วันสำคัญ

เทศกาลโคมไฟ 2567 เทศกาลเฉลิมฉลองตรุษจีน หรือ ปีใหม่จีน

เทศกาลโคมไฟ หรือ เทศกาลหยวนเซียว (ภาษาอังกฤษ: Lantern Festival) (ภาษาจีน: 元宵节) เป็นเทศกาลจีนแบบดั้งเดิมที่ถือเป็นการสิ้นสุดการเฉลิมฉลองปีใหม่จีน มีการเฉลิมฉลองในเดือนจันทรคติแรก ซึ่งโดยปกติจะตกในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม เทศกาลนี้โดดเด่นด้วยการจุดโคมไฟซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความหวังสำหรับอนาคตที่สดใส

ผู้คนยังเพลิดเพลินกับการรับประทานถังยวน ซึ่งเป็นลูกข้าวเหนียวหวาน และชมการเชิดสิงโตและมังกร เทศกาลโคมไฟมีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมจีน ถึงเวลาที่ครอบครัวจะมารวมตัวกันและเฉลิมฉลองส่งท้ายเทศกาลปีใหม่ ในฮ่องกง ยกให้วันนี้เปรียบเสมือนกับวันวาเลนไทน์ ในบางแห่งเทศกาลไหว้พระจันทร์ ก็จะถูกรู้จักกันในชื่อของเทศกาลโคมไฟเหมือนกัน เช่น Singapore และ Malaysia

เทศกาลโคมไฟ

เทศกาลโคมไฟ

เทศกาลโคมไฟ หรือ เทศกาลหยวนเซียว คือ เทศกาลฉลองในวันที่ 15 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติ เป็นสัญลักษณ์ของวันสุดท้ายในการฉลองเทศกาลปีใหม่ของจีนตามปฏิทินทางจันทรคติ ในเทศกาลหยวนเซียว เด็ก ๆ จะถือโคมไฟกระดาษ ออกไปวัดกันในตอนกลางคืน และพากันทายปริศนาที่อยู่บนโคมไฟ เรียกว่า ไชเติงหมี

ในสมัยโบราณ โคมไฟจะทำเป็นรูปแบบง่าย ๆ จะมีเพียงแต่ของกษัตริย์ และขุนนางเท่านั้นที่จะมีโคมไฟที่หรูหราใหญ่โต แต่ในสมัยปัจจุบันโคมไฟได้ถูกประดับประดาด้วยรูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น มักจะทำโคมไฟเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ โคมไฟมักจะทำเป็นสีแดงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี

Advertisement

ในฮ่องกง ยกให้วันนี้เปรียบเสมือนกับวันวาเลนไทน์ ในบางแห่งเทศกาลไหว้พระจันทร์ ก็จะถูกรู้จักกันในชื่อของเทศกาลหยวนเซียวเหมือนกัน เช่น Singapore และ Malaysia

มีกิจกรรมหลายอย่างรวมถึงการชมดวงจันทร์, ปล่อยโคมลอย, การเชิดสิงโต, เล่นแก้ปริศนา และกินข้าวกันในครอบครัว เทศกาลจะจัดขึ้นในวันที่

  • 22 กุมภาพันธ์ 2016
  • 11 กุมภาพันธ์ 2017
  • 16 กุมภาพันธ์ 2018
  • 19 กุมภาพันธ์ 2019
  • 8 กุมภาพันธ์ 2020
  • 15 กุมภาพันธ์ 2022
  • 5 กุมภาพันธ์ 2023
  • 24 กุมภาพันธ์ 2024
ความสำคัญของเทศกาลโคมไฟ

