เป็นผลไม้สีเหลืองถึงแดง พืชในสกุล Diospyros จะมีหลายสปีชีส์ สปีชีส์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยมากที่สุดคือ D.kaki ในประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า คาขิ มีถิ่นกำเนิดจากภาคเหนือของจีน พบว่ามีการรับประทานพลับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น และถือเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า ต่อมาได้กระจายพันธุ์เข้าไปในญี่ปุ่น และกลายเป็นผลไม้ยอดนิยม พลับพันธุ์ที่นิยมปลูกในยุโรปเป็นสปีชีส์ D. virginia ซึ่งนำพันธุ์มาจากสหรัฐอเมริกา
ลูกพลับ สปีชี่ที่นิยมปลูกในประเทศไทยมากที่สุด ก็คือ สปีชีส์ Diospyros kaki ประเทศญี่ปุ่นจะเรียกว่า คาขิ หรือ พลับจีน D.KAKI มีถิ่นกำเนิดทางตอนเหนือของจีนและนิยมปลูกในประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลี และประเทศไทย
แบ่งตามรสชาติออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
- ลูกพลับหวาน เช่น พันธุ์ฟูยุ มีรสหวาน ผลสุกสีส้มอมเหลือง รับประทานส ๆ ได้
- ลูกพลับฝาด เช่น พันธุ์ซิชู พันธุ์ฮาชิยา จะมีรสฝาด เนื้อนิ่ม ผลสุกเนื้อสีส้มอมแดง ต้องนำมาผ่านกระบวนการลดความฝาดก่อนถึงจะรับประทานได้
ลักษณะต้นพลับ
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบสีเขียวคล้ายรูปหัวใจ ดอกสีเหลืองทรงคล้ายระฆัง ผลลูกพลับจะมีอยู่หลายรูปทรง ทั้งแบบกลม แบบกรวย กลมแบน ส่วนผลอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีเหลือง เนื้อแข็ง เป็นสีส้ม ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลประมาณ 8 เมล็ด
ลูกพลับที่ปลูกในประเทศไทย จะเป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูงได้ถึงประมาณ 10 เมตร มีใบสีเขียวเข้มคล้ายรูปหัวใจ ดอกจะคล้ายระฆัง ขนาด 2 – 2.5 เซนติเมตร สีขาวเหลือง ผลจะคล้ายลูกเต๋า ขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงที่ติดคงทน ผลสุกมีสีเหลืองอมส้ม มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน
ประโยชน์ของลูกพลับ
ลูกพลับแม้จะมีขนาดเล็ก แต่เต็มไปด้วยสารอาหาร ลูกพลับหนึ่งลูก (168 กรัม) ประกอบด้วย :
- แคลอรี่: 118
- คาร์โบไฮเดรต: 31 กรัม
- โปรตีน: 1 กรัม
- ไขมัน: 0.3 กรัม
- ไฟเบอร์: 6 กรัม
- วิตามินเอ: 55% ของ RDI
- วิตามินซี: 22% ของ RDI
- วิตามินอี: 6% ของ RDI
- วิตามินเค: 5% ของ RDI
- วิตามินบี 6 (ไพริดอกซิน): 8% ของ RDI
- โพแทสเซียม: 8% ของ RDI
- ทองแดง: 9% ของ RDI
- แมงกานีส: 30% ของ RDI
ลูกพลับมีวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญสูง รวมทั้งวิตามิน A, C และ B โพแทสเซียมและแมงกานีส และยังมีสารประกอบพืชที่เป็นประโยชน์ เช่น แทนนิน และฟลาโวนอยด์
ช่วยการมองเห็น
ในลูกพลับมีสารต้านอิสระสำคัญที่ชื่อ ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) สารต้านอนุมูลอิสระทั้งสองชนิดนี้เป็นสารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา ป้องกันความสูญเสียทางการมองเห็น ลูกพลับหนึ่งผลให้ปริมาณวิตามินเอถึง 55%
กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมอง
ลูกพลับอุดมไปด้วยสารไฟเซติน (Fisetin) ซึ่งเป็นสารอาหารในกลุ่มของสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) โดยสารไฟเซตินมีส่วนช่วยเสริมสร้างความจำ ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อระบบเส้นประสาทและสมอง รวมถึงมีส่วนช่วยในการป้องกันความเสื่อมสมรรถภาพทางสติปัญญาด้วย ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าสารไฟเซตินมีส่วนช่วยเพิ่มระดับเซโรโทนินในร่างกายอีกด้วย
