นที่มาของชื่อ เช็งเม้ง)

สำหรับในประเทศไทยเทศกาลเช็งเม้ง ถือวันที่ 5 เมษายน ของทุกปี เป็นหลัก (บางปีจะเป็นวันที่ 4 เช่น เชงเม้งในปี 2559,2560) แล้วนับวันก่อนถึง 3 วัน และเลยไปอีก 3 วัน รวมเป็น 7 วัน (2 – 8 เมษายน) แต่ในปัจจุบันเนื่องจากมีปัญหาการจราจรคับคั่ง เลยขยายช่วงเวลาเทศกาลให้เร็วขึ้นอีก 3 สัปดาห์ (ประมาณ 15 มีนาคม – 8 เมษายน) แต่ในภาคใต้บางพื้นที่ เช่น จังหวัดตรังจะจัดเร็วกว่าที่อื่น 1 วัน ประมาณวันที่ 4 เมษายนของทุกปี

วันเช็งเม้งเริ่มไหว้วันไหน ?

สำหรับวันเช็งเม้งในประเทศจีนนั้น จะเริ่มเริ่มไหว้วันที่ 4-5 เมษายน ไปจนถึงวันที่ 19-20 เมษายน (แต่ก็มีหลายครอบครัวที่เริ่มไหว้ก่อนหน้านั้นประมาณ 2 สัปดาห์ หรือที่เรียกว่า “สารทชุงฮุง”) ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวถือว่าเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ที่อากาศจะเริ่มเข้าสู่ความอบอุ่น มีฝนตกปรอย ๆ มีบรรยากาศสดชื่น ท้องฟ้าใสสว่าง และด้วยบรรยายกาศดังกล่าวนี่เอง ที่เป็นที่มาของชื่อ เช็งเม้ง

Advertisement

ความสำคัญวันเช็งเม้ง

เช่งเม้ง (ไหว้หลุมฝังศพบรรพบุรุษ) ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน ฮวงซุ้ย (แต้จิ๋ว) แต่คนฮกเกี้ยนเรียกว่า บ่องป้าย โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อ ที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ แสดงถึงการมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และสะท้อนให้เห็นถึงความรักใคร่สามัคคีกัน นอกจากนั้นยังทำให้เหล่าเครือญาติได้มาร่วมพิธีกรรมนี้ได้พบปะสังสรรค์กินเลี้ยงกันหลังจากเสร็จพิธี เป็นการสร้างสายสัมพันธ์ภายในครอบครัวและเหล่าเครือญาติ

ประวัติความเป็นมาวันเช็งเม้ง

ประวัติความเป็นมาวันเช็งเม้ง

ในยุคชุนชิว องค์ชายฉงเอ่อแห่งแคว้นจิ้นหนีภัยออกนอกแคว้น ไปมีชีวิตตกระกำลำบากนอกเมือง โดยมีเจี้ยจื่อทุยติดตามไปดูแลรับใช้

เจี้ยจื่อทุยมีจิตใจเมตตาถึงขนาดเชือดเนื้อที่ขาของตนเป็นอาหารให้องค์ชายเสวยเพื่อประทังชีวิต ภายหลังเมื่อองค์ชายฉงเอ่อเสด็จกลับเข้าแคว้นและได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองแคว้น นาม จิ้นเหวินกง และได้สถาปนาตอบแทนขุนนางทุกคนที่เคยให้ความช่วยเหลือตน แต่ลืมเจี้ยจื่อทุยไป นานวันเข้าจึงมีคนเตือนถึงบุญคุณเจี้ยจื่อทุย จิ้นเหวินกงเพิ่งนึกขึ้นไป จึงต้องการตอบแทนบุญคุณเจี้ยจื่อทุย โดยจัดหาบ้านให้เขาและมารดาให้เข้ามาอยู่อย่างสุขสบายในเมือง แต่ทว่าเจี้ยจื่อทุยปฏิเสธ

จิ้นเหวินกงได้คิดแผนเผาภูเขา โดยหวังว่าเจี้ยจื่อทุยจะพามารดาออกมาจากบ้าน แต่ผลสุดท้ายกลับไม่เป็นไปอย่างที่คิด สองแม่ลูกกลับต้องเสียชีวิตในกองเพลิง ดังนั้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงเจี้ยจื่อทุย จิ้นเหวินกงจึงมีคำสั่งให้วันนี้ของทุกปี ห้ามไม่ให้มีการก่อไฟ และให้รับประทานแต่อาหารสด ๆ และเย็น ๆ จนกลายเป็นที่มาของเทศกาลวันกินอาหารเย็น หรือ เทศกาลหันสือเจี๋ย (寒食节) ซึ่งเป็นวันสุกดิบก่อน วันเช็งเม้ง 1 วัน

เนื่องจากคนโบราณนิยมถือปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีวันหันสือเจี๋ยต่อเนื่องไปจนถึง วันเช็งเม้ง นานวันเข้าเทศกาลทั้งสองก็รวมเป็นวันเช็งเม้งวันเดียว การไหว้เจี้ยจื่อทุยจึงค่อย ๆ เปลี่ยนมาเป็นการไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษแทน

ทำความสะอาดฮวงซุ้ย

เริ่มมาจากการที่พระเจ้าฮั่นเกาจู ปราบดาภิเษกและสถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นแล้ว เกิดระลึกถึงบุญคุณบิดา มารดาที่เสียชีวิตไปแล้วที่บ้านเกิด จึงเร่งรัดกลับบ้านเกิด แต่ทว่าป้ายชื่อของฮวงซุ้ยแต่ละที่เลือนรางเต็มทน จากสงคราม พระเจ้าฮั่นเกาจูจึงอธิษฐานต่อสวรรค์ด้วยการโปรยกระดาษสีขึ้นบนฟ้าแล้วให้ลมพัดปลิวไป ถ้ากระดาษตกที่ฮวงซุ้ยไหน ถือว่าเป็นฮวงซุ้ยของบิดา มารดาพระองค์ และเมื่อดูป้ายชื่อชัด ๆ แล้วก็พบว่าเป็นฮวงซุ้ยของบิดา มารดาพระองค์จริง ประเพณีการทำความสะอาดฮวงซุ้ยและโปรยกระดาษสีบนหลุมศพก็เริ่มมาจากตรงนี้เอง

การเซ่นไหว้เช็งเม้ง กระดาษเงิน กระดาษทอง

การเซ่นไหว้เช็งเม้ง

ก่อนการเซ่นไหว้จะเริ่มตกแต่งฮวงชุ้ยด้วยกระดาษสีต่าง ๆ จัดกระถางธูป ที่ปักเทียน จัดเครื่องไหว้และเริ่มไหว้เจ้าที่ก่อน ซึ่งเครื่องเซ่นไหว้เหมือนของบรรพบุรุษแต่เพิ่มขนมจันอับ (แต่เหลี่ยง)ซึ่งเป็นขนมแห้งจีนแบบโบราณ มี 5 อย่างได้แก่ ถั่วตัด งาตัด ถั่วเคลือบน้ำตาล ฟักเชื่อมและข้าวพอง แล้วจึงไหว้บรรพบุรุษ ระหว่างนั้นมีการเติมน้ำชา และเหล้าเพิ่มเติม 2-3 ครั้ง มีการเสี่ยงทายว่าบรรพบุรุษอิ่ม หรือยัง โดยการโยนเหรียญ 2 อัน ถ้าขึ้นหัวหรือก้อยทั้งสองอัน แสดงว่ายังไม่เรียบร้อย ให้เติมน้ำชาและเหล้าอีก แต่ถ้าเสี่ยงทายขึ้นหัวและก้อยแสดงว่าอิ่มแล้ว

หลังจากนั้นมีการเผากระดาษเงิน กระดาษทอง เพราะเป็นความเชื่อที่ว่า ผู้ตายนั้นสามารถที่จะนำไปใช้ได้หลังชีวิตการตาย และจุดประทัด เพื่อให้มีเสียงดังขับไล่ สิ่งไม่ดี ไม่ให้มา รบกวนบรรพบุรุษ ปัจจุบัน ถือว่าเสียงประทัดยิ่งดังยิ่งดีทำให้ลูกหลานยิ่งรวย

ประวัติพิธีกรรม

คนจีนโบราณใช้วิธีนำศพไปฝังตามชายป่าชาวเขา จนกระทั่งถึงสมัยราชวงศ์เซี่ย ต่อมา เริ่มมีการเอาศพใส่โลงมีพิธีกรรม แล้วจึงนำไปฝัง จนถึงสมัยราชวงศ์โจว ขุนนางชื่อ โจวกงจีต้านเป็นคนแรกที่คิดธรรมเนียมการจัดงานศพที่ต้องทำให้ดีที่สุด ถือเป็นเรื่องสำคัญ

