วันสำคัญ

วันสตรีสากล ผู้หญิงควรรู้

วันสตรีสากล ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี มีที่มาอย่างไร มาทำความเข้าใจ สัญลักษณ์ กิจกรรม วันสตรีสากล (International Women’s Day,IWD) ที่ผู้หญิงควรรู้

วันสตรีสากล

วันสตรีสากล (ภาษาอังกฤษ: International Women’s Day ,IWD) ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้ใช้แรงงานหญิงที่ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ และการถูกเลือกปฏิบัติที่มีต่อชนชั้นแรงงาน จึงเป็นกำเนิดของวันสตรีสากลดังนั้นวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี องค์กรที่ทำงานด้านผู้หญิงในหลายประเทศทั่วโลกจึงมีการจัดงานวันสตรีสากลขึ้น เพื่อรำลึกถึงการต่อสู้ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิง และเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล รวมทั้งการจัดกิจกรรมรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่ผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศ

วันสตรีสากล

ความเป็นมาของวันสตรีสากล

ประวัติวันสตรีสากล เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า New York ประเทศ United States ได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอแต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม 2400

จากนั้นในปี 2450 กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่ Chicago ประเทศ United States ทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุดไม่มีประกันการใช้แรงงานใด ๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิดถ้าหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก

ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้ Clara Zetkin นักการเมืองสตรีสังคมนิยมชาวเยอรมัน ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม 2450 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้ผู้หญิงมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย

Advertisement

แม้การเรียกร้องครั้งนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานผู้หญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้ผู้หญิงทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ Clara Zetkin และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น

วันที่ 8 มีนาคม 2451 มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมือง New York เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็กโดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า “ขนมปังกับดอกกุหลาบ” ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อม ๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง

กระทั่งวันที่ 8 มีนาคม 2453 ความพยายามของกรรมกรหญิงกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนผู้หญิงจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมือง Copenhagen ประเทศ Denmark โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรหญิง ในระบบสาม 8 คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย

ทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของ Clara Zetkin ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็น วันสตรีสากล

คลารา เซทคิน Clara Zetkin

คลารา เซทคิน Clara Zetkin

คลารา เซทคิน (Clara Zetkin) เดิมชื่อ คลารา ไอนส์เนอร์ เกิดเมื่อ 5 กรกฎาคม 2400 – เสียชีวิตเมื่อ 20 มิถุนายน 2476 เป็นนักทฤษฎีลัทธิมากซ์ นักกิจกรรมและผู้สนับสนุนสิทธิสตรีชาวเยอรมัน ในปี 2454 เธอจัดวันสตรีสากลครั้งแรก เธอมีบทบาทในพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนีจนถึงปี 2460

ในปี 2424 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคสังคมประชาธิปไตย (Social Democratic Party) ซึ่งเป็น พรรคการเมืองที่ก่อตั้งได้เพียงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนที่จะถูกยุบ โดยมหาเอกอัครเสนาบดีของปรัสเซีย (เยอรมัน) นามว่า ออทโต ฟอน บิสมารค์ และคลาราได้ถูกเนรเทศไปอยู่ที่สวิตท์เซอร์แลนด์

2450 คือ 8 ปี ให้หลังคลาราได้กลับสู่เยอรมันดินแดนมาตุภูมิ คลารากลับมาพร้อมกับการก่อตั้ง กลุ่มนักสังคม นิยมหญิง หลักจากนั้น ในปี 2453 ได้ริเริ่มในการเสนอให้กำหนดวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสตรีสากล

นับจากปี 2457 ในขณะที่ประเทศเยอรมันกำลังทำสงครามโลกครั้งที่ 1 คลารา เซทคินได้ร่วมมือกับ โรซ่า ลัมเซมเบอรค์ (นัดคิดสายมารค์ซิสต์หญิงคนสำคัญ) ร่วมกันรณรงค์ต่อต้านสงครามโลกครั้งที่ 1 ในนามกลุ่ม สปาร์ตาซิสต์ จึงทำให้คลาราเดินเข้าออกจากคุกนับครั้งไม่ถ้วน

กลุ่มสปาร์ตาซิสต์ (Spatarcist)

