บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารราชการที่ออกให้สำหรับคนไทยเท่านั้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการแสดงตน เพื่อพิสูจน์และยืนยีนบุคคลในการติดต่อราชการ
บัตรประชาชน
บัตรประชาชนเอกสารที่ทางราชการออกให้ เพื่อใช้ในการทำธุรกรรม นิติกรรมต่าง ๆ และใช้เพื่อยืนยันพิสูจน์ตัวบุคคลในการติดต่อราชการ หรือสวัสดิการต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐ
ความหมายชองเลขบัตรประชาชน 13 หลัก แสดงถึง
- หลักที่ 1 หมายถึง ประเภทบุคคล ซึ่งมี 9 ประเภท
- หลักที่ 2-3 หมายถึง รหัสจังหวัด
- หลักที่ 4-5 หมายถึง รหัส อำเภอ/เทศบาล ที่เกิด
- หลักที่ 6-10 หมายถึง กลุ่มบุคคลแต่ละประเภทตามหลักแรก หรือ หมายถึงเล่มที่ของสูติบัตร
- หลักที่ 11-12 หมายถึง ใบที่ของสูติบัตรแต่ละเล่ม
- หลักที่ 13 หมายถึง ตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของ เลข 12 หลักแรก
ชุดตัวเลข Laser ID ด้านหลังบัตร ใช้ยืนยันในการทำธุรกรรม ตรวจสอบ ยืนยันตัวตนควบคู่กับเลขบัตรประชาชน 13 หลักทั้งบริการภาครัฐและการเงิน
ผู้ที่ต้องมีบัตรประชาชน
- สัญชาติไทย
- มีอายุตั้งแต่ 7 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี
- ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14)
- สำหรับผู้มีอายุเกิน 70 ปี และผู้ได้รับการยกเว้น จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้
บุคคลยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
กฎกระทรวงกำหนดบุคคลซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน 2548 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2548
- สมเด็จพระบรมราชินี
- พระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป
- ภิกษุ สามเณร นักพรต และนักบวช
- ผู้มีกายพิการไม่ได้ หรือเป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
- ผู้อยู่ในที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย
- บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ และไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวได้
กฎหมายบัตรประจำตัวประชาชนที่ควรรู้
- คน ไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจนถึง 70 ปี บริบูรณ์ ต้องไปขอทำบัตรที่อำเภอหรือที่ว่าการเขตภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่อายูครบ 15 ปีบริบูรณ์
- บัตรประจำตัวประชาชน ชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นคำร้องขอมีบัตรใหม่ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่บัตรเดิมชำรุดหรือสูญหาย (ต้องไปแจ้งบัตรหายที่สถานีตำรวจ)
- อายุ ของบัตร กำหนดใช้ได้ 6 ปี เมื่อถึงกำหนดสิ้นอายุบัตรต้องไปติดต่อขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันสิ้นอายุ ณ อำเภอท้องที่ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
- ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรได้ในเมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจ มีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
- ผู้ ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำร้องขอมีบัตรโดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมี สัญชาติไทย มีโทษปรับไม่เกิน 2.000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ไม่ยื่นคำร้องขอมีบัตรภายในกำหนดเวลา มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
- บัตรหมดอายุไม่ต่อบัตรภายในกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
ทําบัตรประชาชนใช้อะไรบ้าง
กรณีขอทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก
เมื่อมีอายุ 7 ปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับ ไม่เกิน 100 บาท
หลักฐานที่ต้องใช้ทําบัตรประชาชน
- สูติบัตร หรือหลักฐานอื่นที่ราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนนักเรียน หนังสือเดินทาง เป็นต้น เพื่อแสดงว่าเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน
- หากเด็กเคยเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ต้องนำใบสำคัญมาแสดงด้วย และหากบิดา มารดาของเด็กเคยเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสุกล ต้องนำใบสำคัญมาแสดงด้วย
- หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
- กรณีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา มารดามาแสดงด้วย หรือนำใบมรณบัตรของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ถึงแก่กรรมไปแสดง