ความสำคัญของเทศกาลโคมไฟ

เทศกาลฤดูใบไม้ผลิเป็นเวลาที่ครอบครัวจะอยู่กันพร้อมหน้า มีงานเลี้ยงรวมกันในวันส่งท้ายปีเก่า วันที่ 15 ของการฉลองตรุษจีน ทุกคนไม่ว่าจะอายุหรือเพศใดก็ตามจะออกไปข้างนอกเพื่อฉลองเทศกาลหยวนเซียว ตามประเพณีของลัทธิเต๋าวันที่ 15 ในเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติ เรียกว่า ซ่างหยวน ตรงกับคำเรียก “เทพแห่งฟ้า” ” ท่านเป็นผู้ที่ชอบแสงสว่าง และวัตถุแห่งความสุข ดังนั้น ผู้คนจึงได้แขวนโคมไฟสีสันสวยงามนับพัน ๆ เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณท่าน ในปัจจุบันผู้คนจะมีการละเล่นแก้ปริศนาที่อยู่ในโคมไฟ และกินขนมบัวลอยในเทศกาลหยวนเซียว เรียกว่า ขนมทังหยวน และครอบครัวก็มีการมารวมตัวกันอย่างมีความสุข

ประเทศจีนในอดีตผู้หญิงมักไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากบ้าน แต่ในคืนเทศกาลหยวนเซียวพวกเขาสามารถเดินเล่นได้อย่างอิสระเล่นเกมและพูดคุยกับผู้ชายได้

ตำนานและประวัติศาสตร์

ตำนานและประวัติศาสตร์

มีความเชื่อที่หลากหลายต่าง ๆ กันเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเทศกาลหยวนเซียว อย่างไรก็ตาม มีหนึ่งตำนานที่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ก่อกำเนิดจริง ๆ คือ “ความมืดลงของฤดูหนาว” และ ผู้คนในชุมชนสามารถที่จะ “ลบความมืดนั้นออกไปด้วยแสงสว่างที่เกิดจากฝีมือมนุษย์” ที่เรียกว่า โคมไฟ ในสมัยของราชวงศ์ฮั่น เทศกาลนี้มีความเชื่อมโยงกับเทพเจ้าไท่อี่, เทพเจ้าแห่งดาวขั้วฟ้าเหนือ

เทพเจ้าไท่อี่

มีหนึ่งตำนานบอกว่า มันคือช่วงเวลาของการบูชาเทพเจ้าไท่อี่ เป็นเทพเจ้าแห่งฟ้า เชื่อว่าเทพแห่งฟ้านี้คือผู้กุมโชคชาตะชีวิตของมนุษย์ ท่านมีมังกร16 ตัวอยู่ที่หลัง ยามที่เกิดภัยแล้ง พายุ โรคระบาดในมนุษย์ ก็จะต้องเรียกให้ท่านช่วย นับตั้งแต่กษัตริย์จินซีฮ่องเต้ กษัตริย์องค์แรกของจีน มาจนถึงกษัตริย์ทุกพระองค์จะต้องมีการจัดเทศกาลฉลองอย่างสวยงามในทุก ๆ ปี โดยที่กษัตริย์ก็จะขอให้เทพเจ้าไท่อี่ดลบรรดาลให้อากาศดี และสุขภาพร่างกายแข็งแรงจงเกิดกับตัวเขาเองและประชาชน

กษัตริย์ฮั่น หวู่ตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่น มีความสนใจในเทศกาลนี้มาก ในปีคริสต์ศักราช 104 เขาได้ประกาศให้เทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดเทศกาลหนึ่ง และให้มีการเฉลิมฉลองกันตลอดทั้งคืน

ลัทธิเต๋า

ตำนานเทศกาลโคมไฟอีกอันหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับลัทธิเต๋า เทียนกวน เป็นเทพแห่งลัทธิเต๋ารับผิดชอบเกี่ยวความโชคดี ท่านเกิดตรงกับวันที่ 15 ในเดือนแรกของปีจันทรคติ กล่าวกันว่าท่านเทียนกวนชอบความบันเทิงทุกประเภท ดังนั้นผู้ที่นับถือจึงจัดเตรียมกิจกรรมความสนุกที่หลากหลายในเวลาที่ขอพรให้ตนเองโชคดี

Lan Moon

ตำนวนเทศกาลหยวนเซียวอีกอันหนึ่งจะมีที่เกี่ยวข้องกับนักรบที่ชื่อว่า Lan Moon เขาเป็นผู้นำการก่อกบฏต่อต้านกษัตริย์เผด็จการสมัยจีนโบราณ เขาถูกฆ่าลงท่ามกลางพายุกลางเมือง และการทำกบฏสำเร็จจึงได้ใช้ชื่อเขาเป็นชื่อเทศกาลเพื่อเป็นอนุสรณ์

