How To

6 เทคนิคการอ่านหนังสือ ยกระดับการอ่านไปอีกขั้น!

เพื่อให้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพคุณต้องใช้เทคนิคการอ่านที่แตกต่างกันเพื่อวัตถุประสงค์และข้อความที่แตกต่างกัน คุณควรอ่านเพื่อจุดประสงค์ที่ชัดเจนเสมอ

การอ่าน หมายถึง

การอ่าน หมายถึง
Image by Pexels from Pixabay

การอ่าน หมายถึง การแปลความหมายของตัวอักษรที่อ่านออกมาเป็นความรู้ความคิด และเกิดความเข้าใจเรื่องราวที่อ่านตรงกับเรื่อราวที่ผู้เขียนเขียน ผู้อ่านสามารถนำความรู้ ความคิด หรือสาระจากเรื่องราวที่อ่านไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ การอ่านจึงมีความสำคัญ ดังนี้

  • การอ่านเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน จำเป็นต้องอ่านหนังสือเพื่อการศึกษาหาความรู้ด้านต่าง ๆ
  • การอ่านเป็นเครื่องมือช่วยให้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ เพราะสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปพัฒนางานของตนได้
  • การอ่านเป็นเครื่องมือสืบทอดทางวัฒนธรรมของคนรุ่นต่อ ๆ ไป
  • การอ่านเป็นวิธีการส่งเสริมให้คนมีความคิดอ่านและฉลาดรอบรู้ เพราะประสบการณ์ที่ได้จากการอ่านเมื่อเก็บสะสมเพิ่มพูนนานวันเข้า ก็จะทำให้เกิดความคิด เกิดสติปัญญา เป็นคนฉลาดรอบรู้ได้
  • การอ่านเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลินบันเทิงใจ เป็นวิธีหนึ่งในการแสวงหาความสุขให้กับตนเองที่ง่ายที่สุด และได้ประโยชน์คุ้มค่าที่สุด
  • การอ่านเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งด้านจิตใจและบุคลิกภาพ เพราะเมื่ออ่านมากย่อมรู้มาก สามารถนำความรู้ไปใช่ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
  • การอ่านเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบการเมือง การปกครอง ศาสนา ประวัติศาสตร์ และสังคม
  • การอ่านเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาระบบการสื่อสารและการใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ

เทคนิคการอ่านหนังสือ

เทคนิคการอ่านหนังสือ
Image by Free-Photos from Pixabay

หลายคนคงจะมีปัญหากับการอ่านหนังสือ อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้หรือช้าจนเกินไป วันนี้เรามีเทคนิคการอ่านหนังสือมาแนะนำ

1. สำรวจ

เปิดอ่านคำนำ อ่านสารบัญ อ่านบทสรุป เพื่อจะได้เข้าใจโครงสร้างของหนังสือเล่มนี้ว่าเริ่มต้นและจบอย่างไร พอเราอ่านเนื้อหาก็จะเข้าใจได้ง่ายและเร็วขึ้น

2. ไฮไลต์ข้อความ

เมื่อคุณอ่านข้ามข้อความให้ไฮไลต์วลีที่สำคัญที่สุด จะช่วยให้คุณประหยัดเวลาในการค้นหาคำตอบ หลังจากอ่านหนังสือจบแล้วต้องการคำตอบ

Advertisement

3. อ่านแบบ Skimming Reading

เป็นเทคนิคในการอ่าน โดยอ่านเนื้อหาทั้งหมดแบบคร่าว ๆ ผ่าน ๆ เพื่อค้นหา Main ideas หรือประเด็นและใจความสำคัญของบทความนั้น ๆ ว่าเกี่ยวกับอะไร ซึ่งสามารถเป็นได้ ทั้งการอ่านแค่สองสามประโยคแรกแล้วข้ามบรรทัด หรืออ่านเฉพาะประโยคและวลีสำคัญ ๆ ประกอบกับกวาดสายตาดูบริบทหรือเนื้อหารวม ๆ เป็นต้น

