วันสำคัญ

วันต่อต้านคอร์รัปชั่นแห่งชาติ

ภาคีต้านคอรัปชัน ร่วมกำหนดทุกวันที่ 6 กันยายน ของทุกปี เป็น วันต่อต้านคอร์รัปชั่นแห่งชาติ รวมพลังเปลี่ยนประเทศไทย ร่วมกันต้านการทุจริต

Advertisement

วันต่อต้านคอร์รัปชั่นแห่งชาติ

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันประเทศไทย ได้รวมพลังจัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชันเป็นประจำทุกปี เริ่มจากปี 2554 โดยในงานต่อต้านคอร์รัปชันปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “กรรมสนองโกง” พร้อมรณรงค์ให้ประชาชนตื่นตัวด้วยการเป็นพลังพลเมืองตื่นรู้ต่อต้านการโกง หรือ Active Citizen ร่วม “เปิดไฟไล่โกง” แสดงเจตนารมณ์ต่อต้านคอร์รัปชัน ขับไล่คนโกงชาติให้หมดไปจากแผ่นดินไทย

แนวคิดของการจัดงานรวมพลังเปลี่ยนประเทศไทย ต้องการให้ภาคธุรกิจลุกขึ้นมาเป็นพลังขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ให้ก้าวพ้นจากปัญหาดังกล่าว ซึ่งสะสมมานาน เป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงได้เชิญ ศาสตราภิชาน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มาบรรยายพิเศษ เรื่อง “ร่วมกันปลุกกระแสตื่นตัวของภาคธุรกิจ เพื่อต่อต้านคอรัปชัน” รวมถึง คุณมีชัย วีระไวทยะ จะนำประสบการณ์ตรงมานำเสนอในหัวข้อเรื่อง “จะทำให้การต่อต้านคอรัปชันเป็นวาระแห่งชาติได้อย่างไร”

รวมถึงการแสดงพลังและแถลงการณ์ของเยาวชนจากกลุ่มศึกษานอกระบบ โครงการโตไปไม่โกง ศูนย์คุณธรรม และทูตความดี นอกจากนี้ จะนำกรณีศึกษาการทุจริตคอรัปชันในอดีตที่เป็นประเด็นในความสนใจของสังคมไทย ออกมาเผยแพร่ในรูปแบบสารคดี รวมถึงการจัดเสวนากลุ่มย่อย ในประเด็นสำคัญของสังคมไทย โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ ภาคการศึกษา ภาคประชาชน สื่อมวลชน รวมถึงเยาวชน ร่วมแสดงพลัง พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นต่ออนาคตของประเทศไทยอีกกว่า 1,500 คน

Advertisement

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เริ่มภารกิจครั้งแรก เมื่อปี 2554 ในชื่อ “ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน” บนแนวคิดริเริ่มของ คุณดุสิต นนทะนาคร ประธานหอการค้าไทยในสมัยนั้น ที่เล็งเห็นว่าประเทศชาติต้องสูญเสียผลประโยชน์ไปมหาศาลกับการคอร์รัปชันในโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐซึ่งนับวันจะมีวิธีการที่ซับซ้อนและมีมูลค่าความเสียหายมากขึ้นเรื่อย ๆ ในยุคก่อตั้งภาคีฯ มีการระดมความเห็นครั้งแรกต่อการค้นหา “แนวทางความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันจาก ทุกภาคส่วน”

นับเป็นความพยายามครั้งแรกของภาคเอกชนที่ต้องการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอันเลวร้ายและบั่นทอนการพัฒนาประเทศมาอย่างยาวนาน มีองค์กรจากภาคเอกชนภาครัฐภาคการศึกษา และองค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วม 23 แห่งโดยได้จัดงานสัมมนา “ต่อต้านคอร์รัปชัน : จุดเปลี่ยนประเทศไทย” ขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2554 ณ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี ปณิธานอันแรงกล้าของคุณดุสิต นนทะนาคร ได้รับการสานต่อจากเหล่าสมาชิกโดยการนำของคุณประมนต์ สุธีวงศ์ ผู้เข้ามารับตำแหน่งประธานภาคีฯ หลังจากการเสียชีวิตของคุณดุสิต โดยในปี 2555 ภาคีฯจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) และได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิในปี 2557 ปัจจุบันมีภาคีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 51 องค์กร

