เรื่องน่าสนใจ

โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever) อาการ และ วิธีรักษา

โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever) ใครต่างก็ทราบกันดีแล้วว่าเป็นโรคที่น่ากลัว และควรดูแลสุขภาพให้รอดพ้นจากความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้จะดีที่สุด เนื่องจากอาการและผลของมันสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้อย่างร้ายแรง บางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตดังนั้น เราจึงควรรู้จักสาเหตุและวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เป็นไข้เลือดออก พร้อมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกน้อยยิ่งควรใส่ใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ ซึ่งคุณสามารถติดตามรายละเอียดเพื่อทำความรู้จักโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่สาเหตุ อาการและวิธีรักษาป้องกันอย่างละเอียดถูกต้องจากข้อมูลดังต่อไปนี้ได้เลย

ป้าย รณรงค์ ไข้เลือดออก
ป้ายรณรงค์ไข้เลือดออก

สาเหตุของโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากตัวไวรัสเดงกี่ โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งยุงลายเพศเมียจะเป็นตัวที่คอยกัดคนในช่วงเวลากลางวันเพื่อดูดเลือดเป็นอาหาร สำหรับเชื้อไวรัสนั้นจะเข้าสู่กระเพาะของยุง ซึ่งมันจะเข้าไปอยู่ในเซลล์ที่เป็นบริเวณผนังกระเพาะ และ จะยิ่งเพิ่มจำนวนไวรัสมากขึ้นจนออกมาจากเซลล์ผนังกระเพาะ จากนั้นจะเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลายของยุงที่พร้อมจะเข้าสู่คนที่ถูกกัดต่อไป

ระยะฟักตัวไข้เลือดออก

สำหรับระยะเวลาในการฟักตัวในยุงนั้นจะอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 8-12 วัน และ เมื่อยุงตัวนั้นไปกัดคนอื่นก็จะทำการปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัดต่อไป เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนผ่านระยะเวลาในการฟักตัวนานถึง 5-8 วัน ผู้ป่วยก็จะมีอาการของโรคไข้เลือดออกแสดงออกมา

อาการไข้เลือดออก
อาการไข้เลือดออก

อาการไข้เลือดออก

อาการของโรคไข้เลือดออก อาการของโรคจะแตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล แต่โดยส่วนใหญ่ที่พบ คือ

  • มีไข้สูงเฉียบพลัน เกิน 5 องศาเซลเซียส หรืออาจสูงถึง 40-41 องศาเซลเซียส ซึ่งบางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติชัก
  • มีเลือดออกที่ผิวหนัง เป็นจุดเลือดเล็กๆ กระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดา หรือเลือดออกตามไรฟัน
  • ในรายที่รุนแรงอาจมีอาเจียน และ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (melena) อาการเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนใหญ่จะพบร่วมกับภาวะช็อก
  • สิ่งที่ต้องระวังมากที่สุด คืออาการช็อก ที่ทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดล้มเหลว
  • บางรายมีภาวะตับโต กดเจ็บ ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโตได้ประมาณวันที่ 3-4 นับตั้งแต่เริ่มป่วย ตับจะนุ่ม และ กดเจ็บ
  • มีภาวการณ์ไหลเวียนล้มเหลว ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรง โดยเกิดภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว หรือภาวะช็อก เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาออกไปยังช่องปอด ช่องท้อง เกิด hypovolemic shock ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่เกิดอาการช็อกจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีไข้ อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค หรือวันที่ 8 ของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง เริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบา เร็ว และ ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง

ไข้เลือดออกมีกี่ระยะ

ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง

ผู้ป่วยจะมีไข้สูงฉับพลัน ไข้จะสูงค้างอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา โดยที่กินยาลดไข้ก็ยังบรรเทาไข้ไม่ได้ ร่วมกับอาการหน้าแดง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และ บางรายมีอาการอาเจียนเป็นพัก ๆ หรืออาจมีอาการท้องผูกหรือถ่ายเหลว และบางคนอาจมีอาการเจ็บคอ ไอเล็กน้อย ทว่าในระยะ 3 วันที่ป่วยตุ่มอาจยังไม่ขึ้นให้เห็นชัด ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง
Advertisement

