วันสำคัญ

วันทหารผ่านศึก กิจกรรมและประวัติมีที่มาอย่างไร

วันทหารผ่านศึก (The Thai Veterans Day) ตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เนื่องจากหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือ หลังสงครามมหาเอเซียบูรพา สิ้นสุดลง มีทหารไทยจำนวนมากที่ถูกปลดประจำการ จึงได้มีเสียงเรียกร้องขอให้ทางการพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ทหารเหล่านั้น

วันทหารผ่านศึก

วันทหารผ่านศึก

วันทหารผ่านศึก ตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เนื่องจากเป็นวันที่รัฐบาลได้จัดตั้ง “องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก” ขึ้นเพื่อให้เป็นหน่วยงานถาวร ทำหน้าที่ให้การสงเคราะห์แก่ “ทหารผ่านศึก” และครอบครัวทหารผ่านศึกโดยตรง โดยมีการร่างพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา จึงถือว่าวันนี้เป็นวันทหารผ่านศึกตลอดมา

วันนี้ของทุกปี องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และครอบครัวทหารผ่านศึก ทหารนอกประจำการ และผู้ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงของชาติ จะร่วมกันจัดพิธีวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเป็นการแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณของเหล่านักรบผู้กล้า และยังมีพิธีสวนสนามที่ลานอเนกประสงค์ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ อีกด้วย

ประวัติ วันทหารผ่านศึก

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือหลังสงครามมหาเอเซียบูรพาสิ้นสุดลง มีทหารไทยจำนวนมากที่ถูกปลดปล่อยจากการเป็นทหาร จึงได้มีเสียงเรียกร้องขอให้ทางการพิจารณาให้ความช่วยเหลือดังนั้น ในปี 2490 กระทรวงกลาโหมอันเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านนี้โดยตรง จึงได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ทหารที่ กลับจากปฏิบัติการรบ และช่วยเหลือครอบครัวทหารที่เสียชีวิตในการรบแต่ก็ยังเป็นหน่วยงานที่ไม่เป็นทางการ

Advertisement

ต่อมากระทรวงกลาโหมได้เสนอพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกขึ้น โดยได้ผ่านการเห็นชอบจากรัฐบาล และได้มีการประกาศไว้ใน

ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2491 จึงได้ยึดเอาวันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันทหารผ่านศึก โดยมี พลโท ชมะบูรณ์ ไพรีระย่อเดช เป็นผู้อำนวยการคนแรก ในปี 2510 องค์การทหารผ่านศึกได้ปรับเปลี่ยนฐานะมาเป็นองค์การเพื่อการกุศลของรัฐ และเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยได้รับเงินอุดหนุนจากกระทรวงกลาโหมและเงินที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นครั้งคราว ภารกิจหลักขององค์การทหารผ่านศึก ได้แก่ การให้การสงเคราะห์แก่ทหารที่ผ่านการปฎิบัติการรบ และครอบครัวของทหารที่ปฏิบัติการรบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ประเภท คือ

  1. การสงเคราะห์ทางด้านสวัสดิการ เป็นการให้การสงเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องทั่วๆ ไป ที่อยู่อาศัย การศึกษา ตลอดจนให้ความช่วยเหลือด้านอวัยวะเทียม
  2. การสงเคราะห์ทางด้านอาชีพ โดยการฝึกอบรมและการฝึกอาชีพ ให้ความช่วยเหลือในทางด้านการทำงาน จัดหางานให้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  3. การสงเคราะห์ด้านนิคมเกษตรกรรม จัดสรรที่ทำกินในด้านเกษตรกรรมให้ และให้ความช่วยเหลือทางด้านเครื่องมือและวิชาการ
  4. การสงเคาระห์ด้านกองทุน โดยการจัดหาเงินทุนให้สมาชิกขององค์การทหารผ่านศึกได้กู้ยืมไปประกอบอาชีพ
  5. การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาลให้แก่สมาชิก โดยไม่คิดมูลค่า
  6. ให้มีการส่งเสริมสิทธิของทหารผ่านศึก โดยการขอสิทธิพิเศษในด้านต่างๆ ให้แก่ทหารผ่านศึก เช่น การขอลดค่าโดยสาร เป็นต้น
กิจกรรมวันทหารผ่านศึก

