วันสำคัญ

วันช้างไทย ประวัติวันช้างไทย

วันช้างไทย (ภาษาอังกฤษ: Thai Elephant Day) ตรงกับวันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี ชวนมาอนุรักษ์และมารู้จักประวัติวันช้างไทยกัน เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของช้าง

วันช้างไทย

วันช้างไทย เริ่มจากคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ให้ความสำคัญในการช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น

ประวัติวันช้างไทย

ประวัติวันช้างไทย

ช้างไทย เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองมาช้านานแต่ปัจจุบันประชากรช้างในประเทศไทยมีจำนวนลดน้อยลงมาก หากไม่มีการอนุรักษ์และกระตุ้นเตือนจิตสำนึกของประชาชนให้ระลึกถึงความสำคัญของช้างไทยแล้ว ช้างไทยอาจสูญพันธุ์ไปในที่สุด ผลจากการที่ประเทศไทยมีวันช้างไทยเกิดขึ้น นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้างเคยได้รับในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติ หรือช้างเผือกที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์

คณะอนุกรรมการฯ จึงได้พิจารณาหาวันที่เหมาะสม ซึ่งครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาแต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทยไปแล้ว จึงได้พิจารณาวันอื่นและเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยนั้นมีความเหมาะสม จึงได้นำเสนอมติตามลำดับขั้นเข้าสู่คณะรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกทางหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 26 พฤษภาคม 2541 เห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็น วันช้างไทย และได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อ 29 พฤษภาคม 2541 ลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 18 มิถุนายน 2541

Advertisement

ผลจากการที่ประเทศไทยมีวันช้างไทยเกิดขึ้น นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้างเคยได้รับในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติ หรือช้างเผือกที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์

กิจกรรมวันช้างไทย

กิจกรรมวันช้างไทยทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนได้มีการจัดกิจกรรมพิเศษมากมาย อาทิเช่น การจัดสะโตกช้าง หรือขันโตกช้าง โดยช้างจะรับประทานอาหารของช้างที่ทางปางช้างได้จัดหาไว้ให้เป็นอย่างดี ในวันนี้เด็กนักเรียนจะสามารถข้าชมได้ฟรีเพื่อเป็นการส่งเสริม ให้เด็ก เห็นคุณค่าของช้างไทยและความสำคัญของวันช้างไทย

ช้างไทยในปัจจุบัน

ช้างไทยในปัจจุบัน

ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช บอกว่า จากตัวเลขการประเมินประชากรช้างป่าที่เคยสำรวจไว้เมื่อหลายปีก่อนภาพรวม ยังคงมีตัวเลขราว 3,500-4,000 ตัวกระจายในป่าอนุรักษ์ 68 แห่งที่พบช้างป่าอาศัยใน 7 กลุ่มป่า ได้แก่

  • กลุ่มป่าตะวันตก เช่น แก่งกระจาน สลักพระ ห้วยขาแข้ง จำนวน 400-600 ตัว
  • กลุ่มป่ารอยต่อตะวันออก 5 จังหวัด จำนวน 300-400 ตัว
  • กลุ่มป่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เช่น ภูเขียว น้ำหนาว เขาใหญ่ ตาพระยา 500-600 ตัว
  • จำนวนกลุ่มป่าภาคใต้คลองแสง-เขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 100-150 ตัว
  • กลุ่มป่าภาคเหนือ จำนวน 110-300 ตัว

ประชากรช้างป่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 โดยเฉพาะกลุ่มป่าตะวันออก

ขณะนี้ประชากรช้างป่าของไทย ไม่อยู่ในความเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ุแล้วเพราะมีการดูแล และบริหารจัดการในปัจจุบันมีความเข้มข้นขึ้นถ้าเทียบกับในอดีตที่เคยมีปัญหาการล่าช้างเอางา และเอาลักลอบนำลูกช้างออกจากป่าเพื่อนำมาสวมตั่วช้างให้กับปางช้างต่าง ๆ ส่วนหนึ่งเพระาคนไทยให้ความสนใจกับการดูแลทรัพยากร ตระหนักถึงความสำคัญต่อสัตว์ป่าหลายชนิดจนมีดัชนีการเพิ่มขึ้น