บำรุงหัวใจ
ผักและผลไม้หลายชนิดมีส่วนช่วยเสริมสร้างสุขภาพหัวใจและช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ ลูกพลับก็เช่นเดียวกัน เพราะในลูกพลับมีสารอาหารสำคัญต่อหัวใจนั่นคือโพแทสเซียม ซึ่งหากร่างกายได้รับโพแทสเซียมอย่างเพียงพอก็จะช่วยลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่นำไปสู่โรคหัวใจ วิตามินซีและโฟเลตในลูกพลับเองก็มีส่วนช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและภาวะหัวใจวาย
ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
ผลไม้ที่อยู่ในกลุ่มสีส้มหรือสีเหลืองอย่างลูกพลับ จัดว่าเป็นกลุ่มอาหารที่ให้สารอาหารสำคัญอย่างเบต้าแคโรทีน (Beta Carotene) ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมและลดอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และเนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูงจึงดีต่อระบบขับถ่ายและระบบย่อยอาหาร ช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดีมากขึ้น จึงลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาในลำไส้อย่างมะเร็งลำไส้ใหญ่
ลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน
ไม่ใช่แค่เพียงการหมั่นออกกำลังกายและการดื่มนมเท่านั้นที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง การรับประทานผักและผลไม้ต่าง ๆ ก็ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพกระดูกเช่นกัน โดยเฉพาะกับลูกพลับซึ่งมีสาร โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) ที่ได้รับการค้นพบและวิจัยว่ามีส่วนช่วยลดโอกาสในการเป็นโรคกระดูกพรุนได้
สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ลูกพลับเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงมาก โดยในลูกพลับหนึ่งผลจะมีปริมาณวิตามินซีถึงร้อยละ 80 ของวิตามินซีที่ควรรับในแต่ละวัน การรับประทานลูกพลับจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ต้านทานต่อแบคทีเรีย ไวรัสและราที่ก่อให้เกิดโรคได้
ระบบการย่อยอาหาร
ลูกพลับประกอบไปด้วยเส้นใยอาหารประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณเส้นใยอาหารที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ดังนั้นการรับประทานลูกพลับจะช่วยให้ร่างกายขับถ่ายของเสียได้ดีขึ้นลดอาการท้องผูก
ชะลอความชรา
ลูกพลับอุดมไปด้วยวิตามินเอและสารประกอบพวกบีต้า แคโรทีน, ลูทีน (lutein), ไลโคพีน (lycopene) และคริปโทแซนทิน (cryptoxanthin) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ส่งผลในการป้องกันและชะลอสิ่งบ่งชี้ของความชรา เช่น รอยเหี่ยวย่น จุดกระ ความเหนื่อยล้า สายตายาวและกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น
ควบคุมระดับความดันเลือด
ลูกพลับอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติในการเป็นสารขยายหลอดลือดและลดแรงดันเลือด ส่งผลให้เกิดการไหลเวียนที่ดีของเลือดและป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
เราสามารถนำเปลือกของลูกพลับมาทานได้ เนื่องจากพบว่าประโยชน์ของลูกพลับส่วนเปลือกมีสารสำคัญหลายชนิด เช่น
- Vitamin C ในส่วนเปลือกสูงกว่าเลมอนถึง 2 เท่าซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน บรรเทาอาการเหนื่อยล้า ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ผิวพรรณดูสวยงาม ชุ่มชื้น ป้องกันการเกิดฝ้า และสิว เป็นหนึ่งในอาหารและวิตามินเสริมเพื่อความงาม
