กีฬาแชร์บอล (Chairball) หลายคนก็คงอยากรู้จักกับประวัติกีฬาแชร์บอล และกฏกติกากีฬาแชร์บอล ให้มากขึ้นเพื่อความสนุกในการชม และเชียร์เวลามีการแข่งขัน
ประวัติกีฬาแชร์บอล
ผู้ที่คิดค้นกีฬาแชร์บอลชึ้นมาคือ พันเอกมงคล พรหมสาขา ณ สกลนคร และได้มีการพัฒนาขึ้นมาตามลำดับ กีฬาแชร์บอลเป็นกีฬาพื้นฐานของกีฬาหลาย ๆ ชนิด เช่น บาสเกตบอล แฮนด์บอล และเนตบอล เป็นกีฬาที่เล่นง่าย ไม่จำกัดเพศ และสถานที่เล่น อีกทั้งอุปกรณ์ในการเล่นสามารถนำวัสดุต่าง ๆ รอบตัวมาดัดแปลงเพื่อความเหมาะสมได้
โดยจุดประสงค์ของกีฬาแชร์บอล คือ ผู้เล่นแต่ละฝ่ายช่วยกันรับส่งลูกบอลให้ผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน นำลูกบอลผ่านฝ่ายตรงข้ามโยนลงไปในตะกร้าของฝ่ายตนเองที่ยืนรอรับอยู่ข้างหน้า(ด้านหลังของฝ่ายตรงข้าม) โดยโยนให้เข้าตะกร้าให้มากที่สุด และในทางตรงกันข้ามอีกฝ่ายก็จะต้องป้องกันไม่ให้ลูกบอลส่งข้ามไปเข้าตะกร้าเช่นกัน
ปัจจุบันกีฬาแชร์บอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย ไม่เพียงแต่เล่นหรือแข่งขันภายในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเท่านั้น หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนต่างก็ให้ความสนใจนิยมเล่นกัน และมีการแข่งขันทั้งภายในหน่วยงานหรือระหว่างหน่วยงาน เนื่องจากกีฬาแชร์บอลเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เชื่อมความสามัคคีระหว่างกันได้เป็นอย่างดี
วิธีการเล่นแชร์บอล
การเล่นแชร์บอลประกอบด้วยผู้เล่น 2 ทีม ทีมละ 7 คน ตัวสำรอง 5 คน การเล่นแชร์บอล ไม่ได้มีตำแหน่งที่ชัดเจนเหมือนฟุตบอล หรือบาสเกตบอล เนื่องจากสนามแชร์บอลค่อนข้างเล็ก ผู้เล่นในสนามจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ตลอดเวลา ยกเว้นสองตำแหน่งที่ไม่เปลี่ยนกันมาก คือ ผู้เล่นที่ถือตะกร้า และผู้เล่นที่ป้องกันตะกร้า โดยมีชื่อเรียกตำแหน่งต่าง และการยืนตำแหน่งดังนี้
- ผู้ป้องกันตะกร้า มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ลูกลงตะกร้า ผู้เล่นตำแหน่งนี้จะต้องรูปร่างสูง และมีทักษะการกระโดดที่ดี กระโดดได้สูง เพื่อจะทำ ให้ได้เปรียบในการป้องกัน
- กองหลังด้านซ้ายและขวา มีหน้าที่หลักในการป้องกันการทำ ประตูของฝ่ายตรงข้ามและเชื่อมเกมระหว่างผู้ป้องกันตะกร้ากับกองกลางหรือกองหน้า ผู้เล่นตำแหน่งนี้จะต้องรูปร่างสูง
- กองกลาง มีหน้าที่เชื่อมเกมระหว่างกองหลังกับกองหน้าจะต้องเป็นผู้เล่นที่มีความคล่องตัวสูง รวดเร็ว ว่องไว มีทักษะการรับ-ส่งบอลที่ดีสามารถทำ ประตูระยะไกลได้ดี
- กองหน้าด้านซ้าย และขวา มีหน้าที่ทำ ประตู รูปร่างได้ทั้งตัวเล็ก และตัวสูง แต่ต้องเป็นผู้เล่นที่มีทักษะการยิงประตูที่ดี แม่นยำ ยิงประตูระยะใกล้ และระยะไกลได้ดี