แต่ปัญหาที่กำลังเผชิญ คือ การจัดการประชากรช้างป่า และพื้นที่แหล่งอาศัยของช้างป่าโดยเฉพาะป่าตะวันออก ที่พบปัญหาช้างออกนอกพื้นที่รุนแรงขึ้น เช่น บริเวณแห่งหางแมว จันทบุรี ที่พบช้างออกมาคราวละ 80-100 ตัว ทำอย่างไรจึงจะทำให้ช้างอยู่ในป่า มีแหล่งอาหารเพียงพอเพื่อดึงให้ช้างกลับไปอยู่ในป่า โดยไม่สร้างความขัดแย้งกับชาวบ้าน

วันช้างโลก

วันช้างโลก

วันที่ 12 สิงหาคม นอกจากจะเป็นวันสำคัญของคนไทย เนื่องในวันแม่แห่งชาติแล้ว ยังตรงกับวันสำคัญอีกหนึ่งวันนั่นก็คือ วันช้างโลก (World Elephant Day) ซึ่งจุดประสงค์ของวันนี้ มีขึ้นเพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของช้าง พร้อมทั้งช่วยเป็นกระบอกเสียงในการรณรงค์อนุรักษ์และปกป้องช้าง จากการถูกคุกคามโดยมนุษย์

อนุรักษ์ช้างไทย

คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการงาช้างแห่งประเทศไทย (Thailand National Ivory Action Plan) ฉบับแก้ไข จำนวน 5 กิจกรรมดังนี้

  1. การออกระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการครอบครองและการค้างาช้าง
  2. การจัดทำระบบทะเบียนข้อมูลผู้ประกอบกิจการค้างาช้างและรายการสินค้างาช้างข้อมูลการครอบครองงาช้างบ้านและงาช้างแอฟริกาที่ถูกกฎหมายและข้อมูลงาช้างของกลาง
  3. การกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมาย
  4. การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพันธกรณีตามอนุสัญญา CITESระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องและการกำกับดูแลการค้างาช้างบ้านต่อประชาชนทั่วไป ผู้ค้างาช้าง เจ้าของช้างและแจ้งเตือนชาวต่างชาติ ไม่ให้ซื้องาช้างและไม่นำออกจากประเทศไทย
  5. ติดตามและประเมินผล

ผลิตภัณฑ์งาช้างที่มีขายในท้องตลาด

  • งาช้างสมบูรณ์ หรือ งาท่อน (รวมถึงงาช้างแกะสลัก)
  • ผลิตภัณฑ์จากงาช้าง อาทิ เครื่องประดับ ของใช้ เครื่องมือ อุปกรณ์และสิ่งของใด ๆ ที่ทำจากงานช้างหรือมีงาช้างเป็นส่วนประกอบ

วัสดุทดแทนงาช้าง

  • กระดูกสัตว์ แตกต่างจากฟัน เขี้ยวหรืองาสัตว์ คือมีร่องหรือรูขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายกับรอยขูด ขีด กระจายทั่วเนื้อและผิวกระดูกซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่พบในฟัน เขี้ยวและงาของสัตว์
  • เรซิน ถูกขึ้นรูปหรือใส่แบบพิมพ์เพื่อเลียนแบบงาและผลิตภัณฑ์จากงาช้างและมีวิธีการทำให้เกิดลายพิมพ์บนผิวบางครั้งเรซิ่นก็ถูกนำมาผสมกับเศษงาหรือผงงาอีกด้วย แต่ทั้งนี้เรซิ่นจะมีความมันวาวกว่างาและรูปแบบรายจะไม่เป็นธรรมชาติและหากถูกความร้อนจะได้กลิ่นของพลาสติก
ลักษณะช้างไทย

