เรื่องน่าสนใจ

ภาษาลู คืออะไร พร้อมหลักการ และตัวอย่าง!

ภาษาลูเป็นภาษาที่ดัดแปลงหรือเล่นคำมาจากภาษาไทย ภาษาลู เก้ง กวาง เกย์ กระเทย LGBTQ+ นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย

ภาษาลู คือ

ภาษาลู คือ

ภาษาลู คือ ภาษาที่นิยมใช้ในกลุ่มเก้ง กวาง เกย์ กระเทย LGBTQ+ ไม่ใช่ภาษาอย่างเป็นทางการ เป็นภาษาที่สร้างขึ้นมาคุยกับเพื่อนฝูง เพื่อไม่อยากให้คนทั่วไปรู้ ภาษาลูสืบทอดกันมายาวนานกว่า 20 ปี โดยส่งต่อการพูดคุยสื่อสารจากรุ่นต่อรุ่น ภาษาลูยังช่วยสร้างความสนุกสนาน สร้างอรรถรสในการพูดคุย

หลักการภาษาลู

การที่จะเกิดภาษาลูต้องมีการผสมคำเพื่อให้เกิดภาษาลูขึ้น โดยมีหลักการผสมคําในภาษาลู 4 ข้อ หลัก ๆ ที่ผู้ใช้ภาษาลู เข้าใจโดยทั่วกัน ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 การผสมคําในภาษาลู

หลักการภาษาลู ข้อ 1 การผสมคําในภาษาลู

นําคําว่า “ลู” ไว้ด้านหน้าของคําที่ต้องการ หลังจากนั้นนํามาผวนกัน โดยต้องนําเสียงของ ตัวสะกดหรือวรรณยุกต์แที่อยู่ในคําเดิมมาเติมด้วยเพื่อให้เกิดความสวยงามของเสียง ตัวอย่างเช่น

Advertisement

  • คําว่า “อา” นํา “ลู” เติมข้างหน้าเป็น ลู – อา หลังจากนั้นนํามาผวนเป็น “ลา – อู”
  • คําว่า “เสื้อ” นํา “ลู” เติมข้างหน้าเป็น ลู – เสื้อ หลังจากนั้นนํามาผวนเป็น “เลื่อ – สู้”
  • คําว่า “น้ํา” นํา “ลู” เติมข้างหน้าเป็น ลู – น้ํา หลังจากนั้นนํามาผวนเป็น “ล้าม – นู้ม”
  • คําว่า “มาก” นํา “ลู” เติมข้างหน้าเป็น ลู – มาก หลังจากนั้นนํามาผวนเป็น “ลาก – มูก”
  • คําว่า “ดึก” นํา “ลู” เติมข้างหน้าเป็น ลู – ดึก หลังจากนั้นนํามาผวนเป็น “หลึก – ดุก” เป็นต้น

ข้อ 2 การผสมคําในภาษาลูกรณีเปลี่ยนเสียงพยัญชนะ

หลักการภาษาลู ข้อ 2 การผสมคําในภาษาลูกรณีเปลี่ยนเสียงพยัญชนะ

คําที่เป็น รอเรือ หรือ ลอลิง ที่เป็นพยัญชนะต้นอยู่แล้ว ต้องเปลี่ยน รอเรือ หรือ ลอลิง นั้น เป็น สอเสือ หรือ ซอโซ่ แทน เพื่อไม่ให้เสียงซ้ํากับคําว่า “ลู”

  • คําว่า “รัก” นํา “ลู” เติมข้างหน้าเป็น ลู – รัก เปลี่ยนเสียง ร เป็น ซ หลังจากนั้นนํามาผวนเป็น ซัก – รุก
  • คําว่า “รีบ” นํา “ลู” เติมข้างหน้าเป็น ลู – รีบ เปลี่ยนเสียง ร เป็น ซ หลังจากนั้นนํามาผวนเป็น ซีบ – รุบ
  • คําว่า “ร้อน” นํา “ลู” เติมข้างหน้าเป็น ลู – ร้อน เปลี่ยนเสียง ร เป็น ซ หลังจากนั้นนํามาผวน เป็น ซ้อน – ลูน
  • คําว่า “ลิง” นํา “ลู” เติมข้างหน้าเป็น ลู – ลิง เปลี่ยนเสียง ล เป็น ซ หลังจากนั้นนํามาผวนเป็น ซิง – ลุง
  • คําว่า “ลอก” นํา “ลู” เติมข้างหน้าเป็น ลู – ลอก เปลี่ยนเสียง ล เป็น ซ หลังจากนั้นนํามาผวน เป็น ซอก – ลูก เป็นต้น