โจวกงจีต้าน ให้ถือเป็นธรรมเนียมเมื่อกษัตริย์สิ้นพระชนม์พระศพให้ใส่โลงที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง 4 ชั้น พร้อมใส่เครื่องจำเป็นใช้สอยลงไปด้วย และทำพิธีฝังเมื่อครบ 7 เดือน

  • ระดับเจ้าเมือง โลงศพให้เป็นไม้เนื้อแข็ง 3 ชั้น ฝังเมื่อตายครบ 5 เดือน
  • ระดับขุนนาง ใส่โลงศพไม้เนื้อแข็ง 2 ชั้น ฝังเมื่อตายครบ 3 เดือน
  • ระดับบัณฑิต ใส่โลงไม้เนื้อธรรมดาชั้นเดียว ฝังเมื่อตายครบเดือน

นอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดประเพณีการไว้ทุกข์ เช่นการไว้ทุกข์พ่อแม่ต้องนาน 3 ปี และ 3 เดือนแรกลูกหลานต้องกินแต่เข้าต้ม ส่วนธรรมเนียมการหาฮวงซุ้ยดี ๆ ฝังศพเริ่มเมื่อ สมัย จิ๊นซีฮ่องแต้ โดยทรงเริ่มสร้างฮวงซุ้ย ให้ตัวเองตั้งแต้ทรงเริ่มครองราชย์ มีข้อสังเกตว่า ลักษณะของฮวงซุ้ยจะเป็น แบบ อยู่ใกล้ทำให้สะดวกต่อการไปควบคุมดูแลก่อสร้าง ลูกหลานไปไหว้ง่าย เป็นทำเลดี

วิธีการปฏิบัติในเทศกาลเช็งเม้ง

วิธีการปฏิบัติในเทศกาลเช็งเม้ง

คนจีนยกย่องความกตัญญูกตเวทีบิดามารดาและเอาใจใส่ในพิธีการเคารพอย่างเคร่งครัด ซึ่งเห็นอย่างชัดเจนในขนบธรรมเนียมการบวงสรวงบรรพบุรุษ ครั้นโบราณกาลได้กำหนดวันขึ้นสำหรับทำพิธีเคารพศพอย่างกว้างขวางและเพื่อเกียรติยศเหล่าบรรพชน แม้จะมีความแตกต่างในแต่ละครอบครัว

พิธีนี้มักทำกันใน 2-3 วันแรกตามลำดับก่อนหลังหรือเอาอย่าง เช็งเม้ง ซึ่งเป็นประเพณียิ่งใหญ่ประเพณีหนึ่งในต้นเดือนเมษายน เดือนซึ่งน้ำแข็งเริ่มละลายและความมีชีวิตชีวาได้กลับมาอีกครั้งในฤดูใบไม้ผลิ ในปี1935 รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้กำหนดวันเช็งเม้งขึ้น ซึ่งเสมือนเป็นการให้ความสำคัญในการทำพิธีเคารพศพนี้

โดยทั่วไปเทศกาลเช็งเม้งมีการพบปะกันด้วยการทำความสะอาดและไหว้บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงการไหว้ด้วยอาหารและสิ่งของต่อบรรพบุรุษด้วยอาหาร ที่นำมาไหว้ส่วนมากเป็นหมูย่างจริง ๆ ส่วนสิ่งของนิยมทำจากระดาษ(กระดาษเงินกระดาษทอง) ที่สามารถทำเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น เสื้อเชิ้ต เนคไทค์ นาฬิกาข้อมือ และเรือด่วน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกเผาเพื่อนำไปสู่ผู้ล่วงลับไปแล้ว บ่อยครั้งที่เงินของ ธนาคารนรก จะถูกเผาไปพร้อมกันด้วย เงินเหล่านี้จะไปหลอกล่อวิญญาณร้ายทั้งหลาย ไม่ให้สนใจสินค้าและไปซื้อได้ด้วยตนเอง ขณะที่เหล่าวิญญาณร้ายกำลังเพลิดเพลินกับเงินนรกสิ่งของที่มีค่า จะผ่านไปถึงบรรพบุรุษอย่างปลอดภัย