ลักษณะช้างไทย

มีร่างกายใหญ่โต จมูกและริมฝีปากบนยาว ที่เรียกว่า งวง ใช้สำหรับหายใจ จับสิ่งของ และจับอาหารเข้าปาก ฟันหน้าเจริญไปเป็น งา ฟันกรามมีขนาดใหญ่ ไม่เกิน 1 คู่ (แต่ช้างโบราณบางชนิด เช่น Dinitherium มีงาที่กรรไกรล่างคู่หนึ่ง และช้างโบราณพวก Tetrabelodon มีงาที่กรรไกรบนคู่หนึ่ง และที่กรรไกรล่างอีกคู่หนึ่ง) ไม่มีฟันเขี้ยว

ขาใหญ่ตรงลักษณะคล้ายต้นเสา ขาหน้ามีกระดูก radius และ ulnar บริบูรณ์ ขาหลังก็มีกระดูก tibia และ fibula บริบูรณ์ เท้ามีนิ้วข้างละ 5 นิ้ว แต่เล็บนิ้วก้อยบางตัวนั้นชักจะค่อย ๆ หายไป
มีกระเพาะอาหารแบบธรรมดา ไม่ได้เป็นกระเพาะอาหาร Compound แบบสัตว์เคี้ยวเอื้อง อย่างวัวหรือควาย

ตัวผู้ลูกอัณฑะอยู่ในท้อง ไม่อยู่ในถุงห้อยออกมาอย่างสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ เช่น เสือ วัว ควาย กวาง และสุนัข เป็นต้น ส่วนตัวเมียมดลูกแยกเป็น Bicornuate และมีเต้านม 1 คู่ อยู่ที่หน้าอกระหว่างขาหน้าทั้ง 2 ข้าง

ช้างในปัจจุบันมี 2 สายพันธุ์

  1. ช้างแอฟริกา (Loxodonta Africana) มีลักษณะเด่นคือ ผิวออกสีน้ำตาล สูงประมาณ 3.5 เมตร ใบหูใหญ่กว่าช้างเอเชีย กะโหลกศีรษะเล็ก มีมันสมองน้อย
  2. ช้างเอเชีย (Elephas maximus) เป็นช้างที่กระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย 13 ประเทศ คือ อินเดีย บังคลาเทศ ภูฏาน เนปาล ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน มาเลเซียและอินโดนีเซีย มีลักษณะเด่น คือ ผิวสีออกดำ สูงประมาณ 3 เมตร ใบหูเล็ก กะโหลก ศีรษะใหญ่มีมันสมองมาก

ธรรมชาติของช้าง

ช้างทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นช้างพันธุ์เอเชียหรือพันธุ์แอฟริกา มีความเป็นอยู่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ ชอบอยู่เป็นฝูงช้าง ฝูงหนึ่งมักประกอบด้วยช้าง 5 – 10 เชือก แต่ละฝูงจะมีช้างพลายตัวหนึ่งเป็นหัวหน้า ซึ่งมักจะเป็นตัวที่แข็งแรงที่สุดของฝูง มีหน้าที่คอยเป็นผู้ปกปักรักษา และป้องกันอันตรายให้แก่ช้างในฝูงของตน และเป็นผู้นำฝูงไปหาอาหารในแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ ช้างป่าที่หากินอยู่ตัวเดียว ถ้าไม่ใช่ช้างแก่ซึ่งเดินตามเพื่อนฝูงไม่ทัน มักจะเป็นช้างเกเรที่ถูก ขับออกจากฝูง เรียกว่า ช้างโทน ช้างโทนนี้มีนิสัยดุร้าย ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ผู้พบเห็นได้ ช้างไทยหรือช้างเอเชียมีนิสัยชอบอากาศเย็น และไม่ชอบแสง แดดจัด ฉะนั้น เมื่อเรานำมันมาฝึกใช้งาน เช่น งานชักลากไม้ เราจึงใช้งานช้างเฉพาะตอนเช้าตั้งแต่ 6.00-12.00 น. ส่วนตอน บ่ายต้องให้มันหยุดพักผ่อน นอกจากนั้น เมื่อเราใช้งานมันติดต่อกันไป 3 วัน เราจะต้องให้มันหยุดพักงานอีก 1 – 2 วัน แล้ว จึงให้มันทำงานใหม่ทั้งนี้ก็เพราะว่าช้างเป็นสัตว์ที่มีโรคภัยเบียดเบียนได้ง่าย ถ้าเราใช้งานมันหนักเกินไปมันอาจจะเกิดเจ็บป่วยขึ้นในฤดูที่มีอากาศร้อนจัด คือ ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม

นิสัยของช้าง

ช้างเอเชียหรือช้างไทยโดยทั่ว ๆ ไปเมื่อนำมาฝึกให้เชื่องเพื่อใช้งานได้แล้วจะมีนิสัยฉลาด สุภาพ และรักเจ้าของ เว้นแต่ในบางขณะ เช่น ในเวลาตกมันซึ่งก็เป็นเพียงในชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ในเวลาตกมันช้างจะมีนิสัยดุร้ายจะทำร้ายช้างด้วยกันเองหรือทำร้ายเจ้าของ ตลอดจนสิ่งของที่อยู่ใกล้ ๆ เมื่อพ้นระยะตกมันแล้วนิสัยดุร้ายจะหายไปเอง ช้างบางเชือกอาจจะมีนิสัยเกเรมาตั้งแต่กำเนิดแต่ก็ไม่มากนัก โดยปกติช้างเป็นสัตว์ที่ตื่นกลัวสิ่งของหรือสัตว์ที่มันไม่ค่อยพบเห็น โดยเฉพาะช้างเป็นสัตว์ที่มีความรู้สึกทางกลิ่นได้ดีมาก และมักจำกลิ่นที่มันเคยชินได้ดีในด้านความฉลาดของช้างเอเชียหรือช้างไทยนั้น จะเห็นได้จากการที่มันแสดงละครสัตว์หรือในด้านการไม้ มันได้แสดงความเฉลียวฉลาดของมันออกมาในด้านการรักลูกมันรู้จักส่งเสียงดุลูกหรือใช้งวงตีเมื่อลูกของมันซน นอกจากนั้น ยังมีผู้เคยพบว่ามันยืนเฝ้าศพลูกของมันที่ฝังดินไว้เป็นเวลา 2-3 วันก็มี

การกินนอนของช้าง

การนอนโดยปกติของช้าง มีระยะเวลาสั้น ประมาณ 3-4 ชั่วโมง เวลานอนของมันอยู่ในระหว่าง 23.00-03.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ลักษณะการนอนของช้างเมื่อหลับสนิทจะนอนตะแคงลำตัวข้างใดข้างหนึ่งลงกับพื้น ช้างมีอาการหาวนอนและนอนกรนเช่นเดียวกับมนุษย์ ถ้าหากพบช้างนอนหลับในเวลากลางวัน ควรสันนิษฐานไว้ก่อนว่าช้างเชือกนั้นคงไม่สบายหรือมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เนื่องจาก ช้างมีเวลาน้อยนั่นเองมันจึงใช้เวลาที่เหลืออยู่ในการกินอาหารและเดินท่องเที่ยวไปในป่า เวลาเดินไปก็กินหญ้าไป ตลอดทาง กล่าวกันว่า ช้างเชือกหนึ่งจะกินอาหาร และหญ้าคิดเป็นน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัมใน 1 วัน เนื่องจากช้างไม่มีกระเพาะพิเศษ สำหรับเก็บอาหารไว้สำรอง แต่ช้างก็มีวิธีเก็บสำรองอาหารไว้กินในระหว่างเดินทาง หรือระหว่างทำงาน เช่น เอางวงกำหญ้าไว้ในขณะเดินทาง หรือเอาหญ้าและอาหารเหน็บไว้ที่ซอกงาของมัน

