วันสำคัญ

25 กุมภาพันธ์ วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ

วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี วันที่ประเทศไทยมีการถ่ายทอดกระจายเสียงครั้งแรก จนกลายมาเป็นวันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ

วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี นับเป็นวันแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในประเทศไทย โดยกิจการวิทยุกระจายเสียง เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2471 จากดำริของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และการคมนาคม ในสมัยรัชกาลที่ 7 ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งวงการวิทยุกระจายเสียงไทย”

ซึ่งได้ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้นที่ตึกที่ทำการไปรษณีย์ปากคลองโอ่งอ่าง ตำบลวัดราชบูรณะ โดยใช้ชื่อสถานีว่า 4 พีเจ (4PJ) ซึ่งต่อมาได้มีการประกอบเครื่องส่งคลื่นขนาดกลาง 1 กิโลวัตต์ ขึ้น ทำการทดลองที่ ตำบลศาลาแดง “หนึ่ง หนึ่ง พีเจ” (11PJ) ซึ่งการใช้ชื่อสถานีว่า “พีเจ” ในยุคนั้น ย่อมาจากคำว่า “บุรฉัตรไชยากร” อันเป็นพระนามเดิมของพระองค์ท่านนั่นเอง

หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเปิดการส่งวิทยุเป็นปฐมฤกษ์ โดยใช้ชื่อสถานีว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท” (Radio Bangkok at Phyathai) ตั้งอยู่ที่ วังพญาไท มีกำลังส่ง 2.5 กิโลวัตต์

Advertisement

โดยพิธีเปิดสถานีกระทำโดยอัญเชิญกระแสพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันพระราชพิธีฉัตรมงคล กระจายเสียงสู่พสกนิกร โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า “การวิทยุกระจายเสียงที่ได้ริเริ่มจัดตั้งขึ้น และทำการทดลองตลอดมานั้น ก็ด้วยความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการศึกษา การค้าขาย และการบันเทิงแก่พ่อค้าประชาชน” นับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในประเทศไทย

กระทั่ง 2482 รัฐบาลได้ตั้ง “สำนักงานโฆษณาการ” ขึ้น และโอนสถานีวิทยุต่าง ๆ ให้อยู่ในการควบคุมดูแลของสำนักงานโฆษณาการ หรือกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน โดยเรียกสถานีวิทยุใหม่ว่า “สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย”

วิทยุกระจายเสียง

พิธีเปิดวิทยุกระจายเสียง

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2473 เป็นวันที่ทางราชการได้ทำพิธีเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้นเป็นครั้งบแรกในประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 7 พิธีเปิดสถานีวิทยุได้กระทำโดยอันเชิญกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากที่นัางอัมรินทร์วินิจฉัยในพระบรมมหาราชวัง

แล้วถ่ายทอดไปตามสายเข้าเครื่องวิทยุกระจายเสียงที่ตั้งอยู่ที่พญาไท ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในประเทศไทยด้วย ทั้งนี้อยู่ในความควบคุมโดยตลอดของ พลเอก พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบูรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน นายทหารช่างผู้นำวิชาวิทยุกระจายเสียงเข้ามาในประเทศไทย และได้ทรงริเริ่มงานนี้ด้วยพระองค์เองตั้งแต่งานด้านช่างวิทยุจนกระทั่งงานผู้ประกาศ

วิทยุกระจายเสียง

วิทยุกระจายเสียง คือ การแพร่สัญญาณเสียงออกอากาศโดยใช้คลื่นวิทยุ วิทยุกระจายเสียง เป็นสื่อมวลชนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอข่าวสารไปสู่ประชาชนได้อย่างกว้างขวาง มีข้อได้เปรียบมากกว่าสื่อมวลชนอื่น ๆ หลายประการเช่น วิทยุกระจายเสียงสามารถเสนอข่าวได้รวดเร็วกว่าหนังสือพิมพ์ มีราคาถูกกว่าวิทยุโทรทัศน์ สามารถออกอากาศเสนอข่าวได้ในทันที ขณะที่เหตุการณ์เกิดขึ้น และสามารถติดตามรายงานเหตุการณ์เหล่านั้นได้อย่างต่อเนื่อง