กลุ่มสปาร์ตาซิสต์ เป็นกลุ่มกรรมการในเยอรมันที่ประท้วงรัฐบาลเยอรมันสมัยนั้นในการทำ สงครามโลก ครั้งที่ 1 ภายใต้การนำของ 2 นักสังคมนิยมเยอรมัน โรซ่า ลัมเซมเบอรค์ (Rosa Luxemburg) และคารล์ เลี๊ยบเนคท์ (Karl Liebknecht) ด้วยความคิดที่ว่า ทหารที่ส่งไปรบและล้มตาย ก็คือประชาชนหรือผู้ใช้แรงงาน สงครามเป็นการกระทำที่สนองตัณหาของรัฐบาล ในการต้องการความยิ่งใหญ่แต่ประชาชนมีแต่ต้องสูญเสีย (กลุ่มสปาร์ตาซิสต์ เป็นชื่อที่นำมาจากชื่อของ สปาร์ตาคัส ผู้นำของทาศ ในยุคโรมันโบราณที่หาญกล้าขึ้นปฏิวัติล้มอำนาจของจักรพรรดิโรมันยุคโบราณ)

สัญลักษณ์วันสตรีสากล

สัญลักษณ์วันสตรีสากล

สัญลักษณ์วันสตรีสากล มีสีม่วงและสีขาวและมีสัญลักษณ์ของวีนัสซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นผู้หญิง ใบหน้าของผู้หญิงทุกวัยทุกวัยและประเทศต่าง ๆ จะปรากฏในโปรโมชันต่าง ๆ เช่นโปสเตอร์ โปสการ์ด และหนังสือในวันสตรีสากล ข้อความต่าง ๆ

กิจกรรมวันสตรีสากล

วันสตรีสากล ไม่ได้เป็นเพียงวันที่กลุ่มสตรีทั่วโลกร่วมฉลองกันเท่านั้น แต่เป็นวันที่องค์กรสหประชาชาติได้ร่วมเฉลิมฉลองด้วย และอีกหลายประเทศได้กำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันหยุดประจำชาติของตน กลุ่มสตรีจากทุกทวีปไม่ว่าจะแตกต่างกันโดยเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ หรือ การเมืองก็ตาม ได้รวมตัวกันเพื่อฉลองวันสำคัญนี้ เพื่อรำลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้อันยาวนาน เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคความยุติธรรม สันติภาพและการพัฒนา

ผลจากการตัดสินใจของที่ประชุม Copenhagen ทำให้มีการจัดกิจกรรมวันสตรีสากลขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2454 ในประเทศ Austria ,Denmark ,Germany และ Switzerland มีประชาชนทั้งหญิงชายมากกว่า 1 ล้านคน เข้าร่วมการชุมนุมเรียกร้องสิทธิในการทำงาน การเข้ารับการอบรมในวิชาชีพ และให้ยุติการแบ่งแยกในการทำงานในปีถัดมาได้มีการจัดกิจกรรมวันสตรีสากล เพิ่มขึ้นในประเทศ France ,Nederland และ Sweden และในปี 2456 มีการจัดชุมนุมวันสตรีสากลในรัสเซียเป็นครั้งแรก ที่ Saint Petersburg แม้ว่าจะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจขัดขวางก็ตาม วันสตรีสากลได้จัดขึ้นโดยเชิดชูคำขวัญของขบวนการสันติภาพ ทั้งนี้เพื่อต่อต้านสงครามที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในยุโรปนับตั้งแต่ปีแรก ๆ เป็นต้นมา ความสำคัญของการฉลองวันสตรีสากลได้ทวีมากขึ้น โดยมีสตรีในทวีป Africa เอเชียและละตินอเมริกา เริ่มร่วมมือกันเพื่อทบทวนความก้าวหน้าของการต่อสู้เพื่อสิทธิที่เท่าเทียม กัน และเพื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งพยายามผลักดันให้มีการตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนของสตรีอย่าง สมบูรณ์

ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะ ปฏิบัติตามพันธสัญญาต่อเวทีโลกที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับบทบาทและสถานภาพ สตรีโดยได้มีการดำเนินการทั้งในแง่กฎหมาย นโยบาย มาตรการและกิจกรรมต่าง ๆ ในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย คือ เจตนารมณ์ให้มีความเป็นธรรมเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายในทุกรูป แบบ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการใช้ การควบคุมทรัพยากร เพื่อให้หลุดจากการกีดกันต่าง ๆ ให้สตรีได้มีโอกาสรับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน

วันสตรีสากล

งานวันสตรีสากล

วันสตรีสากล ซึ่งตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่เหล่าสตรีจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพใด จะร่วมเฉลิมฉลองความเสมอภาคที่ได้รับมา และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันในสังคมอีกด้วย การจัดกิจกรรมงานวันสตรีสากล นั้น เพื่อเป็นการแสดงการให้เห็นถึงการต่อสู้อันยาวนาน กว่าจะได้อิสระและความเท่าเทียมกับผู้ชาย

จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณ

การจัดให้มีการประกาศเกียรติคุณแก่สตรีดีเด่นประจำปี เนื่องในวันสตรีสากล เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ สตรีผู้สร้างประโยชน์ในสาขาอาชีพต่าง ๆ โดยผู้ที่เคยได้รับรางวัลดังกล่าว เช่น คุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์, สุดารัตน์ เกยุราพันธ์, ปวีณา หงสกุล ฯลฯ

จัดนิทรรศการ

การจัดนิทรรศการ เกี่ยวกับแรงงานสตรีในสมัยอดีต ว่ามีที่มาอย่างไร การถูกกดขี่ข่มเหงในเรื่อต่างๆ ทั้งเรื่องงาน และอารมณ์ทางเพศ ที่ผู้ชายทักจะใช้เป็นที่ระบายอารมณ์

ให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับสิทธิสตรี

นอกจากการจัดนิทรรศการแล้ว อาจจะมีการแนะแนว ในเรื่องของการกดขี่ทางเพศ การทำร้ายร่างกายผู้หญิง การให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิสตรี อาจจะเป็นการร่วมมือของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งหากมีเหตุการณ์ใดๆ อันจะก่อให้เกิดความรุนแรงได้ ควรจะต้องหาทางแก้ไขเบื้องต้นอย่างไร ซึ่งการที่ผู้หญิงมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก

จะเห็นได้ว่าโลกในยุคใหม่นี้ แต่ละแห่งให้ความสำคัญและยอมรับผู้หญิงมากขึ้น การถือกำเนิดของวันสตรีสากลนี้ เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นในการขจัดการแบ่งแยกและการเหยียดเพศให้หมด ทำให้ผู้หญิงในปัจจุบันมีบทบาทอย่างแพร่หลายต่อการขับเคลื่อนของสังคม ดังนั้น “วันสตรีสากล” จึงเป็นอีกวันหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงทุกคนได้แสดงความสามารถ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความทัดเทียมกันได้อย่างดี

