เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ท้อ หรือ ลูกท้อ มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ ว่า Prunus persica (L.) Stokes แต่เดิมใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus persica (L.) Batsch) จัดอยู่ในวงศ์กุหลาบ (ROSACEAE) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน เปลือกสีส้มอมชมพู มีขนอ่อน ๆ ทั่วผล เนื้อข้างในมีสีขาวและสีเหลือง มีกลิ่นหอม ๆ รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย
ลูกพีช
พีชเริ่มปลูกในไทยจากชาวเขาที่อพยพลงมาจากจีนได้นำเมล็ดลูกพีชจากจีนตอนล่างเข้ามา ต่อมาพีชเหล่านั้นได้กลายเป็นท้อพันธุ์พื้นเมืองที่พบทั่วไปบนพื้นที่สูงของประเทศไทย มีชื่อพันธุ์ว่า แปะมุงท้อ และ อ่างขางแดง ท้อพันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้มีผลขนาดเล็กเมื่อเทียบกับพันธุ์ต่างประเทศ ช่วงหลังได้มีการพัฒนาพันธุ์โดยนักวิชาการเกษตรโดยนำพีชพันธุ์ต่างประเทศที่มีผลขนาดใหญ่และให้ผลผลิตสูงเข้ามาปลูก ยังมีพีชที่โครงการหลวงได้ทําการศึกษาวิจัยในโครงการ การศึกษาวิจัยพืชเมืองหนาวเพื่อปลูกทดแทนฝิ่น ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่ ปี 2512 โดยใน ปี 2540 ได้เริ่มมีโครงการนําพันธุ์พีชจากต่างประเทศมาปลูกทดสอบเพื่อคัดเลือกพันธุ์ดีสําหรับประเทศไทย และสามารถคัดเลือกพีชสายพันธุ์ที่มีลักษณะดีเด่น ได้ 4 พันธุ์ คือ
- Earligrande มีรสชาติหวานนำ เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ จึงเป็นรสชาติที่ถูกปากคนไทย เหมาะรับประทานสด
นี้มีจะงอยที่ก้นผลเด่นชัด น้ำหนักผลประมาณ 150-250 กรัม - Tropic Beauty มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว เนื้อแน่นกรอบ เหมาะรับประทานสด ผลกลม ก้นผลไม่มีจะงอย น้ำหนักผลประมาณ 125-200 กรัม
- Jade เหมาะนำไปแปรรูป เช่น พีชลอยแก้ว แต่ก็สามารถรับประทานผลสดได้ มีผลค่อนข้างใหญ่ เมื่อสุกจะมีสีเหลืองทอง รสชาติหวานอมเปรี้ยว เนื้อแน่น ทรงผลค่อนข้างกลม น้ำหนักผลประมาณ 150-250 กรัม
4.อำพันอ่างขาง มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ผลกลม ก้นผลไม่มีจะงอย เนื้อสีเหลืองอำพัน ฉ่ำน้ำ ไม่เละ เหมาะรับประทานสด น้ำหนักผลประมาณ 125-200 กรัม
ทั้ง 4 สายพันธุ์ล้วนต้องการอากาศหนาวในระยะสั้น เหมาะแก่การเพาะปลูกในพื้นที่ทางเหนือของไทย พีชในโครงการหลวงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ใครอยากรับประทานพีชสดแนะนำให้หาซื้อตามร้านจำหน่ายของโครงการหลวงในช่วงเวลาดังกล่าว ถ้าอยากจะรับประทานพีชสายพันธุ์ต่างประเทศปัจจุบันก็มีแหล่งจำหน่ายเพิ่มมากขึ้นทั้งตามร้านที่จำหน่ายผลไม้ต่างประเทศ ตามเว็บไซต์ ตามเพจต่าง ๆ
ลักษณะของต้นลูกพีช (ต้นลูกท้อ)
- ลูกพีช (ต้นท้อ) จัดเป็นไม้เมืองหนาวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ในประเทศก็มีการปลูกท้อเช่นกัน ในพื้นที่ทางภาคเหนือที่มีอากาศเย็น ลักษณะของต้นท้อ เป็นไม้เมืองหนาวที่ขึ้นได้ดีใน- พื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 3,000 ฟุตขึ้นไป และมีอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 10 องศาเซลเซียส และทนแล้งได้ดี ท้อจัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบ
- ใบลูกพีช (ลูกท้อ) ลักษณะของใบเป็นไม้ใบเดี่ยว เรียงสลับ คล้ายรูปหอก
- ดอกลูกพีช (ลูกท้อ) ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุก กลีบดอก 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีสีขาว สีชมพู สีแดง
- ผลลูกพีช (ลูกท้อ) ลักษณะของผลเป็นผลสดเมล็ดเดี่ยว มีขนปกคลุมทั่วบริเวณผิว
ประโยชน์ของลูกพีช (ลูกท้อ)
นอกจากความโดดเด่นในเรื่องของกลิ่นและรสชาติ ลูกพีชยังเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์มากมาย มาดูกันว่าประโยชน์ของพีชนั้นมีอะไรบ้าง
ลดน้ำหนักและระบบขับถ่าย
รับประทานลูกพีชปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยป้องกันอาการท้องผูก ให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ผู้ใหญ่ควรรับประทานใยอาหารวันละ 25 กรัม โดยลูกพีชขนาดกลาง 1 ลูก ประกอบด้วยใยอาหารประมาณ 1.5-2 กรัม พรีไบโอติก ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ช่วยให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในลำไส้เจริญเติบโต จึงมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบขับถ่าย
เติมสุขภาพผิวให้แข็งแรง
- ลูกพีชอุดมไปด้วยโพลีฟีนอล มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ อย่างสารโพรแอนโทไซยานิดิน (Proanthocyanidins) สารสกัดจากผลไม้เมล็ดแข็งมักถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของอุตสาหกรรมอาหาร ทำยาและเวชภัณฑ์ ทั้งนำมาใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
