เรื่องน่าสนใจ

เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส เปิดประวัติ วีรบุรุษนาแก

ประวัติ เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ เดิมชื่อ “เสรี” เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2491 ชื่อเล่น ตู่ ที่จังหวัดธนบุรี เป็นบุตร นายชื้น และ นางอรุณ สมรสกับ คุณพัสวีศิริ (สกุลเดิม เทพชาตรี) มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ นางสาวศศิภาพิมพ์, นายทรรศน์พนธ์ และ นางสาวทัศนาวัลย์ โดยสกุล “เตมียเวส” ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2457 เลขสกุลลำดับที่ 2081

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ จบศึกษาระดับมัธยมต้นจากโรงเรียนทวีธาภิเศก จากนั้นจึงได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 8 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 24 เคยรับราชการอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อสู้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์อย่างเข้มข้น ที่จังหวัดนครพนม ช่วง พ.ศ. 2520 จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “วีรบุรุษนาแก”

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ มีชื่อเสียง และ ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า “วีรบุรุษนาแก” เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผกก.ตำรวจภูธร จังหวัดนครพนม จับกุมข้าราชการระดับสูงในจังหวัด ที่ลงไปเล่นการพนันในเรือกลางลำน้ำโขง ทั้งยังมีผลงานปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างต่อเนื่อง และ เมื่อสมัยดำรงตำแหน่งผูบังคับการกองปราบปราม ก็ถูกวางระเบิดถึงห้องทำงาน จากผลของการปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา

นอกจากนี้ เมื่อดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ (ทำหน้าที่ผู้ช่วยหัวหน้าตำรวจภาค 2) ได้จับกุม และ ดำเนินคดีกับนายสมชาย คุณปลื้ม หรือ กำนันเป๊าะ ผู้กว้างขวางของ จ.ชลบุรี และ ภาคตะวันออก ในคดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะที่เข้าไม้แก้ว จนศาลฎีกาพิพากษาให้จำคุกกำนันเป๊าะ

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เคยดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการกองปราบปราม เป็นระยะเวลาสั้นๆ เมื่อ พ.ศ. 2533-2534 ขณะ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี และ ต้องพ้นจากตำแหน่ง ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 เนื่องจากสนิทสนม กับ พลตรี มนูญกฤต รูปขจร ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็น เสรีพิศุทธ์ นัยว่า เพื่อแก้เคล็ด เนื่องจากชื่อไม่ถูกโฉลก

Advertisement

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ มีภาพลักษณ์เป็นนายตำรวจมือปราบที่ซื่อตรง ได้ฉายาว่า “มือปราบตงฉิน” ผู้มีอำนาจในหลายรัฐบาลมักเลือก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ให้เข้ามาจับคดีอื้อฉาวที่สังคม และ สื่อตั้งข้อสงสัย แต่ก็ได้รับผลกระทบจากการเมืองบ่อยครั้ง โดยมักถูกโยกย้ายไปอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ได้ควบคุมกำลัง เช่น ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ หรือ ประจำกรมตำรวจ เป็นต้น

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา สบ.10 ก่อนจะมารักษาการในตำแหน่ง รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 แทน พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ที่ได้รับคำสั่งไปช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ได้รับการโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2550

ต้นปี พ.ศ. 2551 ภายหลังพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง นาย สมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้มีอำนาจขณะนั้นได้ร่วมมือกันปล้นตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ ดำรงตำแหน่งอยู่ โดยใช้ พ.ต.อ.ทินกร มั่งคั่ง อดีตนายเวร ที่ถูก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ ปลดออกจากราชการ ลงนามหนังสือร้องเรียนถึงนายสมัครฯ ซึ่งสำนักนายกรัฐมนตรีได้ลงรับหนังสือร้องเรียนทั้ง 3 ฉบับ ไว้พร้อมกันในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ ในวันรุ่งขึ้น นายสมัครฯ ก็ได้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงต่อ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ ทันที โดยข้ามขั้นตอนไม่ทำการสืบสวนข้อเท็จจริงตามกฎหมายเสียก่อน และ ในวันเดียวกันนั้นก็ได้ออกคำสั่งให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ ไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้รักษาราชการแทน

วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2551 นายสมัครฯ ก็ได้ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 73/2551 ให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ ออกจากราชการไว้ก่อน โดยที่ยังไม่ทันได้เริ่มทำการสอบสวนใดๆ ทั้งสิ้น และ แต่งตั้ง พล.ต.อ.พัชรวาทฯ ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร. แทน

