วันสำคัญ

วันเอดส์โลก World AIDS Day 1 ธันวาคม ป้องกันและยับยั้งโรคเอดส์

วันเอดส์โลก (ภาษาอังกฤษ: World AIDS Day) วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์ยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์ ซึ่งได้คร่าชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้ไปกว่า 25 ล้านคนแล้วทั่วโลก

Advertisement

วันเอดส์โลก

วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ โรคเอดส์เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี 2524 แต่ในขณะนั้นจะรู้จักเพียงเฉพาะกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้น ต่อมามีการแพร่ระบาดโรคนี้ไปอย่างรวดเร็วและทั่วโลก จนมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากจนเป็นที่น่าตกใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา

เพื่อให้คนทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันโรคเอดส์ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการยอมรับและห่วงใยต่อผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อ HIV องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนดให้วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันเอดส์โลก ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2531 เป็นปีแรก

สัญลักษณ์วันเอดส์โลก โบสีแดง

สัญลักษณ์วันเอดส์โลก

สัญลักษณ์ของวันเอดส์โลก คือ โบสีแดง (Red Ribbon) เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันทั่วโลก เพื่อแสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี โพสิทีฟ (HIV-positive) กับผู้ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้เป็นเอดส์ทั้งหลาย

Advertisement

มีวัตถุประสงค์ วันเอดส์โลก

  • เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อและการเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์
  • เพื่อสร้างเสริมและสนับสนุนให้มีมาตรการการป้องกันให้มากยิ่งขึ้นในสังคมทุกระดับ
  • เพื่อให้มีการจัดกิจกรรมต่อต้านต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับและห่วงใยต่อผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อ
  • เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

กิจกรรมวันเอดส์โลก

ในทุกวันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี ทั่วโลกจะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ในวันเอดส์โลก เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนได้ให้ความเห็นใจและห่วงใยต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วย ตลอดจนให้ทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ อันจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้การขยายตัวของโรคนี้ลดน้อยลง

คำขวัญวันเอดส์โลก

  • 2531 Communication about AIDS : เอดส์ป้องกันได้ หากร่วมใจกันทั่วโลก
  • 2532 Importance of Youth in the AIDS Epidemic : เมตตาธรรมค้ำจุนโลก ช่วยผู้ตกเป็นเหยื่อเอดส์
  • 2533 Women are the Key to achieving health for all : สุขภาพดีไม่มีเอดส์ สตรีเพศเป็นแกนนำ
  • 2534 Sharing the Challenge : ร่วมมือ ร่วมใจ ต้านภัยเอดส์
  • 2535 AIDS : A Community Commitment : เอดส์เป็นปัญหาของทุกคน ประชาชนต้องร่วมแก้ไข
  • 2536 Time to Act : จริงจัง จริงใจ ขจัดภัยเอดส์
  • 2537 AIDS and the Family : Family Takes Care -ครอบครัวทั่วไทย ห่วงใยปัญหาเอดส์ ไม่ปฏิเสธความช่วยเหลือ
  • 2538 Share Right, Share Responsibility : เคารพสิทธิ รับผิดชอบ มอบน้ำใจ สังคมไทยปลอดเอดส์
  • 2539 One World, One Hope : โลกนี้ยังมีหวัง รวมพลังหยุดยั้งเอดส์
  • 2540 Children Living in a world with AIDS : สร้างสรรค์โลกใหม่ ให้เด็กไทยไร้เอดส์
  • 2541 Force for change world Aids campaign with young people : คนรุ่นใหม่ ร้อยใจ รวมพลัง หยุดยั้งเอดส์
  • 2542 Listen, Learn, Live : รู้เขา รู้เรา รู้เท่าทันเอดส์
  • 2543 Men make a difference : เอดส์ลดหรือเพิ่ม เริ่มที่ผู้ชาย
  • 2544 I care…Do you ? : เอดส์ลดแน่ ถ้าคุณร่วมแก้ไข
  • 2545 Stigma and Discrimination – Live and Let Live : ทุกชีวิตมีคุณค่า โปรดอย่าตัดสินด้วยเอดส์
  • 2546 Stigma and Discrimination – Live and Let Live : ทุกชีวิตมีคุณค่า โปรดอย่าตัดสินด้วยเอดส์
  • 2547 Woman, girls, HIV and AIDS : เยาวชนรุ่นใหม่ เข้าใจเรื่องเพศร่วมป้องกันเอดส์
  • 2548 Stop AIDS Keep the promise : เอดส์หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา
  • 2549 Stop AIDS. Keep the Promise – Accountability : เอดส์หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา
  • 2550 Stop AIDS. Keep the Promise – Leadership : เอดส์หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา
  • 2551 Stop AIDS. Keep the Promise – Lead – Empower – Deliver : เอดส์หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา
  • 2552 Universal Access and Human Rights : เข้าถีงยา เข้าถึงสิทธิ พิชิตเอดส์
  • 2553 Act Aware : สิทธิทางเพศ สิทธิด้านเอดส์ คือ สิทธิมนุษยชน
  • 2554 Getting to zero : เอดส์ ลดแล้วลดอีก
  • 2555 Getting to zero : เอดส์ลดให้เหลือศูนย์ได้
  • 2556 “Getting to zero: zero new HIV infections. Zero discrimination. Zero AIDS related deaths” เน้น zero new HIV infections ลดการติดเชื้อรายใหม่
  • 2557 “Ending AIDS” เน้นไม่ติด ไม่ตาย ไม่ตีตรา เพื่อยุติปัญหาเอดส์
  • 2558 “Ending AIDS” ตรวจเร็ว รักษาเร็ว ยุติเอดส์
  • 2559 “Leadership. Commitment. Impact.” ขณะที่ประเทศไทยใช้ธีมรณรงค์ว่า “ตรวจเร็ว รักษาเร็ว ยุติเอดส์”
  • 2560 “Right to health” สิทธิสุขภาพ ปราศจากตีตรา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
โรคเอดส์ คือ