นกกระเรียน

ตำนานเทศกาลหยวนเซียวอีกอันหนึ่งกล่าวถึงนกกระเรียนสวยงามที่บินลงมาจากสวรรค์สู่โลกมนุษย์ หลังจากที่บินลงถึงโลกมนุษย์ก็ถูกฆ่าตายโดยชาวบ้านของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ทำให้พระเจ้ายวู่ฮวงต้าตี้ ที่อยู่บนสวรรค์โกรธมาก เพราะท่านโปรดปรานนกกระเรียนมาก ดังนั้นท่านจึงได้วางแผนจะให้เกิดพายุไฟขึ้นในหมู่บ้านแห่งนั้นในวันที่ 15 เดือนแรกของปีจันทรคติ ลูกสาวของพระเจ้ายวู่ฮ่วงต้าตี้ทราบเข้า จึงได้ไปเตื่อนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งนั้น ชาวบ้านต่างวุ่นวายโกลาหลเพราะไม่มีใครรู้ว่าจะหนีจากภัยที่กำลังใกล้เข้ามานี้ได้ยังไง อย่างไรก็ตาม ก็มีชายผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดจากหมู่บ้านอื่นมาแนะนำให้ทุกบ้านจงแขวนโคมไฟสีแดงรอบ ๆ บ้าน ก่อกองไฟบนถนน และจุดประทัดในวันที่ 14 15 และ 16 แบบนี้ก็จะทำให้หมู่บ้านนี้ปรากฏแสงไฟต่อพระเจ้ายวู่ฮวงต้าตี้ และแล้วในวันที่ 15 กองกำลังทหารก็ถูกส่งลงมาจากสวรรค์เพื่อมาทำลายล้างหมู่บ้านนี้ เหล่าทหารก็ได้เห็นว่าหมู่บ้านเต็มไปด้วยแสงไฟที่ร้อนแรง ก็เลยกลับไปรายงานพระเจ้ายวู่ฮวงต้าตี้ ทำให้ พระเจ้ายวู่ฮวงต้าตี้เกิดความพอใจ และไม่คิดจะเผาทำลายหมู่บ้านนี้อีก จากวันนั้นเป็นต้นมา ผู้คนก็ฉลองในวันที่ 15 ในเดือนแรกของปีจันทรคติของทุกปี ด้วยการแขวนโคมไฟตามถนน และจุดประทัด ดอกไม้ฟ

สาวใช้หยวนเซียว

ตำนานเทศกาลหยวนเซียวอีกอันหนึ่งเกี่ยวข้องกับสาวใช้ที่ชื่อ หยวนเซียว ในสมัยราชวงศ์ฮั่น Han Dynasty, ตงฟางซั่ว Dongfang Shuo คือ ขุนนางคนโปรดของกษัตริย์ฮั่นหวู่ตี้ ในฤดูหนาวปีหนึ่งเขาได้เดินไปในสวนและได้เห็นเด็กผู้หญิงคนหนึ่งกำลังร้องไห้ และกำลังจะโดดลงไปในบ่อน้ำเพื่อฆ่าตัวตาย ตงฟางจึงได้ห้ามเธอไว้และถามว่าทำไมจึงคิดฆ่าตัวตาย เธอบอกว่าเธอชื่อหยวนเซียว เป็นสาวใช้ในวัง และตั้งแต่เธอมาทำงานในวัง เธอก็ไม่มีโอกาสได้ไปเยี่ยมครอบครัวเลย ถ้าเธอไม่มีโอกาสได้แสดงความกตัญญู filial piety ต่อครอบครัว เธอก็ตายซะดีกว่า ตงฟางสัญญากับเธอว่าจะหาวิธีทำให้เธอได้กลับไปเยี่ยมครอบครัวให้ได้ ตงฟางจึงแอบออกจากวังและไปตั้งโต๊ะทำนายดวงชะตาบนถนน จากปากต่อปากทำให้ประชาชนต่างมาให้เขาทำนายกันมากมาย แต่ทุกคนก็ได้คำทำนายเดียวกันคือ จะเกิดไฟหายนะในวันที่ 15 ของเดือนแรกในปฏิทินจันทรคติ ข่าวลือแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว

