ตารางแสดงแคลอรี่ผัก แคลอรี่ต่ํา แคลอรี่สูง สำหรับคนรักสุขภาพ หรือ ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดความอ้วน มีหลายหลายเมนู อัพเดทตลอด
แคลอรี่ (Calorie) คือ หน่วยที่ใช้ในการวัดค่าพลังงานที่เราสามารถพบเห็นได้ตามฉลาก หรือตามข้างบรรจุภัณฑ์อาหารประเภทต่าง ๆ มีประโยชน์เพื่อใช้บอกค่าพลังงานที่เรารับเข้าไปจากการรับประทานอาหารชนิดนั้น ๆ
โดยใน 1 แคลอรี่ก็คือปริมาณที่ทำให้น้ำ 1 กรัม มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส ส่วนพลังงานที่ใช้ในร่างกาย หรือพลังงานที่เราได้รับจากอาหารจะเรียกแทนหน่วยเป็น กิโลแคลรี่ (kcal) เพื่อบอกว่า อาหารที่เรานำเข้าสู่ร่างกายนั้นมีจำนวนพลังงานเท่าไหร่ และเราควรจะเลือกบริโภคอาหารชนิดใดเพื่อให้มีพลังงานที่เพียงพอต่อการใช้งานใน 1 วัน
ตารางแคลอรี่ผัก
เช็คตารางแคลอรี่ผัก สำหรับคนรักสุขภาพ พร้อมข้อมูลค่าโภชนาการและปริมาณสารอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกาย
ชื่อผัก | ปริมาณ/หน่วย | แคลอรี่ (kcal) |
กระเจี๊ยบเปรี้ยวใบ | 100 กรัม | 48 |
กระเจี๊ยบมอญฝักอ่อน | 100 กรัม | 26 |
กระชาย | 100 กรัม | 54 |
ยอดกระโดน (โดน) | 100 กรัม | 96 |
ยอดอ่อนกระถิน | 100 กรัม | 77 |
กระทือขาว | 100 กรัม | 17 |
กระทือแดง | 100 กรัม | 18 |
ใบกรุงเขมา | 100 กรัม | 95 |
น้ำคั้นจากใบกรุงเขมา | 100 กรัม | 3 |
ยอดกะทกรก | 100 กรัม | 66 |
ใบกะเพราแดง | 100 กรัม | 46 |
ดอกกะหล่ำ | 100 กรัม | 13 |
กะหล่ำปลี | 100 กรัม | 16 |
ดอกกุยฉ่าย | 100 กรัม | 32 |
ดอกขจร | 100 กรัม | 78 |
ขนุนอ่อน | 100 กรัม | 49 |
ขมิ้นขาว | 100 กรัม | 26 |
ข้าวโพดอ่อน | 100 กรัม | 33 |
ข้าวสารดอก | 100 กรัม | 39 |
หน่อข่าอ่อน | 100 กรัม | 21 |
หัวข่าอ่อน | 100 กรัม | 24 |
ขิงแก่ | 100 กรัม | 28 |
ขิงอ่อน | 100 กรัม | 14 |
ยอดและใบอ่อนขี้เหล็ก | 100 กรัม | 87 |
ดอกขี้เหล็ก | 100 กรัม | 98 |
คื่นช่าย | 100 กรัม | 23 |
คูน | 100 กรัม | 12 |
ดอกแค | 100 กรัม | 38 |
ยอดแค | 100 กรัม | 108 |
แครอท | 100 กรัม | 42 |
จำปานา | 100 กรัม | 37 |
ยอดจิก | 100 กรัม | 56 |
ใบชะพลู | 100 กรัม | 119 |
ใบชะมวง | 100 กรัม | 64 |
ยอดชะอม | 100 กรัม | 80 |
ดอกงิ้วแดงแห้ง | 100 กรัม | 317 |
ดอกต้างป่า จ.แพร่ | 100 กรัม | 60 |
ดอกผักกวางตุ้ง | 100 กรัม | 34 |
ดอกผักอ้วน จ.เชียงใหม่ | 100 กรัม | 50 |
ดอกโสน | 100 กรัม | 54 |
ดากเงาะ | 100 กรัม | – |
โด่เด่ | 100 กรัม | 70 |
ต้นกระเทียม | 100 กรัม | 40 |
ต้นหอม | 100 กรัม | 34 |
ดอกต้นหอม | 100 กรัม | 20 |
ตะเกียงกะหล่ำ | 100 กรัม | 36 |