โรคเอดส์ คือ

เอดส์ หรือ กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome) เป็นโรคของระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus : HIV) ทำให้ผู้ป่วยมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสและการเกิดเนื้องอกบางชนิด เชื้อไวรัสเอชไอวีติดต่อผ่านทางการสัมผัสของเยื่อเมือกหรือการสัมผัสสารคัดหลั่งซึ่งมีเชื้อ เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นในช่องคลอด น้ำหลั่งก่อนการหลั่งอสุจิ และนมมารดา อาจติดต่อผ่านเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด หรือทวารหนัก หรือช่องปาก, การรับเลือด, การใช้เข็มฉีดยาที่ปนเปื้อน, ติดต่อจากแม่สู่ลูกขณะตั้งครรภ์ คลอด ให้นม หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งต่าง ๆ

เอดส์ AIDS

  • A = acquired หมายถึง เกิดขึ้นภายหลัง ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิดหรือสืบทอดทางกรรมพันธุ์
  • I = immuno หมายถึง ระบบภูมิต้านทานหรือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • D = deficiency หมายถึง ความบกพร่อง การขาดไปหรือเสื่อม
  • S = syndrome หมายถึง กลุ่มอาการคือมีอาการหลาย ๆ อย่างไม่เฉพาะที่ระบบใดระบบหนึ่ง

โรคเอดส์เกิดจาก

การศึกษาวิจัยทางพันธุศาสตร์ชี้ว่าเชื้อไวรัสเอชไอวีมีถิ่นกำเนิดมาจากแอฟริกากลางตะวันตกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โรคเอดส์เป็นที่รู้จักครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ในปี 2524 ส่วนสาเหตุของโรคและเชื้อไวรัสเอชไอวีนั้นค้นพบในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1980

โรคเอดส์ สาเหตุ

สาเหตุการติดต่อเชื้อโรคเอดส์

ชื้อไวรัส HIV พบในเลือดและสารคัดหลั่งหลายชนิดของร่างกาย ได้แก่ น้ำอสุจิ เมือกในช่องคลอดสตรี น้ำนม และอาจพบได้ในปริมาณน้อย ๆ ในน้ำตาและปัสสาวะ เมื่อพิจารณาจาก แหล่งเชื้อแล้วจะพบว่าเชื้อไวรัส HIV ติดต่อได้ หลายวิธี เช่น