Skimming Reading จะมีประโยชน์ในการหาคำตอบบางชนิด เช่น

  • เมื่อต้องการหา Main ideas หรือประเด็นหลัก ใจความสำคัญของเรื่อง
  • เมื่อต้องการคำตแบที่เกี่ยวกับ Purpose วัตถุประสงค์หลักหรือเจตนาของผู้เขียน
  • เมื่อต้องการทราบเกี่ยวกับ Mood & Tone อารมณ์ ความรู้สึก หรือทัศนคติของผู้เขียน (Attitude)
  • เมื่อต้องค้นหาการตีความ หรือ Implication บางอย่างที่ซ่อนอยู่ในบทความ
  • เมื่อต้องการหาข้อความเสริม/ การขยายความ หรือที่เรียกว่า Further Application Ideas อันได้แก่ข้อความหรือประโยคที่นำมาเสริมหรือสนับสนุนใจความหลักของเรื่องต่าง ๆ
  • การอ่านแบบ Skimming จะช่วยประหยัดเวลาในการอ่าน และควรทำเป็นอย่างแรก เพื่อให้เราสามารถมองเห็นภาพรวมคร่าว ๆ ว่าเนื้อหาที่เราได้อ่านนั้น เกี่ยวข้องกับอะไร โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาอ่านรายละเอียดตลอดทั้งเรื่อง

4. อ่านแบบ Scanning Reading

เทคนิคของ Scanning คือการกวาดสายตาเพื่อค้นหาข้อมูลเฉพาะ เช่น ตัวเลข วันที่ สถานที่ ศัพท์เฉพาะ หรือชื่อคน ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น โดยไม่ต้องอ่านข้อความหรือประโยคทั้งบรรทัด

Skimming Reading จะมีประโยชน์ในการหาคำตอบบางชนิด เช่น

  • พวก Specific Details ต่าง ๆ อย่างที่กล่าวไปแล้ว เช่น ชื่อคน ตัวเลข วันที่ ชื่อสถานที่ ฯลฯ
  • Reference หรือ การอ้างอิงต่าง ๆ ว่าอยู่ตรงส่วนไหน
  • การหาโครงสร้างเชิงเหตุผล หรือ Logical Structure
  • การหาความหมายของคำศัพท์ตามบริบท หรือ Contextual Meaning
  • Scanning Reading จึงแตกต่างจาก Skimming ตรงที่เป็นการหาข้อมูลเฉพาะล้วน ๆ เราจะสามารถใช้เทคนิคนี้ทั้งก่อนเริ่มอ่านบทความ (โดยดูจากพวกตัว Bold ต่าง ๆ) และหลังจากอ่านคำถามเสร็จ

5. ทำ Short Note

การทำ Short Note หรือ การสรุปเนื้อหาให้สั่น สิ่งสำคัญในการทำ Short Note ที่ดี คือ ตัวหนังสือน้อยเข้าไว้ อย่าเขียนทุกอย่างลงไป จดแต่ประเด็นสำคัญ ใช้ภาพประกอบและการวาดภาพ หากต้องการดูว่าสิ่งต่าง ๆ เชื่อมโยงกันอย่างไรให้ใช้ Mind Map

6. พักสมอง

การที่เราอดหลับอดนอนอาจจะทำให้เราเกิดอาการเบลอได้ และการได้พักสมองสักนิดจะช่วยให้สมองรวบรวมและประมวลสิ่งที่เราได้เรียนรู้เข้าสู่ระบบความจำได้ดีกว่า พยายามนอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ในคืนนั้นเพื่อเก็บรักษาความทรงจำเอาไว้ในระยะยาว

ทิ้งท้าย

นำคำแนะนำเคล็ดลับเหล่านี้ไปใช้จะช่วยให้เราอ่านได้เร็วและเข้าใจมากขึ้น เมื่อเราต้องการหาคำตอบเราก็สามารถคนหาได้เร็วขึ้น หวังว่าเคล็ดลับเหล่านี้จะให้เกิดประโยชน์กับผู้อ่าน

Advertisement

Source
uopeople
กดเพื่ออ่านต่อ
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button