วันสำคัญ

วันกีฬาแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 16 ธันวาคม 2563

วันกีฬาแห่งชาติ 2563 ตรงกับวันที่ 16 ธันวาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งทรงชนะเลิศเหรียญทองการแข่งขันเรือใบ ในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4

วันกีฬาแห่งชาติ

วันกีฬาแห่งชาติ

กีฬาแห่งชาติ (ภาษาอังกฤษ: National Sport’s Day) วันที่ 16 ธันวาคม 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นตัวแทนของนักกีฬาทีมชาติไทย เข้าร่วมกางแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ที่กรุงเทพฯ และทรงชนะเลิศได้รับเหรียญทองในการแข่งขันเรือใบประเภท โอ.เค. ซึ่งถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ทางการกีฬาของประเทศไทย นอกเหนือจากกีฬาเรือใบแล้ว แบดบินตันก็เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงโปรดปรานมากเช่นกัน ในหอประชุมวังจิตรลดาฯ ได้ปรับแต่งเป็นสนามแบดมินตันมาตรฐาน ส่วนมากพระองค์จะทรงแบดมินตันในตอนเย็นและวันศุกร์ และเช้าวันอาทิตย์ พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทางการกีฬานี้ เป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลกว่า พระองค์ทรงเป็นนักกีฬาอย่างแท้จริงและทรงสนับสนุนกีฬาจนเป็นที่ปรากฏชัด

ดังนั้นในการประชุมใหญ่คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ครั้งที่ 29 ที่เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี โดยมีนายฮวน อันโตนีโอ ซามาร้านซ์ ประธานคณะโอลิมปิกสากล เป็นประธานการประชุมพร้อมทั้งสมาชิกเข้าร่วมประชุมอีก 87 ประเทศ ได้มีมติเอกฉันท์ให้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญดุษฎีกิตติมศักดิ์ของโอลิมปิกสากล คือ “อิสรยาภรณ์โอลิมปิกชั้นสูงสุด” (ทอง) แด่องค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2530 ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญโอลิมปิกชั้นสูง สมควรที่นักกีฬาและประชาชนชาวไทยจะเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท อันจะเป็นโอกาสให้สามารถนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติและวงศ์ตระกูล

เพื่อเป็นการระลึกถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นนักกีฬาตัวแทนของชาติไทย ในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 และเพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนชาวไทยเห็นคุณค่าความสำคัญของการกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย จึงได้มีมตินำเสนอคณะรัฐมนตรีลงความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2529 กำหนดให้วันที่ 16 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวัน “วันกีฬาแห่งชาติ”

Advertisement

ประวัติกีฬาแห่งชาติ

ประวัติกีฬาแห่งชาติ

กีฬาแห่งชาติ (ภาษาอังกฤษ: Thailand National Games) เป็นการแข่งขันมหกรรมกีฬาหลากหลายชนิดระหว่างภูมิภาคในประเทศไทย ซึ่งมีการจัดขึ้นในทุกหนึ่งปี เริ่มกำหนดการแข่งขันโดย องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อสกท) ตั้งแต่การแข่งขันครั้งแรก ถึง ครั้งที่ 19 และตั้งแต่กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 เป็นต้นมา บริหารจัดการแข่งขันโดย การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท) และยังถือได้ว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิด ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ

กีฬาแห่งชาติ เดิมเรียกว่า “กีฬาเขตแห่งประเทศไทย” จัดโดยองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อคัดเลือกผู้แทนนักกีฬาจากประเทศไทยไปแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 โดยกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 จัดการแข่งขันที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1 ถึง 5 พฤศจิกายน 2510 แบ่งการแข่งขันเป็นเขต จึงใช้ชื่อการแข่งขันว่า กีฬาเขตแห่งประเทศไทย โดยการแข่งขันครั้งแรก แบ่งกลุ่มนักกีฬาออกเป็น 5 เขตจากภูมิภาคต่าง ๆ

หลังจากนั้น เมื่อจัดแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทยครั้งต่อ ๆ มามีการแก้ไข มา จึงมีการปรับเพิ่มกลุ่มนักกีฬาตามเขตภูมิภาค ขึ้นเป็นลำดับตามความเหมาะสม โดยแบ่งตามจังหวัดจำนวน 76 จังหวัด

ไฟพระฤกษ์

ไฟพระฤกษ์ เป็นไฟที่อัญเชิญมาเพื่อประกอบพิธีเปิดกีฬาแห่งชาติและจุดในกระถางคบเพลิงตลอดการแข่งขัน ไฟพระฤกษ์สำหรับการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ เริ่มมีครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2510 โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะต้องขอพระราชทานไฟพระฤกษ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อนำมา ทั้งนี้ คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะต้องทำหนังสือติดต่อไปยังสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลถึงกำหนดนัดหมาย วัน เวลา สถานที่ ให้คณะกรรมการเข้าเฝ้ารับพระราชทานไฟพระฤกษ์นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงจุดจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วพระราชทานให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติในปีนั้นๆ ณ กรุงเทพมหานคร

โดยวิธีการจุดไฟพระฤกษ์นั้น สำนักพระราชวัง จะนำพระแว่น “สุรยกานต์” ไปทอดไว้ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่ละปี สำหรับพระราชพิธีจัดไฟขึ้นอยู่กับสถาวะอากาศ และเมื่อทรงประกอบพระราชพิธีจัดไฟเรียบร้อยแล้ว สำนักพระราชวังจะนำไฟพระฤกษ์ไปเก็บรักษาไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และจะเลี้ยงไว้สำหรับใช้ในปีนั้น จนกระทั่งถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ของปีนั้น ไฟพระฤกษ์ที่เลี้ยงไว้นี้จะใช้ในพระราชพิธีต่างๆ รวมทั้งเชิญไปใช้ในการพระราชทานเพลิงศพบุคคลที่สมควรด้วย

วัตถุประสงค์การจัดงานวันกีฬาแห่งชาติ

  • เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมระลึกถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ในฐานะที่เคยเป็นนักกีฬาทีมชาติไทย โดยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ณ กรุงเทพมหานคร ในปี 2510 และทรงได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันแรือใบประเภท โอ.เค.
  • เพื่อให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยเห็นความสำคัญและคุณค่าของการกีฬา การออกกำลังกาย และมีส่วนร่วมในกิจกรรมกีฬามากยิ่งขึ้น
  • เพื่อชักจูงให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกีฬาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเล่นกีฬา และให้การสนับสนุนการกีฬา
  • เพื่อเป็นการจัดหาทุนในการส่งเสริมและดำเนินกิจกรรมกีฬาของชาติ
  • เพื่อเป็นจุดศูนย์รวมการคืนสู่เหย้าของนักกีฬาในอดีตและปัจจุบันงานวันกีฬาแห่งชาติ ซึ่งจัดโดยการกีฬาแห่งประเทศไทย จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อน้อมรำลึกถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพื่อประกาศเกียรติคุณแก่เหล่านักกีฬา และเจ้าหน้าที่ที่ร่วมกันสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันกีฬาแห่งชาติ

  • จัดการให้มีกิจกรรมเทิดพระเกียรติตามหน่วยสถานที่ราชการ โรงเรียน และชุมชนเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
  • จัดให้มีการส่งเสริมการกีฬาไทย รวมทั้งนักกีฬา โคชผู้ฝึกสอน เพื่อให้กีฬาของไทยเจริญก้าวหน้า

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button