กิจกรรมวันทหารผ่านศึก

ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองเพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารผู้เสียสละแม้กระทั่งชีวิต เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทยและอธิปไตยของชาติ ดอกป๊อปปี้ สีแดง นั้น เป็นสัญลักษณ์แทน ทหารผ่านศึก ผู้พิทักษ์รักษาประเทศชาติให้มีเอกราชอธิปไตย สีแดงของดอกป๊อปปี้ คือ เลือดของทหารหาญที่ได้หลั่งชโลมแผ่นดินไว้ด้วยความกล้าหาญ เสียสละอันสูงสุด ดังนั้นวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันที่เราทั้งหลายจะได้เห็นดอกป๊อปปี้บานสะพรั่งไปทั่วราชอาณาจักร

สำหรับประเทศไทยแล้ว การจัดทำดอกป๊อปปี้เพื่อจำหน่ายในวันทหารผ่านศึกเกิดจากดำริของ ท่านผู้หญิง จงกล กิตติขจร ประธานสโมสรสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก หรือมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึกในปัจจุบัน ที่ต้องการจะดำเนินการหาทุนมาช่วยเหลือทหาร และครอบครัวทหารผ่านศึก ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันประเทศจึงได้เลือกเอาดอกป๊อปปี้สีแดง ซึ่งมีประวัติเกี่ยวโยงถึงสมรภูมิฟลานเดอร์ส สมรภูมิเบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนด์ระหว่างสัมพันธมิตร และเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 1

โดยสงครามในครั้งนั้นทหารพันธมิตรได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากสมรภูมินี้มากที่สุด จอมพลเอิร์ล ออฟ เฮก ผู้บัญชาการรบที่นั่นได้เห็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่น่าพิศวงและน่าพิศมัยเกิดขึ้น ณ สมรภูมิดังกล่าว ในบริเวณหลุมฝังศพทหาร โดยมีดอกป๊อปปี้ป่าขึ้นอยู่เดียรดาษทั่วไป ทำให้เกิดเป็นลานสีแดงฉานสวยงาม ตั้งแต่นั้นมาดอกป๊อปปี้จึงกลายเป็นดอกไม้อนุสรณ์แห่งวีรกรรมของทหารผ่านศึก เตือนใจให้ระลึกถึงเลือดสีแดงของทหารที่ได้เสียสละเพื่อประเทศชาติ

ดอกป๊อปปี้
ดอกป๊อปปี้

ดอกไม้ วันทหารผ่านศึก

ดอกป๊อปปี้ ในทางสากลแล้วถือว่า เป็นดอกไม้ที่สื่อความหมายถึง ทหารผ่านศึกผู้พลีเลือดเนื้อ และชีวิตเพื่อปกป้องมาตุภูมิอันเป็นที่รัก และในประเทศไทยยังกำหนดให้เป็น สัญลักษณ์ ของวันทหารผ่านศึก 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปีอีกด้วย การจัดทำดอกป๊อปปี้เพื่อจำหน่ายในวันทหารผ่านศึกเกิดจากดำริของ ท่านผู้หญิง จงกล กิตติขจร ประธานสโมสรสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึกที่ต้องการจะดำเนินการหาทุนมาช่วยเหลือทหารและครอบครัวทหารผ่านศึก ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันประเทศ

ความเกี่ยวโยงระหว่างทหารกับดอกป๊อบปี้

ประวัติเกี่ยวโยงถึงสมรภูมิฟลานเดอร์ส สมรภูมิเบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนด์ระหว่างสัมพันธมิตร และเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยสงครามในครั้งนั้น ทหารพันธมิตรได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากสมรภูมินี้มากที่สุด จอมพลเอิร์ล ออฟ เฮก ผู้บัญชาการรบที่นั่นได้เห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าพิศวงและน่าพิศมัยเกิดขึ้น ณ สมรภูมิดังกล่าว ในบริเวณหลุมฝังศพทหารจะมีดอกป๊อปปี้ป่าขึ้นอยู่รอบๆบริเวณพื้นผิวป่า ทำให้เกิดเป็นลานสีแดงสวยงาม ตั้งแต่นั้นมาดอก ป๊อปปี้จึงกลายเป็นดอกไม้อนุสรณ์แห่งวีรกรรมของทหารผ่านศึก เตือนใจให้ระลึกถึงเลือดสีแดงของทหารที่ได้เสียสละเพื่อประเทศ ชาติ

