
วันเกษตรแห่งชาติ (ภาษาอังกฤษ: National Agriculture Day) ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ องทุกปี วันเกษตรแห่งชาติ เป็นวันรำลึกถึงความสำคัญของการเกษตรกรรม และเพื่อสนับสนุนส่งเสริมอาชีพของเกษตรกร
วันเกษตรแห่งชาติ
วันเกษตรแห่งชาติ หมายถึง ในช่วงแรกปี (2453 ถึงปี 2454) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสนับสนุนและเป็นผู้ริเริ่มการจัดงานการแสดงกสิกรรมและพาณิชการ ซึ่งในปัจจุบัน คือ งานเกษตรแห่งชาติ ขึ้นในช่วงนั้นมีการแสดงมหรสพ แตรวง รวมทั้งจัดแสดงสินค้าเกษตรและเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการเพาะปลูกจากในประเทศและต่างประเทศ มีการทำโรงนาสาธิตให้ประชนดูเป็นตัวอย่าง มีการประกวดพันธุ์ข้าวและพันธุ์พืช มีการแนะนำให้รู้จักระบบชลประทานและรัฐบาลสนับสนุนลงทุนจัดงานให้ทั้งหมด
ส่วนการแสดง กสิกรรม และพาณิชยการครั้งที่ 2 ช่วงนั้นประชาชนรู้รักพัฒนาพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์พัฒนาวิธีการปลูกแต่ช่วงนั้นไม่มีการแสดงมหรสพเพราะอยู่ในระหว่างการไว้ทุกข์พระบรมศพรัชกาลที่ 5 การจัดงานครั้งนั้นจึงอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐบาลมีนโยบายลดค่าใช้จ่ายในการจัดงานลง การส่งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ก็มีจำนวนลดลงด้วย
แรก ๆ การจัดงานวันเกษตรจะไม่มีคำว่า แห่งชาติ โดยจะเป็นชื่องานว่า งานวันเกษตร ต่อมาปรากฏว่างานวันเกษตรได้รับความสนใจจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างมาก ขอบเขตของการจัดงานได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางจนเกินงบประมาณและกำลังคน ประกอบกับบ้านเมืองประสบปัญหาเศรษฐกิจ จึงเป็นเหตุให้ต้องหยุดการจัดงานไปหลายปีต่อมารัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดงานลักษณะนี้ จึงมีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานวันเกษตรแห่งชาติขึ้น ตั้งแต่วันที่ 3-4 มกราคม 2491 โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ ซึ่งส่วนราชการทั้งสองได้ร่วมกันจัดติดต่อกันเรื่อยมา เป็นประจำทุกปี ณ บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

วัตถุประสงค์การจัดงานเกษตรแห่งชาติ
วัตถุประสงค์ของการจัดงานถือหลักการเดิมของการจัดงานนิทรรศการครั้งแรก คือการจัดแสดงต่าง ๆ จะเป็นทางหนึ่งที่ชักนำปลุกใจอาณาประชาราษฎร์ ให้ประกอบการเพาะปลุก เลี้ยงสัตว์ และค้าขายให้เจริญทันสมัย โดยมีจุดประสงค์จะให้ประชาชนทั่วไปรวมทั้งเกษตรกร ได้เรียนรู้พัฒนาการวิชาการใหม่ ๆ และเน้นนโยบายที่จะให้เกษตรทุกภาคได้รับความก้าวหน้า และพัฒนาการวิชาการการเกษตรใหม่ ๆ และเน้นนโยบายที่จะให้เกษตรทุกภาคได้รับทราบความก้าวหน้า และพัฒนาการทางด้านการเกษตรอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ นอกจากนั้นยังเน้นให้เกษตรที่ทำงานหนักมาทั้งปีได้มีโอกาสพักผ่อนหย่อนใจและหาความสำราญในการเที่ยวงาน จึงมีมติเห็นชอบให้จัดงานวันเกษตรแห่งชาติขึ้น ทั้งในส่วนภูมิภาคสลับกับส่วนกลาง โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่าง ๆ