  • การมีเพศสัมพันธุ์ เกิดขึ้นได้ทั้งการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน และกับเพศตรงข้าม
  • การรับเลือดและองค์ประกอบของเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะรวมทั้งไขกระดูกและน้ำอสุจิที่ใช้ผสมเทียมซึ่งมีเชื้อ แต่ในปัจจุบันปัญหานี้ได้ลดลงไปจนเกือบหมด เนื่องจากมีการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีในผู้บริจาคเหล่านี้ รวมทั้งคัดเลือกกลุ่มผู้บริจาคซึ่งไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ไม่รับบริจาคเลือดจากผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น เป็นต้น
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และของมีคมที่สัมผัสเลือด
  • จากมารดาสู่ทารก ทารกมีโอกาสรับเชื้อได้หลายระยะ ได้แก่ เชื้อไวรัสแพร่มาตามเลือดสายสะดือสู่ทารกในครรภ์ ติดเชื้อขณะคลอด จากเลือดและเมือกในช่องคลอด ติดเชื้อในระยะเลี้ยงดูโดยได้รับเชื้อจากน้ำนม จะเห็นได้ว่าวิธีการติดต่อเหล่านี้เหมือนกับไวรัสตับอักเสบบีทุกประการ ดังนั้นถ้าไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ก็จะไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ด้วย

อาการของโรคเอดส์

เชื้อ HIV ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซท์ ที่มีชื่อว่า CD4 เมื่อเม็ดเลือดขาวชนิดนี้ต่ำลง จะทำให้ร่างกายขาดภูมิคุ้มกัน และเกิดอาการของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสแทรกซ้อนในที่สุด ภายหลังการได้รับเชื้อ ร่างกายต้องใช้เวลาในการสร้างปฏิกิริยาตอบสนองต่อเชื้อ ในปัจจุบันในการวินิจฉัยว่าติดเชื้อหรือไม่ เราไม่ได้ตรวจหาเชื้อโดยตรง แต่เป็นการตรวจว่าร่างกายเรามีปฏิกิริยาต่อเชื้อหรือไม่ โดยการตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อ HIV (Anti-HIV antibody) ซึ่งการตรวจดังกล่าวอาจให้ผลลบได้ในกรณีที่ได้รับเชื้อมาใหม่ ๆ เนื่องจากร่างกายยังไม่ได้สร้างปฏิกิริยาตอบสนอง

ภายหลังการรับเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการใด ๆ เลย บางรายอาจมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่ว ๆ ไป เช่น มีไข้ ผื่นตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ อาการมักกินเวลาสั้น ๆ และหายไปได้เอง หลังจากนั้นผู้ป่วยจะไม่มีอาการใด ๆ เลย เชื้อไวรัสจะส่งผลให้ระดับเม็ดเลือดขาวที่เรียกว่าซีดีโฟร์ลดลงอย่างช้า ๆ จนผู้ป่วยเริ่มเกิดอาการของ HIV เกิดขึ้น เช่นฝ้าในปาก ผึ่นคันตามตัว น้ำหนักลด โดยส่วนใหญ่มักเกิดอาการเมื่อระดับซีดีโฟร์ต่ำกว่า 200 cell/mm3

อัตราเฉลี่ยของประเทศไทยตั้งแต่รับเชื้อจนเริ่มป่วยใช้เวลา 7-10 ปี ในช่วงที่เรามีเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่างกายแต่ไม่ป่วยเพราะเรายังมีภูมิคุ้มกันที่ยังควบคุม หรือจัดการกับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ เรียกว่า เป็นผู้ติดเชื้อ และเมื่อภูมิคุ้มกันถูกทำลายเหลือจำนวนน้อย จนไม่สามารถควบคุม หรือจัดการกับเชื้อโรคบางอย่างได้ทำให้เราป่วยด้วยเชื้อโรคนั้น ๆ เรียกว่าเราเริ่มมี ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นผู้ป่วยเอดส์ โรคที่เราป่วยเนื่องจากภาวะภูมิบกพร่อง เรียกว่า โรคฉวยโอกาส