นี่เป็นเรื่องของครอบครัวมีการคาดหวังว่า สมาชิกทั้งหมดจะเดินไปยังที่ตั้งสุสาน เป็นเรื่องปกติที่หลายครอบครัวไม่มีที่ตั้งสุสาน กรณีนี้อาจมี ห้องประชุมแห่งความทรงจำ ซึ่งใกล้เคียงกับสุสานที่พบในที่เผาศพ แผ่นโลหะซึ่งมักมีรูปของบุคคลนั้นถูกวางอยู่บนกำแพงสุสาน การเคารพบรรพบุรุษจะเกิดขึ้นที่นี่รวมทั้งอาหารและสิ่งของจะถูกเผาที่นี่ด้วย

เช็งเม้งมักเกิดขึ้นที่นอกเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท ไม่มีสิ่งใดผิดปกติในเรื่องนี้ ในอดีตผู้ที่ล่วงลับแล้วจะถูกฝังนอกกำแพงเมือง ดังนั้นการไหว้บรรพบุรุษจึงต้องเดินทางออกนอกเมือง สมาชิกทั้งหมดจะพยายามมารวมตัวกัน และไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด ที่เทศกาลนี้สมาชิกจะได้มีโอกาสประกอบภารกิจร่วมกันและจากเหตุผลนี้จำนวนประเพณีอื่น ๆ จึงเกิดตามมาด้วย

เทศกาลเช็งเม้งเป็นธรรมเนียมการไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ยในช่วงเดือน 3 ของจีน โดยกำหนดให้ไหว้ภายใน 15 วันแรกของเดือนวันไหนก็ได้ ซึ่งที่เมืองไทยนิยมไปไหว้ในวันที่ 5 เมษายน เมื่อไปถึงสุสานให้ไหว้ศาลเจ้าที่แป๊ะกงด้วย ของคาวของหวาน ผลไม้ ขนมอี๊ 5 ที่ 5 ถ้วย

เพราะการไหว้เจ้าที่คือการไหว้ธาตุทั้ง 5 เวลาจุดธูปไหว้ก็ต้องไหว้ธูป 5 ดอก บางแห่งมีไหว้เจ้าประตูหรือที่เรียกกันว่า มึ่งซิ้ง ก็ต้องไหว้ธูปเพิ่มอีก2ดอก ปักที่เสาประตูข้างละดอก จากนั้นจึงเข้าไปไหว้บรรพบุรุษที่หลุมมี 2 ชุด ชุดหนึ่งไหว้บรรพบุรุษอีกชุดหนึ่งไหว้โท้วตี่ซิ้ง คือ เทพยาดาผืนดิน

ของไหว้บรระบุรุษมีของคาว ของหวาน ผลไม้ โดยนิยมกันว่าต้องมีขนมไหว้เป็น จูชังเปี้ย หรือ ขนมเปี๊ยะกรอบ และมีกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบ แถมด้วยอาหารน้ำ 1 อย่าง จะเป็นน้ำแกง หรือขนมอี๊ก็ได้

การไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย มีธรรมเนียมการเอาสายรุ้งไปแต่งโปรยไว้บนเนินดินเหนือหลุม ถ้าไหว้เป็นปีแรก จะใช้สายรุ้งสีแดงโดยเฉพาะปีต่อๆ มาจึงเล่นหลายสีได้ แต่มีบางบ้านลูกหลานเอาธงหลายสีไปปักไว้เต็มไปหมด ฟังมาว่าเรื่องการปักธงนี้ หลายบ้านจะถือมากว่าห้ามปักเด็ดขาด เพราะถือว่าการมีของแหลมทิ่มแทงเข้าใส่บนหลุม อาจทำให้หลังคาบ้านบรรพบุรุษในอิมกัง (โลกของคนตาย) รั่วได้ ในการไหว้ต้องไหว้เทพยดาผืนดินก่อนด้วยธูป 5 ดอก เพราะถือว่าท่านเป็นเทพเจ้าที่

จากนั้นจึงไหว้บรรพบุรุษด้วยธูป 3 ดอก และต้องไหว้ 3 รอบ (เฉพาะบรรพบุรุษ) รอจนไหว้ครั้งที่ 3 แล้ว จึงเผากระดาษเงืนกระดาษทอง จากนั้นก็จุดประทัดส่งท้าย เพื่อให้เสียงอันดังช่วยในการขับไล่สิ่งไม่ดีไม่ให้เข้าใกล้กวนบรรพบุรุษของเราแล้วเลยมีการถือกันว่าเพิ่มด้วยว่าประทัดนี้ยิ่งดังยิ่งดีจะทำให้ลูกหลานยิ่งรวย