ระยะที่ 2 ระยะช็อก และ มีเลือดออก

อาการนี้จะพบในช่วงระหว่างวันที่ 3-7 ของการป่วย และ มักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ป่วยจากเชื้อเด็งกีที่มีความรุนแรงขั้นที่ 3 และ 4 ซึ่งระยะนี้ถือเป็นช่วงวิกฤตของโรค อาการไข้ของผู้ป่วยจะเริ่มลดลง แต่กลับอาเจียน ปวดท้องบ่อยขึ้น ซึมมากขึ้น ตัวเย็น มือเท้าเย็น กระสับกระส่าย เหงื่อแตก ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเต้นแผ่วแต่เร็ว และ ความดันต่ำ ซึ่งเป็นภาวะช็อก และ หากไม่ได้รับการรักษาภายใน 1-2 วัน อาจทำให้เสียชีวิตได้

นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการเลือดออกตามผิวหนัง (มีจ้ำเขียวพรายย้ำขึ้น) เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือดหรือสีกาแฟ ถ่ายเป็นเลือด ซึ่งหากอยู่ในภาวะนี้อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น โดยหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเสียชีวิตภายใน 24-27 ชั่วโมง แต่หากผู้ป่วยสามารถประคองอาการให้ผ่านพ้นระยะนี้มาได้ ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3 ของโรคไข้เลือดออก

ระยะที่ 3

เมื่อผ่านระยะที่ 2 มาแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นแต่จะพบว่ามีผื่อแดง และ ผู้ป่วยเริ่มกินอาหารได้ผื่นมีอาการคัน และ อาการต่างๆ จะกลับสู่ภาวะปกติ

วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออก
วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออก

วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออก

  1. แจ้งสาธารณสุขในเขตพื้นที่มาทำการฉีดยากันยุง
  2. พยายามอย่าให้ผู้ป่วยที่กลับมาพักฟื้นที่บ้านโดนยุงกัดในระยะเวลา 5 วันแรก เพราะระยะนี้ผู้ป่วยจะยังมีเชื้อไวรัสไข้เลือดออกหลงเหลืออยู่ ซึ่งหากโดนยุงกัดอาจทำให้แพร่กระจายสู่คนในบ้านได้
  3. ทำการกำจัดลูกน้ำยุงลายรอบบริเวณบ้าน ถ่ายถ้วยน้ำรองขาโต๊ะหรือน้ำในแจกัน
  4. ติดมุ้งลวด หรืออย่างน้อยควรกางมุ้งเวลานอน
  5. ทายากันยุงป้องกันยุงกัด
    เมื่อรู้เท่าทันไข้เลือดออกแบบนี้ รับรองได้ว่าเมื่อเป็นแล้วอาจมีสิทธิ์รอดแน่นอน

การรักษาโรคไข้เลือดออก

การรักษา โรคไข้เลือดออก นั้นยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะตัวสำหรับกำจัดเชื้อไวรัสเดงกี การรักษาตามอาการจึงเป็นสิ่งที่สมควรทำมากที่สุด ในขั้นแรกเมื่อมีไข้สูงจะให้ยาพาราเซตามอล ห้ามให้ใช้ยาแอสไพรินเด็ดขาด เพราะจะทำให้เลือดออกรุนแรงขึ้น หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนให้ใช้ยาแก้คลื่นไส้ และ ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อย รวมถึงสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดภาวะช็อคได้ ซึ่งภาวะช็อคส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วงที่ไข้ลด ผู้ปกครองควรทราบอาการ ได้แก่ อาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง มีอาการกระสับกระส่าย หรือเซื่องซีม มือเท้าเย็นพร้อมๆ กับไข้ลด หน้ามืด เป็นลมง่าย หากเกิดอาการเช่นนี้ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

Advertisement

กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button