หลังจากนั้น ในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ ก็ได้แถลงข่าวที่โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์ ถึงเรื่องที่ถูกปลดออกจากตำแหน่ง โดยกล่าวว่าตนถูกปล้นตำแหน่ง ไม่ได้รับความเป็นธรรม ต่อมาเมื่อ นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ได้สั่งให้ยุติการสอบสวน และ ยกเลิกคำสั่งให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ ออกจากราชการไว้ก่อน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ฟ้องร้อง พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ในคดีหมิ่นประมาท แต่ศาลได้มีคำสั่งยกฟ้องในที่สุด

ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขากล่าวผ่านสื่อวิพากษ์วิจารณ์ คณะรักษาความสงบแห่งชาติและรัฐบาลหลายครั้งหลายคราว เมื่อเห็นว่านายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี กองทัพ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกระทำการอันไม่สมควรและผิดกฎหมายหลายต่อหลายครั้ง ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน และไม่ให้อำนาจเผด็จการเข้ามาครอบงำเพื่อไม่ให้ประเทศชาติเสียหาย รัฐบาลตอบสนองด้วยการออกหมายเรียก

วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ เสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชาฝ่ายกฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้เข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปราม ในข้อหากระทำการที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ

เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส
เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส

ประวัติการทำงาน

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ที่ปรึกษา (สบ.10) รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เดิมชื่อเสรี เตมียเวส เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่น 24 เกิดเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2491 ปัจจุบันอายุ 58 ปี จบการศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ติดยศ  ร.ต.ต. ปี 2514 ประจำกองบัญชาการตำรวจนครบาล – เป็นผบ.หมวด สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง จ.นครพนม

  • ปี 2516 ทำหน้าที่หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ประจำกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวาดนครพนม – ผบ.หมวด กองร้อยที่ 2 กก.1 กองบังคับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • ปี 2519 เป็นสารวัตรสถานีตำรวจภูธรอ.นาแก จ.นครพนม
  • ปี 2522 เป็นสารวัตรใหญ่สภ.อ.นาแก จ.นครพนม
  • ปี 2524 เป็นรองผกก.ตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม
  • ปี 2525 เป็นรองผกก.ตำรวจภูธรจังหวัดมุกดาหาร รักษาการในตำแหน่ง ผกก.ตำรวจภูธรจังหวัดมุกดาหาร
  • ปี 2526 เป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดมุกดาหาร
  • ปี 2529 เป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี
  • ปี 2530 เป็นรองผู้บังคับการตำรวจภูธร 2
  • ปี 2531 เป็นรองผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • ปี 2533 เป็นผู้บังคับการกองปราบปราม
  • ปี 2534 เป็นผู้บังคับการประจำกรมตำรวจ (ทำหน้าที่การข่าวสาร) สำนักงานสารนิเทศ
  • ปี 2535 รักษาการในตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจสันติบาล 2
  • ปี 2535 เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธร 6
  • ปี 2535 เป็นผูบังคับการกองวิทยาการภาค 3
  • ปี 2536 เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
  • ปี 2537 เป็นผูช่วยผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
  • ปี 2537 รักษาการในตำแหน่งรองผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ (ทำหน้าที่รองหัวหน้าตำรวจภาค 2)
  • ปี 2537 เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ (ทำหน้าที่ผู้ช่วยหัวหน้าตำรวจภาค 2)
  • ปี 2538 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
  • ปี 2540 เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • ปี 2541 เป็นผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
  • ปี 2541 เป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
  • ปี 2541 เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • ปี 2547 เป็นจเรตำรวจแห่งชาติ
  • ปี 2549 เป็นที่ปรึกษา (สบ.10)
เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส
เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส

เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ได้เปิดตัวแสดงเจตนาที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งที่มีขึ้นในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556 ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ในนาม “กลุ่มพลังกรุงเทพ” โดยได้เบอร์ 11 และ ได้รับคะแนนทั้งสิ้น 166,582 คะแนน แม้จะไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่ก็มีคะแนนเป็นอันดับสามต่อจากพรรคการเมืองใหญ่ทั้ง 2 พรรค และ อันดับหนึ่งจากผู้สมัครอิสระที่ไม่สังกัดพรรคอีก 23 คน

ที่มา – Wikipedia

Advertisement

กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button