ตะละปัดฤาษี, ตะละปัดใบพาย | 100 กรัม | 17 |
ผลตะลิงปลิง | 100 กรัม | 11 |
ใบตั้งโอ๋ | 100 กรัม | 20 |
ตำลึง | 100 กรัม | 39 |
ผลเตียง | 100 กรัม | 64 |
แตงกวา | 100 กรัม | 15 |
แตงไทยอ่อน | 100 กรัม | 13 |
แตงโมอ่อน | 100 กรัม | 12 |
แตงร้าน | 100 กรัม | 8 |
ถั่วแขก | 100 กรัม | 31 |
ถั่วงอก | 100 กรัม | 39 |
ถั่วงอกหัวโต | 100 กรัม | 79 |
ถั่วปีผักสด | 100 กรัม | 39 |
ถั่วฝักยาว | 100 กรัม | 39 |
ถั่วฝักยาวแดง | 100 กรัม | 35 |
ถั่วพูฝักอ่อน | 100 กรัม | 23 |
ถั่วพู | 100 กรัม | 408 |
ถั่วไร่ | 100 กรัม | 36 |
ถั่วลันเตา | 100 กรัม | 58 |
ผลเถาคัน | 100 กรัม | 27 |
ใบทองหลาง | 100 กรัม | 72 |
เนื้อน้ำเต้า | 100 กรัม | 10 |
ผลน้ำเต้า | 100 กรัม | 17 |
ไส้น้ำเต้า | 100 กรัม | 10 |
ผลเนียงนก | 100 กรัม | 153 |
เนียงรอก | 100 กรัม | 88 |
ผลเนียงหรือชเนียง | 100 กรัม | 162 |
บร็อคโคลี่ | 100 กรัม | 33 |
บวบงู | 100 กรัม | 16 |
บวบหอม | 100 กรัม | 16 |
บวบเหลี่ยม | 100 กรัม | 18 |
บอนส้ม | 100 กรัม | 18 |
ใบบัวบก | 100 กรัม | 54 |
ยอดอ่อนบุกเกียง | 100 กรัม | 21 |
ยอดอ่อนบุกงูเหลือม | 100 กรัม | 17 |
ใบเตย | 100 กรัม | 55 |
น้ำคั้นใบเตย | 100 กรัม | 4 |
ใบปอภาคใต้ | 100 กรัม | 77 |
ใบเปราะ | 100 กรัม | 18 |
ใบยี่หร่า | 100 กรัม | 56 |
น้ำคั้นใบสะท้อน | 100 กรัม | 133 |
ปรงทะเล | 100 กรัม | 64 |
ผลประดอง | 100 กรัม | 350 |
ผักกวางตุ้ง | 100 กรัม | 14 |
ผักกวางตุ้งไต้หวัน | 100 กรัม | 15 |
ผักกะเฉด | 100 กรัม | 40 |
ผักกะโดน | 100 กรัม | 90 |
ผักกะสัง | 100 กรัม | 13 |
ผักกะออม | 100 กรัม | 24 |
ผักกาดขาว | 100 กรัม | 11 |
ผักกาดเขียว จ.กรุงเทพฯ | 100 กรัม | 17 |
ผักกาดเขียว จ.เชียงใหม่ | 100 กรัม | 26 |
ผักกาดนกเขา จ.สงขลา | 100 กรัม | 24 |
ผักกาดหอม | 100 กรัม | 27 |
ผักกีบม้า | 100 กรัม | 18 |
ผักกุ่มดอง | 100 กรัม | 108 |
ผักกูด | 100 กรัม | 25 |
ผักขาเขียด | 100 กรัม | 16 |
ผักขี้ขวง | 100 กรัม | 34 |
ผักขี้ใต้ | 100 กรัม | 17 |
ผักขี้หูด จ.เชียงใหม่ | 100 กรัม | 15 |
ผักแขยง กรุงเทพฯ | 100 กรัม | 31 |
ผักแขยง อุบลฯ | 100 กรัม | 38 |
ผักคะน้า | 100 กรัม | 31 |
ผักจวง | 100 กรัม | 164 |
ผักจากง | 100 กรัม | 79 |
ผักจิกนอนวัน | 100 กรัม | 274 |
ผักจุมปา (กุมปลา) | 100 กรัม | 44 |
ผักเจียงคา | 100 กรัม | 70 |
ผักชีฝรั่ง | 100 กรัม | 38 |
ผักชีล้อม | 100 กรัม | 27 |
ผักชีลาว | 100 กรัม | 39 |
ผักเดือยดิน | 100 กรัม | 134 |
ผักติ้ว | 100 กรัม | 63 |
ผักเตา | 100 กรัม | 26 |
ผักบ่อ | 100 กรัม | 15 |
ผักบุ้งขาว | 100 กรัม | 27 |
