วันสำคัญ

วันดำรงราชานุภาพ รำลึกถึงพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย

วันดำรงราชานุภาพ ตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี เพื่อรำลึกถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บุคคลไทยพระองค์แรกที่ยูเนสโกยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

วันดำรงราชานุภาพ

คนไทยหลายคนรู้จักพระนามของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ แต่อาจยังไม่ทราบว่าพระองค์มีคุณูปการต่อประเทศไทยมากมายเพียงใด กระทั่งได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อปี พ.ศ. 2505 ซึ่งนับเป็นบุคคลไทยพระองค์แรก และทรงได้รับการถวายพระนามเป็น พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย โดยกำหนดให้วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี เป็น วันดำรงราชานุภาพ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และเจ้าจอมมารดาชุ่ม ธิดาพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) ต้นสกุล โรจนดิศ เป็นเจ้าจอมมารดา ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405

พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และเจ้าจอมมารดาชุ่ม ธิดาพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) ต้นสกุล โรจนดิศ เป็นเจ้าจอมมารดา ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405

Advertisement

ทรงศึกษา

ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงปฏิบัติหน้าที่ทางการศึกษาอยู่ในช่วงระยะเวลาสั้นเพียงประมาณ 3 ปี (พ.ศ. 2333 – 2335) แต่พระองค์ ทรงมีพระดำริริเริ่มเป็นเยี่ยมในพระกรณียกิจด้านนี้หลายประการ คือ

  1. ทรงเริ่มงานจัดการศึกษาเป็นครั้งแรก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสภาพ โรงเรียนทหารมหาดเล็ก ซึ่งเป็นโรงเรียนฝึกสอนวิชาทหารให้แก่นายร้อย นายสิบ ในกรมทหารมหาดเล็ก มาเป็นโรงเรียนสำหรับพลเรือน มีชื่อเรียกว่า โรงเรียนพระตำหนัก สวนกุหลาบ และพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียน
  2. ในขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมธรรมการ ได้ทรงจัดวางระเบียบการบริหารราชการของกรมและโรงเรียน กล่าวคือ ทรงวางระเบียบ ข้อบังคับตำแหน่งหน้าที่เสมียน พนักงาน ในการเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่ง ลาออก ลงโทษ ตลอดจนทรงกำหนดให้มีการตรวจสอบและ รายงานผลตรวจโรงเรียนทั้งในกรุงและหัวเมืองของพนักงานด้วย
  3. ทรงขยายการศึกษาโดยอาศัย วัด ซึ่งเป็นสถานที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ และอบรมศีลธรรมให้แก่ราษฎรมาแต่โบราณ และ วัดมหรรณพาราม เป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรกที่ทรงจัดตั้งขึ้น การศึกษาลักษณะนี้ได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางทั่วกรุงเทพฯ ในเวลาต่อมา และเมื่อทรงปรับปรุง หลักสูตรและวิธีการสอน ตลอดจนจัดพิมพ์ตำราเรียนเรียบร้อยแล้ว ได้ทรงขยายการศึกษาออกไปสู่ราษฎรตามหัวเมืองต่าง ๆ โดยทรงจัดตั้ง โรงเรียนหลวงขึ้นทั่วประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2435
  4. ทรงริเริ่มจัดให้มีการตรวจสอบตำราเรียนและออกประกาศรับรอง ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ และความสามารถอย่างเหมาะสม และทรงกำหนด ให้มีการปรับปรุงหลักสูตรตำราเรียนขึ้นใหม่ คือ ตำราแบบเรียนเร็ว
  5. ทรงจัดตั้ง โรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน เมื่อ พ.ศ. 2442 ในขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งต่อมา ใน พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมหาดเล็ก และเปลี่ยนเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเวลาต่อมา
  6. ทรงปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ของหอพระสมุดวชิรญาณ ซึ่งเป็นหอสมุดแห่งเดียวในพระนคร เช่น ทรงกำหนดให้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินงาน จัดงบประมาณสำหรับซื้อหนังสือ กำหนดระเบียบวิธีการยืม และการเป็นสมาชิก เป็นต้น

บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ผลงานสำคัญ

ด้านการเมืองการปกครอง

  • ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรก ระหว่าง พ.ศ. 2435 – 2458 และมีบทบาทสำคัญในการจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลจนประสบความสำเร็จ ทรงตั้งมณฑล 18 มณฑล จังหวัด 71 จังหวัด และเสด็จออกตรวจราชการหัวเมืองสม่ำเสมอ
  • ทรงฝึกหัดการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เพื่อปูพื้นฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย

ด้านสังคมและวัฒนธรรม

  • ทรงค้นคว้าในทางพงศาวดารและโบราณคดี ทรงมีงานประพันธ์ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก เช่น ไทยรบพม่า พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ จนได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย
  • ทรงว่าการหอพระสมุดสำหรับพระนครและริเริ่มการตั้งพิพิธภัณฑ์เมื่อ พ.ศ. 2470 ทรงประกาศรับซื้อหนังสือเก่าและรวบรวมของเก่า ๆ เพื่อเก็บไว้เป็นสมบัติของชาติ ทรงทำโรงเก็บราชรถ
  • ทรงริเริ่มในการพิมพ์หนังสือสำหรับแจกเป็นวิทยาทานในงานต่าง ๆ เช่น งานพระศพหรืองานวันประสูติ และขอแบ่งหนังสือส่วนหนึ่งเก็บไว้ในห้องสมุด ทำให้หนังสือความรู้ทั้งเก่าและใหม่ได้รับการพิมพ์แพร่หลายมากขึ้น รวมทั้งได้รักการเก็บรักษาไว้ในห้องสมุด
  • ทรงส่งเสริมการค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับไทยที่มีอยู่ในที่ต่าง ๆ
  • ใน พ.ศ. 2475 ทรงทดลองจัดตั้งสมาคมวรรณคดีและราชบัณฑิตยสภา แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ทรงถูกถอดออกจากการเป็นสภานายกหอพระสมุดและราชบัณฑิตยสภา
  • ทรงริเริ่มจัดตั้งหอจดหมายเหตุ หอรูป โดยทรงแยกจัดไว้เป็นแผนก ๆ คือ รูปคน รูปสถานที่ รูปเหตุการณ์ และนำมาไว้แห่งเดียวกัน ทำให้มีรูปเก่าตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

กรมพระยาดำรงราชานุภาพบุตร

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นต้นราชสกุลดิศกุล มีหม่อม 11 ท่าน ได้แก่

  1. หม่อมเฉื่อย (สกุลเดิม: ยมาภัย)
  2. หม่อมนวม (สกุลเดิม: โรจนดิศ)
  3. หม่อมลำดวน (สกุลเดิม: วสันตสิงห์) ธิดาหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ (สิงโต วสันตสิงห์)
  4. หม่อมแสง (สกุลเดิม: ศตะรัตน์) ธิดาพระดำรงราชานุภาพ
  5. หม่อมเจิม (สกุลเดิม: สนธิรัตน์) ธิดาพระยาอุไทยมนตรี (ทิม สนธิรัตน์)
  6. หม่อมอบ (สกุลเดิม: สุขไพบูลย์)
  7. หม่อมหลวงใหญ่ (เดิม: หม่อมหลวงลำดวน อิศรเสนา) ธิดาหม่อมเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์แดง อิศรเสนา)
  8. หม่อมหยาด (สกุลเดิม: กลัมพากร) ธิดาพระจำนงค์อักษร (เปลี่ยน กลัมพากร)
  9. หม่อมเป๋า
  10. หม่อมเยื้อน
  11. หม่อมเพิ่ม (สกุลเดิม: สุขไพบูลย์)

โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 37 องค์ เป็นชาย 14 องค์ หญิง 21 องค์ และไม่ปรากฏว่าเป็นหญิงหรือชาย 2 องค์

ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้ วันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็น วันดำรงราชานุภาพ เพื่อน้อมนำให้คนรุ่นหลังได้รำลึกถึงพระองค์ ผู้ทรงมีคุณูปการต่อแผ่นดินไทย

ที่มา – trueplookpanya.com ,wikipedia.org ,moi.go.th

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button