สำหรับประเทศไทยได้ส่งทหารเข้าร่วมรบในสงครามต่างๆ มาแล้วโดยมีอนุสาวรีย์เชิดชูเกียรติปรากฎเป็นอนุสรณ์อยู่ วีรกรรมของนักรบไทย ในการรบได้ขจรขจายไปทั่วปรากฎต่อสายตาชาวโลก ฉะนั้นเพื่อระลึกถึงเกียรติภูมิของนักรบกล้าหาญ จึงได้กำหนดให้ดอกป๊อปปี้ เป็นดอกไม้ที่ระลึกสำหรับทหารผ่านศึกไทย เช่นเดียวกันในต่างประเทศ และมีการจำหน่ายในวันที่ระลึก ทหารผ่านศึกตั้งแต่ ปี 2511 เป็นต้นมา

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

3 กุมภาพันธ์ ไม่ได้เป็นเพียงแค่วันสำคัญดังที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น ความสำคัญของวันทหารผ่านศึกยังเกี่ยวข้องกับ “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” อนุสรณ์สถานที่จะต้องมีการวางพวงมาลาของบุคคลสำคัญของประเทศเพื่อคารวะดวงวิญญาณของทหารหาญและเหล่าวีรชนคนกล้า ที่มีชื่อจารึกอยู่บนอนุสาวรีย์ เป็นการเทิดเกียรติแก่คนเหล่านั้นที่ได้เสียสละชีพเพื่อชาติ และปกป้องอธิปไตยของชาติไทยในเหตุการณ์พิพาทระหว่างไทยและฝรั่งเศส ในการเรียกร้องดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงคืน

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถูกสร้างขึ้นเพื่อจารึกรายนามของทหารหาญและวีรชนที่เสียชีวิตใน สงครามข้อพิพาทแย่งดินแดนระหว่างไทยและฝรั่งเศส รวมทั้งทหารที่เสียชีวิตใน สงครามมหาเอเซียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2) และ สงครามเกาหลี เป็นอนุสาวรีย์กลางเพื่อเทิดทูนวีรชนผู้สละชีพเพื่อชาติทั้งปวง และเพื่อเตือนใจชาวไทยให้ระลึกว่า ชาติไทยนั้นดำรงเอกราชและรักษาความมั่นคงของชาติอยู่ได้ด้วยบรรดา วีรชนนักรบไทย ผู้ซึ่งได้เสียสละชีพเพื่อชาติตลอดมา

จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2485 อนุสาวรีย์แห่งนี้ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับศิลาอ่อน มีรูปทรงเป็นดาบปลายปืน 5 เล่ม มีความสูงประมาณ 50 เมตร รอบดาบปลายปืนมีรูปปั้นนักรบ 5 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ยืนล้อมรอบอยู่ บริเวณใต้รูปปั้นมีแผ่นทองแดงซึ่งเป็นที่จารึกรายชื่อของผู้เสียชีวิต และผู้สละชีพเพื่อชาติจากสงครามต่างๆ ตั้งแต่ 2483-2497 รวมทั้งสิ้น 801 นาย และมีคำขวัญประจำอนุสาวรีย์ว่า “ใครจะจารึกชื่อในอนุสาวรีย์ก่อนกัน”

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิรถเมล์

  • เกาะราชวิถี : 8, 12, 14, 18, 28, 92, 97, 108, 157, 171, 509, 515, 536, 538, 539, 542, R26E
  • เกาะพญาไท : 14, 17, 29, 34, 36, 38, 39, 54, 59, 62, 74, 77, 139, 140, 172, 177, 183, 187, 204, 503, 529, 536, 539, 542
  • เกาะดินแดง : 12, 24, 36, 36ก, 58, 69, 92, 168, 171, 172, 187, 528, 529, 538, R26E
  • เกาะพหลโยธิน : 8, 26, 27, 29, 34, 38, 39, 54, 63, 74, 77, 97, 108, 157, 166, 177, 204, 502, 503, 509, 510, 522, A2

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button