ข้อ 3 การผสมคําในภาษาลู กรณีเปลี่ยนเสียงสระ

หลักการภาษาลู ข้อ 3 การผสมคําในภาษาลู กรณีเปลี่ยนเสียงสระ

คําที่เป็น สระอู ต้องเปลี่ยนเป็น สระแอ หรือ สระอีแทน เพื่อไม่ให้เสียงซ้ํากับคําว่า “ลู”

  • คําว่า “พูด” นํา “ลู” เติมข้างหน้าเป็น ลู – พูด เปลี่ยนเสียง อู เป็น แอ หรือ อี หลังจากนั้นนํามา ผวนเป็น ลูด – แพด, ลูด – พีด
  • คําว่า “ลูก” นํา “ลู” เติมข้างหน้าเป็น ลู – ลูก เปลี่ยนเสียง อู เป็น แอ หรือ อีหลังจากนั้นนํามา ผวนเป็น ซูก – แลก, ซูก – ลีก (เปลี่ยนเสียง ล เป็น ซ ตามข้อที่ 2)
  • คําว่า “จูบ” นํา “ลู” เติมข้างหน้าเป็น ลู – จูบ เปลี่ยนเสียง อู เป็น แอ หรือ อี หลังจากนั้นนํามา ผวนเป็น ว่า หลูบ – แจบ, หลูบ – จีบ
  • คําว่า “ฝูง” นํา “ลู” เติมข้างหน้าเป็น ลู – ฝูง เปลี่ยนเสียง อู เป็น แอ หรือ อีหลังจากนั้นนํามา ผวนเป็น หลูง – แฝง, หลูง – ฝีง
  • คําว่า “ปลูก” นํา “ลู” เติมข้างหน้าเป็น ลู – ปลูก เปลี่ยนเสียง อู เป็น แอ หรือ อีหลังจากนั้น นํามาผวนเป็น หลูก – แปลก, หลูก – ปลีก เป็นต้น

ข้อ 4 การผสมคําในภาษาลู กรณีคําหลายพยางค์

หลักการภาษาลู ข้อ 4 การผสมคําในภาษาลู กรณีคําหลายพยางค์

ในกรณีของคําที่ซับซ้อนหรือมีหลายพยางค์นั้น หลักการในการสร้างคํานั้น คือ แปลงให้ เป็นภาษาลูทีละพยางค์ ตัวอย่างเช่น

