18 กรกฎาคม 2441 มารี คูรี (Marie Curie) และ ปิแอร์ คูรี (Pierre Curie) คู่ภรรยาสามีนักฟิสิกส์ชาวโปแลนด์ ประกาศการค้นพบธาตุกัมมันตรังสีชนิดใหม่ โดยตั้งชื่อว่า พอโลเนียม (Polonium – Po เลขอะตอม 84)
พอโลเนียม
พอโลเนียม (Polonium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 84 และสัญลักษณ์คือ Po พอโลเนียมเป็นธาตุกึ่งอโลหะเรดิโอแอคตีฟ (radioactive metalloid) มีสมบัติทางเคมีคล้ายเทลลูเรียมและบิสมัท พบว่ามีอยู่ในแร่ยูเรเนียม กำลังศึกษาการใช้งานเกี่ยวกับความร้อนในยานอวกาศ ค้นพบโดยมารี กูรี ในปี 1898
ทั้งสองได้ทำการทดลองในอาคารเล็ก ๆ ที่เป็นห้องเก็บฟืนของภาควิชาฟิสิกส์ แห่งมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ ที่ปิแอร์สอนหนังสืออยู่ จากนั้นอีก 6 เดือนต่อมา พวกเขาก็ค้นพบธาตุเรเดียม (Radium) ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีเช่นกัน โพโลเนียมนับเป็นธาตุหายากชนิดหนึ่ง พบปริมาณเล็กน้อยในธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะพบในสินแร่ที่มียูเรเนียม โพโลเนียมมีลักษณะเป็นของแข็งสีเทาเงิน มีจุดหลอมเหลว 254 องศาเซลเซียส และจุดเดือด 962 องศาเซลเซีส ละลายได้ในกรดเจือจาง (dilute acids) สารละลายที่เกิดขึ้นจะระเหยได้ดี ธาตุโพโลเนียมสามารถปล่อยรังสีแอลฟาในปริมาณที่มากกว่าธาตุเรเดียมถึง 5,000 เท่า หากเข้าสู่ร่างกายจะเป็นอันตรายมากกว่าไซยาไนด์ 250 ล้านเท่า