- Beta carotine ปริมาณเท่ากับฟักทองโดยเปลี่ยนเป็นวิตามิน A ทำให้มีส่วนช่วยในการมองเห็น สร้างภูมิคุ้มกัน และยังทำให้เล็บ ผม ผิวมีสุขภาพดี
- Potassium ช่วยในการลดความดันโลหิต ขจัดโซเดียม (Na) อันเป็นสาเหตุของอาการบวมน้ำในร่างกาย
- Pectin เส้นใยอาหารที่มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลของลำไส้ รวมถึงช่วยดูดซับคลอเรสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีของร่างกาย
- Tannin สารที่ได้จากรสฝาดซึ่งมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และยังช่วยในแก้อาการเมาค้างได้อีกด้วย
ก่อนจะนำเปลือกมารับประทานควรล้างทำความสะอาดแช่ในน้ำอุ่น 1-2 นาที หรือนำไปล้างด้วยเบกกิ้งโซดาโดยแช่ไว้ประมาณ 1 นาที ตามด้วยการล้างด้วยน้ำสะอาด และสามารถล้างด้วยน้ำส้มสายชูโดยการนำลูกพลับไปแช่ประมาณ 1 นาทีก่อนจะนำไปปอกเปลือกเพื่อช่วยในการกำจัดยาฆ่าแมลง และสารเคลือบผิว (Wax)
วิธีเลือกลูกพลับให้อร่อย
เลือกลูกพลับที่มีผลอวบ มีผิวเรียบเนียน เป็นเงาวาว ไม่มีรอยแตกหรือรอยช้ำ
หากจะรับประทานลูกพลับทันที หรือกินภายใน 1-2 วัน ควรเลือกลูกพลับที่สุกแล้ว เพราะลูกพลับที่ยังไม่สุกอาจจำเป็นต้องใช้เวลาอีก 2-3 วัน กว่าที่ลูกพลับจะสุกพร้อมรับประทาน ถ้าซื้อลูกพลับที่ยังไม่สุกมา และต้องการทำให้สุก สามารถเก็บลูกพลับไว้ในอุณหภูมิห้องได้เลย
โดยนำลูกพลับใส่ไว้ในถุงกระดาษที่ปิดมิดชิด โดยทั่วไปลูกพลับจะมีสีส้มและสีเหลือง ลูกพลับที่สุกแล้วมีรสชาติหวานกรอบ คือแบบสีส้ม ส่วนสีเหลืองนั้นเนื้อในจะฝาด ฉะนั้นเมื่อเลือกติดมือมาแล้วควรบ่มไว้สัก 1-2 วัน ให้เป็นสีส้มสุกก่อนค่อยกิน จะได้รสชาติที่หวานกรอบอร่อย แต่ถ้าบ่มไว้นานเกินไป ลูกพลับจะนิ่มและเละได้
เคล็ดลับแก้ลูกพลับให้หายฝาด
- แช่ในน้ำปูนใส
- บ่มด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์
- บรรจุสูญญากาศ
เมื่อลูกพลับผ่านการทำให้หายฝาดแล้วจะกลับมากรอบหวานอร่อย
จะให้ลูกพลับมีความหวานและกรอบนั้น แนะนำให้ใช้ถุงพลาสติก หรือกระดาษห่อ หรือบ่มไว้ประมาน 1-2 วัน หรือวางไว้ในที่มีอากาศท่ายเท จะทำให้ลูกพลับหวานกรอบและน่ากิน นอกจากจะนำลูกพลับมากินเป็นผลไม้สด ๆ แล้ว ยังทำเป็นลูกพลับตากแห้ง ลูกพลับเชื่อม ทำน้ำลูกพลับได้ นำใบมาชงดื่มเป็นน้ำชาได้ลดความดัน ช่วยระบาย และแก้อาการนอนไม่หลับ
ข้อควรระวังในการรับประทานลูกพลับ
ต้องปรึกษาแพทย์ให้แน่ใจว่าตนเองไม่มีอาการแพ้ลูกพลับ หากมีอาการแพ้ที่รุนแรงอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ในกรณีที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง หากมีอาการทางสุขภาพที่เกี่ยวกับช่องท้อง กระเพาะอาหาร หรือมีการผ่าตัดที่เกี่ยวเนื่องกับช่องท้องหรือกระเพาะอาหาร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานลูกพลับไปก่อนจนกว่าจะหายดี เนื่องจากอาจเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาการอุดตันในลำไส้ได้ และควรล้างลูกพลับก่อนนำมารับประทานทุกครั้ง หากนำไปแช่ตู้เย็นควรเก็บลูกพลับให้ห่างจากอาหารประเภทอื่น เช่น เนื้อสัตว์ หรือปลา เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของอาหาร หรืออาจทำให้กลิ่นของอาหารผิดเพี้ยนไป
ทิ้งท้าย
ลูกพลับเป็นผลไม้ที่มีรสหวานและมีประโยชน์หลากหลาย ซึ่งเต็มไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ไฟเบอร์ และสารประกอบจากพืชที่เป็นประโยชน์ ยิ่งไปกว่านั้น ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพของหัวใจ ลดการอักเสบ สนับสนุนการมองเห็นที่แข็งแรง และทำให้ระบบย่อยอาหารของคุณแข็งแรง