การตกลูกของช้าง

ช้างพังหรีอช้างตัวเมียที่สมบูรณ์ จะมีลูกได้เมื่อมีอายุระหว่าง 15-50 ปี ในประเทศพม่ามีผู้เคยพบช้างพัง ซึ่งมีอายุเพียง 9 ปี 1 เดือน ตกลูกออกมาแม้ว่าลูกช้างที่เกิดจากแม่ช้างที่มีอายุน้อยตัวนี้จะมีอวัยวะครบสมบูรณ์ แต่ก็ไม่สามารถเลี้ยง ให้มีชีวิตรอดได้ ฉะนั้นเรื่องนี้จึงถือว่าเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งนาน ๆ จะเกิดขึ้นสักครั้ง การผสมพันธุ์ของช้างระหว่างช้างตัวผู้กับช้าง ตัวเมีย เป็นไปในลักษณะเช่นเดียวกับม้า วัว และควาย คือ ช้างตัวผู้ใช้ขาหน้าคร่อมหลังของช้างตัวเมีย การตั้งท้องของ ช้างมีระยะเวลาระหว่าง 21-22 เดือน เนื่องจากตัวของช้างมีลักษณะใหญ่ อ้วนกลมอยู่แล้ว ฉะนั้น ในระยะที่มันตั้งท้องจะสังเกตได้ยาก บาง ทีเจ้าของจะทราบก็ต่อเมื่อช้างตกลูกออกมาแล้ว

จึงต้องอาศัยสังเกตวิธีอื่นประกอบ เช่น เต้านมคัดมีน้ำนมไหล หรือช้างไม่ยอมลุกนั่งตามคำสั่งและไม่ยอมทำงาน ในกรณีที่ช้างอยู่เป็นฝูงหรือเจ้าของช้างมีช้างหลายเชือก แม่ช้าง ที่ท้องแก่จะหาเพื่อนช้างพังที่สนิทไว้ช่วยเหลือในเวลาตกลูก ช้างพังที่คอยช่วยเหลือนี้เรียกกันว่า แม่รับ จะคอย ช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา เมื่อช้างแม่ถึงกำหนดใกล้จะคลอดลูก มักจะไปหาที่ซึ่งมีหญ้าอ่อนหรือพื้นดินนุ่ม เพื่อมิให้เป็นอันตรายแก่ลูกที่จะ คลอดออกมา เพราะช้างแม่ส่วนมากจะยืนคลอดลูก โดยย่อขาหลังต่ำลงมาลูกอาจจะตกลงพื้นดินในระยะสูงพอควร ลูกซึ่ง คลอดออกมาจะมีถุงใส ๆ เป็นเยื่อบาง ๆ หุ้มอยู่ แม่รับจะเข้าไปช่วยฉีกถุงเยื่อที่หุ้มออกจากตัวลูกช้าง ถ้าไม่มีแม่ รับ แม่ช้างจะฉีกถุงเยื่อนั้นเอง

แม่ช้างเชือกหนึ่งอาจจะมีลูกได้ 3-4 ตัว ตลอดชีวิตของมัน โดยปกติแล้วแม่ช้างจะตกลูกเพียงครั้งละ 1 ตัว และจะมีลูกห่าง กันประมาณ 3 ปี ทั้งนี้แล้วแต่สภาพแวดล้อม เช่น ช้างป่าที่มีชีวิตเป็นอิสระย่อมมีลูกได้สม่ำเสมอกว่าช้างบ้านที่ถูกจองจำ และต้องทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา

กำลังทำงานของช้าง

ช้างจะเริ่มทำงานได้เมื่อมีอายุประมาณ 25 ปี และเมื่ออายุประมาณ 50 ปี ช้างจะมีกำลังถอยลงและจะทำงานเบา ๆ เช่น ลากไม้เล็ก ๆ หรือขนของต่อไปได้จนถึงอายุประมาณ 60 ปี ต่อจากนั้นเจ้าของก็ให้หยุดทำงาน แล้วปล่อยให้กินหญ้าอยู่ ตามลำพัง โดยมีการติดตามดูแลบ้างเป็นบางครั้งบางคราว กำลังความเข้มแข็งของช้างเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับมนุษย์ โดยเปรียบ เทียบจากหน่ายน้ำหนักที่เท่ากันแล้ว ช้างอ่อนแอกว่ามนุษย์ถึง 10 เปอร์เซนต์ แต่ม้ากลับแข็งแรงกว่ามนุษย์ถึง 25 เปอร์เซนต์ จะเห็น ได้ว่า ช้างนั้นแม้ตัวใหญ่โตก็จริง แต่กำลังที่ใช้ทำงานยังอ่อนแอกว่ามนุษย์เสียอีก ช้างเชือกหนึ่ง ๆ นั้น ลากไม้ครั้งหนึ่ง ๆ ได้มีน้ำหนักไม่เกิน 2 ตัน

การตกมันของช้าง

โดยปกติช้างที่มีร่างการสมบูรณ์ และมีอายุอยู่ในเกณฑ์ผสมพันธุ์ได้ สามารถตกมันได้ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นช้างตัว ผู้หรือตัวเมีย ดังนั้น อายุของช้างที่อยู่ในเกณฑ์ตกมันอยู่ระหว่าง 20 – 40 ปี ช้างเชือกใดมีอาการตกมัน แสดงว่าช้างเชือกนั้น กำลังมีความสมบูรณ์ที่สุด และกำลังมีความต้องการทางเพศอย่างเต็มที่ โดยต่อมที่ขมับทั้ง 2 ข้าง จะบวมขึ้นขนาดเท่าไข่ไก่จนเห็นได้ชัดเมื่อต่อมที่ขมับบวมขึ้นแล้ว รูของต่อมซึ่งมีขนาดโตประมาณ 0.5 เซนติเมตร ก็จะเปิดกว้างออกมีน้ำเมือกสีขาวข้นไหลออกมา เราเรียกอาการนี้ว่า ตกมัน น้ำเมือกหรือมันที่ไหลออกมานี้มีกลิ่นเหม็นสาบรุนแรงมาก นอกจากอาการต่อมที่ขมับบวมและมีน้ำมันไหลออกมาแล้ว ถ้าช้างที่ตกมันนั้นเป็นช้างตัวผู้อวัยวะสืบพันธุ์ของมันจะแข็ง มีน้ำปัสสาวะไหลออกมาอย่างกะปริบกะปรอย หรืออาจจะมีน้ำอสุจิไหลออกมาเป็นบางครั้งบางคราวด้วย ในขณะที่ช้างกำลังตกมันนั้น มันจะแสดงอาการดุร้ายและทำร้ายสิ่งที่ขวาง หน้าทุกสิ่งทุกอย่างนอกจากนั้นมันยังมีความจำเสื่อม มันจึงอาจทำร้ายควาญหรือเจ้าของของมันเองด้วย อาการตกมันนี้ ถ้าเกิดกับช้างพังหรือช้างตัวเมีย จะมีความรุนแรงหรือแสดงอาการดุร้ายน้อยกว่าช้างตัวผู้ อาการตกมันจะเป็นอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงค่อย ๆ ทุเลาลง

