
Fact Check Explorer เป็นเครื่องมือจาก Google สำหรับเช็คข่าวปลอม โดยนำข้อมูลมาจากสื่อชื่อดังทั่วโลก ทำให้เราสามารถเช็คข่าวปลอม Fake News ได้
วิธีเช็คข่าวปลอม

วิธีใช้ Fact Check Explorer เพื่อเช็คข่าวปลอม Fake News ให้เข้าไปที่ https://toolbox.google.com/factcheck และพิมพ์คำที่เราต้องการลงไป จะปรากฏข่าวที่เกี่ยวข้อง และขึ้น Rating แนะนำว่าเป็นข่าวจริงหรือไม่จริง หรืออาจจะยังไม่สามารถตรวจสอบได้ การตรวจความถูกต้องของไทยในตอนนี้จะมากจาก tna.mcot.net เป็นหลัก
ข่าวปลอม Fake News คือ
ข่าวปลอม (Fake News) คือ ข่าวที่นำไปสู่ความเข้าใจผิดและไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริง แตกต่างจากข่าวเสียดสี (News satire) ซึ่งดัดแปลงข้อมูลเพื่อมุ่งสร้างอารมณ์ขันให้กับผู้อ่าน ข่าวปลอมจงใจให้สารสนเทศที่ผิดพลาด ไม่ใช่เพื่อความชวนหัว แต่หวังผลประโยชน์จากความเข้าใจผิดนั้น ผู้ขาดทักษะในการจำแนกข้อเท็จจริง มีโอกาสถูกยั่วยุให้หลงเชื่อข่าวปลอมได้ง่ายๆ
กลุ่มคนอายุ 65 ปีขึ้นไป มีพฤติกรรมแชร์ข่าวปลอมถึง 11% เมื่อเทียบกับกลุ่มอายุ 18-29 ปีที่มีสัดส่วนเพียง 3% ที่มีพฤติกรรมแขร์ข่าวปลอม และเมื่อเจาะลึกกลุ่มผู้ใช้เฟซบุ๊ก พบว่ากลุ่มวัย 65 ปี จะมีความถี่ในการแชร์ข่าวปลอมมากกว่ากลุ่มอายุ 45-65 ปีถึง 2 เท่าตัว และมากกว่ากลุ่มคนในวัย 18-29 ปีถึงเกือบ 7 เท่าตัว