![10 เทคนิคการถ่ายภาพ ยกระดับการถ่ายภาพของคุณไปอีกขั้น!](/wp-content/uploads/2021/03/10-Digital-Photography-Tips.jpg)
ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ในการถ่ายรูปมาก่อน นี่คือเทคนิคถ่ายรูปบางส่วนที่จะช่วยปรับปรุงการถ่ายรูปของคุณให้ดีมากขึ้่น!
องค์ประกอบในการถ่ายภาพคืออะไร?
จุดประสงค์หลักของการจัดองค์ประกอบภาพ คือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการรับชมภาพ สิ่งนี้ทำให้เข้าใจหลักการของการจัดองค์ประกอบภาพในการถ่ายภาพและรู้วิธีนำสายตาของผู้ชมไปยังวัตถุหรือจุดโฟกัส ที่คุณต้องการให้พวกเขามองเห็น
องค์ประกอบที่ดีเป็นอย่างไร
เมื่อพูดถึงการจัดองค์ประกอบภาพ การถ่ายภาพเป็นเรื่องจุกจิก มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ต้องพิจารณา และองค์ประกอบทั้งหมดต้องมีตำแหน่ง มิติ สี ความสว่าง และรูปร่างที่เหมาะสม องค์ประกอบที่ดี คือ สิ่งที่องค์ประกอบภาพทุกองค์ประกอบมีบทบาทที่ชัดเจนและเพิ่มบางสิ่งบางอย่างให้กับเรื่องราว
เพื่อการจัดองค์ประกอบภาพที่ดี การถ่ายภาพต้องมีความสมดุลระหว่างองค์ประกอบในเฟรม หมายความว่าคุณต้องวางสมดุลปริมาณของรายละเอียดและพื้นที่ ไฮไลท์และเงา ฯลฯ ความหมายของจุดโฟกัสหรือแบ็คกราวด์มีน้ำหนักเท่าไหร่? บรรยากาศที่เกิดจากคุณภาพของแสงและโทนสีอาจเพิ่มหรือลดน้ำหนักขององค์ประกอบอื่น ๆ
ความลึกซึ้งของบทบาทในภาพยนตร์มาจากการโต้ตอบกับตัวละครหลัก ในทำนองเดียวกัน น้ำหนักขององค์ประกอบภาพจะส่งผลต่อน้ำหนักขององค์ประกอบโดยรอบ เส้นนำมีค่าเฉพาะในความสัมพันธ์กับองค์ประกอบที่ทำให้คุณมอง องค์ประกอบที่ดีจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ
กฎและเทคนิคถ่ายรูป
กฎและเทคนิคถ่ายรูปโปรไฟล์ “กฎ” ในการจัดองค์ประกอบภาพจะมีประโยชน์เสมอ ลองดูว่าช่วยคุณให้การถ่ายภาพของคุณไปสู่อีกระดับได้อย่างไร
1. ใช้กฎสามส่วน
![เทคนิคถ่ายรูปใช้กฎสามส่วน](/wp-content/uploads/2021/03/Rule-of-Thirds.jpg)
การจัดวางตำแหน่งหลักของภาพถ่าย เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดผลทางด้านแนวความคิด และความรู้สึกได้ การวางตำแหน่งที่เหมาะสมของจุดสนใจในภาพ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ และที่นิยมกันโดยทั่วไปคือ กฎสามส่วน
กฎสามส่วนกล่าวไว้ว่า ไม่ว่าภาพจะอยู่แนวตั้งหรือแนวนอนก็ตาม หากเราแบ่งภาพนั้นออกเป็นสามส่วน ทั้งตามแนวตั้งและแนวนอน แล้วลากเส้นแบ่งภาพทั้งสามเส่น จะเกิดจุดตัดกันทั้งหมด 4 จุด ซึ่งจุดตัดของเส้นทั้งสี่นี้ เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการจัดวางวัตถุที่ต้องการเน้นให้เป็นจุดเด่นหลัก ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ นั้น เป็นส่วนสำคัญที่รองลงมา
2. การถือกล้อง
![เทคนิคถ่ายรูปโดยการถือกล้อง](/wp-content/uploads/2021/03/Camera-Shake.jpg)
วัตถุประสงค์หลัก ๆ ของการถือกล้องก็คือจับให้แน่น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการสั่นไหวในขณะถ่ายจะทำให้ได้ภาพชัด
- ใช้มือขวาจับด้านขวาของกล้องให้มั่น โดยให้นิ้วชี้แตะอยู่บนปุ่มชัตเตอร์เบา ๆ วนอีกสามนิ้วที่เหลือให้โอบหน้ากล้องเอาไว้ และนิ้วโป้งให้ยึดไว้หลังกล้อง
- ใช้มือซ้ายรองรับน้ำหนักกล้องเอาไว้ หรืออาจจับรอบเลนส์ก็ได้