ผักบุ้งแดง | 100 กรัม | 19 |
ผักปลัง (ผักปั๋ง) | 100 กรัม | 24 |
ผักป๋วยเล้ง | 100 กรัม | 25 |
ผักผำ | 100 กรัม | 9 |
ผักไผ่ | 100 กรัม | 62 |
ผักผ่อง | 100 กรัม | 30 |
ผักแพงพวย | 100 กรัม | 46 |
ผักแพว อุบลฯ | 100 กรัม | 42 |
ผักมันปู | 100 กรัม | 112 |
ผักเม็ก | 100 กรัม | 84 |
ผักเม่า | 100 กรัม | 58 |
ผักแมะ | 100 กรัม | 56 |
ผักลำปะสี | 100 กรัม | 31 |
ผักลิ้น สงขลา | 100 กรัม | 12 |
ผักแว่น | 100 กรัม | 27 |
ยอดผักแส้ว เชียงใหม่ | 100 กรัม | 52 |
ผักเสม็ด | 100 กรัม | 75 |
ผักเสี้ยว (ชงโค) เชียงใหม่ | 100 กรัม | 61 |
ผักหนาม | 100 กรัม | 21 |
ผักห่มน้อย อุบล | 100 กรัม | 33 |
ผักหมากหมก | 100 กรัม | 73 |
ผักหมุย | 100 กรัม | 104 |
ผักหวาน | 100 กรัม | 47 |
ผักหวานบ้าน | 100 กรัม | 39 |
ผักออบแอบ | 100 กรัม | 49 |
ผักอีหล่ำ | 100 กรัม | 86 |
ยอดผักฮ้วน เชียงใหม่ | 100 กรัม | 68 |
ยอดผักฮี้ เชียงใหม่ | 100 กรัม | 55 |
ยอดผักเฮือด เชียงใหม่ | 100 กรัม | 45 |
พริกขี้หนู อุบล | 100 กรัม | 44 |
พริกขี้หนูเม็ดเล็ก | 100 กรัม | 55 |
พริกชี้ฟ้าเขียว | 100 กรัม | 44 |
พริกชี้ฟ้าแดง | 100 กรัม | 58 |
พริกไทยอ่อนเมล็ด | 100 กรัม | 94 |
พริกหนุ่ม | 100 กรัม | 11 |
พริกหยวก | 100 กรัม | 27 |
พริกเหลือง | 100 กรัม | 82 |
พริกหวาน, พริกยักษ์ | 100 กรัม | 55 |
ฟักข้าว | 100 กรัม | 28 |
ฟักเขียว | 100 กรัม | 11 |
เนื้อฟักทอง | 100 กรัม | 124 |
เนื้อและเปลือกฟักทอง | 100 กรัม | 43 |
ยอดอ่อนฟักทอง | 100 กรัม | 16 |
มะกอกไทย | 100 กรัม | 79 |
ยอดอ่อนมะกอก | 100 กรัม | 46 |
มะขามฝักสด | 100 กรัม | 70 |
ยอดอ่อนมะขาม | 100 กรัม | 55 |
มะเขือกรอบ | 100 กรัม | 40 |
มะเขือขาวดอง | 100 กรัม | 26 |
มะเขือขื่น | 100 กรัม | 48 |
มะเขือเครือ | 100 กรัม | 13 |
มะเขือเจ้าพระยา | 100 กรัม | 26 |
มะเขือเทศ | 100 กรัม | 22 |
มะเขือพวง | 100 กรัม | 46 |
มะเขือม่วง | 100 กรัม | 28 |
มะเขือแม่สอด (มะระหวาน) | 100 กรัม | 18 |
มะเขือเสวย | 100 กรัม | 33 |
มะดัน | 100 กรัม | 31 |
มะระขี้นก | 100 กรัม | 17 |
มะระขี้จีน | 100 กรัม | 28 |
ยอดอ่อนมะระ | 100 กรัม | 79 |
ฝักมะรุม | 100 กรัม | 32 |
มะละกอดิบ กุดเป่ง อุบลฯ | 100 กรัม | 27 |
มะละกอดิบผลป้อม | 100 กรัม | 33 |
มะละกอดิบผลยาว | 100 กรัม | 13 |
มะแว้ง | 100 กรัม | 59 |
มะอึก | 100 กรัม | 53 |
ยอดฟักข้าว เชียงใหม่ | 100 กรัม | 43 |
ยอดผักแส้ว เชียงใหม่ | 100 กรัม | 47 |
ยอดผักฮ้วน เชียงใหม่ | 100 กรัม | 58 |
ยอดผักฮี้ เชียงใหม่ | 100 กรัม | 50 |
ยอดผักเฮือด เชียงใหม่ | 100 กรัม | 39 |