ต่อมาการจัดงานวันเกษตรแห่งชาติได้เริ่มจัดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี และได้เปลี่ยนไปจากเดิมเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ก่อสร้างอาคารของมหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์และของกระทรวงกระเกษตรเสียเป็นส่วนมาก การจัดงานจึงไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านั้นได้อย่างเต็มที่นัก ซึ่งกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการจัดตลาดนัด และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เป้าหมายของงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก คือ เน้นทางด้านธุรกิจ ผู้ที่มาเที่ยวงานส่วนใหญ่เป็นนิสิตนักศีกษาและข้าราชการในมหาวิทยาลัยเกษตรเป็นส่วนใหญ่ และบุคคลภายนอกที่มาเดินเที่ยวชมงาน ส่วนพวกเกษตรกรจะมีแต่พวกที่เป็นแม่ค้าหรือพ่อค้าขนสินค้ามาเพื่อขายเท่านั้นมิได้สนใจใฝ่รู้พัฒนาการใหม่ ๆ ทางด้านการเกษตร และบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่างเรียกชื่องานนี้ว่า “งานเกษตรแฟร์”
ประวัติเกษตรกรรมไทย
เกษตรกรรมในประเทศไทยอาจสืบย้อนไปได้ผ่านแง่ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสังคมซึ่งได้ก่อให้เกิดการเข้าถึงเกษตรกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยสมัยใหม่ หลังการปฏิวัติยุคหินใหม่ สังคมในพื้นที่ได้วิวัฒนาจากการล่าสัตว์และหาของป่า ผ่านระยะนครเกษตร ไปเป็นจักรวรรดิรัฐศาสนา การอพยพเข้ามาของคนไทยนำไปสู่การเข้าถึงเกษตรกรรมแบบยั่งยืนอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับการประกอบกิจเกษตรกรรมอื่นส่วนมากของโลก
นับตั้งแต่ปี 1543 วัฒนธรรมการผลิตข้าวเหนียวของชาวไทยเป็นตัวกำหนดโครงสร้างการบริหารในสังคมที่เน้นการปฏิบัติซึ่งผลิตส่วนเกินที่สามารถจำหน่ายได้ จวบจนถึงปัจจุบัน ระบบดังกล่าวได้รวมเป็นหนึ่งกับความมั่นคงของชาติและความอยู่ดีกินดีทางเศรษฐกิจ อิทธิพลของชาวจีนและชาวยุโรปก่อให้เกิดธุรกิจการเกษตรและเริ่มต้นความต้องการที่ทำให้เกิดการขยายตัวของเกษตรกรรมผ่านการเพิ่มจำนวนของประชากรจนกระทั่งดินแดนที่เข้าถึงได้ขยายออก
พัฒนาการล่าสุดในทางเกษตรกรรม หมายความว่า นับแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 การว่างงานได้ลดลงจากกว่า 60% เหลือต่ำกว่า 10% ในต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ในสมัยเดียวกัน ราคาอาหารลดลงครึ่งหนึ่ง ความหิวโหยลดลง (จาก 2.55 ล้านครัวเรือนในปี 2531 เหลือ 418,000 ครัวเรือนใน 2550)และทุพภิกขภัยเด็กลดลงอย่างมาก (จาก 17% ในปี 2530 เหลือ 7% ในปี 2549) ซึ่งสามารถบรรลุได้ผ่านการผสมระหว่างบทบาทอันเข้มแข็งและเชิงบวกของรัฐในการประกันการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษาและการเข้าถึงเครดิต และ การริเริ่มภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จในภาคธุรกิจเกษตรเหล่านี้ได้สนับสนุนให้ไทยเปลี่ยนผ่านเป็นเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมได้สำเร็จ
การเกษตรสมัยกรุงสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา
ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศเกษตรกรรมมาช้านาน เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตมรสุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสภาพภูมิประเทศ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร ประชากร ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพทางการเกษตรหรือเกี่ยวข้องมาโดยตลอด แม้ว่าจะพยายามพัฒนาไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมเพียงใดก็ตาม แต่ก็ยังคงพึ่งพาอาศัยเกษตรกรรมอยู่เช่นเดียวกับประเทศที่ได้พัฒนาไปแล้วทั้งหลาย วิวัฒนาการและพัฒนาการเกษตรของไทยได้เปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และตามกระแสการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของโลกมาตามลำดับ
สมัยสุโขทัย
สมัยกรุงสุโขทัย (1781-1893) การเกษตรในประเทศไทยได้มีการพัฒนามาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ราว 1800 พ่อขุนรามคำแหงทรงมีรัฐประศาสโนบายในทางส่งเสริมและบำรุงการเกษตร โดยประชาชนมีอิสระเสรีในการประกอบอาชีพตามถนัด ที่ดินที่ได้ปลูกสร้างทำประโยชน์ขึ้นก็ให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ปลูกสร้าง และให้เป็นมรดกตกทอดไปถึงลูกหลาน
เป็นการให้กำลังใจแก่ประชาชนในอันที่จะหักร้างถางพงปลูกสร้างทำที่ดินให้เกิดประโยชน์ 2 สมัยนั้นมีระบบปลูกพืชเป็นแปลงขนาดใหญ่นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าคงมีระบบการทดน้ำและระบายน้ำเป็นอย่างดี ทำให้สามารถปลูกพืชเป็นแปลงใหญ่ ๆ ได้ เพราะเมืองสุโขทัยเป็นที่ดอน แปลงปลูกพืชที่เป็นป่าก็มีทั้ง ป่าหมาก ป่าตาล ป่าพลู ป่าผลไม้ เช่น มะม่วง มะขาม มะพร้าว ตลอดไปจนถึงไร่และนาซึ่งมีอยู่มากมาย อีกทั้งไม่คิดภาษีจังกอบ เป็นการเพิ่มแรงจูงใจในการทำการเกษตร และทำให้การเกษตรพัฒนามาโดยตลอด
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา (1893 -2310) ปรากฏว่ามีการบริหารราชการแผ่นดินแบบจตุสดมภ์ ประกอบด้วย กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง และกรมนา กรมนามีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการไร่นาและสัตว์พาหนะ ต่อมาได้ขยายหน้าที่ไปประจำตามหัวเมืองด้วย มีหน้าที่จัดการกับที่ดินรกร้างว่างเปล่าให้มีการใช้ประโยชน์ จัดการเกี่ยวกับการชลประทาน และเก็บภาษีเป็นหางข้าวขึ้นฉางหลวง แสดงว่าการเกษตรได้เจริญขึ้นในแผ่นดินนี้
การขยายตัวของกรมนาแสดงว่าข้าวกลายเป็นพืชสำคัญที่มีการปลูกและขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางในสมัยกรุงศรีอยุธยา ข้าวได้มีส่วนทำให้กรุงศรีอยุธยามีความมั่งคั่งเพราะเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญนอกจากนี้ ยังมีพวกของป่า หนังสัตว์ ไม้หอม และผลไม้ ในจดหมายเหตุของลาลูแบร์ผู้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีบันทึกไว้ว่า เมื่อล่องเรือผ่านเมืองธนบุรีอันเป็นเมืองหน้าด่านในสมัยนั้น ได้เห็นสวนผลไม้ใหญ่น้อยของชาวบ้านที่ปลูกกันเป็นขนัดเป็นระเบียบเรียบร้อยตลอดทาง