- อย่ากางศอกเวลาถ่ายรูป และควรถือกล้องห่างจากใบหน้าราว ๆ 30 ซ.ม. หรือพยายามให้ใกล้ได้มากที่สุด โดยถ้าเป็นไปได้ให้เอากล้องมาแนบตาทุกครั้งในกรณีที่กล้องมีช่องมองภาพ
- เอนหลังพิงกำแพงหรือต้นไม้ ก็จะช่วยให้ถือกล้องได้นิ่งขึ้นได้
การจับถือกล้องที่ดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะจะทำให้เราได้ภาพที่คมชัด ปราศจากการสั่นไหวจากมือเรา แม้ในบางครั้งเราอาจจะต้องเกร็งและกลั้นหายใจ บ้างในการกดถ่ายภาพเพื่อประคองกล้องในมั่นคงที่สุดในตอนถ่ายภาพ ประเด็นสำคัญคือเพื่อไม่ให้เกิดการสั่นไหวจากการถือกล้องด้วยมือนั่นเอง
3. กฎการถ่ายภาพสามเหลี่ยม
![เทคนิคถ่ายรูปกฎการถ่ายภาพสามเหลี่ยม](/wp-content/uploads/2021/03/exposure-triangle-camera-637x630.jpg)
กฎการถ่ายภาพสามเหลี่ยม คือ การแสดงภาพของความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบหลักสามส่วนของการถ่ายภาพ ISO, ความเร็วชัตเตอร์ และรูรับแสง การรวมค่า ISO, รูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์จะทำให้ได้ค่าแสงที่เท่ากันสำหรับการตั้งค่าเฉพาะ หากมีการปรับองค์ประกอบใด ๆ เหล่านี้ ภาพที่ได้จะไม่เหมือนกัน ถ้าคุณเพิ่ม f-stop เพื่อลดปริมาณแสงที่จะรับไปยังเซ็นเซอร์คุณจะต้องปรับความเร็วชัตเตอร์และ ISO เพื่อให้ได้แสงที่เท่ากัน ไม่อย่างนั้นภาพของคุณอาจพร่ามัวหรือสว่างเกินไป (Overexposed หรือ Underexposure)
4. ใช้ฟิลเตอร์ PL (Polarizing filter)
![เทคนิคถ่ายรูปใช้ฟิลเตอร์ PL (Polarizing filter)](/wp-content/uploads/2021/03/Polarizing-Filter.jpg)
ฟิลเตอร์ PL คืออะไร (Polarizing filter) filter PL ย่อจาก Polarizing filter อ่านว่า โพลาไรซ์ซิง ฟิลเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นชิ้นเลนส์สองชิ้นประกอบติดกัน สามารถหมุนได้ และมีกรอบขนาดต่าง ๆ เอาไว้สวมติดหน้าเลนส์กล้องถ่ายรูป ที่เราเรียกกันว่าฟิลเตอร์ (filter) ฟิลเตอร์ชนิดนี้มีหน้าที่เอาไว้ตัดแสงสะท้อนของผิววัตถุที่เป็นอโลหะทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น น้ำ กระจก ใบไม้ หรือท้องฟ้า
นอกจากเอาไว้ตัดแสงสะท้อนแล้ว ที่ช่างภาพเข้าใจกันดี คือเอาไว้ทำให้ท้องฟ้ามีสีน้ำเงินเข้มขึ้นกว่าปกติ ในมุม 90 องศา
โดยมีหลักการใช้ง่าย ๆ คือ ท้องฟ้าที่จะมีสีเข้มนั้นจะต้องตั้งฉาก 90 องศากับดวงอาทิตย์ วิธีง่าย ๆ คือลองกำมือแล้วกางนิ้วชี้กับนิ้วโป้ออก ทำเป็นรูปตัว L นิ้วชี้ ชี้นิ้วชี้ไปไปที่ดวงอาทิตย์ ส่วนนิ้วโป้ตั้งฉาก มุมของท้องฟ้าที่จะเป็นสีน้ำเงินจะอยู่ตรงทางทิศที่นิ้วโป้หันไปรอบ ๆ แล้วมุมชิ้นเลนส์ด้านหน้าที่ประกบกันจนกว่าจะมีสีเข้มขึ้น
5. สร้างความชัดลึก ชัดตื้น
![เทคนิคถ่ายรูปสร้างความชัดลึก ชัดตื้น](/wp-content/uploads/2021/03/Sense-of-Depth.png)
ระยะชัดทางด้านหน้าของตำแหน่งที่ปรับความชัด เราจะเรียกว่า ชัดตื้น ส่วนระยะชัดด้านหลังของระนาบความชัด เราเรียกว่าชัดลึก ระยะชัดจากด้านหลังสุดเราเรียกว่า ช่วงความชัด เช่นเลนส์ขนาด 50 มม. ปรับความชัดที่ระยะ 3 เมตร ปรับขนาดรูรับแสง F/16 ระยะชัดด้านหน้าอยู่ที่ 2 เมตร ระยะชัดด้านหลังอยู่ที่ 10 เมตร ถึง 10 เมตร หรือมีช่วงระยะชัด 8 เมตร เป็นต้น
