หูอื้อ (Tinnitus) เป็นอาการอย่างหนึ่งเป็นสัญญาณว่ามีบางอย่างผิดปกติกับระบบการได้ยิน มาดูกันว่า อาการหูอื้อ เกิดจากอะไร? และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง?
หูอื้อ
หูอื้อ (Tinnitus) เป็นอาการอย่างหนึ่งเป็นสัญญาณว่ามีบางอย่างผิดปกติกับระบบการได้ยิน เป็นภาวะอย่างหนึ่งที่ทำให้การได้ยินลดน้อยลงไป เหมือนมีบางอย่างไปกั้นอยู่บริเวณรูหู ความคมชัดของเสียงลดลงซึ่งอาจจะค่อยเป็นค่อยไป หรือเกิดขึ้นทันทีทันใดก็ได้ บางรายอาจมีเสียงรบกวนในหู
หูอื้อเกิดจากอะไร
อาการหูอื้อสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ที่พบได้บ่อยมาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นที่หูชั้นกลาง เพราะหูชั้นกลางจะทำหน้าที่นำคลื่นเสียงไปยังหูชั้นในเพื่อส่งผ่านไปยังสมอง ซึ่งจะมีเพียงสัญญาณที่สมองสามารถรับได้เท่านั้นจึงแปลเปลี่ยนไปเป็นเสียงที่เราสามารถได้ยิน การได้ยินเสียงที่ดังมาก ๆ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หูอื้อได้ อาการหูอื้อเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการหูอื้อมีดังต่อไปนี้
- อยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงดังมากจนเกินไปเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ต หรืองานต่าง ๆ ที่มีเครื่องเสียงดัง ๆ การฟังเสียงดังมากเกินไปจะทำให้เส้นประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันได้
- หูชั้นกลางติดเชื้อจากไข้หวัด เมื่อเป็นไข้หวัดแล้วไม่รีบรักษาให้หาย จะทำให้ท่อยูสเตเชียนที่เชื่อมระหว่างลำคอและหูชั้นกลางเกิดการติดเชื้อ ทำให้ความดันในหูผิดปกติ และเกิดอาการหูอื้อตามมา ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการหูชั้นกลางอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสร่วมด้วย ทำให้มีหนองในหู ซึ่งต้องให้แพทย์เจาะออก
- มีน้ำคั่งค้างอยู่ในหู ซึ่งเกิดจากการเล่นกีฬาทางน้ำ เช่น ว่ายน้ำ เล่นเจ็ทสกี หรืออาบน้ำ แล้วมีน้ำเข้าไปภายในรูหู จนขี้หูเกิดการกักเก็บน้ำ หรืออมน้ำเอาไว้จนพองตัวมากขึ้น ส่งผลให้ขี้หูเข้าไปอุดตันอยู่ในหูจนเกิดเป็นอาการหูอื้อขึ้นมา ดังนั้นเวลาที่น้ำเข้าไปในหูจะต้องพยายามนำน้ำออกมาให้ได้ทันที
- อยู่ในสถานที่ที่ส่งผลให้ความดันในหูมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การขึ้นเครื่องบิน หรือการดำน้ำ ส่งผลให้เกิดอาการหูอื้อ เนื่องจากประสาทหูชั้นกลางอักเสบแบบเฉียบพลัน แต่เป็นอาการที่ไม่อันตราย และมักจะหายไปเองได้อย่างรวดเร็ว
- หูอื้อจากผลข้างเคียงของยาที่มีต่อประสาทหู เช่น อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) ควินิน (Quinine) แอสไพริน (Aspirin)
- หูอื้อจากประสาทหูเสื่อมไปตามอายุ เพราะเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น ประสาทหูก็อาจจะเสื่อมสภาพลงไปตามวัย ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดอาการหูอื้อขึ้นได้
- การบาดเจ็บที่บริเวณศีรษะ ในตำแหน่งที่มีผลกระทบต่อการได้ยิน
- อารมณ์เครียด
- โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease)
- มีขี้หูมากเกินไป บางครั้งเกิดจากการว่ายน้ำ ดำน้ำบ่อย ๆ ซึ่งหากขี้หูอยู่ใกล้แก้วหูก็อาจทำให้เกิดหูอื้อได้
- มีหินปูนเกาะฐานกระดูกโกลน
- มีน้ำขังในหูชั้นกลาง ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากน้ำเข้าหู ทำให้ได้ยินเสียงก้องในหูได้