การป้องกันโรคเอดส์

การป้องกันโรคเอดส์

เชื้อเอชไอวี ติดต่อกันได้สามวิธีหลัก ๆ คือการมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสสารคัดหลั่งหรือเนื้อเยื่อ และจากมารดาไปสู่ทารกปริกำเนิด นอกจากนี้ยังอาจพบเชื้อได้ในน้ำลาย น้ำตา และปัสสาวะของผู้ติดเชื้อ แต่ยังไม่มีรายงานการติดเชื้อ ความเสี่ยงของการติดเชื้อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งเหล่านี้อาจถือได้ว่าไม่มี

  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ที่มีเพศสัมพันธ์
  • รักเดียว ใจเดียว
  • ก่อนแต่งงาน หรือมีบุตร ควรตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และขอรับคำปรึกษาเรื่อง โรคเอดส์ จากแพทย์ก่อน
  • งดใช้สารเสพติดทุกชนิดที่ใช้เข็มร่วมวกัน
ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์

ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์

ไม่สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางการกอด การสัมผัสมือ การปฏิสัมพันธ์ภายนอกอื่น ๆ เช่น การใช้ห้องน้ำร่วมกัน การใช้เตียงนอนร่วมกัน การใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารหรือรถแท็กซี่ร่วมกัน

ยารักษาโรคเอดส์

ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถชะลอการดำเนินโรคได้ แต่ยังไม่มีหนทางรักษาให้หายขาด ไม่มีวัคซีนป้องกัน ยาต้านไวรัสสามารถลดอัตราการตายและภาวะทุพพลภาพได้ดี แต่ยาเหล่านี้ยังมีราคาแพง ผู้ป่วยในบางประเทศยังไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ องค์กรสุขภาพต่าง ๆ เล็งเห็นว่าการรักษาเอดส์ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก จึงให้ความสำคัญกับการควบคุมการระบาดของโรคเอดส์ด้วยการรณรงค์การป้องกันการติดเชื้อผ่านการสนับสนุนการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยและการแลกเปลี่ยนเข็มที่ใช้แล้ว เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ยาต้านไวรัสเอดส์ในปัจจุบันมี 3 ประเภท คือ

  1. Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) ได้แก่ AZT ddl ddC d4T 3TC ABC รับประทานยาต้านไวรัสเอดส์
  2. Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs) ได้แก่ NVP EFV
  3. Protease Inhibitors (Pls) ได้แก่ IDV RTV Q4V NFV

หากรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์แล้ว อาจมีผลข้างเคียงคือ คลื่นไส้อาเจียน มีผื่นตามผิวหนัง โลหิตจาง ฯลฯ ดังนั้นการรับประทานยาเหล่านี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์

โรคเอดส์

ประวัติโรคเอดส์ในประเทศไทย

ศูนย์ข้อมูลทางระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานว่า กลุ่มอายุ 30 – 34 ปี มีผู้ป่วยสูงสุด (ร้อยละ 25.86) รองลงมาได้แก่ อายุ 25 – 29 ปี โดยพบว่า กลุ่มอายุต่ำสุด คือ กลุ่มอายุเพียง 10-14 ปี (ร้อยละ 0.29) เมื่อจำแนกตามอาชีพ พบว่า อาชีพรับจ้าง เป็นกลุ่มที่เป็นเอดส์มากที่สุด รองลงมา คือ เกษตรกรรม, ว่างงาน, ค้าขาย และแม่บ้าน ส่วนสาเหตุของการติดเชื้อเอดส์นั้น พบว่า (ร้อยละ 83.97) ติดเชื้อเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์ รองลงมา คือ การฉีดยาเสพติดเข้าเส้น และติดเชื้อจากมารดา อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยที่ไม่ทราบถึงสาเหตุ ถึง (ร้อยละ 7.30)

การระบาดของโรคเอดส์ทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้ประมาณไว้เมื่อ 2552 ว่ามีผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ป่วยเอดส์อยู่ประมาณ 33.3 ล้านคนทั่วโลก โดยแต่ละปีมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ประมาณ 2.6 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากเอดส์ปีละ 1.8 ล้านคน องค์กร UNAIDS ประมาณไว้เมื่อ 2550 ว่ามีผู้ป่วยเอดส์ในปีดังกล่าว 33.2 ล้านคนทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ 2.1 ล้านคน เป็นเด็ก 330,000 คน และ 76% ของผู้เสียชีวิตเป็นชาวแอฟริกาเขตใต้ทะเลยทรายซาฮารา รายงาน 2552 ของ UNAIDS ระบุว่ามีผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกแล้ว 60 ล้านคน เสียชีวิตแล้ว 25 ล้านคน เฉพาะในแอฟริกาใต้ที่เดียวมีเด็กทีต้องกลายเป็นเด็กกำพร้าเพราะบิดามารดาเสียชีวิตจากโรคเอดส์ 14 ล้านคน นับตั้งแต่เริ่มมีการระบาด