กลอ้งถ่ายภาพ 35 มม. DLR หรือกลอ้งดิจิตอล SLR ในปัจจุบันเป็นระบบ AUTO DIAPHRAGM ซึ่งเลนส์จะเปิดรูรับแสงกว้างสุดเอาไว้ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปรับความชัด (ปรับโฟกัส) และช่องมองภาพได้ง่ายขึ้น ดังนั้นภาพที่ปรากฏในช่องมองภาพที่มีระยะชัดลึกน้อยที่สุดของเลนส์ที่กำลัง ใช้งานอยู่ เมื่อชัตเตอร์บันทึกภาพ ระบบควบคุมของกลอ้งจะทำให้รูรับแสงหรี่ลงมาตามขนาดรูรับแสงจริงที่เราตั้งเอาไว้จากนั้นชัตเตอร์จึงทำงาน หลังจากที่ชัตเตอร์ปิด รูรับแสงก็จะเปิดกว้างสุดเหมือนเดิม หากถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงแคบ เช่น F/11 คุณก็จะได้ภาพถ่ายที่มีระยะชัดลึกมากกว่าที่มองเห็นในช่องมองภาพ
ชัดลึกและชัดตื้นจะมีความหมายในอีกกรณีหนึ่ง คือการชัดและเบลอของฉากหน้าและฉากหลัง ถ้าฉากหน้าและฉากหลังเบลอมากเราเรียกว่า ชัดตื้น หากชัดมากเราจะเรียกว่าชัดตื้น แต่เนื่องจากความชัดลึกชัดตื้นในกรณีนี้เป็นความรู้สึกของผู้ดูภาพซึ่งแต่ละบุคคลจะมีความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป
6. เลือกพื้นหลังที่เรียบง่าย
![เทคนิคถ่ายรูปเลือกพื้นหลังที่เรียบง่าย](/wp-content/uploads/2021/03/person-people.jpg)
วิธีที่ดีที่สุดในการดึงดูดสายตาคนก็คือทำให้พื้นหลังนั้นเรียบง่ายที่สุด ถ้ามีจุดสนใจมากเกินไปจะทำให้ภาพไม่มี impact เท่าที่มันควรจะมี แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นพื้นหลังสีขาวหรือดำแบบธรรมดาจนเกินไป เรียบง่ายในที่นี้หมายถึงพื้นหลังที่ไม่ดึงจุดสนใจของตัวแบบหลักจนเกินไป”
7. อย่าใช้แฟลชในที่ร่ม
![เทคนิคถ่ายรูปอย่าใช้แฟลชในที่ร่ม](/wp-content/uploads/2021/03/flash-camera.jpg)
แฟลชจะทำให้ไม่เป็นธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพบุคคล ดังนั้นจึงมีหลายวิธีที่คุณสามารถถ่ายภาพในร่มได้โดยไม่ต้องใช้แฟลช
ขั้นแรกให้ดัน ISO ขึ้น โดยปกติแล้ว ISO 800 ถึง 1600 จะสร้างความแตกต่างอย่างมากสำหรับความเร็วชัตเตอร์ที่คุณสามารถเลือกได้ ใช้รูรับแสงที่กว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ วิธีนี้แสงจะเข้าถึงเซ็นเซอร์ได้มากขึ้นและคุณจะมีฉากหลังเบลอที่สวยงาม การใช้ขาตั้งกล้องหรือเลนส์ IS (ป้องกันภาพสั่นไหว) ก็เป็นวิธีที่ดีในการหลีกเลี่ยงภาพเบลอ
หากคุณต้องใช้แฟลชอย่างแน่นอนให้ใช้แฟลชที่มีหัวที่คุณสามารถหมุนได้และชี้แสงไปที่เพดานเป็นมุม
8. เลือก ISO ที่เหมาะสม
![เทคนิคถ่ายรูปเลือก ISO ที่เหมาะสม](/wp-content/uploads/2021/03/ISO-camera.jpg)
การตั้งค่า ISO จะกำหนดว่ากล้องของคุณมีความไวต่อแสงเพียงใดและความละเอียดของเกรนของภาพ ISO ที่เราเลือกขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เมื่อมืดเราต้องดัน ISO ให้สูงขึ้นให้ตั้งแต่ 400 – 3200 เพราะจะทำให้กล้องมีความไวต่อแสงมากขึ้นจากนั้นเราจะหลีกเลี่ยงการเบลอได้ ในวันที่มีแดดเราสามารถเลือก ISO 100 หรือการตั้งค่าอัตโนมัติได้เนื่องจากเรามีแสงมากขึ้น
ISO Auto ตัวกล้องจะเป็นผู้คำนวนสถานการณ์ ณ ตรงหน้า และ ทำการเลือกค่า ISO ที่เหมาะสมให้ทันทีครับ ซึ่งค่า ISO ที่เหมาะสมที่ตัวกล้องทำการเลือกให้นั้น จะแตกต่างกันไป เพราะ ระบบประมวลผลในกล้องแต่ละรุ่นนั้น ล้วนมีวิธีการคิดที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยส่วนมาก ตัวกล้องจะพยายามเลือกค่า ISO ที่ทำให้ได้ค่า Speed Shutter มากเพียงพอที่จะไม่ทำให้ภาพเกิดการสั่นไหว