- การขอมีบัตรครั้งแรกเมื่ออายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ต้องนำเอกสารหลักฐานที่กำหนดตามข้อ 1,2,3,4 และให้นำเจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถืออย่างน้อย 2 คน ไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนและให้การรับรอง
- ไม่เสียค่าธรรมเนียม
- บุคคลน่าเชื่อถือ หมายถึง “บุคคลใด ๆ ซึ่งมีภูมิลำเนาที่อยู่แน่นอน มีอาชีพมั่นคงและมีความรู้จักคุ้นเคยกับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดี อาจเกี่ยวข้องเป็นญาติกันหรือไม่ก็ได้”
กรณีบัตรเดิมหมดอายุ
เมื่อบัตรเดิมหมดอายุให้ทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท ผู้ถือบัตรสามารถขอทำบัตรใหม่ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุก็ได้ โดยให้ยื่นคำขอภายใน 60 วัน ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุ
หลักฐานที่ต้องใช้ทําบัตรประชาชนเดิมหมดอายุ
- บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ
- หากบัตรเดิมหมดอายุเป็นเวลานาน ต้องนำเจ้าบ้านหรือพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรองด้วย
- ไม่เสียค่าธรรมเนียม
กรณีบัตรหาย หรือถูกทำลาย
เมื่อบัตรประจำตัวประชาชนหาย หรือถูกทำลายให้ไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน ณ ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขตเทศบาลหรือเมืองพัทยา แล้วแต่กรณี และขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรหายหรือถูกทำลาย หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท
หลักฐานที่ต้องใช้ทําบัตรประชาชนกรณีบัตรหาย
- เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
- หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
- เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
กรณีเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลแล้วต้องเปลี่ยนบัตร
เมื่อผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัว/ชื่อสกุล ต้องเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่แก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล ในทะเบียนบ้าน หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท
หลักฐานที่ต้องใช้ทําบัตรประชาชนกรณีเปลี่ยนชื่อสกุล
- บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ต้องการเปลี่ยน
- หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล แล้วแต่กรณี
- เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
กรณีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ บัตรถูกทำลาย
หากบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ บัตรถูกทำลาย เช่น บัตรถูกไฟไหม้บางส่วน บัตรชำรุด เลอะเลือน เป็นต้น ต้องเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมชำรุดหรือถูกทำลาย หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท
หลักฐานที่ต้องใช้ทําบัตรประชาชนกรณีบัตรเดิมชำรุด
- บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ชำรุดหรือถูกทำลาย
- เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
- หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
- เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
กรณีบุคคลที่ได้รับการยกเว้นการมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่นพระภิกษุ สามเณร ฯลฯ จะขอทำบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้
หลักฐานที่ต้องใช้ทําบัตรประชาชน
- กรณีพระภิกษุ หรือสามเณร ต้องย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านของวัดก่อน แล้วแก้ไขคำนำหน้านามในทะเบียนบ้านเป็นพระ สามเณร หรือสมศักดิ์ ก่อนจึงจะขอมีบัตรได้
- หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือสุทธิของพระ หรือหนังสือเดินทาง กรณีเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการศึกษา ณ ต่างประเทศ
- ไม่เสียค่าธรรมเนียม
กรณีบุคคลที่พ้นสภาพได้รับการยกเว้นขอทำบัตร
ผู้ซึ่งพ้นสภาพได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น ผู้พ้นโทษจากเรือนจำหรือทัณฑสถาน เป็นต้น ต้องไปขอทำบัตรประชาชนภายใน 60 วัน นับแต่วันพ้นสภาพได้รับการยกเว้น หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท
หลักฐานที่ต้องใช้ทําบัตรประชาชนกรณีบุคคลที่พ้นสภาพ
- หลักฐานที่แสดงว่าพ้นสภาพจากการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือสำคัญของเรือนจำหรือทัณฑสถาน (ร.ท.5) หรือหนังสือเดินทางและเอกสารที่แสดงว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ มีบัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจแล้วแต่กรณี เป็นต้น