- ผู้ถือตะกร้า มีหน้าที่ถือตะกร้าเพื่อรับบอลจากเพื่อนร่วมทีมโดยจะต้องยืนอยู่บนเก้าอี้ตลอดเวลา
กฎกติกาแชร์บอล
กติกาของผู้ป้องกันตะกร้า
- ผู้ป้องกันตะกร้าเพียงคนเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าไปในเขตป้องกันตะกร้าได้
- ผู้ป้องกันตะกร้าสามารถเคลื่อนที่ไปในเขตป้องกันตะกร้าพร้อมกับลูกบอลไดเในเวลา 3 วินาที
- ผู้ป้องกันตะกร้าสามารถออกมาร่วมเล่นในสนามแข่งขันได้ แต่ต้องปฏิบัติตนเหมือนกับผู้เล่นในสนามทั่ว ๆ ไป
- หลังจากลูกบอลลงตะกร้าจากการยิงประตู ให้ผู้ป้องกันตะกร้าส่งบอลจากแนวเส้นหลังของสนามเท่านั้น
กติกาของผู้ถือตะกร้า
- ต้องอยู่บนเก้าอี้พร้อมกับถือตะกร้า ตลอดเวลา
- สามารถเคลื่อนไหวตะกร้าได้ทุกลักษณะ
- ผู้ถือตะกร้าต้องใช้ตะกร้ารับลูกบอล จากการยิงประตูเท่านั้น
- สามารถช้อนลูกบอลขณะกลิ้งอยู่ในสนาม โดยต้องไม่ตกจากเก้าอี้ หรือมีส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายสัมผัสพื้นสนาม
กติกาของผู้เล่น
- ผู้เล่นสามารถ จับ ตี ปัด กลิ้ง ส่ง หรือ ขว้างลูกบอลด้วยมือ แขน ศีรษะ หรือลำตัวเหนือเอวขึ้นไป
- สามารถครอบครองลูกบอลหรือกด ลูกบอลที่อยู่บนพื้นสนาม หรือโยน ลูกบอลขึ้นไปในอากาศได้ โดยใช้เวลาไม่เกิน 3 วินาท
- ในกรณีที่ผู้เล่นถูกป้องกันแบบประชิด ผู้เล่นจะต้องส่งบอลภายในเวลา 3 วินาที
- ถือลูกบอล และเคลื่อนไหวไปมาได้ ด้วยการหมุนตัวโดยมีเท้าหลัก
ข้อห้ามของผู้ป้องกันตะกร้า
- ทำให้ลูกบอลออกเส้นหลัง
- นำลูกบอลจากสนามนอกเขตป้องกันตะกร้า เข้าไปในเขตป้องกันตะกร้า
- ขณะที่ลูกบอลกำลังลอยอยู่ในทิศทางของการยิงประตูเหนือตะกร้า ผู้ป้องกันตะกร้าปัดโดนตะกร้า หรือสัมผัสตัวผู้ถือตะกร้าซึ่งผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าการกระทำนั้นทำให้บอลไม่ลงตะกร้า ผู้ตัดสินจะให้คะแนนเป็นของผู้หญิงประตู
ข้อห้ามของผู้ถือตะกร้า
- ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมเล่นกับผู้เล่นในสนาม ขณะกำลังแข่งขัน
- ห้ามใช้ตะกร้าหรือส่วนหนึ่งส่วนใด ของร่างกาย กีดกันการป้องกันของ ผู้ป้องกันตะกร้า
- ห้ามใช้มือหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เพื่อประโยชน์ในการรับลูก และต้องทรงตัวอยู่บนเก้าอี้ได้อย่างมั่นคง
ข้อห้ามของผู้เล่น
- ห้ามผู้เล่นกระโดดยิงประตู หรือเปลี่ยน เท้าหลัก ขณะยิงประตู (ส่งข้าง)
- เจตนาพุ่งตัวลงเพื่อครอบครองลูกบอล (ส่งข้าง)
- เล่นลูกบอลด้วยส่วนหนึ่งส่วนใด ตั้งแต่เอวลงไป (ส่งข้าง)
- ยื่นลูกบอลให้เพื่อนร่วมทีมด้วยมือต่อมือ (ส่งข้าง)