ลักษณะช้างที่ดี

ช้างก็เหมือนมนุษย์ ย่อมมีลักษณะที่มองดูสวยงามหรือไม่สวยงาม ช้างที่มีลักษณะดี ต้องมีรูปร่างใหญ่โต แข็งแรง ศีรษะ โต แก้มเต็ม หน้าผากกว้าง มีดวงตาแจ่มใส มีขาแข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ลักษณะของหลังสูงตรงกลางเล็กน้อย ลาดไปทาง หางอย่างสม่ำเสมอลักษณะของหลังเช่นนี้เรียกว่า แปก้านกล้วย ถือกันว่าเป็นลักษณะของช้างดีที่สุด เวลายืนศีรษะจะเชิดขึ้นมอง ดูสง่า ถ้าเป็นช้างงาต้องมีงาใหญ่แข็งแรง และยื่นขนานคู่กันออกมาไม่บิดหรือถ่างห่างจากกันมากเกินไป ลักษณะของชาย ใบหูควรเรียบไม่ฉีกขาด การสังเกตดูช้างว่ามีสุขภาพดีหรือไม่นั้น มีข้อสังเกตอย่างง่าย ๆ คือ ช้างนั้นจะยืนแกว่งงวงและพับหูไปมา อยู่เสมอ และเดินหาหญ้าหรืออาหารอื่นกินอยู่ตลอดเวลา ที่เล็บเท้าต้องมีเหงื่อซึมออกมาจากโคนเล็บ ซึ่งมองเห็นได้ง่ายจากรอยเปียกของฝุ่นที่เกาะเท้าช้าง ทั้งนี้เนื่องจากช้างไม่มีต่อมเหงื่อที่ผิวหนังเหมือนมนุษย์เรา ฉะนั้น มันจึงใช้โคนเล็บเป็นที่ระบายเหงื่อ หรือ ระบายความร้อนออกจากร่างกาย

โรคของช้าง

แม้ว่าช้างจะมีรูปร่างใหญ่โต แม้ว่าช้างจะมีรูปร่างใหญ่โต แต่ก็อาจเป็นโรคได้ เช่นเดียวกับสัตว์อื่น ช้างที่ ถูกกักขังและอยู่ใกล้ชิดสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ มีโอกาสติดโรคจากสัตว์เลี้ยงได้ง่าย ส่วนช้างที่ทำงานในป่า มักจะเกิดเป็นฝี และโรคผิวหนังพุพองกันมาก ฝีอาจเกิดขึ้นได้ง่ายจากการถูกหนามทิ่มตำผิวหนัง แล้วเกิดเป็นหนองบวมพองขึ้นมา ผิวหนัง ที่พุพองเป็นตุ่ม นั้น ส่วนใหญ่เกิดจากแมลงวันป่าชนิดหนึ่ง มาไข่ไว้ตามรูขนของช้าง เมื่อไข่ของแมลงวันกลายเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนจะเข้า ไปอาศัยในขุมขน แล้วดูดเลือดช้างกินเป็นอาหาร

ช้างที่เป็นโรคนี้จะสังเกตเห็นผิวหนังเป็นตุ่มมีหนอง เมื่อแกะตุ่มออกจะพบตัวหนองกลม ๆ ขนาดเท่า เมล็ดถั่วเขียวฝังตัวอยู่ เมื่อตัวหนอนแก่ก็จะกลายเป็นแมลงวันป่ามารบกวนช้างอีก แล้วทิ้งคราบไว้ในรูขนที่มัน อาศัยอยู่ ทำให้ผิวหนังเกิดอักเสบเป็นตุ่มมีหนองขึ้น วิธีป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุด คือ ให้ช้างได้อาบน้ำบ่อย ๆ ชาวบ้านได้ ใช้เครือสะบ้าทุบเป็น ฝอยถูตัวช้างเวลาอาบน้ำ เพื่อฆ่าตัวอ่อนของแมลงวันชนิดนี้ นับว่าได้ผลดีพอสมควร โรคที่ช้างเป็นกันมากอีกชนิด หนึ่ง คือ โรคพยาธิฟิลาเรีย (filaria) โรคนี้เกิดจากยุงในป่า ซึ่งไปกัดสัตว์ที่เป็นโรคนี้มาแล้วมากัดช้าง พยาธิที่ติดมากับแมลงจะเข้าไปใน เส้นโลหิตและเจริญเติบโตในเส้นโลหิตของช้าง แล้วเข้าไปอุดตันในหัวใจ จนทำให้ช้างถึงแก่ความตาย

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button