- ลูกพีชสดมีน้ำถึง 85 เปอร์เซ็น อุดมไปด้วยเซราไมด์ช่วยรักษาความชุ่มชื้นไว้ในผิว งานวิจัยพบว่าการรับประทาน หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดกลูโคซิลเซราไมด์ (Glucosylceramide) ที่ได้จากลูกพีช ช่วยให้เกราะป้องกันผิวแข็งแรง ให้ผิวสามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ดี จึงช่วยให้ผิวเนียนนุ่มชุ่มชื้นยิ่งขึ้น
- ลูกพีชเป็นผลไม้ที่มีเบต้าแคโรทีน ซึ่งร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ มีคุณสมบัติช่วยปกป้องผิวจากการถูกทำลายจากแสงแดด งานวิจัยบางส่วนระบุว่า การรับประทานสารสกัดจากดอกพีช อย่างการดื่มชาดอกพีชหรือการรับประทานในรูปของอาหารเสริม มีส่วนช่วยลดการเกิดริ้วรอยของผิวจากการถูกทำลายจากรังสียูวี และลดการเสื่อมสลายของคอลลาเจนในผิวของที่ทดลองได้ แต่งานวิจัยดังกล่าวยังไม่ทดลองในมนุษย์
ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
โพลีฟีนอลสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกัน และยับยั้งความเสียหายของเซลล์จากอนุมูลอิสระ จึงช่วยลดโอกาสของการเกิดความผิดปกติ และโรคต่าง ๆ รวมไปถึงโรคมะเร็งด้วย จากการศึกษาพบว่าโพลีฟีนอลที่พบในผลไม้อย่างลูกพีชอาจมีคุณสมบัติป้องกันการเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งบางชนิดได้ งานวิจัยระบุว่า สารสกัดจากรากของต้นพีชถูกใช้ในการรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหารของแพทย์แผนจีน และอาจช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งตับในหลอดทดลองอีกด้วย สอดคล้องกับอีกงานวิจัยหนึ่งที่ทดลองในหนู พบว่าลูกพีชอาจช่วยกระตุ้นการเผาผลาญสารพิษและช่วยป้องกันความเสียหายของเนื้อเยื่อจากการได้รับสารนิโคตินในบุหรี่ได้
ลดความดันโลหิตและป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้นเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด เลือกรับประทานผัก ผลไม้อย่างลูกพีช อาหารที่หลากหลายและมีประโยชน์ในแต่ละวัน จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามิน เกลือแร่ และสารอาหารอื่ ๆ อย่างสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยให้สุขภาพของหัวใจแข็งแรง ผลการวิจัยพบว่า ลูกพีชอาจมีผลในการขยายหลอดเลือดและช่วยลดความดันโลหิตในหนูได้ นอกจากนี้ เมล็ดของลูกพีชยังนำมาสกัดเป็นน้ำมันที่มีฤทธิ์ลดไขมันไม่ดีและเพิ่มไขมันดีในเซลล์ทดลอง จึงอาจเป็นประโยชน์ในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ที่เกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดงจนหลอดเลือดอุดตัน สอดคล้องกับอีกงานวิจัยหนึ่งที่ระบุว่า สารพรูเนทิน (Prunetin) ที่พบในลูกพีชสามารถช่วยลดความดันในเลือดในหนู และอาจนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในยาเพื่อช่วยป้องกันหรือรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้ งานวิจัยนี้เป็นเพียงการทดลองในสัตว์ จึงต้องมีการทดลองในมนุษย์เพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าลูกพีชมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงและป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้จริง และลูกพีชอาจมีประโยชน์ในป้องกันและรักษาโรคอื่น ๆ
ประโยชน์ของสารสกัดลูกพีช
- ช่วยในการผลัดเซลล์ผิวเก่าออก
- ช่วยทำความสะอาดผิว
- ช่วยให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่ง
- ช่วยในเรื่องการมองเห็น
- ช่วยให้ผิวขาว กระจ่างใส เรียบเนียน
- ช่วยให้ผิวชุ่มชื้นไม่แห้งกร้าน
- ช่วยกระชับกล้ามเนื้อใบหน้า
- ช่วยป้องกันการหย่อยคล้อย
- ช่วยลบเลือนริ้วรอยและจุดด่างดำบนใบหน้า
โทษของลูกพีช
แม้จะมีความอุดมสมบูรณ์ของคุณสมบัติที่มีประโยชน์, ลูกพีชสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ นี้เกิดขึ้นกับการใช้ประมาทและมากเกินไป ความเข้มข้นสูงของน้ำตาลทำให้ทารกในครรภ์ไม่เป็นที่น่าพอใจมากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน คนที่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคภูมิแพ้ควรรักษาผลด้วยความถูกต้อง
หมวดหมู่ความเสี่ยงรวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคกระเพาะที่มีความเป็นกรดสูงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคท้องร่วงหรือเป็นโรคหอบหืด ความหลงใหลที่มากเกินไปกับผลไม้ที่นุ่มอาจทำให้เกิดความผิดหวังและการเสื่อมสภาพในการกำเริบของโรคเรื้อรังของระบบทางเดินอาหาร
ควรระวัง
การรับประทานลูกท้อหรือลูกพีชควรระวัง ผลจะมีขนอ่อน ๆ ปกคลุมอยู่ทั่วผล การสัมผัสโดยตรงอาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง และคันได้ ก่อนนำมารับประทานควรนำไปล้างให้สะอาด ให้ขนเหล่านั้นหลุดออกให้หมดก่อน