เรื่องน่าสนใจ

Pronouns (คำสรรพนาม) ความรู้เบื้องต้น!

ใช้เรียกแทนคำนาม เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือใช้เรียกแทนคำนามที่ผู้พูด หรือผู้เขียนได้กล่าวถึง ใช้แทนชื่อที่เข้าใจกันอยู่แล้ว ซึ่งประโยคสื่อสารต่าง ๆ ที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน ก็มักจะมีคำสรรพนามแทนบุคคลอยู่ด้วยเสมอ เพื่อเป็นการเลี่ยงการใช้คำนามเดิม ๆ ซ้ำอีก จะทำให้เนื้อความมีความสละสลวยยิ่งขึ้น

Pronoun (คําสรรพนามภาษาอังกฤษ) คือ

Pronoun (คําสรรพนามภาษาอังกฤษ) คือ

Pronoun (คำสรรพนาม) คือ คำที่ใช้แทนคำนามหรือนามวลี คำสรรพนามหมายถึงคำนามที่กล่าวถึงแล้วหรือคำนามที่ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อโดยเฉพาะ

คำสรรพนามที่พบบ่อยที่สุด คือ Personal Pronoun (บุรุษสรรพนาม) ซึ่งหมายถึงสรรพนามที่ใช้แทนบุคคลหรือสิ่งของในการพูดสนทนา มี 3 บุรุษ คือ

  • บุรุษที่ 1 คือ ตัวผู้พูด
  • บุรุษที่ 2 คือ ตัวผู้ฟัง
  • บุรุษที่ 3 คือ ผู้ที่พูดถึงหรือสิ่งที่พูดถึง

บุรุษสรรพนามสามารถทำหน้าที่เป็นประธานของคำกริยาหรือกรรมของคำกริยาหรือคำบุพบท “She likes him, but he loves her.”

Personal Pronoun ที่เป็นประธาน Personal Pronoun ที่เป็นกรรมความหมายการใช้
IMeผม, ฉัน, ดิฉันใช้แทนตัวผู้พูด
YouYouคุณ, พวกคุณใช้แทนตัวคู่สนทนา ใช้ได้ทั้งคู่สนทนาคนเดียวและหลายคน
HeHimเขาใช้แทนบุคคลอื่นที่เป็นเพศชาย
SheHerเธอใช้แทนบุคคลอื่นที่เป็นเพศหญิง
ItItมันใช้แทนสัตว์ สิ่งของ สิ่งที่เป็นนามธรรม
WeUsพวกเราใช้แทนกลุ่มของผู้พูด
TheyThemพวกเขา, พวกมันใช้แทนกลุ่มบุคคลอื่น กลุ่มสัตว์ กลุ่มสิ่งของ กลุ่มของสิ่งที่เป็นนามธรรม

Pronoun มีอะไรบ้าง

คําสรรพนาม หรือ Pronoun มี 7 ประเภทประกอบด้วย

Advertisement

  1. Personal Pronoun (บุรุษสรรพนาม) เช่น I, you, we, he , she ,it, they
  2. Possessive Pronoun (สรรพนามเจ้าของ) เช่น mine, yours, his, hers, its,theirs, ours
  3. Reflexive Pronouns (สรรพนามตนเอง) เป็นคำที่มี – self ลงท้าย เช่น myself, yourself,ourselves
  4. Definite Pronoun (หรือ Demonstrative Pronouns สรรพนามเจาะจง) เช่น this, that, these, those, one, such, the same
  5. Indefinite Pronoun (สรรพนามไม่เจาะจง) เช่น all, some, any, somebody, something, someone
  6. Interrogative Pronoun (สรรพนามคำถาม) เช่น Who, Which, What
  7. Relative pronoun (สรรพนามเชื่อมความ) เช่น who, which, that

คำสรรพนามภาษาไทย หมายถึง

คำสรรพนาม หมายถึง คำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงมาแล้ว เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำอีก เช่นคำว่า ฉัน เรา ดิฉัน กระผม กู คุณ ท่าน ใต้เท้า เขา มัน สิ่งใด ผู้ใด นี่ นั่น อะไร ใคร บ้าง เป็นต้น

คำสรรพนามแบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้

1. สรรพนามที่ใช้ในการพูด (บุรุษสรรพนาม)

สรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ถูกกล่าวถึง แบ่งออกได้ 3 ชนิด คือ

  • สรรพนามบุรุษที่ 1 คือ สรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด ได้แก่ ฉัน ผม เรา ข้าพเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า กระผม ดินฉัน อาตมา
  • สรรพนามบุรุษที่ 2 สรรพนามที่ใช้แทนผู้ฟัง ที่เราสนทนาด้วย ได้แก่ เขา มัน ท่าน เธอ แก
  • สรรพนามบุรุษที่ 3 สรรพนามที่ใช้แทนผู้ที่ถูกกล่าวถึง ได้แก่ เขา ท่าน พระองค์

2. สรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค (ประพันธสรรพนาม)

สรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่อยู่ข้างหน้า ใช้เมื่อต้องการจะกล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่ง และสามารถเชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน เช่น ผู้ชายที่นั่งในแท็กซี่ เป็นแฟนของฉัน ผู้หญิงที่เดินอยู่หน้าบ้านเป็นแม่ของฉัน

3. สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ (วิภาคสรรพนาม)

คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่อยู่ข้างหน้า เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเอ่ยซ้ำอีก และสามารถแสดงความหมายแยกออกเป็นส่วน ๆ ได้ ตัวอย่าง สัตว์ประเภทไหนบ้างที่เลี้ยงลูกด้วนม เด็กนักเรียนในห้องต่างแย่งกันตอบคำถาม

4. สรรพนามชี้เฉพาะ (นิยมสรรพนาม)

สรรพนามที่ใช้แทนนามชี้เฉพาะเจาะจง หรือบอกความใกล้ไกล ที่เป็นระยะทางให้ผู้พูดกับผู้ฟังเข้าใจกัน ได้แก่คำว่า เช่น นี่ นั่น โน่น นี้ นั้น โน้น

5. สรรพนามบอกความไม่เจาะจง (อนิยมสรรพนาม)

สรรพนามใช้แทนนามบอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจงที่แน่นอนลงไป ได้แก่ ใคร อะไร ที่ไหน ผู้ใด บางครั้งก็เป็นคำซ้ำ ๆ เช่น ใคร ๆ อะไร ๆ ไหน ๆ

6. สรรพนามที่เป็นคำถาม (ปฤจฉาสรรพนาม)

สรรพนามที่ใช้แทนนามเป็นการถามที่ต้องการคำตอบ ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ไหน ผู้ใด ตัวอย่าง อะไรวางอยู่บนโต๊ะ ไหนโทรศัพท์ของฉัน ใครหยิบขนมของฉันไป

7. สรรพนามที่เน้นตามความรู้สึกของผู้พูด

สรรพนามชนิดนี้ใช้หลักคำนามเพื่อบอกความรู้สึกของผู้พูดที่มีต่อบุคคล ที่กล่าวถึง ตัวอย่าง คุณพ่อท่านเป็นคนอารมณ์ร่าเริง สดใส (บอกความรู้สึกยกย่อง)

หน้าที่ของคำสรรพนาม

เป็นประธานของประโยค เช่น

  • “เขา” ไปโรงเรียน
  • “ใคร” ทำดินสอตกอยู่บนพื้น

ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค (ผู้ถูกกระทำ) เช่น

  • ครูจะตี “เธอ” ถ้าเธอไม่ทำการบ้าน
  • คุณช่วยเอา “นี่” ไปเก็บได้ไหม

ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มหรือส่วนสมบูรณ์ เช่น

  • กำนันคนใหม่ของตำบลนี้คือ”เขา”นั่นเอง
  • เขาเป็น “ใคร”

ใช้เชื่อมประโยคในประโยคความซ้อน เช่น

  • ครูชมเชยนักเรียน “ที่” ขยัน

ทำหน้าที่ขยายนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เพื่อเน้นการแสดงความรู้สึกของผู้พูด จะวางหลังคำนาม เช่น ฉันแวะไปเยี่ยมคุณปู่”ท่าน”มา

Advertisement

กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button