วันสำคัญ

27 มีนาคม วันที่ระลึกกองทัพอากาศ ประวัติความเป็นมาของกองทัพอากาศ

วันที่ระลึกกองทัพอากาศ ตรงกับวันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี มีความสำคัญและประวัติอย่างไร กองทัพอากาศนั้นมีความสำคัญกับประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน

วันที่ระลึกกองทัพอากาศ

วันที่ระลึกกองทัพอากาศ

วันที่ระลึกกองทัพอากาศ จัดตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงกองทัพอากาศและนักบิน 3ท่านได้แก่ พลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสานศิลปสิทธ์ และนาวาอากาศเอกพระยาทะยานพิฆาต 3 ท่านนี้ได้รับการยกย่องจากกองทัพอากาศให้เป็น บุพการีของกองทัพอากาศ ท่านทั้ง 3 เป็น นักบินเพียง 3 คน ที่ได้ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาเห็นว่าประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีเครื่องบินไว้เพื่อป้องกันภัยการคุกคามที่จะเกิดขึ้นดังนั้นกระทรวงกลาโหมจึงตั้ง แผนการบิน ขึ้น โดยแต่เดิมแล้วนักบินทั้ง 3 ท่านมีชื่อว่า พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิก และร้อยโทหลวงทิพย์เกตุทัด ตามลำดับ ต่อมาได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ในภายหลัง

การบินไทยในช่วงแรกนั้น จะมีเครื่องบินทั้งหมด 8 ลำ โดยใช้สนามม้าสระปทุมเป็นสนามบิน ต่อมา ได้ย้ายมาที่ตำบลดอนเมืองเป็นที่ตั้งสนามบินแห่งใหม่ เนื่องจากมีความเหมาะสมและความสะดวกมากกว่า ในวันที่ 27 มีนาคม 2457 กระทรวงกลาโหมได้ยกแผนกการบินขึ้นเป็น กองบินทหารบก ดังนั้นกองทัพอากาศจึงกำหนดให้วันที่ 27 มีนาคมของทุกปีเป็น วันที่ระลึกกองทัพอากาศ กระทรวงกลาโหม ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการเรียกชื่อจากกรมอากาศยานทหารเป็น กรมทหารอากาศ ในปี 2464 และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น กรมทหารอากาศ

กองทัพอากาศไทย

กองทัพอากาศไทย (Royal Thai Air Force : RTAF) เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งกองทัพอากาศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองทัพอากาศหน่วยแรกของโลกเพียง 4 ปีเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นกองทัพอากาศที่ก่อตั้งเป็นลำดับแรกๆ ของเอเชีย และมีวีรกรรมครั้งสำคัญเกิดขึ้นมากมายในช่วงกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส ปัจจุบันมีกองบัญชาการอยู่ที่เขตสายไหม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และภายในปี 2554 หลังจากได้รับมอบฝูงบิน Gripen กับเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศจากบริษัท Saab และการปรับปรุงครึ่งชีวิตให้กับฝูงบิน F-16-A/B ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับรุ่น C/D กองทัพอากาศไทยจะมีอิทธิพลทางอากาศมากเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์ในแง่ของขีดความสามารถและความทันสมัยของอากาศยาน

บทความที่เกี่ยวข้อง
Advertisement

วันที่ระลึกกองทัพอากาศ

ประวัติความเป็นของกองทัพอากาศ

แนวความคิดที่ให้มีเครื่องบินใช้ในราชการ ได้เริ่มขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อชาวเบลเยี่ยมชื่อ Van Den Born ได้นำเครื่องบินแบบออร์วิลไรท์มาแสดงการบินในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ณ สนามม้าสระปทุม เพื่อเป็นการแสดงการบินสู่สายตาประชาชนชาวไทยในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2453 จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบกทรงเห็นความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องจัดหาอากาศยานไว้ป้องกันประเทศ จึงทรงดำริจัดตั้งกิจการการบินขึ้นเป็นแผนกหนึ่งของกองทัพบก อยู่ที่สนามราชกรีฑาสโมสร (สนามม้าสระปทุม) อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน และส่งนายทหารไปเรียนวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส จำนวน 3 นายประกอบด้วย

นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป) ต่อมาเป็น พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ นายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต ทั้งสามท่านได้เข้าเรียนที่บริษัทนีเออร์ปอร์ต (Nieuport Company) ในเดือนมกราคมปี 2454

หลังจากท่านทั้งสามสำเร็จวิชาการบิน ก็ได้ซื้อเครื่องบิน 2 แบบ 8 ลำ คือ Nieuport และ Breguet แบบละ 4 ลำ โดยระยะแรกได้ใช้สนามม้าสระปทุมเป็นสนามบิน แต่ด้วยปัญหาบางประการทำให้สนามม้าสระปทุมไม่สามารถรองรับกิจการการบินที่เติบโตขึ้นได้ จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ทรงย้ายที่ตั้งแผนกการบิน มาที่ตำบลดอนเมืองตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2457 และทรงยกฐานะแผนกการบิน เป็นกองบินทหารบก ในวันที่ 27 มีนาคม 2457 ต่อมากระทรวงกลาโหมได้ยึดถือวันนี้เป็น วันที่ระลึกกองทัพอากาศ