ยอดมะพร้าวอ่อน เชียงใหม่ | 100 กรัม | 34 |
ยอดมะพร้าวอ่อน นครปฐม | 100 กรัม | 42 |
ลูกตะลิงปลิง | 100 กรัม | 11 |
ลูกเนียง หรือ ชะเนียง | 100 กรัม | 156 |
ลูกเนียงนก | 100 กรัม | 151 |
สะตอ | 100 กรัม | 130 |
สมอไทย | 100 กรัม | 53 |
ยอดสะเดา | 100 กรัม | 76 |
สะแล | 100 กรัม | 79 |
สายบัว | 100 กรัม | 6 |
หน่อไม้ปี๊บ | 100 กรัม | 39 |
หน่อไม้ไผ่ตง | 100 กรัม | 27 |
หน่อไม้ไผ่ป่า | 100 กรัม | 29 |
หน่อไม้หวานหน่อเล็ก | 100 กรัม | 9 |
หน่อไม้หวานหน่อใหญ่ | 100 กรัม | 18 |
หน่อเหลียง | 100 กรัม | 88 |
หยวกกล้วยน้ำว้า | 100 กรัม | 6 |
หยวกกล้วยอ่อน | 100 กรัม | 13 |
หัวปลี | 100 กรัม | 25 |
เห็ดขมิ้น | 100 กรัม | 25 |
เห็ดนางรม | 100 กรัม | 28 |
เห็ดบัว (เห็ดฟาง) | 100 กรัม | 43 |
เห็ดบัว (เห็ดฟาง) | 100 กรัม | 28 |
เห็ดเป๋าฮื้อ | 100 กรัม | 29 |
เห็ดเผาะ | 100 กรัม | 37 |
เห็ดลม | 100 กรัม | 76 |
เห็ดลมภาคใต้ | 100 กรัม | 65 |
เห็ดหูหนู | 100 กรัม | 43 |
มะเขือเปราะ | 100 กรัม | 50 |
มะเขือยาว | 100 กรัม | 28 |
แคลอรี่ต่อวัน
ปกติแล้วปริมาณของแคลอรี่ที่ควรบริโภคต่อวันสำหรับคนทั่วไปที่ทำงานหนักปานกลาง คือประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี่ แต่สำหรับผู้ที่ทำงานหนักหรือต้องใช้พลังงานมาก เช่น กรรมกร หรือนักกีฬา ก็ต้องการพลังงานมากกว่านี้ ส่วนผู้ที่ทำงานเบากว่าคนปกทั่วไปก็ต้องการพลังงานน้อยกว่านี้ และการบริโภคในแต่ละมื้อสำหรับคนทั่วไม่ควรจะเกิน 600 กิโลแคลอรี่ โดยอาหารจานเดียว อย่างเช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว จะให้พลังงานประมาณ 300-500 กิโลแคลอรี่
ตามคำแนะนำของ Thai Recommended Daily Intakes (Thai RDI) ได้ระบุปริมาณของสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ซึ่งคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 แคลอรี่ โดยปริมาณที่ควรบริโภคต่อวันของคาร์โบไฮเดรตคิดเป็น 60% (1,200 กิโลแคลอรี่) หรือเป็นปริมาณที่ควรบริโภคเท่ากับ 300 กรัมต่อวัน, โปรตีน 10% (200 กิโลแคลอรี่) หรือเป็นปริมาณที่ควรบริโภคเท่ากับ 50 กรัมต่อวัน, และไขมัน 30% (600 กิโลแคลอรี่) หรือเป็นปริมาณที่ควรบริโภคเท่ากับ 66.6 กรัมต่อวัน หากต้องการพลังงานมากหรือน้อยกว่านี้ให้ปรับเพิ่มหรือลดลงตามสัดส่วนจากพลังงานทั้งหมดที่ต้องการต่อวัน ซึ่งร่างกายของเราจะใช้พลังงานเหล่านี้ในการทำให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานและกักเก็บพลังงานส่วนเกินไว้ในรูปของไขมันและแหล่งพลังงานอื่น ๆ ตามอวัยวะในร่างกายไว้ใช้ในอนาคต
คํานวณแคลอรี่