9. ถ่ายภาพเคลื่อนไหว
![เทคนิคถ่ายรูปถ่ายภาพเคลื่อนไหว](/wp-content/uploads/2021/03/Stop-action.jpg)
การถ่ายภาพเคลื่อนไหว หมายถึง การถ่ายภาพของวัตถุที่เคลื่อนไหว เช่น คนวิ่ง กระโดดโลดเต้น เล่นชิงช้ากระโดดสูง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน รถกำลังแล่น หรือการแข่งขันกีฬาด้านความเร็วประเภทต่าง ๆ การถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหว ดังกล่าวอาจจะทำได้ใน 3 ลักษณะ คือ
การจับภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง (Stop – action)
การถ่ายภาพในลักษณะนี้ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้สูง เช่น 1/250, 1/500 หรือ 1/1000 วินาที ตามความเหมาะสมกับความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เมื่อตั้งความเร็วชัตเตอร์ สูง ๆ จำเป็นต้องเปิดช่องรับแสงให้กว้างขึ้น เพื่อชดเชยให้แสง
การถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่งได้นั้น จะตั้งความเร็วชัตเตอร์เท่าใดย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
- ความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว
- ทิศทางการเคลื่อนไหวของวัตถุ
- ระยะทางจากกล้องถึงวัตถุ
- ความยาวโฟกัสของเลนส์
การถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวดูแล้วให้รู้สึกว่าเหมือนกำลังเคลื่อนไหว
การถ่ายภาพในลักษณะนี้ ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ ให้ช้า ๆ เช่น 1/30 วินาที, 1/15 วินาที หรือ 1/8 วินาที เป็นต้น เมื่อตั้งความเร็วชัตเตอร์ช้า ก็ต้องเปิดช่องรับแสงให้เล็กลง ภาพที่ได้จะปรากฏว่าสิ่งที่กำลังเคลื่อนไหวจะดูพร่า ทำให้เห็นว่าวัตถุนั้นกำลังเคลื่อนที่ส่วนวัตถุหรือสิ่งที่อยู่นิ่งจะคมชัด และการถ่ายภาพลักษณะนี้ควรจับถือกล้องให้นิ่งและมั่นคง หรือควรใช้ขาตั้งกล้องช่วย เพื่อไม่ให้กล้องสั่นไหว
การถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้เห็นวัตถุชัด ส่วนฉากหลังพร่ามัวเป็นทางยาว
การถ่ายภาพในลักษณะนี้ จะต้อง แพนกล้อง (Paning) ตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว พร้อม ๆ กับการกดไกชัตเตอร์ ความเร็วชัตเตอร์ความตั้งให้ช้า เช่น 1/60วินาที,1/30วินาทีหรือช้ากว่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยการปรับระยะชัดให้ปรับไปตรงจุดที่วัตถุ เคลื่อนที่ผ่าน
10. ทดลองใช้ความเร็วชัตเตอร์
![เทคนิคถ่ายรูปทดลองใช้ความเร็วชัตเตอร์](/wp-content/uploads/2021/03/Shutter-speed-712x630.jpg)
อย่ากลัวที่จะเล่นกับความเร็วชัตเตอร์เพื่อสร้างเอฟเฟกต์ที่น่าสนใจ เมื่อถ่ายภาพในเวลากลางคืนให้ใช้ขาตั้งกล้องและลองถ่ายภาพโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ตั้งไว้ที่ 4 วินาที คุณจะเห็นว่ามีการจับการเคลื่อนไหวของวัตถุพร้อมกับเส้นแสง
ลองถ่ายภาพองค์ประกอบอื่น ๆ ที่มีวัตถุเคลื่อนไหวหรือฉากหลังเช่นคลื่นบนชายหาดฝูงชนที่เดินรถสัญจรไปมาด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่แตกต่างกันเพื่อจับภาพการเคลื่อนไหวที่เบลอหรือภาพรวมที่ทำให้ทุกอย่างหยุดนิ่งได้ทันเวลา