การนำอาหารมาวางต่อหน้าหินฝั่งศพ เพื่อเป็นการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว อาหารส่วนใหญ่ เช่น

  1. ไก่นึ่งทั้งตัว
  2. ไข่ต้มที่จะทำการเซ่น ต้องอยู่ในเปลือกและทำการผ่าครึ่งโดยทั้งสองชิ้นนั้นจะต้องเท่า ๆ กัน
  3. หมูย่างที่ทำการหั่นเป็นชิ้น ๆ
  4. หมูอบที่ทำการหั่นเป็นชิ้น ๆ แต่ยังมีหนังติดอยู่และกรอบ
  5. ขนมจีบชนิดต่าง ๆ

อุปกรณ์ที่ต้องใช้จัดวางอยู่เหนืออาหารและอยู่ใกล้กับหินฝั่งศพ

  1. ตะเกียบหนึ่งชุด
  2. แก้วไวท์แบบจีน 3 แก้ว

ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวนั้น จะทำการรินไวท์ใส่ถ้วยที่ได้ทำการเตรียมไว้ นั้นสามครั้ง โดยทุกครั้งนั้นเขาจะต้องคำนับต่อหลุมฝั่งศพ สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวนั้นจะทำการเคารพสามครั้งต่อหน้าหลุมฝั่งศพ โดยที่มือซ้ายนั้น จะต้องทำการถือถ้วยไวท์

บางครอบครัวนั้นจะทำการรับประทานอาหารร่วมกัน ในหน้าหลุมฝั่งศพนั้น การที่กินอาหารที่ได้ทำการถวายต่อบรรพบุรุษนั้นจะนำมาสู่ความโชคดี

พวงมาลัย

แม้ว่าจะไม่มีการพูดถึงในปัจจุบัน การเดินทางไปยังชนบทจะมีการนำดอกช่อดอกวิลโลมาถักเป็นพวงมาลัยให้ผู้หญิงสาวสวมไว้ที่ศีรษะ เป็นความเชื่อว่าจะทำให้หญิงที่ใส่ดูอ่อนเยาว์ตลอดเวลา มีการกล่าวว่า ผู้หญิงที่ไม่สวมพวงมาลัยดอกวิลโลในวันเช็งเม้งจะแก่ลงในไม่ช้า

ทิศทางของการฝังศพ

ก่อนที่จะทำพิธีฝังศพ ลูกหลานของผู้ตายจะมีการดูดวงของผู้ตามก่อนว่า ผู้ตายเกิดปีใดและมีข้อห้าม ในการหันป้ายหินจารึกชื่อไปทางด้านใด เพราะถ้ามีการเลือกทำเลฮวงซุ้ยดี ก็จะทำให้ลูกหลานเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน แต่ในทางกลับกันถ้าทำเลที่ตั้งของฮวงซุ้ยไม่ดีก็ทำให้ลูกหลานไม่เจริญ

หลักการในการเลือกทำเลที่ตั้งป้ายหิน

  • คนที่เกิดปีชวด ป้ายหินจารึกชื่อ ห้ามหันไปทางด้านทิศเหนือ
  • คนที่เกิดปีฉลู ป้ายหินจารึกชื่อ ห้ามหันไปทางด้านทิศตะวันตกคนที่เกิดปีขาล ป้ายหินจารึกชื่อ ห้ามหันไปทางด้านทิศใต้
  • คนที่เกิดปีเถาะ ป้ายหินจารึกชื่อ ห้ามหันไปทางด้านทิศตะวันออก
  • คนที่เกิดปีมะโรง ป้ายหินจารึกชื่อ ห้ามหันไปทางด้านทิศเหนือ
  • คนที่เกิดปีมะเส็ง ป้ายหินจารึกชื่อ ห้ามหันไปทางด้านทิศตะวันตก
  • คนที่เกิดปีมะเมีย ป้ายหินจารึกชื่อ ห้ามหันไปทางด้านทิศใต้
  • คนที่เกิดปีมะแม ป้ายหินจารึกชื่อ ห้ามหันไปทางด้านทิศตะวันออก
  • คนที่เกิดปีวอก ป้ายหินจารึกชื่อ ห้ามหันไปทางด้านทิศเหนือ
  • คนที่เกิดปีระกา ป้ายหินจารึกชื่อ ห้ามหันไปทางด้านทิศตะวันตก
  • คนที่เกิดปีจอ ป้ายหินจารึกชื่อ ห้ามหันไปทางด้านทิศใต้
  • คนที่เกิดปีกุน ป้ายหินจารึกชื่อ ห้ามหันไปทางด้านทิศตะวันออก

