รู้ไหมว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดค่าไฟไม่เท่ากัน มาดูกันว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าถ้าเราเปิดใช้งาน 1 ชั่วโมง กินไฟเท่าไหร่กัน ?
ค่าไฟเครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องใช้ไฟฟ้า | ขนาด | ค่าไฟ |
---|---|---|
เครื่องดูดฝุ่น | 1,400 – 2,000 วัตต์ | 6 – 8 บาท /ชม. |
เตารีดไฟฟ้า | 1,000 – 2,800 วัตต์ | 3.5 – 10 บาท / ชม. |
เครื่องเป่าผม | 1,600 – 2,300 วัตต์ | 6 – 9 บาท /ชม. |
เครื่องทำน้ำอุ่น | 3,500 – 6,000 วัตต์ | 13.5 – 23.5 บาท /ชม. |
เครื่องซักผ้า | 10 kg | 2 – 8 บาท /ชม. |
เครื่องปรับอากาศติดผนัง แบบ Fixed Speed | 9,000 – 22,000 บีทียู | 2.5 – 6 บาท /ชม. |
พัดลมตั้งพื้น | 12 – 18 นิ้ว | 0.15 – 0.25 บาท /ชม. |
โทรทัศน์ | 43 – 65 นิ้ว | 0.40 – 1 บาท /ชม. |
เตาไมโครเวฟ | 20 – 30 ลิตร | 3 – 4 บาท /ชม. |
ตู้เย็น 2 ประตู | 5.5 – 12.2 คิว | 0.30 – 0.40 บาท /ชม. |
หม้อหุงข้าว | 1.0 – 1.8 ลิตร | 3 – 6 บาท /ชม. |
เครื่องปิ้งขนมปัง | 760 – 900 วัตต์ | 3 – 3.5 บาท /ชม. |
เตาแม่เหล็กไฟฟ้า | 2,000 – 3,500 วัตต์ | 8 – 14 บาท /ชม. |
ค่าไฟฟ้าหน่วยละกี่บาท?
สำหรับการใช้ไฟฟ้ากับบ้านเรือนที่อยู่อาศัย รวมทั้งวัด สำนักสงฆ์ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว
ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน
ค่าพลังงานไฟฟ้า | ค่าไฟหน่วยละ |
---|---|
15 หน่วยแรก (หน่วยที่ 0 – 15) | 2.3488 บาท |
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16 – 25) | 2.9882 บาท |
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26 – 35) | 3.2405 บาท |
65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36 – 100) | 3.6237 บาท |
50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101 – 150) | 3.7171 บาท |
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400) | 4.2218 บาท |
เกิน 400 หน่วยขึ้นไป (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) | 4.4217 บาท |
ค่าบริการ (บาท/เดือน) | 8.19 บาท |
ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน
ค่าพลังงานไฟฟ้า | ค่าไฟหน่วยละ |
---|---|
150 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก (หน่วยที่ 1 – 150) | 3.2484 บาท |
250 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 151 – 400 ) | 4.2218 บาท |
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) | 4.4217 บาท |
ค่าบริการ (บาท/เดือน) | 38.22 บาท |
ข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้า
- อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น เป็นอัตราที่เรียกเก็บรายเดือน ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ค่าไฟฟ้า ที่เรียกเก็บ ในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า โดย อัตโนมัติ (Ft) โดยมีการเรียกเก็บ Ft ทุกเดือน แยกเป็นรายการในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ Ft ที่เรียกเก็บจะปรับเปลี่ยน ทุกๆ 4 เดือน โดยกำหนดให้ Ft เป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า
ใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย อย่าลืมถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้ เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร และยังช่วยประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วย
Advertisement
คำถามที่พบบ่อย
ค่าไฟค้างได้กี่เดือน
MEA กำหนดเวลาชำระค่าไฟฟ้าในใบแจ้งไม่น้อยกว่า 10 วัน นับแต่วันลงใบแจ้งหนี้ ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ชำระตามกำหนด MEA จะส่่งหนังสือเตือน โดยต้องชำระค่าไฟฟ้าภายในกำหนดระยะเวลาที่ปรากฎตามการแจ้งเตือน ซึ่งจะไม่น้อยกว่า 5 วัน นับแต่วันครบกำหนดชำระ
ค่าไฟภาษาอังกฤษ
Electric bill
ค่าไฟ Ft
0.9343 บาท หรือ 93.43 สตางค์ (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
- หน้าร้อนแล้วทําไมค่าไฟแพงผิดปกติ มาไขข้อสงสัยกัน!!
- วิธีประหยัดแอร์ เย็นโดยไม่เปลืองไฟ ช่วยประหยัดค่าไฟในหน้าร้อน
- วิธีคลายร้อนง่าย ๆ ทั้งตอนตื่นและตอนนอน (ไม่มีแอร์)
Advertisement