วิสัยทัศน์ต่อต้านคอร์รัปชั่น

เราต้องการเป็น พลังสังคมที่ขับเคลื่อน ให้การคอร์รัปชันเป็นสิ่งที่ คนไทยและสังคมไทย ยอมรับไม่ได้
พันธกิจต่อต้านคอร์รัปชั่น

  1. สร้างความน่าเชื่อถือให้ องค์กรเป็นที่ยอมรับในฐานะ “ศูนย์กลางการ ขับเคลื่อน พลังสังคมเพื่อต่อต้านคอร์รัปชัน” ที่มีศักยภาพที่สุด
  2. สร้างเครือข่ายการทำงาน ทั้งในระดับประเทศและระดับ สากลผ่านการ กระจายงานการพัฒนาเครื่องมือเพื่อเพิ่มขีด ความสามารถให้ทุก ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  3. สนับสนุน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบาย ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันดำเนินไปอย่างเป็นรูปธรรมและบังเกิดผลอย่างรวดเร็ว
  4. ส่งเสริม การสร้าง ต้นแบบที่ดีในสังคม ทั้งในระดับองค์กรและระดับบุคคล

ภายใต้วิสัยทัศน์และพันธกิจเหล่านี้ บทบาทที่องค์กรยึดมั่นว่าจะทำคือ

  • เป็นผู้ให้ข้อมูล กระตุ้นให้สังคมตื่นตัว
  • เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการทำงานของทุกภาคส่วน
  • ดำเนินงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ หากเป็นหัวข้อที่อยู่ในความสนใจของสาธารณะ และมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง
  • ดำเนินงานอย่างโปร่งใส พิจารณากลั่นกรองทุกขั้นตอน และให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน

สิ่งที่อยู่นอกเหนือบทบาทขององค์กร และสิ่งที่องค์กรจะไม่ทำ คือ

  • ไม่แสดงบทบาทบังคับลงโทษผู้ใด เพราะองค์กรไม่มีอำนาจตามกฏหมาย
  • ไม่เลือกปฏิบัติการใดตามอำเภอใจโดยไม่ได้รับแรงสนับสนุนจากสังคม
  • ไม่แสดงบทบาทในลักษณะเล่นพรรคเล่นพวก หรือวางตัวไม่เป็นกลาง
  • ไม่ดำเนินกิจกรรมใดให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่ามิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

สินบน

สินบน คือ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ให้แก่บุคคลเพื่อให้ผู้นั้นกระทำการหรือละเว้นไม่กระทำการตามที่ผู้จ่ายเงินสินบนต้องการ คำว่า สินบน ประกอบด้วยคำว่า สิน กับคำว่า บน. สิน เป็นคำไทย แปลว่า ทรัพย์. บน เป็นคำภาษาเขมรว่า บน่ (อ่านว่า บ็อน) หมายถึงการขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วย โดยสัญญาว่าหากช่วยให้สำเร็จแล้วจะให้สิ่งของตอบแทน

สินบน จึงหมายถึงเงินที่ให้ในลักษณะการบน แต่เป็นการบนเพื่อให้ช่วยในการทุจริต. การให้สินบนจึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง การให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองเพื่อให้อนุมัติโครงการต่าง ๆ ทำให้รัฐต้องจ่ายเงินมากกว่าที่ควรจ่ายจริงหลายเท่า จัดเป็นการฉ้อราษฎร์บังหลวงโดยตรง

ที่มา – act.anticorruptionThailand , anticorruption.in.th

Advertisement

Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button