เคยได้ยินเรื่องราวของท้าวสุรนารี ผู้หญิงผู้กล้าหาญที่เป็นตำนานหรือไม่? ถ้าคุณอยากทราบเกี่ยวกับชีวิตและการกระทำของท้าวสุรนารี ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีพระคุณแก่ชาติ คุณไม่ควรพลาดบทความนี้เลย!
ในบทความนี้ เราจะบอกเล่าเรื่องราวของท้าวสุรนารี (2314-2395) ซึ่งเป็นคำนำหน้าที่ได้รับจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า หรือ พระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว และมีชื่อเดิมว่า คุณหญิงโม เป็นภรรยาของผู้ว่าการเมืองนครราชสีมา (โคราช) ซึ่งเป็นจังหวัดสำคัญในการปกครองและควบคุมแผ่นดินล้านนาของสยาม
ท้าวสุรนารีได้แสดงความกล้าหาญและสติปัญญาในการต่อต้านการบุกโจมตีของพม่าและล้านช้าง เมื่อปี 1826 โดยการส่งกำลังช่วยให้ผู้ว่าการเมืองโคราชหลบหนีได้ และการสะกดใจและกระตุ้นให้ชาวโคราชต่อสู้กับศัตรู จนสำเร็จในการป้องกันแผ่นดินได้อย่างยิ่งใหญ่ ถ้าคุณอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับท้าวสุรนารี เชิญติดตามบทความของเราได้เลย!
ประวัติย่าโม
ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า “โม” (แปลว่า ใหญ่มาก) หรือท้าวมะโหโรง เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกา 2314 มีนิวาสสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แป้นาผล ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ จุก ต่อมา
เมื่อปี 2339 โม เมื่ออายุได้ 25 ปี ได้แต่งงานสมรสกับนายทองคำขาว พนักงานกรมการเมืองนครราชสีมา ต่อมานายทองคำขาว ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระภักดีสุริยเดช” ตำแหน่งรองปลัดเมืองนครราชสีมา นางโม จึงได้เป็น คุณนายโม และต่อมา “พระภักดีสุริยเดช” ได้เลื่อนเป็น “พระยาสุริยเดช” ตำแหน่งปลัดเมืองนครราชสีมา คุณนายโมจึงได้เป็น คุณหญิงโม ชาวเมืองนครราชสีมาเรียกท่านทั้งสองเป็นสามัญว่า “คุณหญิงโม” และ “พระยาปลัดทองคำ” ท่านเป็นหมันไม่มีทายาทสืบสายโลหิต ชาวเมืองนครราชสีมาทั้งหลายจึงพากันเรียกแทนตัวคุณหญิงโมว่า “แม่” มีผู้มาฝากตัวเป็นลูกหลานกับคุณหญิงโมอยู่มาก ซึ่งเป็นกำลังและอำนาจส่งเสริมคุณหญิงโมให้ทำการใด ๆ ได้สำเร็จเสมอ หนึ่งในลูกหลานคนสำคัญที่มีส่วนร่วมกับคุณหญิงโม เข้ากอบกู้เมืองนครราชสีมาจากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ คือ นางสาวบุญเหลือ
ท้าวสุรนารีเป็นคนมีสติปัญญาหลักแหลม เล่นหมากรุกเก่ง มีความชำนาญในการขี่ช้าง ขี่ม้า มีม้าตัวโปรดสีดำ และมักจะพาลูกหลานไปทำบุญที่วัดสระแก้วเป็นประจำเสมอ ท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือนเมษายน 2395 (เดือน 5 ปีชวด จัตวาศก จศ. 1214) สิริรวมอายุได้ 81 ปี
อนุสาวรีย์ย่าโม (ท้าวสุรนารี)