- ทุบ ตบ ตี ลูกบอลจากมือคู่ต่อสู้ (บันทึกฟาล์ว, ส่งข้าง) ดึง ดัน ชก ชน เตะ คู่ต่อสู้ทุกลักษณะ (บันทึกฟาล์ว, ส่งข้าง) ถ้าเป็นการฟาล์วที่รุนแรงผู้ตัดสินสามารถตัดสิทธิ์ให้ออก จากการแข่งขัน
การได้คะแนน
- จะนับคะแนน เมื่อผู้ยิงประตูมีเท้าหลักติดอยู่กับพื้น หรือมีทั้งสองเท้าติดอยู่กับพื้น และบอลได้ลงตะกร้า โดยผู้ถือตะกร้าต้องทรงตัวอยู่บนเก้าอี้อย่างมั่นคง
- ได้คะแนนเมื่อบอลกลิ้งอยู่ในเขตผู้ป้องกันตะกร้า และผู้ถือตะกร้าสามารถใช้ตะกร้าช้อนบอลให้อยู่ในตะกร้าไว้ได้
- ผู้เล่นฝ่ายป้องกันพยายามป้องกันโดยผิดกติกา ถ้าลูกบอลลงตะกร้า ให้นับว่าได้คะแนน
- คะแนนที่ได้จากการยิงประตู มีค่า 2 คะแนน
- คะแนนที่ได้จากการยิงโทษ มีค่าครั้งละ 1 คะแนน
- ฝ่ายที่ทำคะแนนได้มากกว่าเป็นฝ่ายชนะในการแข่งขัน
เวลาการแข่งขัน
เวลาการแข่งขัน แบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง โดยกำ หนดตามอายุของผู้แข่งขันดังนี้
- อายุไม่เกิน 12 ปี ครึ่งละ 15 นาที พักระหว่างครึ่ง 5 นาที
- อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ครึ่งละ 20 นาที พักระหว่างครึ่ง 5 นาที
- เวลานอก ให้แต่ละทีมขอเวลานอกได้ครึ่งเวลาละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที
ประโยชน์ของแชร์บอล
- ฝึกทักษะพื้นฐานของการเล่นกีฬาหลายชนิดที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายบวกกับความแม่นยำในการโยนบอล เช่น บาสเกตบอล, แฮนด์บอล เป็นต้น
- ฝึกสมาธิให้เป็นคนคิดเร็วทำเร็ว เนื่องจากการเล่นกีฬาประเภทนี้จะมีเวลาแค่ 3 วินาทีเท่านั้นเมื่อลูกมาถึงมือ หากคิดช้าก็จะฟาล์วและเปลี่ยนฝั่งครองบอลทันที
- สร้างความสามัคคีในหมู่คณะของตนเอง เนื่องจากต้องรู้ว่าจะเล่นกันเป็นทีมอย่างไรเพื่อให้ชนะและประสบความสำเร็จได้
ทักษะการเล่นแชร์บอล
ทักษะพื้นฐานเบื้องต้น เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากสำ หรับทุกชนิดกีฬาเพราะเป็นพื้นฐานที่จำ เป็นที่จะพัฒนาไปสู่ทักษะในขั้นสูงที่ต่อไป ซึ่งต้องใช้เวลาในการฝึกฝนจนถูกต้อง และชำ นาญในกีฬาแชร์บอลมีทักษะพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญคือ
- ทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน
- ทักษะการสร้างความคุ้นเคยกับลูกบอล
- ทักษะการรับและส่งบอลสองมือระดับอก
- ทักษะการรับและส่งบอลสองมือเหนือศีรษะ
- ทักษะการส่งบอลมือเดียวเหนือไหล่
- ทักษะการส่งบอลสองมือด้านล่าง
- ทักษะการส่งบอลสองมือกระดอนพื้น
- ทักษะรับและส่งบอลสองคนเคลื่อนที่
ทิ้งท้าย
ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลคร่าว ๆ ของกีฬาแชร์บอล หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจกฏกติกา และประวัติแชร์บอลกันมากขึ้น