หลังจากนั้นกิจการการบินได้เติบโตเรื่อยมา โดยกองบินทหารบกได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 2460 กับฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ชื่อเสียงและเกียรติภูมิ ของชาติ เป็นที่ยอมรับ และได้รับการยกย่องเป็นอันมาก และในวันที่ 29 มีนาคม 2461 กองบินทหารบกจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกรมอากาศยานทหารบก หลังจากนั้นในปี 2464 กระทรวงกลาโหมได้พิจารณาเห็นว่า กำลังทางอากาศไม่ได้เป็นกำลังเฉพาะในด้านยุทธศาสตร์ทางทหารเท่านั้น แต่มีประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อกิจการด้านอื่น ๆ อีกด้วย ในวันที่ 1 ธันวาคม 2464 จึงได้แก้ไขการเรียกชื่อจากกรมอากาศยานทหารบกเป็นกรมอากาศยาน โดยให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยตรง และในวันที่ 12 เมษายน 2478 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกรมทหารอากาศ และวันที่ 9 เมษายน 2480 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกองทัพอากาศ มียศและเครื่องแต่งกายเป็นของตนเอง โดยนาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรก จึงถือเอาวันนี้เป็น วันกองทัพอากาศ และยกย่องถวายพระเกียรติจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ว่าเป็น พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย และยกย่องนายทหาร 3 ท่าน ที่ไปเรียนวิชาการบินรุ่นแรกว่าเป็น บุพการีทหารอากาศ

กองทัพอากาศได้สร้างวีรกรรมและยุทธเวหาไว้มากมาย โดยเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามอินโดจีน สามารถสร้างความพรั่นพรึงให้กับอริราชศัตรูของชาติได้อย่างมาก ปัจจุบัน กองทัพอากาศมีกำลังทางอากาศทั้งสิ้น 11 กองบิน กับ 1โรงเรียนการบิน โดยมีอากาศยานรวมเกือบ 320 ลำ นอกจากนี้ กองทัพอากาศดอนเมือง ยังเคยเป็นสถานที่แข่งขันรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 3 อีกด้วย

วันที่ระลึกกองทัพอากาศ

บทบาทหน้าที่ของกองทัพอากาศ

กองทัพอากาศนอกจากจะมีหน้าที่การเตรียมกำลังกองทัพอากาศ และป้องกันราชอาณาจักรด้วยการเตรียมกำลังทางอากาศเพื่อให้การคุ้มครองและรักษาอธิปไตยตลอดจนผลประโยชน์ของชาติแล้ว ในยามปกติกองทัพอากาศยังได้ใช้กำลังทางอากาศเพื่อพัฒนาประเทศ ทั้งในเรื่องการสนับสนุนโครงการในพระราชดำริ และการช่วยเหลือประชาชนที่ประสาธารณภัยต่างๆ อีกด้วย กองทัพอากาศถือว่าการพัฒนาประเทศเป็นภารกิจหลักประการหนึ่งที่ต้อปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถเพื่อสนองพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ทหารรักษาพระองค์ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2533 ความว่า

ทหารไทยนั้นนอกจากจะได้ทำหน้าที่สู้รบป้องกันประเทศและธำรงรักษาเอกราชอธิปไตย กับทั้งอิสรภาพของชาติไว้ให้สมบูรณ์ยืนยงมาแล้ว ยังทำหน้าที่พัฒนาบ้านเมืองและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน หน้าที่ประการหลังนี้ต้องถือว่าเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของทหารเสมอเหมือนกันกับการสู้รบ เพราะการพัฒนาให้บ้านเมืองเจริญมั่นคง ให้ประชาชนเป็นคนดีมีวิชา มีสถานะความเป็นอยู่ที่ดี มีกำลังเข้มแข็งที่จะช่วยตนเอง และรวมกันเป็นปึกแผ่นได้แข็งแกร่งนั้น สามารถป้องกันระงับเงื่อนไขสงคราม และการต่อสู้เอาชนะความยากไร้และศึกศัตรูภายนอกได้ทั้งหมด

นอกจากนั้นกองทัพอากาศต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 72 ความว่า

รัฐต้องจัดให้มีกำลังทหารไว้เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติและการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อพัฒนาประเทศ

ประวัติโดยสังเขป​

  • 27 มีนาคม 2457 – ยกฐานะจากแผนกการบิน เป็น กองบินทหารบก ถือเอาวันนี้เป็น วันที่ระลึกกองทัพอากาศ
  • 29 มีนาคม 2461 – ยกฐานะเป็นกรมอากาศยานทหารบก
  • 1 ธันวาคม 2464 – เปลี่ยนชื่อเป็นกรมอากาศยาน ขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม
  • 12 เมษายน 2478 – ยกฐานะเป็นกรมทหารอากาศ
  • 9 เมษายน 2480 – สถาปนาเป็นกองทัพอากาศ ถือเอาวันนี้เป็น วันกองทัพอากาศ (ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ 26 มีนาคม 2541)

Advertisement

กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button