คนญี่ปุ่น เขามีวิธีคิด และคติความเชื่อแบบใด ศาสนา และลัทธิความเชื่อที่คนญี่ปุ่นนับถือ ค่อนข้างแตกต่างกับขาวจีน คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่นับถือ ลัทธิชินโต (บางคนว่าเป็นศาสนาแต่ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่) ผสม ๆ อยู่กับ พุทธศาสนานิกายมหายาน หรือ เซ็น

ความตาย ของชาวญี่ปุ่น คือ การสิ้นสุดแห่งชีวิต ไม่รับรู้อีกต่อไป หากใครนับถือพุทธ คือ การรอวันกลับมาเกิดใหม่เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีพิธีกรรมส่งข้าวของเครื่องใช้ให้กับผู้ตาย นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นไม่ค่อยบูชาบรรพบุรุษแบบจีน

มีผู้ให้ข้อสังเกตว่าพระในลัทธิชินโต จะเกี่ยวข้องกับประชาชนในพิธีกรรมต่าง ๆ ก็จริง แต่จะเกี่ยวข้องเฉพาะมีชีวิตอยู่เท่านั้น

ส่วนการทำพิธีเมื่อตายแล้ว ชินโตไม่เกี่ยวข้อง และด้วยอิทธิพลของ แนวคิดชินโต ซึ่งเห็นว่า ศพเป็นสิ่งสกปรก แปดเปื้อน

ทำให้คนญี่ปุ่นออกจะกลัว ๆ และเกลียดคนตายอยู่มาก ในสมัยโบราณบางครั้งจักรพรรดิถึงกับย้ายวัง หลังจากษัตริย์องค์ก่อนตาย ดังนั้น ขณะที่พิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิดของชาวญี่ปุ่นมักทำโดยนักบวชชินโต พิธีกรรมเกี่ยวกับศพกลับมักกระทำโดยพระในพุทธศาสนา

เพราะเหตุนี้จึงไม่เป็นการแปลก ที่ชาวญี่ปุ่นนับถือศาสนาชินโตและศาสนาพุทธรวมกัน เพราะแต่ละศาสนาก็แบ่งหน้าที่ ในการทำพิธีกรรมให้รับช่วงกันได้เป็นคราว ๆ ไป ดังที่มีคำกล่าวว่า คนญี่ปุ่นเกิดชินโต แต่ตายพุทธ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

ข้อห้ามวันเช็งเม้ง

ข้อห้ามวันเช็งเม้ง

เมื่อทานหอยแครงเสร็จ จะโยนเปลือกหอยแครง ลงบนเนินหลังเต่า (เนินดินด้านหลัง ป้ายสุสานบรรพบุรุษ) ความหมายคือ มีลูกหลานมาก ประเด็นนี้ ไม่ขัดกับหลักวิชา

ทุกครั้งที่มา จะขุดเอาดินมากลบบนหลังเต่า โดยเชื่อว่า จะทำให้การค้าเพิ่มพูน
ข้อเท็จจริง : จะทำก็ต่อเมื่อ หลังเต่ามีรูแหว่งไป จึงซ่อมแซม และต้องดูฤกษ์ โดยเฉพาะการขุดดิน ถือเป็นการกระทบธรณี

ปลูกดอกไม้ รอบ ๆ สุสานบรรพบุรุษ
ข้อเท็จจริง : ห้ามปลูกดอกไม้ รอบ ๆ สุสานบรรพบุรุษ มีความหมายด้าน ชู้สาว แต่ปลูกหญ้าได้

หากต้องการซ่อมแซม สุสานบรรพบุรุษ ทำได้เฉพาะ สารทเช็งเม้ง เท่านั้น
ข้อเท็จจริง : ไม่จำเป็นต้องเป็นสารทนี้เท่านั้น ขึ้นอยู่กับฤกษ์หากทำในสารทนี้ โดยไม่ดูฤกษ์ กลับจะเกิดโทษภัยจาก อสูร

