ราคาน้ำมัน คือ ผลรวมของ ต้นทุนสินค้าซึ่งได้แก่น้ำมันนั่นเอง ภาษีสรรพสามิต ภาษีอื่นๆ และเงินสมทบกองทุนของรัฐบาล ตลอดจนค่าการตลาด
ราคาน้ำมันไทย
ค่าการตลาด 6 – 27%
- ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการคลังน้ำมัน
- ค่าใช้จ่ายในการขนส่งน้ำมันจากคลังน้ำมันไปยังสถานีบริการ
- ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานทั่วไป การขายและการตลาด
- ค่าใช้จ่าย ณ สถานีบริการ เช่น ค่าแรง พนักงาน ค่าเช่าที่ดิน และค่าสาธารณูปโภคต่างๆ
- กำไรในการขายส่งและขายปลีก
ภาษีมูลค่าเพิ่มการตลาด 0.1 – 0.4%
คิดมรอัตราร้อยละ 7 ของค่าการตลาด
ภาษีมูลค่าเพิ่มของราคาขายส่ง 4.5 – 6%
คิดในอัตราร้อยละ 7
กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 0.2 – 0.5%
กองทุนที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนนโยบาย อนุรักษ์พลังงาน
กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 0.1%
กองทุนที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนนโยบายเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง
ภาษีเทศบาล 0.5 – 2%
คิดร้อยละ 10 จากภาษีสรรพสามิตของน้ำมันแต่ละประเภท
ภาษีสรรพสามิต 5 – 20%
ภาษีที่คิดจากปริมาณน้ำมันเมื่อส่งออกจากโรงกลั่นหรือคลังน้ำมัน ภาษีนี้เรียกเก็บในอัตราคงที่
ราคาหน้าโรงกลั่น 50 – 70%
ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น(ทั้งน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล) บวกกับค่าขนส่ง เนื่องจากในประเทศไทยไม่สามารถกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปให้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศได้ทั้งหมด จึงต้องมีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศ ดังนั้น เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันได้ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยจึงต้องอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูป ณ ตลาดสิงคโปร์ ซึ่งเป็นตลาดกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศอื่นๆ นั้น ก็มีการอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดกลางของแต่ละภูมิภาค เช่น ตลาดดูไบในตะวันออกกลาง ตลาดเวสต์เท็กซัสในสหรัฐอเมริกา และตลาดเบรนท์ในประเทศอังกฤษ