สโลแกนวันสตรีสากล

ก้าวเดินไป พร้อมกัน ทั้งชายหญิง

ให้ทุกสิ่ง เป็นจริง สมความหวัง

ร่วมมือกัน ร่วมใจกัน รวมพลัง

ให้พร้อมพรั่ง พร้อมเพรียง ทุกเวลา


โลกสดใส มีสตรี ร่วมสร้างสรรค์

ร่วมแบ่งปัน เพื่อนมนุษย์ ในโลกหล้า

ด้วยจิตใจ เอื้ออารีย์ กรุณา

ช่วยนำพา ทุกอย่าง ให้งดงาม


กิจการงาน ใดใด ก้าวไปได้

สตรีไทย อาสาช่วย ไม่ต้องถาม

ไม่เกี่ยงงอน วุ่นวาย ไม่มากความ

ไม่พูดพล่าม ร่วมด้วย ช่วยกันไป


ความปรองดอง เสมอภาค สามมัคคี

ล้วนสิ่งดี จรรโลง สิ่งใหม่ใหม่

พัฒนา เมืองไทย ก้าวไปไกล

ร่วมมือไว้ ประเทศไทย พัฒนา


ขอเชิดชู หญิงแกร่ง ทุกแห่งหน

วิญญูชน ผู้กล้า มากคุณค่า

ช่วยส่งเสริม ผลักดัน ช่วยนำพา

ประเทศไทย เดินหน้า สู่สากล

ความสำคัญของวันสตรีสากล

วันสตรีสากล มิเพียงแค่การเฉลิมฉลองเหมือนงานประเพณีที่มักทำติดต่อกันทุกปี หากจะเป็นการตระหนักร่วมและให้คุณค่าทางประวัติศาสตร์ของ การต่อสู้ของผู้ใช้ แรงงานหญิง และสืบทอดเจตนารมย์ที่ต้องการให้ผู้หญิงได้รับการปกป้องคุ้มครองให้ปลอดภัย จากความรุนแรง และยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ผู้ใช้แรงงานต้องได้รับการดูแลในด้านสวัสดิการ สุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งผู้หญิงต้องได้รับการปฏิบัติอย่างให้เกียรติและเท่าเทียมในฐานะที่ ผู้หญิงก็เป็นสมาชิกหนึ่งในสังคม นะครับ เคอเรจ หมาน้อยผู้กล้าหาญ

วันสตรีสากลในประเทศไทย

ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะมุ่งให้เห็นความสำคัญของสุภาพสตรีเช่นกัน ดังนั้นในวันที่ 8 มีนาคม 2532 ประเทศไทยจึงได้ก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยสังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ก็เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงในสังคม รวมทั้งระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา นับตั้งแต่นั้นมาวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี ประเทศไทยจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในวันสตรีสากลด้วย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดนิทรรศการต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จัก และเห็นความสำคัญของวันสตรีสากล

อีกด้านหนึ่งก็ได้จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณแก่สตรีดีเด่นประจำปี เนื่องในวันสตรีสากล ทั้งนี้ก็เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ สตรีผู้สร้างประโยชน์ในสาขาอาชีพต่าง ๆ โดยผู้ที่เคยได้รับรางวัลดังกล่าว เช่น แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์, คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, ปวีณา หงสกุล ฯลฯ

mcdonalds upside down

วันสตรีสากลในโซเชียล

McDonald’s

McDonald’s กลับหัวโลโก้ของป้ายหน้าร้านจาก M เป็น W เพื่อร่วมฉลอง วันสตรีสากล ที่สาขาในเมือง Lynwood ,California นอกจากนี้ อีกกว่า 100 สาขาทั่วสหรัฐฯ จะบรรจุอาหารในแพ็กเกจพิเศษที่ใช้โลโก้เป็นรูปตัว W ในวันนี้ด้วย

Google Doodle

ปี 2561 Google Doodle ได้ถ่ายทอดบอกเล่าเรื่องราวผ่านผลงานภาพของศิลปินหญิง 12 คน 12 เรื่องราว โดยแต่ละเรื่องเล่าถึงช่วงเวลาหรือเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขา เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับสตรีทั่วโลก ดูต่อ

จ๊ะ อาร์สยาม

แม่ มีอิทธิพลที่สุดในชีวิตของจ๊ะ เวลาแม่สั่งหรือแม่พูดอะไร เราก็จะเชื่อฟัง

หมอดูต๊อกแต๊ก

ความเป็นหญิงจากแม่ และยายทำให้เราได้เรียนรู้การเป็นผู้หญิง ที่รู้จักวางตัวและสรรหาสิ่งดี ๆ ให้กับตัวเอง

นางสาวขัตติยา สวัสดิผล

ในฐานะนักกฎหมายเห็นว่าปัจจุบัน กม. หลายฉบับของไทยได้รับการปรับปรุงแก้ไข เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้หญิงมีสิทธิ และความเสมอภาคเท่าเทียมกันกับผู้ชาย ต่อจากนี้เป็นหน้าที่ของผู้หญิง ที่ต้องคอยพัฒนาความรู้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถ เพื่อสร้างคุณค่าให้กับตัวเราเอง

อิมเมจ สุธิตา ชนะชัยสุวรรณ

สิทธิระหว่างชายกับหญิง “กดขี่กันเองของเพศหญิง” “การที่เห็นเพศหญิงเป็นแค่วัตถุทางเพศ” หลายคนมองว่าเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องใหญ่มากเลยนะเพราะเป็น สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเลย

หมอโอ๊ค สมิทธิ์ อารยะสกุล

ผู้หญิงทุกคนมีความสวยในตัวเอง อย่าไปคิดว่าตัวเองไม่สวย อย่าให้ใครมาบอกว่าคุณไม่สวย หรือว่าคุณจะได้สวยเพื่อผมอย่างนั้น คือ อำนาจ

Advertisement

กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button