จุดประทัด เพื่อกำจัดผีร้ายให้พ้นไป
ข้อเท็จจริง : ตามหลักวิชา การจุดประทัด เป็นการกระตุ้น หากตำแหน่งถูกต้อง ก็จะได้ลาภหากผิดตำแหน่ง จะเกิดปัญหา ( ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจเรื่อง ดาว 9 ยุค และฤกษ์ เป็นอย่างดี )

บางครอบครัวต้องการประหยัด จัดอาหารไหว้เพียง 1 ชุด ไหว้หลายแห่ง
ข้อเท็จจริง : ทำเช่นนี้ไม่ถูกต้อง บรรพบุรุษ ชุดแรกสุดเท่านั้นที่ได้รับ

บางคนเชื่อว่า จะไม่เผากระดาษทองให้กับ บรรพบุรุษ นอกจากตายมานานแล้ว ถือว่าได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นเทพ
ข้อเท็จจริง : ตามประเพณีโดยทั่วไปไม่มี

การไว้ทุกข์พ่อแม่ ต้องนาน 3 ปี
ข้อเท็จจริง : ประเพณีบางท้องถิ่น กำหนดเช่นนั้นจริง โดยเน้นเรื่องความกตัญญูเป็นหลัก

การไป ไหว้บรรพบรุษ ครั้งแรก ต้องดูฤกษ์
ข้อเท็จจริง : เป็นเรื่องถูกต้องตามหลักวิชา ฮวงจุ้ย โดยปกติแล้ว ซินแส จะเป็นผู้กำหนดฤกษ์ให้ หากทิศด้านหลัง สุสาน เป็นทิศห้าม ทิศอสูร ทิศแตกสลาย ต้องใช้ฤกษ์ปลอดภัยเท่านั้น ปีต่อ ๆ ไป ไม่ต้องมีการ ดูฤกษ์ อีก

สรุป

เทศกาลเช็งเม้งเป็นประเพณีที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายลึกซึ้งสำหรับผู้คนจำนวนมาก เป็นเวลาที่ครอบครัวและชุมชนจะมารวมตัวกัน เพื่อเป็นเกียรติแก่ความทรงจำของบรรพบุรุษของพวกเขา และเพื่อเฉลิมฉลองการมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลนี้เป็นการผสมผสานที่ไม่เหมือนใครระหว่างประเพณีและความทันสมัย ซึ่งมีการเฉลิมฉลองโดยผู้คนมากมายทั่วโลกด้วยความกระตือรือร้นอย่างมาก

คำถามที่พบบ่อย

เทศกาลเช็งเม้งคืออะไร?

เทศกาลเช็งเม้งหรือที่เรียกว่าวันกวาดสุสาน เป็นเวลาที่ครอบครัวจะไหว้บรรพบุรุษด้วยการเยี่ยมเยียนและทำความสะอาดหลุมฝังศพ ตลอดจนการเซ่นไหว้ด้วยอาหาร ธูป และสิ่งของอื่น ๆ

เทศกาลเช็งเม้งเริ่มไหว้วันไหน?

โดยปกติแล้วเทศกาลเช็งเม้งจะเริ่มไหว้วันที่ 4 หรือ 5 เมษายน แม้ว่าวันที่แน่นอนอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปฏิทินจันทรคติ

กิจกรรมดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลเช็งเม้งมีอะไรบ้าง?

กิจกรรมตามประเพณีบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลเช็งเม้ง ได้แก่ การเยี่ยมและทำความสะอาดหลุมฝังศพ การเซ่นไหว้บรรพบุรุษ เล่นว่าว และการเข้าร่วมการละเล่นพื้นบ้านในท้องถิ่น

การเล่นว่าวในเทศกาลเช็งเม้งมีความสำคัญอย่างไร?

การเล่นว่าวเป็นกิจกรรมดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลเช็งเม้ง ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของการปลดปล่อยดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับ นอกจากนี้ยังเป็นวิธีขอพรให้โชคดีและมีความสุขในปีหน้าอีกด้วย

มีอาหารใดบ้างที่รับประทานตามประเพณีในช่วงเทศกาลเช็งเม้ง?

อาหารแบบดั้งเดิมบางอย่างที่รับประทานในช่วงเทศกาลเช็งเม้ง ได้แก่ ชิงถวน (ขนมจีบสีเขียวทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมกับไส้หวานหรือไส้คาว) และข้าวเหนียวปั้นไส้ถั่วแดงกวน งา หรือไส้อื่น ๆ

Advertisement

กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button