- หากไม่ปรากฏข้อมูลการทำบัตร หรือบัตรเดิมได้หมดอายุนานแล้ว ต้องนำเจ้าบ้านและบุคคลน่าเชื่อถือมารับรองด้วย
- ไม่เสียค่าธรรมเนียม
กรณีผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่
เพื่อให้รายการที่อยู่ที่ปรากฏในบัตรประจำตัวประชาชนตรงกับรายการในทะเบียนบ้านผู้ถือบัตรผู้ใดย้ายที่อยู่จะขอเปลี่ยนบัตรโดยที่บัตรเดิมยังไม่หมดอายุสามารถทำได้แต่หากไม่ขอเปลี่ยนบัตรก็สามารถใช้บัตรนั้นได้ต่อไปจนกว่าบัตรจะหมดอายุ
หลักฐานที่ต้องใช้ทําบัตรประชาชนกรณีผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่
- บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
- เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
กรณีผู้ซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี ขอมีบัตร
คนสัญชาติไทยซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้
หลักฐานที่ต้องใช้ทําบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชนเดิม (ถ้ามี)
- หากไม่ปรากฏข้อมูลการทำบัตร หรือบัตรเดิมได้หมดอายุนานมากแล้ว ต้องนำเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้มาแสดง พร้อมทั้งนำเจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรอง
- ไม่เสียค่าธรรมเนียม
การขอมีบัตรกรณีเป็นบุคคลได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
ต้องยื่นขอมีบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน หากพ้นกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
หลักฐานที่ต้องใช้ทําบัตรประชาชนการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
- เพิ่มชื่อกรณีแจ้งเกิดเกินกำหนด ใช้หลักฐานสูติบัตร และสอบสวนเจ้าบ้านหรือบุคคลน่าเชื่อถือ
- เพิ่มชื่อกรณีชื่อตกสำรวจให้สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้นั้นเคยมีชื่ออยู่ก่อน หลักฐานการเพิ่มชื่อหรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ และสอบสวนเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ
- ไม่เสียค่าธรรมเนียม
การขอมีบัตรกรณีบุคคลซึ่งได้สัญชาติไทย หรือได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย
ยื่นคำขอมีบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับสัญชาติไทย หากเกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
หลักฐานที่ต้องใช้ทําบัตรประชาชน
- กรณีได้ได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย ใช้หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทย หรือหนังสือสำคัญแสดงการได้กลับคืนสัญชาติเป็นไทยแล้วแต่กรณี
- หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางราชการออกให้ และสอบสวนเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ
ขอเปลี่ยนบัตรกรณีเปลี่ยนคำนำหน้านาม
หลักฐานที่ต้องใช้ทําบัตรประชาชนเปลี่ยนคำนำหน้านาม
- บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
- หลักฐานแสดงการเปลี่ยนคำนำหน้านาม เช่น ทะเบียนสมรส ทะเบียนอย่า เป็นต้น
- ไม่เสียค่าธรรมเนียม
วิธีเซ็นสําเนาถูกต้องบัตรประชาชน
สำหรับช่วงเวลานี้ข้อมูลบนบัตรประชาชนถูกนำมาใช้รับสิทธิต่าง ๆ หรือการส่งข้อมูลเพื่อทำธุรกรรมออนไลน์หลากหลายรูปแบบหลากหลายช่องทาง ดังนั้น เราจึงควรพึงระมัดระวัง และรอบคอบให้มากขึ้น ด้วย 5 วิธีดังนี้
- ถ่ายหน้าบัตรประชาชนเพียงด้านเดียว และไม่ถ่ายหลังบัตร
- ขีด 2 เส้น ทับสำเนาบัตรประชาชน แต่ห้ามขีดทับใบหน้า
- ระหว่างเส้นให้เขียนว่า “ใช้เพื่อ…(เรื่องที่ทำ)…เท่านั้น” พร้อมเขียนสัญลักษณ์ # หรือ * ปิดหัว-ท้าย เพื่อป้องกันการเพิ่มเติมข้อความ
- เขียน วัน/เดือน/ปี ที่ใช้ สำเนาบัตรประชาชน
- เขียน “สำเนาถูกต้อง” พร้อม “เซ็นชื่อรับรอง” เพื่อป้องกันการลบ
บัตรประชาชนหายต้องแจ้งความไหม
หากทำสูญหาย ไม่ต้องแจ้งความสามารถขอยื่นเรื่องทำบัตรใหม่ได้เลย ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตเทศบาล ภายในเวลา 60 วันนับตั้งแต่วันที่บัตรหาย หากพ้นกำหนด ต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท
บัตรประชาชนมีอายุกี่ปี
อายุ ของบัตร กำหนดใช้ได้ 6 ปี เมื่อถึงกำหนดสิ้นอายุบัตรต้องไปติดต่อขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันสิ้นอายุ ณ อำเภอท้องที่ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
ตรวจสอบบัตรประชาชนออนไลน์
ตรวจสอบประวัติ ด้วยชื่อ-สกุล ระบบตรวจสอบประวัติ โดยกองทะเบียนประวัติอาชญากร เข้าไปเช็คได้ที่ กองทะเบียนประวัติอาชญากร