อนุสาวรีย์ย่าโม (ท้าวสุรนารี) ตั้งอยู่ในทำเลกลางเมืองเป็นจุดท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของโคราช อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำสูง 185 เซนติเมตร หนัก 325 กิโลกรัม ประดิษฐานอยู่บนไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองสูง 250 เซนติเมตร หันหน้าไปทาง ด้านทิศตะวันตก ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร ภายในบรรจุอัฐิของท้าวสุรนารีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีหรือย่าโมของชาวโคราช ถือเป็นอนุสาวรีย์ที่ สร้างขึ้นมาเพื่อระลึกถึงและยกย่องคุณงามความดีของวีรสตรีสามัญชนคนแรกของประเทศท้าวสุรนารี หรือย่าโมที่ชาวโคราช เรียกขานกันอย่างคุ้นเคยท่านเป็นวีรสตรีในประวัติศาสตร์ที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมือง จึงเป็น บุคคลที่ชาวโคราช ภาคภูมิใจและเคารพบูชา ย่าโมกลายเป็นสัญลักษณ์ของชาวโคราชกระทั่งเรียกชื่อจังหวัดนี้ว่า “เมืองย่าโม”
ชาวโคราชมักจะมาบนบานศาลกล่าวขอสิ่งต่าง ๆ จากย่าโม เช่นขอให้มีงานทำ ขอให้มีลูก เมื่อสมประสงค์แล้วก็จะแก้บน ด้วยสิ่งของ ที่กล่าวไว้ โดยเฉพาะการบนด้วยสิ่งที่ย่าโมโปรดปรานคือ เพลงโคราช ซึ่งเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ ย่าโมโปรดปรานเพลงโคราช มากที่สุดเพลงโคราชถือเป็นเพลงพื้นเมืองที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ต้องอาศัยไหวพริบ ปฏิภาณของผู้เล่น เพลงโคราช มีท่วงทำนองการขับร้อง สัมผัสเป็นภาษาพื้นบ้าน (ไทยโคราช) และลีลาท่ารำประกอบทั้งรำช้าและรำเร็ว ที่สำคัญคือ เพลงโคราช ไม่มีเครื่องดนตรีประกอบในการเล่น เนื้อหาของเพลงโคราชขึ้นอยู่กับโอกาสที่จะเล่น และบางครั้งก็แล้วแต่เจ้าภาพที่หา เพลงโคราช ไปเล่นเป็นผู้กำหนดว่าจะให้เล่นเรื่องอะไร ถือว่าเพลงโคราชเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ที่สะท้อนให้ เห็นถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของผู้คนให้อนุชนรุ่นหลังได้อนุรักษ์และสืบสานกันต่อไป เวลาประชาชนมาบนบานศาลกล่าวจึงมักบน ด้วยเพลงโคราช จากฝีปากพ่อเพลงแม่เพลงโคราช บริเวณศาลาไม้หลังย่อมใกล้ ๆ อนุสาวรีย์ ย่านอนุสาวรีย์ย่าโม จึงกลายเป็น ย่านธุรกิจที่คึกคัก มีทั้งโรงแรมที่พัก รัานอาหาร ตลาดขายของที่ระลึกไม่ว่าจะเป็นผ้าไหม หรือของกินยี่ห้อดังที่ติดป้าย ชวนชิมของ นักชิมมืออาชีพตั้งอยู่บริเวณหน้าประตูชุมพล
ในทุกปี ในช่วงระหว่างวันที่ 23 มีนาคม – 3 เมษายน จะมีการจัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะของ ท้าวสุรนารีขึ้นเพื่อรำลึกถึง ความกล้าหาญในวีรกรรมครั้งนั้น โดยมีการบวงสรวงอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พิธีจุดพลุสี่มุมเมือง ซึ่งมีการเริ่มต้นครั้งแรกในปี 2477 นอกจากนี้ในงานยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรม การออกร้าน จัดนิทรรศการของหน่วยงานราชการและเอกชน รวมทั้งกิจกรรมบันเทิง ที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในแต่ละวัน
นอกจากนี้สิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อมาโคราช คือต้องลอดซุ้มประตูชุมพลที่อยู่หลังอนุสาวรีย์ เชื่อกันว่าหาลอดประตูนี้ 1 ครั้ง จะได้กลับ มาโคราชอีกในไม่ช้า ถ้าลอด 2 ครั้งจะได้ทำงานหรือมาอยู่ที่โคราช แต่ถ้าลอดถึง 3 ครั้งก็จะได้คู่ครองเป็นคนโคราช ประตูชุมพล ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองนครราชสีมามีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบด้วยคูน้ำและกำแพง มีการสร้าง