ในช่วงฤดูที่อากาศชุ่มชื้น เห็ดป่ามักเจริญเติบโตได้ดี กิจกรรมที่ชาวบ้านหรือคนที่อาศัยใกล้ชิดธรรมชาตินิยมทำ ก็คือการเก็บเห็ดป่ามารับประทาน มาดูรายชื่อเห็ดพิษ เห็ดกินได้ที่พบบ่อย และรูปประกอบ เพื่อให้ทุกคนได้ทราบไว้ ก่อนเลือกเก็บหรือเลือกซื้อเห็ดป่ามารับประทาน
เห็ดพิษ เห็ดกินได้
เห็ดพิษ
- เห็ดระโงกเหลืองก้านตัน
- เห็ดกระโดงตีนตัน
- เห็ดคล้ายเห็ดโคน
- เห็ดข่า
- เห็ดขี้ควาย
- เห็ดตอมกล้วยแห้ง
- เห็ดระโงกหิน
- เห็ดไข่
- เห็ดมันปูใหญ่
- เห็ดดอกกระถิน
- เห็ดแดงก้านแดง
- เห็ดเผาะ (มีราก)
- เห็ดขี้วัว
- เห็ดไข่หงษ์
- เห็ดโคนส้ม
เห็ดกินได้
- เห็ดแดงกุหลาบ
- เห็ดไข่เหลือง
- เห็ดระโงกขาว
- เห็ดโคน
- เห็ดโคนฟาน
- เห็ดก่อเหลือง
- เห็ดกูด
- เห็ดหล่มกระเจียว
- เห็ดตับเต่า
- เห็ดน้ำแป้ง
- เห็ดข้าวเหนียว
- เห็ดพุงหมู
- เห็ดเผาะ (ไม่มีราก)
- เห็ดมันปู
- เห็ดจั่น
อาการแพ้เห็ดพิษ
สารพิษที่พบได้ในเห็ดนั้นมีหลายชนิด ซึ่งเมื่อเรากินเข้าไปก็จะทำให้เกิดอาการผิดปกติแตกต่างกันไป ตั้งแต่อาการรุนแรงน้อย เช่น ท้องร่วง อาเจียน ไปจนถึงอาการรุนแรงมากและอาจเสียชีวิต ความผิดปกติที่พบได้บ่อยจากการทานเห็ดพิษ ได้แก่
- พิษต่อตับและทางเดินอาหาร เมื่อรับพิษเข้าไประยะแรก จะเกิดทางเดินอาหารอักเสบ ปวดท้องและท้องร่วงอย่างรุนแรง อุจจาระมีมูกเลือดปน หากไม่รีบรักษาด้วยการให้น้ำเกลืออาจเสียชีวิตในระยะนี้ได้ ระยะต่อมาจะเกิดอาการตับอักเสบ เนื้อเยื่อตับตาย ไตวาย หัวใจวาย เกิดลิ่มเลือดทั่วร่างกาย และมีโอกาสเสียชีวิตสูง
- พิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง คนที่ทานสารพิษกลุ่มนี้เข้าไป ภายใน 24 ชั่วโมง จะมีอาการมึนงง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และเป็นตะคริว หลังจากนั้นจะมีอาการชัก เพ้อ และหมดสติ รวมถึงอวัยวะต่างๆ ทำงานล้มเหลว และอาจเสียชีวิตได้
- พิษต่อระบบประสารทอัตโนมัติ สารพิษในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์รวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง ทำให้มีอาการหัวใจเต้นเร็ว ม่านตาหดเล็ก หลอดลมหดเกร็ง น้ำตาไหล น้ำลายฟูมปาก อย่างไรก็ตาม สารพิษกลุ่มนี้จะถูกดูดซึมได้น้อย และมักถูกทำลายได้โดยความร้อน
- พิษต่อไต เห็ดบางชนิดมีสารพิษที่ทำลายเนื้อเยื่อไตโดยตรง ทำให้ไตอักเสบ และมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ปัสสาวะบ่อย และมีภาวะไตวายเรื้อรังในระยะยาวได้
การปฐมพยาบาลเห็ดพิษ
การปฐมพยาบาลมีความสำคัญอย่างยิ่ง หากผู้ป่วยรับประทานเห็ดพิษและเกิดอาการพิษขึ้น ควรจะรู้จักวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องกับผู้ป่วย แต่ตามชนบทมักจะปฏิบัติกับผู้ป่วยผิด ๆ และทำให้เสียชีวิตกันอยู่เสมอ อนึ่ง อาการพิษของเห็ดจะแสดงอาการหลังรับประทานแล้วหลายชั่วโมง ซึ่งพิษมักจะกระจายไปมาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องรู้จักวิธีปฐมพยาบาล แล้วรีบนำส่งแพทย์ เพื่อทำการรักษาโดยรีบด่วนต่อไป
การปฐมพยาบาลนั้น ที่สำคัญที่สุด ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาเศษอาหารที่ตกค้างออกมาให้มาก และทำการช่วยดูดพิษจาก ผู้ป่วยโดยวิธีใช้น้ำอุ่นผสมผงถ่าน activated charcoal และดื่ม 2 แก้ว โดยแก้วแรกให้ล้วงคอให้อาเจียนออกมาเสียก่อนแล้วจึงดื่มแก้วที่ 2 แล้วล้วงคอให้อาเจียนออกมาอีกครั้ง จึงนำส่งแพทย์พร้อมกับตัวอย่างเห็ดพิษหากยังเหลืออยู่ หากผู้ป่วยอาเจียนออกยากให้ใช้เกลือแกง 3 ช้อนชาผสมน้ำอุ่นดื่ม จะทำให้อาเจียนได้ง่ายขึ้น แต่วิธีนี้ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ
อนึ่ง ห้ามล้างท้องด้วยการสวนทวารหนักโดยพละการ วิธีนี้ต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยเท่านั้น เพราะวิธีนี้จะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยหากร่างกายขาดน้ำ หลังจากปฐมพยาบาลผู้ป่วยแล้ว ให้รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน พร้อมกับตัวอย่างเห็ดพิษ (หากยังเหลืออยู่) หรืออาจจะการปฐมพยาบาลผู้ป่วยในระหว่างนำส่งแพทย์ด้วยก็ได้