ทุกคนต่างกังวลเกี่ยวกับคำทำนายและขอให้ตงฟางช่วย ตงฟางจึงบอกว่า ในวันที่ 13 เทพเจ้าแห่งไฟจะส่งนางฟ้าชุดแดงขี่ม้าดำลงมาเผาเมือง เมื่อประชาชนเห็นนางฟ้าจะต้องร้องขอความเมตตาจากท่าน ในวันนั้นหยวนเซียวแกล้งปลอมตัวเป็นนางฟ้าชุดแดง เมื่อประชาชนร้องขอให้เธอช่วย เธอบอกว่าเธอได้รับคำสั่งจากเทพเจ้าแห่งไฟให้มาจับตัวกษัตริย์ไป หลังจากที่เธอจากไป ประชาชนจึงเข้าไปในวังและกล่าวทูลว่าบ้านเมืองจะถูกเผาในวันที่ 15 กษัตริย์ฮั่นหวู่ตี้ขอคำแนะนำจากตงฟางว่าควรทำอย่างไรดี ตงฟางบอกว่าเทพเจ้าแห่งไฟชอบกินทังหยวน tangyuan (sweet dumplings) หยวนเซียวควรจะทำทังหยวนในวันที่ 15 และกษัตริย์ควรจะต้องสั่งให้ทุกบ้านทำทังหยวนเพื่อบูชาแก่เทพเจ้าแห่งไฟในวันนั้นด้วย และในเวลาเดียวกันทุกบ้านควรจะต้องแขวนโคมไฟสีแดงและจุดประทัด และท้ายสุดคือทุกคนในวัง และประชาชนภายนอกในเมืองควรจะถือโคมไฟของตนเองเดินไปตามถนนเพื่อชมการตกแต่งโคมไฟและดอกไม้ไฟ พระเจ้ายวู่ฮวงต้าตี้ก็จะถูกหลอกจากอุบายกลลวงนี้และทุกคนก็จะรอดพ้นจากไฟไหม้

กษัตริย์ฮั่นหวู่ตี้พอใจกับแผนการนี้ โคมไฟถูกประดับไปทั่วเมืองในคืนวันที่ 15 ประชาชนเดินไปตามถนน เสียงประทัดดังไปทั่ว มันดูราวกับว่าในเมืองถูกไฟเผา พ่อแม่ของหยวนเซียวเข้ามาในวังเพื่อดูการตกแต่งโคมไฟจึงทำให้ได้เจอกับลูกสาวอีกครั้ง กษัตริย์ฮั่นหวู่ตี้ได้สั่งให้ประชาชนควรจะต้องทำแบบนี้ทุก ๆ ปี และนับตั้งแต่นั้นมาที่หยวนเซียวได้ทำขนมทังหยวน ประชาชนก็เลยต่างพากันเรียกเทศกาลนี้ว่า เทศกาลหยวนเซียว

สรุป

แสงโคมไฟสุกสว่าง กระทายประกายความสุข ทั่วทั้งราตรี เทศกาลโคมไฟ ช่วงเวลาแห่งความรื่นเริง ความอบอุ่น และเสียงหัวเราะของครอบครัว กำลังจะเวียนมาบรรจบทาบทใหม่ อย่าปล่อยให้ช่วงเวลานี้ผ่านไปเฉยๆ ชวนคนที่คุณรัก ออกมาสัมผัสบรรยากาศอันงดงาม เดินท่ามกลางแสงไฟหลากสี ทายปริศนาลึกลับบนโคมไฟ ลิ้มรสชาติขนมหยวนเซียวแสนอร่อย และปล่อยโคมลอยสู่ฟ้า อธิษฐานขอพรให้ชีวิตผ่องใส รุ่งโรจน์ เหมือนดวงไฟดวงนั้น

ร่วมฉลองเทศกาลโคมไฟ ปีนี้ให้เป็นที่จดจำ! แชร์ภาพเทศกาลโคมไฟสุดประทับใจของคุณ พร้อมติด #เทศกาลโคมไฟ #แสงแห่งความสุข และบอกเล่าประสบการณ์อันน่ารื่นรมย์ของคุณ

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button