- มีเนื้องอกในช่องหู ทำให้ได้ยินเสียงตุบ ๆ ในหู คล้ายเสียงเต้นของชีพจร
- เอ็นยึดกระดูกโกลนในหูชั้นกลางหดเกร็ง ทำให้หูอื้อและเกิดเสียงคลิก ๆ ในหู
- มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหู เช่น แมลงเข้าหู ทำให้การได้ยินไม่ชัดเจน ร่วมกับมีอาการปวดหู
- มีความดันโลหิตสูง ทำให้การสูบฉีดเลือดแรงขึ้นจนเกิดเสียงรบกวนในหูได้
- การดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่
วิธีแก้หูอื้อเบื้องต้น
- การบำบัดด้วยเสียง: การใช้เสียงพื้นหลัง เช่น เสียงสีขาวหรือเสียงธรรมชาติ เพื่อปกปิดหูอื้อและทำให้มองเห็นได้ชัดเจนน้อยลง
- การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา (CBT): การบำบัดประเภทนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้บุคคลจัดการกับหูอื้อโดยเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสภาพ
- ยา: ยาบางชนิด เช่น ยาต้านอาการซึมเศร้าและยาคลายความวิตกกังวล สามารถใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการหูอื้อได้
- การบำบัดด้วยการฝึกฝนหูอื้อ (TRT): การบำบัดนี้เกี่ยวข้องกับการใช้การให้คำปรึกษาและการบำบัดด้วยเสียงเพื่อช่วยให้บุคคลเรียนรู้ที่จะคุ้นเคยกับหูอื้อของตน ทำให้ไม่น่ารำคาญ
- การฝังเข็ม: การศึกษาบางชิ้นพบว่าการฝังเข็มอาจมีประสิทธิภาพในการลดอาการหูอื้อ
- Maskers: Masker เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่สร้างเสียงเบา ๆ ที่สามารถใช้เพื่อปกปิดหูอื้อ
- เครื่องช่วยฟัง: ในกรณีที่หูอื้อเกี่ยวข้องกับการสูญเสียการได้ยิน อาจกำหนดเครื่องช่วยฟังเพื่อขยายเสียงและทำให้หูอื้อน้อยลง
สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าการรักษาหูอื้อจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และอาจต้องใช้วิธีต่างๆ ผสมผสานกัน ปรึกษาแพทย์หรือนักโสตสัมผัสวิทยาเพื่อขอคำแนะนำเฉพาะบุคคล
วิธีแก้หูอื้อโดยแพทย์
อาการหูอื้อจะใช้วิธีการรักษาตามสาเหตุที่เกิด ตัวอย่างเช่น
- หากเกิดหูอื้อจากขี้หูตัน อาจใช้วิธีแคะขี้หูออก แต่ต้องระมัดระวังไม่แคะไปลึกมาก เพราะจะทำให้เกิดบาดแผลและอาจเกิดการติดเชื้อได้ หรืออาจหยอดยาละลายขี้หูก็ได้
- หากสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในหู แพทย์อาจให้ทานยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อ รวมถึงหากสาเหตุมาจากโรคหวัด ก็ต้องรักษาเชื้อหวัดให้หายเช่นกัน
- หากเกิดจากมีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู แพทย์จะใช้เครื่องมือนำสิ่งแปลกปลอมออกมา
- ถ้าหูอื้อเนื่องจากน้ำขังในหู ต้องพยายามนำน้ำออกมา โดยการเอียงหูลงต่ำ แล้วกระโดดหรือเคาะศีรษะเบา ๆ แต่บางครั้งอาจจำเป็นต้องให้แพทย์ใช้เครื่องมือดูดน้ำออก
- บางสาเหตุอาจต้องอาศัยการผ่าตัดเพื่อรักษา เช่น มีหินปูนเกาะที่กระดูกโกลนในหู หรือมีเนื้องอกในหู เป็นต้น
- หากเกิดหูอื้อเรื้อรัง อาจใช้อุปกรณ์ช่วยบำบัด เช่น อุปกรณ์กลบเสียง ที่ใช้สร้างเสียงสีขาว (white noise) เพื่อกลบเสียงรบกวนในหู หรือถ้ามีอาการหูตึ
ไปพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการต่อไปนี้
- หูอื้อฉับพลันโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดกับหูข้างเดียว
- เกิดขึ้นพร้อมกับอาการเวียนศีรษะหรือการสูญเสียการได้ยิน
- หูอื้อหลังจากเป็นไข้หวัดนานกว่า 1 สัปดาห์
- มีอาการต่าง ๆ ก่อให้เกิดความรำคาญ
- สังเกตพบว่าอาจสูญเสียการได้ยิน