ข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการเขียนประวัติส่วนตัว หากไม่ระมัดระวัง มักจะทำให้ผู้สมัครไม่ได้รับตำแหน่งที่ดี การส่งอีเมลเพื่อส่ง Portfolio หรือ Resume ให้บริษัทประทับใจเป็นเรื่องสำคัญ เราควรให้ความสำคัญกับการเขียนประวัติส่วนตัวให้มากขึ้น
การเขียนประวัติส่วนตัว (Portfolio / Resume)
องค์ประกอบของประวัติส่วนตัว (Portfolio / Resume) มีอะไรบ้าง อาจแบ่งได้เป็น 7 ส่วน ดังนี้
- ประวัติส่วนตัว (Personal Information)
- ข้อมูลส่วนตัว ยศ/ตำแหน่ง ชื่อ-นามสกุล
- น้ำหนัก ส่วนสูง (จะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่บางตำแหน่งต้องใช้)
- ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ e-mail address
- รูปถ่ายสุภาพ (ไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องแบบ แต่ต้องแต่งกายและมีท่าทางสุภาพ)
- ประวัติการศึกษา (Education) (เรียงลำดับจากสูงสุด)
- ปริญญาเอก
- ปริญญาโท
- ปริญญาตรี (ถ้ามีเกียรตินิยม ใส่ด้วย)
- ประกาศนียบัตรทีผ่านหลักสูตรอบรม
- ทุนการศึกษา ที่ได้รับ หรือทุนวิจัยในระดับอุดมศึกษา
- ระดับมัธยมศึกษา
- ระดับประถมศึกษาหมายเหตุ ระดับมัธยมศึกษา และประถมศึกษา ไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้
- จุดมุ่งหมายในการทำงาน (Career Objective) กล่าวถึงความน่าสนใจของงานตำแหน่งงาน หรือเป้าหมายในการทำงานของผู้สมัคร ส่วนนี้อาจมีผลต่อการพิจารณาเงินเดือนและตำแหน่งงาน
- ประสบการณ์การทำงาน (Work Experience)
- ช่วงเวลา ตำแหน่งและบริษัทที่เคยร่วมงาน
- ช่วงเวลา ตำแหน่งและบริษัทที่เคยฝึกงาน
- ช่วงเวลา รายละเอียดงานที่เคยทำ
- ช่วงเวลา กิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ที่เคยทำตอนเรียน เช่น งานอาสา งานออกค่าย โครงการประกวดไอเดียต่าง ๆ เป็นต้นหมายเหตุ ควรลำดับช่วงเวลาจากปัจจุบัน ไปถึงอดีต
- ทักษะและความสามารถพิเศษ (Skills)
- การใช้ภาษา (ควรบอกระดับว่า ดี ปานกลาง หรือพอใช้ได้)
- การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
- การขับรถ
- ทักษะอื่น ๆ เช่น ดนตรี กีฬา งานอดิเรก เป็นต้นหมายเหตุ พิจารณาการระบุรายละเอียดตามตำแหน่งงานที่สมัคร
- รางวัลแห่งความสำเร็จต่างๆ (Honors/ Awards)
- การประกวดแบบ
- การร่วมโครงการต่าง ๆหมายเหตุ ควรลำดับช่วงเวลาจากปัจจุบัน ไปถึงอดีต
- ระบุชื่อบุคคลที่สามารถรับรองหรือให้ข้อมูลให้กับบริษัทที่สมัครงาน โดยต้องระบุ ชื่อ-นามสกุล และช่องทางการติดต่อต่าง ๆ
ส่วนใหญ่นักศึกษาจบใหม่ จะอ้างอิงถึงอาจารย์ หรือผู้ที่เคยทำงานแล้วสามารถอ้างอิงถึงผู้บังคับบัญชาในอดีตได้ แต่ไม่ควรอ้างอิงถึงบุคคลในครอบครัว
Resume ที่ดี ควรกระชับและจบใน 1 หน้า หรือถ้ายาวมากก็ไม่ควรเกิน 2 หน้า ไม่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบทั้งหมด 7 ส่วน ตัดออกได้
หลักการเขียน Resume
สิ่งที่ต้องระมัดระวังมากที่สุดในการเขียนเรซูเม มีอยู่ 5 ประเด็น คือ
ขาดการจัดรูปแบบ
เรซูเม่ที่ยุ่งเหยิงและอ่านไม่ออกคือเรซูเม่ที่จะไม่พาคุณไปไหน จัดรูปแบบให้สะอาด และเป็นระเบียบโดยใช้หมึกสีดำบนกระดาษสีขาวโดยมีระยะขอบครึ่งนิ้ว จัดแนวคอลัมน์และมีระยะห่างที่สม่ำเสมอ ตรวจสอบว่าชื่อและข้อมูลติดต่อของคุณอยู่ในทุกหน้าไม่ใช่แค่หน้าแรก หากส่งประวัติของคุณทางอีเมลหรือข้อความให้บันทึกเป็น PDF เพราะช่วยให้แน่ใจได้ว่าสภาพเอกสารจะไม่เปลี่ยนแปลง
อย่าเปิดเผยข้อมูลมากเกินไป
ใส่ใจกับนโยบายและหลีกเลี่ยงการสร้างความขัดแย้งระหว่างความต้องการของนายจ้าง และความต้องการของคุณเองในฐานะผู้สมัคร ตัวอย่างเช่นหากคุณมาจาก บริษัท ที่ปรึกษามีแนวโน้มว่าคุณไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดเผยชื่อลูกค้า ดังนั้นอย่าทำเช่นนั้นกับประวัติส่วนตัวของคุณ!