  • คําว่า “กะเทย” แยกพยางคแออกเป็น กะ / เทย นํา “ลู” เติมข้างหน้าของแต่ละพยางคแเป็น ลู – กะ ลู – เทย หลังจากนั้นนําแต่ละพยางคแมาผวนเป็น หละ – กุ เลย – ทูย
  • คําว่า “ข้อความ” แยกพยางคแออกเป็น ข้อ/ ความ นํา “ลู” เติมข้างหน้าของแต่ละพยางคแเป็น ลู – ข้อ ลู – ความ หลังจากนั้นนําแต่ละพยางคแมาผวนเป็น ล่อ – ขู้ ลาม – ควูม
  • คําว่า “ขอบคุณ” แยกพยางคแออกเป็น ขอบ / คุณ นํา “ลู” เติมข้างหน้าของแต่ละพยางคแเป็น ลู – ขอบ ลู – คุณ หลังจากนั้นนําแต่ละพยางคแมาผวนเป็น หลอบ – ขูบ ลุน – คิน
  • คําว่า “คิดถึง” แยกพยางคแออกเป็น คิด / ถึง นํา “ลู” เติมข้างหน้าของแต่ละพยางคแเป็น ลู – คิด ลู – ถึง หลังจากนั้นนําแต่ละพยางคแมาผวนเป็น ลิด – คุด หลึง – ถุง
  • คําว่า “แดกดัน” แยกพยางคแออกเป็น แดก / ดัน นํา “ลู” เติมข้างหน้าของแต่ละพยางคแเป็น ลู – แดก ลู – ดัน หลังจากนั้นนําแต่ละพยางคแมาผวนเป็น แหลก – ดูก ลัน – ดุน
  • คําว่า “รําคาญ” แยกพยางคแออกเป็น รํา / คาญ นํา “ลู” เติมข้างหน้าของแต่ละพยางคแเป็น ลู – รํา ลู – คาญ หลังจากนั้นนําแต่ละพยางคแมาผวนเป็น ซํา – รุม ลาน – คูน (เปลี่ยนเสียง ร เป็น ซ ตามข้อที่ 2)
  • คําว่า “สมน้ําหน้า” แยกพยางคแออกเป็น สม / น้ํา / หน้า นํา “ลู” เติมข้างหน้าของแต่ละพยางคแ เป็น ลู – สม ลู – น้ํา ลู – หน้า หลังจากนั้นนําแต่ละพยางคแมาผวนเป็น หลม – สุม ล้าม – นู้ม ล่า – นู่

ตัวอย่างภาษาลู

คำแปลภาษาลู
กดหลด-กุด
กรอบหลอบ-กูบ
กลมลม-กุม
กล้วยล่วย-กู้ย
กล่อมหล่อม-กุ่ม
กล้าล่า-กู้
กวนลวน-กูน
กวางลาง-กวูง
ก้างล่าง-กู้ง
การบ้านลาน-กูน ล่าน-บู้น
กินลิน-กุน
เก้งเล่ง-กู้ง
เกมเลม-กูม
เกย์เล-กู
เกลียดเหลียด-กูด
เกาเลา-กู
ขนหลน-ขุน
ขนุนหละ-ขุ หลุน-หนิน
ขวดหลวด-ขูด
ของหลอง-ขูง
ขันหลัน-ขุน
ขาวหลาว-ขูว
ข้าศึกล่า-ขู้ หลึก-สุก
เขินเหลิน-ขูน
คมลม-คุม
คะแนนหละ-ขุ แลน-นูน
คันลัน-คุน
เครียดเลียด-คูด
คลอดลอด-คูด
งงลง-งุง
งมงายลม-งุม ลาย-งูย
งูลู-งี
เงียบเลียบ-งูบ
เงือกเลือก-งูก
จําเลยลํา-จุม เซย-ลูย
จิกหลิก-จุก
จีบหลีบ-จูบ
จูบหลูบ-แจบ / หลูบ-จีบ
เจ๊งเล้ง-จุ๊ง
แจกแจงแหลก-จูก แลง-จูง
ชมลม-ชุม
ช่วยเหลือล่วย-ชู่ย เสือ-หลู
ชัดเจนลัด-ชุด เลน-จูน
ชิดลิด-ชุด
เชิญเลิน-ชูน
เชิดเลิด-ชูด
แชร์แล-ชู
ซ้อนล้อน-ชู้น
ซอยลอย-ซูย
ญาติลาด-ยูด
ดอกไม้หลอก-ดูก ล้าย-มู้ย
ดึกหลึก-ดุก
เด็กเหล็ก-ดุก
แดงแลง-ดูง
ตุ๊ดลุด-ติ๊ด
แต๊บแล๊บ-ตุ๊บ
แท้งแล้ง-ทู้ง
นกลก-นุก
น้อยล้อย-นู้ย
น่ารักล่า-นู่ ซัก-รุก
น้ําลายล้าม-นู้ม ซาย-ลูย
บ้าล่า-บู้
เบาเลา-บูว
เบื่อเหลื่อ-บู่
พ่อล่อ-พู่
พูดลูด-แพด / ลูด-พีด
แม่แล่-มู่
ยาวลาว-ยูว
ยิ้มลิ้ม-ยุ้ม
เยอะเลอะ-ยุ
ร้องไห้ซ้อง-ลู้ง ล่าย-หู้ย
รักซัก-รุก
รับซับ-รุบ
ร้ายซ้าย-รู้ย
รีดซีด-รูด
รุกซุก-แร็ก / ซุก-ริก
เร็วเซ็ว-รูว
แรงแซง-ลูง
แรดแซด-รูด
ลบหลู่ซบ-ลุบ สู่-แหล่ / ซบ-ลุบ สู่-หลี่
ลูกชายซูก-แลก ราย-ชูย/ ซูก-ลีก ราย-ชูย
ลูกสาวซูก-แลก หลาว-สูว / ซูก-ลีก หลาว-สูว
เล็กเซ็ก-ลุก
เลวเซว-ลูว
แล้วแต่แซ้ว-ลู้ว แหล่-ตู่
สงสารหลง-สุง หลาน-สูน
สมควรหลม-สุม ลวน-คูน
สวยหลวย-สูย
สวัสดีหละ-สุ หลัด-หวุด ลี-ดู / สะหลัด-หวุด-ลี-ดู
สะใจหละ-สุ ไล-จุย
หญิงหลิง-หยุง
หนักหลัก-หนุก
หล่อส่อ-หลู่
หอมหลอม-หูม
เหม็นเหล็น-หมุน
แหลมแสม-หลูม
ใหญ่ไหล่-หยุ่ย
ไหนไหล-หนุย
อร่อยหละ-อุ ส่อย-หลู่ย
อิจฉาหลิด-อุด หลา-ฉู
ดอกทองหลอก-ดูก ลอง-ทูง
กะหรี่หละ-กุ สี่-หรู่
ช้างน้อยล้าง-ชู้ง ล้อย-นู้ย
แมงดาแลง-มูง ลา-ดู
ชะนีละ-ชุ ลี-นู
ตอแหลลอ-ตู แส-หลู
ถั่วดําหลั่ว-ถุ่ว ลํา-ดุม
เยเล-ยู
ลําไยซํา-ลุม ไล-ยุย
เสือกเหลือก-สูก