ประตูเมือง 4 ประตู โดยปัจจุบันคงเหลือแต่ประตูชุมพลทางทิศตะวันตกของเมืองเท่านั้นที่เป็นประตูเดิม ส่วนอีกสามประตูคือ ประตูพลล้านด้านทิศตะวันออก ประตูพลแสนหรือประตูน้ำด้านทิศเหนือ และประตูชัยณรงค์หรือประตูผีด้านทิศใต้ ได้มีการสร้างขึ้น ใหม่แทนประตูเดิมความพิเศษของประตูชุมพล คือ ตรงเหนือช่องประตูจะมีเรือนไม้หลังเล็ก ๆ เป็นเรือนแบบไทยมีหลังคามุง กระเบื้อง ประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา เรียกว่า “หอรบ” เอาไว้สำหรับบัญชาการรบ ส่วนของกำแพงที่ต่อไปทั้งสองข้างส่วนบน ทำเป็น รูปใบเสมา ใต้ใบเสมาเจาะช่องเป็นรูปกากบาท เพื่อใช้ลอบดูข้าศึกด้านนอก และมีบันไดขึ้นหอรบ กำแพงเมืองนี้แต่เดิมได้สร้าง ล้อมรอบเมืองโคราชโดย มีคูน้ำคู่ขนานกันไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นปราการอันแข็งแกร่ง เพื่อปกป้องเมืองโคราชจากข้าศึก ศัตรูมาหลายยุคหลายสมัย
บนย่าโมต้องใช้อะไรบ้าง
- ผลไม้
- ดอกไม้
- หมากพลู
- ผ้าแพร 7 สี
- ทองคำเปลว
- ธูปเทียน
คาถาย่าโม
ตั้ง นะโม 3 จบ
โอมพรัมมะ พรัมมะ นะโมมะ
นะโม ธัมโม ธัมโมนะ นะมะ
มะอาท้าวสุรนารี โมโมนะ
(สวด 3 จบ)
ตั้ง นะโม 3 จบ
พุทธังโหม ธัมมังโหม สังฆังล้อม
อันตรายาวินาศสันติ
(สวด 3 จบ)
เคล็ดการไหว้ขอพรจากย่าโม
- หากปรารถนาสิ่งใด ให้ตั้งจิตแน่วแน่ ขอในสิ่งที่ไม่ผิดศีลธรรม และให้กล่าวว่าขอพร ไม่ควรใช้คำว่าบนตรง ๆ
- เชื่อกันว่าย่าโมท่านโปรดปราน “เพลงโคราช” ซึ่งเป็นเพลงพื้นเมืองที่ใช้ภาษาไทยโคราช มีท่วงทำนองการขับร้องที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถติดต่อว่าจ้างพ่อเพลงแม่เพลงได้ที่บริเวณศาลาไม้ใกล้ ๆ กับอนุเสาวรีย์
- ควรเดินลอดประตูชุมพล ที่อยู่ด้านหลังอนุเสาวรีย์ เพราะเชื่อกันว่าลอดแล้วจะได้กลับมาที่เมืองโคราชอีก เป็นเคล็ดว่าพรของเราจะสมหวัง ได้กลับมาไหว้ย่าโมอีก โดยเชื่อกันว่า ลอด 1 ครั้ง จะได้กลับมาเยือนโคราชอีก ลอด 2 ครั้ง จะได้มาทำงานที่โคราช และลอด 3 ครั้ง จะได้มีคู่ครองเป็นคนโคราช
- หลายคนเชื่อกันว่าควรมาขอพรและตำหมากสดถวายย่าโมวันพุธช่วง 3 ทุ่มเป็นต้นไป ตามกระแสจากรายการหนึ่ง แต่แท้จริงแล้วสามารถมากราบไหว้ขอพรท่านในเวลาอื่น ๆ ได้เช่นกัน
- สามารถขอพรท่านได้ตามปรารถนา เช่น การงาน การเงิน ขอบุตร แต่ไม่ควรเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรม
- เชื่อกันว่าไม่ควรขอพรเรื่องไม่ให้ติดทหาร เพราะจะไม่สมหวัง
ขณะที่เราเจาะลึกประวัติศาสตร์อันน่าทึ่งของท้าวสุรนารี ผู้เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญและความยืดหยุ่นที่แท้จริง เราได้รับการเตือนให้นึกถึงพลังของบุคคลที่จะกำหนดชะตากรรมและทิ้งร่องรอยที่ลบไม่ออกไว้บนโลกใบนี้ ความมุ่งมั่นและความกล้าหาญอันแน่วแน่ของท้าวสุรนารีในการปกป้องบ้านเกิดเมืองนอนเป็นแรงบันดาลใจที่เหนือกาลเวลา มรดกของเธอเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความแข็งแกร่งที่อยู่ในตัวเราแต่ละคน การสำรวจชีวิตและความสำเร็จของท้าวสุรนารีไม่เพียงแต่ทำให้เราเชื่อมโยงกับอดีตเท่านั้น แต่ยังกระตุ้นให้เราสะท้อนถึงศักยภาพของตนเองในการเอาชนะความท้าทายและสร้างผลกระทบที่มีความหมาย