ยกตัวอย่างผู้สมัครงานบางรายที่บอกว่าเคยทำงานกับลูกค้าจาก “บริษัทด้านซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่รายหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน” ซึ่งทำให้คาดเดาได้ชัดเจนว่าบริษัทดังกล่าว คือ ไมโครซอฟท์ แม้ว่าจะไม่ได้เอ่ยชื่อโดยตรงก็ตาม แต่การทำเช่นนี้มีเปอร์เซ็นต์ที่จะทำให้พลาดงานมากกว่า
พิสูจน์อักษร
พิสูจน์อักษรประวัติของคุณหลายครั้ง ๆ จากการสำรวจของ CareerBuilder พบว่า 58 เปอร์เซ็นต์ของประวัติมีการพิมพ์ผิด ระวังข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์การจัดตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องและอื่น ๆ มิฉะนั้นผู้จัดการการจ้างงานจะคิดว่าคุณไม่ใส่ใจกับรายละเอียด
ก่อนจะส่งเรซูเมจึงควรอ่านซ้ำ หรือให้เพื่อน ๆ ช่วยอ่านทวนด้วย เพื่อตรวจสอบคำผิด ไวยากรณ์ หรือแม้แต่การเว้นวรรคหรือตัดบรรทัด เรซูเมจะได้เป็นระเบียบเรียบร้อยและสะท้อนความละเอียดถี่ถ้วนของเจ้าของเรซูเมออกมาได้
อธิบายคร่าว ๆ
กฎเหล็กที่ยึดถือในการพิจารณาเรซูเม เช่น ประวัติการทำงาน 10 ปีจะต้องบรรยายให้หมดภายในหน้ากระดาษ A4 เพียง 1 หน้า ไม่ควรเกินกว่านั้น เรซูเมเป็นใบเบิกทางหรือเครื่องมือดึงดูดความสนใจเพื่อให้บริษัทต่าง ๆ เรียกผู้สมัครไปสัมภาษณ์งาน การเขียนข้อมูลเท่าที่จำเป็น
Resume คือ เครื่องมือในนำเสนอตัวเอง ดังนั้นจึงควรใส่ใจ และสร้างความน่าประทับใจใน Resume
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รุ่งรัตน์ เต็งเก้าประเสริฐ
อย่าโกหก
ผู้สมัครงานมักจะเขียนเรื่องโกหกมากมายลงในเรซูเม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกรดเฉลี่ยที่ได้รับ ประสบการณ์การทำงาน หรือแม้แต่วุฒิการศึกษา แต่ข้อมูลเท็จเหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงตามมา เพราะไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว คำโกหกมักจะถูกเปิดโปงเสมอ และไม่ว่าการโกหกข้อมูลจะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยก็ตาม แต่ก็เป็นภาพสะท้อนว่า ผู้สมัครไม่ได้ยึดมั่นเรื่องคุณธรรมจริยธรรมมากนัก
การเขียนอีเมลเพื่อสมัครงาน
- ใช้ชื่ออีเมลที่เป็นทางการ ไม่ควรเป็นอีเมลที่มีการใช้ฉายา หรือใส่ตัวอักษรแปลก ๆ เช่น lnwzaa จะทำให้ดูไม่จริงจัง
- เขียนหัวข้ออีเมลให้ชัดเจน ถ้าบริษัทกำหนดหัวข้อมาให้ ให้ทำตามที่บริษัทต้องการ ถ้าบริษัทที่จะสมัครงานไม่ได้บอกมา ให้ใช้หัวข้อว่า สมัครงาน ตำแหน่ง เพื่อแจ้งให้ HR ได้รับรู้
- เขียนอธิบายตัวเองคร่าว ๆ
- เช็กชื่อไฟล์เรซูเม่ ตั้งชื่อให้เป็นทางการ เช่น Name-Resume.pdf
ตัวอย่างอีเมลเพื่อสมัครงาน
เรียน NaniTalk
ดิฉันนางสาวสมหญิง สมใจ สนใจสมัครงานตำแหน่งไอที โดนดิฉันจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัย ABC ปีการศึกษา 256X
ดิฉันได้ส่งประวัติส่วนตัวและผลงานที่เกี่ยวข้องแนบมาพร้อมอีเมล์ฉบับนี้ โดยดิฉันมีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะทำงานในตำแหน่งนี้เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งดิฉันเคยมีประสบการณ์ด้านงานไอทีทั้งจากการทำงานในมหาวิทยาลัยและการฝึกงานตำแหน่ง IT Manager
ดิฉันพร้อมให้สัมภาษณ์รายละเอียดต่าง ๆ เพิ่มเติม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการติดต่อกลับจากท่านโดยท่านสามารถติดต่อกลับผ่านอีเมลนี้หรือโทร 089-999-9999
ขอบคุณค่ะ
สมหญิง สมใจ
ทิ้งท้าย
ยิ่งสร้างประวัติส่วนตัวได้น่าประทับใจมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้นายจ้างอยากรู้จักคุณมากขึ้นเท่านั้น และนั่นคือโอกาสที่คุณ จะถูกเรียกสัมภาษณ์ และได้งานทำก่อนใคร
ข้อมูลอ้างอิง: www.tds.tu.ac.th