คนส่วนใหญ่ต่างอยากสูง ซึ่งความสูงของแต่ละคนที่แตกต่างกันนั้นเป็นผลมาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น พันธุกรรม เพศ โภชนาการ ปัญหาสุขภาพ เป็นต้น ปกติทั่วไปแล้วผู้หญิงจะหยุดสูงเมื่ออายุประมาณ 17 ปี ส่วนผู้ชายจะหยุดสูงเมื่ออายุประมาณ 19 ปี จนถึง 25 ปี ทั้งนี้แต่ละบุคคลจะไม่เหมือนกัน ซึ่งถ้าเลยวัยนี้ไปแล้วจะไม่สามารถเพิ่มส่วนสูงได้ตามต้องการ ดังนั้นสำหรับผู้มีโอกาสไม่ควรที่จะพลาดโอกาสดี ๆ เพราะนั่นหมายถึงโอกาสทางชีวิต สังคม การงาน ซึ่งมีผลแทบทั้งสิ้น
วิธีเพิ่มความสูง
กรรมพันธุ์เป็นสาเหตุที่ส่งผลต่อความสูงของโดยตรง ถ้าพ่อแม่สูงทั้งคู่ คุณก็จะมีโอกาสสูง ในทางกลับกัน กรณีที่พ่อแม่ไม่สูงทั้งคู่ คุณก็จะไม่สูงเหมือนกัน แต่ถ้าพ่อแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสูง คุณก็จะมีโอกาสสูงในระดับกลาง แต่ในบางกรณีที่พ่อและแม่มีความสูงตามมาตรฐาน แต่อาจมีแนวโน้มความผิดปกติซึ่งเกิดจากปัจจัยอื่นอีกด้วย
1. อาหารและโภชนาการ
อาหารและโภชนาการมีส่วนสำคัญกับความสูงตั้งแต่คุณแม่อยู่ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ เด็กจะมีพัฒนาการทางกายภาพอยู่ 2 ช่วงอายุ คือ ช่วงแรกเกิดจนถึง 2 ปีแรก และช่วงเข้าสู่วัยรุ่น ในช่วงแรกที่เด็กอยู่ในวัยเจริญเติบโต สารอาหารนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเด็กขณะนั้นยังไม่สามารถเลือกอาหารทานเองได้ จึงเป็นช่วงที่ผู้ปกครองจะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ
ในช่วงวัยรุ่นร่างกายจะต้องการแคลเซียมถึงวันละ 1,200-1,500 มิลลิกรัม ซึ่งมาจากนมอย่างน้อยวันละ 3 กล่อง ในกรณีสารอาหารไม่เพียงพอ การทานแคลเซียมวันละ 1 เม็ด หลังมื้ออาหารโดยเริ่มตั้งแต่อายุ 8 ขวบ วันละ 500 มิลลิกรัม เป็นการเสริมสร้างมวลกระดูกตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งเด็กหญิงจะเข้าสู่วัยรุ่นในช่วงอายุ 11.5 ปี จนถึง 16 ปี ส่วนผู้ชายตั้งแต่อายุ 13 ปี จนถึง 20 ปี
2. ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายกระตุ้นการเติบโต จะช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของร่างกาย ควรเป็นกิจกรรมที่มีแรงกระแทกโดยมีแรงที่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการกระตุ้นกระดูกและข้อต่อกระดูกให้ยืดตัวขึ้น เพิ่มความยาวของกระดูกสันหลัง เช่น การวิ่ง ,การกระโดดเชือก ,ขี่จักรยาน ,ว่ายน้ำ ,การโหนบาร์ ,เล่นโยคะ โดยเวลาที่พอเหมาะสมต่อวัน คือ 45 – 60 นาที การออกกำลังกายในลักษณะนี้มีส่วนในการเพิ่มความสูง
3. นอนหลับให้เพียงพอ
เมื่อออกกำลังกายแล้วต้องมีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ร่างกายจะซ่อมแซมเนื้อเยื่อ มีการพัฒนาในช่วงขณะที่นอนหลับอย่างมีคุณภาพ คนเราต้องการนอนอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงต่อวัน การนอนหลับเป็นเวลายาวนานแต่ไม่เป็นช่วงเวลาก็ไม่สามารถทำให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญในการพัฒนาทางกายภาพ เนื่องจากมนุษย์จะมีนาฬิกาควบคุมอยู่ภายใน (Biological Clock)
ร่างกายเราต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอแค่ไหนกัน ตามคำแนะนำของ National Sleep Foundation Recommends New Sleep Times ได้กำหนดชั่วโมงที่เหมาะสมในการนอนตามช่วงอายุ ดังนี้
วัย | อายุ | ควรมีชั่วโมงการนอน |
เด็กวัยเรียน | 6-13 ปี | 9-11 ชั่วโมง |
วัยรุ่น | 14-17 ปี | 8-10 ชั่วโมง |
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น | 18-25 ปี | 7-9 ชั่วโมง |
วัยผู้ใหญ่ | 26-64 ปี | 7-9 ชั่วโมง |
วัยสูงอายุ | 65 ปีขึ้นไป | 7-8 ชั่วโมง |
4. รับประทานอาหารเสริม
รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแพทย์มักไม่แนะนำให้เด็กที่ต้องการเพิ่มความสูงหรือผู้สูงอายุที่มีส่วนสูงลดลงใช้วิธีนี้ แต่มักใช้กับผู้มีการเจริญเติบโตผิดปกติหรือผู้ที่ต้องการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงเท่านั้น โดยจะแนะนำให้ผู้ที่ร่างกายผลิตโกรทฮอร์โมนผิดปกติรับประทานโกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ หรือแนะนำให้ผู้สูงอายุรับประทานแคลเซียมและวิตามินดี เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน ทั้งนี้ การรับประทานอาหารเสริมไม่อาจช่วยให้สูงขึ้นได้ หากร่างกายหยุดเจริญเติบโตไปแล้ว