ภาษาลู เป็นภาษาที่นิยมใช้ในกลุ่ม LGBTQ+ โดยใช้หลักการสลับตำแหน่งและผวนคำ เพื่อการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม หรือเพื่อไม่ให้คนอื่นรู้ความหมาย ภาษาลู มีประวัติมายาวนานกว่า 20 ปี และสืบทอดกันมาจากรุ่นต่อรุ่น ภาษาลู ยังช่วยสร้างความสนุกสนานและอรรถรสในการพูดคุย

ถ้าคุณอยากเรียนรู้ภาษาลู คุณสามารถเริ่มได้จากการเล่นคำกับ ‘คำควบกล้ำ’ แล้วเติมสระ ‘อู’ เข้าไปแทน ตัวอย่างเช่น ‘ลู+ป๊อบ’ แล้วเอาตัว ‘ล.ลิง’ ไปใส่ตรงสระและเสียงข้างหน้า ‘ล๊อบ-ปุ๊บ’ หรือคุณสามารถดูตัวอย่างการใช้ภาษาลูจากดาราที่รู้จักกันดี เช่น นุ่น วรนุช, สาวปันปัน สุทัตตา, ใหม่ ดาวิกา

ภาษาลู เป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์และเป็นเอกสิทธิ์ของกลุ่ม LGBTQ+ ถ้าคุณไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้ คุณควรใช้ภาษาลูอย่างเหมาะสมและเคารพผู้อื่น เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดหรือการโดนเม้าท์!

ข้อมูลอ้างอิง

sure.su.ac.th. “ลาภูลาษูซูแล : ภาษาลูกับการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มกะเทย” [online]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sure.su.ac.th/xmlui/bitstream/id/cc2b64d8-4cfb-4ec3-b851-4a72f24e8fe8/BA_Poonyaporn_Roopkean.pdf สืบค้น 19 กรกฎาคม 2565

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button