ผู้ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับโรคเอดส์ เพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่

  • กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โทร. 0-2286-0431, 0-2286-4483
  • โรงพยาบาลบำราศนราดูร โทร. 0-2590-3737, 0-2590-3510
  • กองควบคุมโรคเอดส์ กทม. โทร. 0-2860-8751-6 ต่อ 407-8
  • มูลนิธิศูนย์ฮอตไลน์ โทร. 0-2277-7699, 0-2277-8811 (โทรฟรี)
  • มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ โทร. 0-2372-2222
  • สถานบริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง

HIV รักษาหายขาด

สื่อต่างประเทศหลายสำนักรายงานว่า พบชายชาวอังกฤษซึ่งติดเชื้อ HIV แล้วสามารถรักษาหายได้เป็นรายที่สองของโลก โดยรายงานดังกล่าวมาจากการตีพิมพ์ผลการวิจัยลงในวารสาร Journal Nature เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาโดยระบุว่า

เคสที่รักษาหายขาด 1 ราย เคสนั้นเรารู้จักในนาม berlin patient เป็นเคสที่รักษาที่เบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน คนนี้เขาติดเชื้อ HIV และรักษาด้วยยาต้านไวรัส แต่เกิดป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว เลยมีการรักษาด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ปรากฏว่าหายจาก HIV ด้วยว่ะ ทุกวันนี้เขาอยู่ได้ปรกติโดยไม่ต้องกินยาต้าน แต่วิธีการนี้ไม่ใช่ว่าสามารถใช้ได้กับทุกคน มีหลายๆเคสที่ใช้วิธีเดียวกัน แต่ก็ยังมี HIV อยู่

ปรากฏว่าเราเจอเคสที่สอง ที่เขาเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว และติดเชื้อ HIV ด้วย เขาเข้ารับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จนหายขาดแบบเดียวกับรายแรกเด๊ะ แถมรักษาที่เบอร์ลินเหมือนกันด้วย แล้วการแพทย์เราก้าวหน้าขึ้น จนนักวิจัยเขาศึกษาพบสาเหตุว่า ที่คนไข้คนนี้ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์แล้วหายจาก HIV เพราะเขาได้รับการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ที่มียีนส์กลายพันธุ์ตัวหนึ่ง ซึ่งในเซลล์ที่มียีนส์ตัวนี้ เชื้อ HIV จะไม่สามารถเจาะเข้าไปในเซลล์ได้

ด้านนายแพทย์ Ravindra Gupta ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และเป็นหนึ่งในทีมนักชีววิทยาด้านเอชไอวีที่ทำการรักษา คนไข้ลอนดอน (The London Patient) รายนี้อธิบายว่า

“นี่เป็นโอกาสครั้งสำคัญที่ผู้ป่วยรายนี้จะมีชีวิตรอด ความโชคดีของผู้ป่วยรายนี้คือการได้รับสเต็มเซลล์ของผู้บริจาคที่มีพันธุกรรมที่รู้จักกันในชื่อ CCR5 delta 32 ซึ่งยอมรับการต่อต้านเชื้อเอชไอวี รวมถึงพันธุกรรมดังกล่าวสามารถเข้ากับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี แต่กรณีนี้นับว่าพบได้ยากมากเช่นกัน”

ทั้งนี้ การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ด้วยวิธีข้างต้นนั้นค่อนข้างอันตราย มีความเสี่ยงสูง ราคาแพง และไม่ใช่ว่าจะได้ผลกับผู้ป่วยทุกราย ความสำเร็จครั้งนี้ นับว่าเป็นความหวังและความก้าวหน้าครั้งสำคัญของผู้ติดเชื้อทั่วโลกในการรักษาให้หายขาดต่อไป

ที่มา – wikipedia.org

Advertisement

Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button