การประกอบอาชีพด้านการเกษตร
- การทำนา มีการทำทุกภาค แต่ภาคกลางมีการทำนามากที่สุด เนื่องจากมีพื้นที่ทำนามากที่สุดของประเทศ
- การทำสวนยางพารา พบมากในภาคใต้และจังหวัดจันทบุรี ตลอดจนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวไทย นอกจากนี้ ยังมีการปลูกสวนปาล์มน้ำมันด้วยเช่นกัน
- การทำสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลำไย ส้ม สับปะรด แตงโม กล้วย ขนุน มะม่วง ละมุด พุทรา องุ่น น้อยหน่า ลางสาด
- การทำพืชไร่ เช่น ข้าวโพด อ้อย ปอ ฝ้าย นุ่น ละหุ่ง มะพร้าว มันสำปะหลัง ยาสูบ พริกไทย ตาล ถั่วต่าง ๆ
- การเลี้ยงสัตว์ เช่น สุกร โค กระบือ เป็ด ไก่ ห่าน ไหม ช้าง ม้า ลา ล่อ

เกษตร 4.0
เกษตรกร 1.0 แบบดั้งเดิม
เกษตรกรแบบดั้งเดิม ส่วนใหญ่จะยังปลูกข้าวอยู่ หรืออาจจะมีการปลูกอย่างอื่นผสมผสาน มีพื้นที่เพาะปลูกน้อย เน้นใช้แรงงานคน และยังต้องดิ้นรนกับปัญหาสภาพอากาศ น้ำ และราคาพืชผลอยู่
เกษตรกร 2.0 ใช้เครื่องจักรเบา
เป็นเกษตรกรที่เริ่มตั้งตัวได้ มีการนำเครื่องจักรเบามาใช้แทนแรงงาน รวมถึงระบบน้ำ ระบบจัดเก็บที่ไม่ได้ใช้เงินลงทุนเยอะ เกษตรกรเหล่านี้ถือเป็นเกษตรกรที่มีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย จากปลูกข้าว ก็เป็นปลูกข้าวอินทรีย์ เป็นต้น
เกษตรกร 3.0 : ใช้เครื่องจักรหนัก
เครื่องจักรที่นำมาใช้มีราคาสูง แต่ได้กำลังการผลิตที่มาก จึงเหมาะกับเกษตรกรที่เพาะปลูกเพื่อส่งให้บริษัทส่งออกอีกที หรือมีบริษัทเป็นของตัวเอง และก็ลงทุนกับระบบอื่น ๆ ในพื้นที่เช่นเดียวกัน
เกษตรกร 4.0 : Smart Farming
ใช้นวัตกรรมในการเพาะปลูก การจัดการ รวมไปถึงการตลาด รวมถึงร่วมมือกับสถาบันการศึกษา งานวิจัย เพื่อควบคุมการผลิตให้ได้ตามที่ต้องการ
เกษตรกร 1.0 ต้องเปลี่ยนสู่ 4.0
- เปลี่ยนจากการเฝ้ารอโชคชะตา เป็นการใช้ข้อมูล และรับมือกับสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจ
- เปลี่ยนจากการใช้แต่แรงงานคน เป็นใช้เทคโนโลยีที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ และใช้พลังงานคนไปกับการคิด การวางแผน การทำตลาด
- เปลี่ยนจากการเน้นปริมาณ ไปสู่เน้นมูลค่า จะมีประโยชน์อะไรถ้าปลูกได้ปริมาณเยอะขึ้น แต่รายได้ไม่ได้มากขึ้นตาม ยุคนี้เป็รยุคที่ผู้บริโภคเลือกสินค้าตามคุณภาพมากขึ้น
- เกษตรกรที่ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าได้ เพราะมุ่งแต่การเพาะปลูกเพียงอย่างเดียว เก็บเกี่ยวได้แล้วก็จบ แต่ใน Supply Chain สินค้าเกษตรมีหลายขั้นตอนมาก ๆ ต้องคิดแบบองค์รวมเพื่อเพิ่มมูลค่า
- แน่นอน เงินลงทุนที่ใช้นั้นสูงกว่าการลงทุนซื้อยาฆ่าแมลงแน่ ๆ แต่ถ้าไม่ลงทุนก็ต้องอยู่แบบเดิมต่อไป ฉะนั้นเงินทุนเป็นสิ่งจำเป็นแน่นอน สำหรับการพัฒนา