สามารถเสนอข่าวได้บ่อยครั้ง ทั้งในรูปของรายการข่าวภาคย่อยที่กำหนดไว้ในทุกต้นชั่วโมง หรือทุกครึ่งชั่วโมง และในภาคหลัก ตัวอย่างเช่นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย มีข่าวภาคหลัก ได้แก่ ข่าวภาค 7.00 น., 12.00 น., 19.00 น., 20.00 น. หรืออาจจะแทรกรายงานข่าวสั้น ๆ ออกอากาศในช่วงรายการอื่น ๆ ของทางสถานี หากมีกรณีสำคัญเร่งด่วน ข้อได้เปรียบของการรับฟังข่าววิทยุกระจายเสียงอีกประการหนึ่งคือ ผู้ฟังสามารถทำกิจวัตรประจำวันหรืองานอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กันด้วยก็ได้

ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า วิทยุกระจายเสียง หมายถึง กระบวนการส่ง สาระ หรือข่าวสารในรูปของสัญญาณความถี่เสียงผนวกรวมแพร่กระจายไปพร้อมกับคลื่นวิทยุหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง

ประวัติ วิทยุกระจายเสียงของโลก

วิทยุกระจายเสียงเป็นสิ่งที่พัฒนามาจากเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดแรกก่อนระบบสื่อสารมัลติมิเดียต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้ผู้ฟังได้ยินเสียงพูด เสียงดนตรี และเสียงต่าง ๆ อย่างมีชีวิตชีวาผ่านคลื่นวิทยุและในปัจจุบัน เครื่องรับและเครื่องส่งสัญญาณได้ถูกพัฒนาให้ทันสมัยกว่าเมื่อก่อนมาก

การพัฒนาวิทยุกระจายเสียงมีมากว่า๑ศวรรษซึ่งเราสามารถแบ่งประวัติการพัฒนาออกเป็น 3 ระยะ คือ การทดลองทางเทคนิคในรัสมีใกล้ การประยุกต์ใช้วิทยุกระจายเสียงในชีวิตประจำวันและการพัฒนาของวิทยุกระจายเสียงที่ทันสมัย ความสำเร็จของนาย Albert Tupain ในการทดลองส่งสัญาณกระจายเสียงผ่านรหัสมอส เมื่อปี 1894 ด้วยเครื่องส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอากาศซึ่งเป็นการวางรากฐานให้บรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ

ผลิตเครื่องส่งโทรเลขหรือ radio telegraph และ เครื่องส่งสัญญาณวิทยุในรูปแบบอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องในช่วงปี 1895 ถึงปี 1904 ซึ่งเครื่องรับและเครื่องส่งคลื่นในช่วงนี้ได้รับการปฏิบัติในรัสมีใกล้ ปี 1899 ถือว่าเป็นปีแห่งความสำเร็จของการทดลองอุปกรณ์กระจายเสียงโดยไม่เพียงแต่ประสบความสำเร็จในการส่งคลื่นบนภาคพื้นดินเท่านั้นหากยังสามารถส่งคลื่นผ่านช่องแคบอังกฤษจากเมือง Dover ของอังกฤษไปที่เมือง Wimereux ของฝรั่งเศส

วิวัฒนาการ วิทยุ

วิวัฒนาการวิทยุในประเทศไทย

บทบาทของวิทยุ และการใช้กิจการวิทยุในเรื่องที่แตกต่างกันในแต่ละยุค ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ยุค

  • ยุควิทยุโทรเลข (2447-2469)
  • ยุคทดลองส่งกระจายเสียง (2470-2474)
  • ยุควิทยุกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (2475-2480)
  • ยุควิทยุกับการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลทหาร (2483-2515)
  • ยุควิทยุกับการเรียกร้องประชาธิปไตย (2516-2525)
  • ยุคขยายตัวทางธุรกิจและเสรีภาพวิทยุ (2525-ปัจจุบัน)
  • ยุควิทยุโทรเลข (2447-2469)
  • สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button