ทั่วไปแล้วคนเราจะต้องการแคลอรี่วันละประมาณ 20-35 แคลอรี่ ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งขึ้นอยู่กับว่ามีเราไขมันส่วนเกินอยู่ในร่างกายมากน้อยเพียงใด และมีกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวันว่ามากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การวิ่ง การออกกำลังกาย การทำงาน ฯลฯ
- แคลอรี่ที่ต้องการใช้ในแต่ละวันสำหรับผู้ชาย = น้ำหนักตัว x 31 (ตัวอย่างเช่น น้ำหนัก 60 ก็จะได้คำนวณได้แคลอรี่ที่ต้องการใช้ต่อวันเท่ากับ 60×31= 1,860 กิโลแคลอรี่) หรือโดยเฉลี่ยประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี่
- แคลอรี่ที่ต้องการใช้ในแต่ละวันสำหรับผู้หญิง = น้ำหนักตัว x 27 (ตัวอย่างเช่น น้ำหนัก 50 ก็จะได้คำนวณได้แคลอรี่ที่ต้องการใช้ต่อวันเท่ากับ 50×27= 1,350 กิโลแคลอรี่) หรือโดยเฉลี่ยประมาณ 1,600 กิโลแคลอรี่
จำนวนแคลอรี่ที่แต่ละคนใช้ไปในแต่ละวัน หรือที่เรียกว่า Total Daily Energy Expenditure (TDEE) เพื่อให้เข้าใจง่าย จึงขอแบ่งตามความต้องการแคลอรี่ของคนทั่วไปออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
- ผู้ที่ใช้พลังงานวันละประมาณ 1,200-1,600 แคลอรี่ ได้แก่ ผู้หญิงตัวเล็กที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และผู้หญิงที่มีรูปร่างกายปานกลางที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่กำลังต้องการลดน้ำหนักอยู่พอดี
- ผู้ที่ใช้พลังงานวันละประมาณ 1,600-2,000 แคลอรี่ ได้แก่ ผู้หญิงที่มีรูปร่างใหญ่ ผู้ชายที่มีรูปร่างเล็กที่ใช้แรงงานมาก ผู้ชายรูปร่างกายปานกลางที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และผู้ชายที่รูปร่างปานกลางที่ใช้แรงงานมากอยู่แล้วและอยากลดน้ำหนักด้วย
- ผู้ที่ใช้พลังงานวันละประมาณ 2,000-2,400 แคลอรี่ ได้แก่ ผู้หญิงหรือผู้ชายที่มีรูปร่างกายขนาดกลางถึงใหญ่ที่ชอบออกแรงทั้งวัน ผู้ชายรูปร่างใหญ่มากที่ไม่ได้ใช้แรงงานอะไรมากมาย และผู้ชายรูปร่างใหญ่มากและใช้งานมาก อีกทั้งยังต้องการลดน้ำหนักด้วย
จากตัวเลขด้านบนเป็นเพียงตัวเลขโดยประมาณเท่านั้น หากต้องการความแม่นยำ ก็ต้องคำนวณผ่านสูตร และจำเป็นต้องทราบจำนวนแคลอรี่ที่ใช้ต่อวันโดยไม่มีกิจกรรม (basal metabolic rate หรือ BMR) ของตัวเราก่อน ซึ่งจะคำนวณได้จากสูตร Katch-McArdle formula ดังนี้ BMR = 370 + (21.6 x LBM)
โดยค่า LBM (lean body mass) ก็คือน้ำหนักตัวที่หักเอาไขมันออกไปแล้ว ซึ่งโดยปกติเราจะมีค่า LBM ประมาณ 70-75% ของน้ำหนักตัวปกติ แต่ถ้าจะคิดให้ละเอียดก็ต้องใช้สูตรคำนวณดังต่อไปนี้
- LBM ชาย = 0.32810 x (น้ำหนักตัวคิดเป็นกิโลกรัม) + [(0.33929 x (ส่วนสูงเป็นเซนติเมตร)] – 29.5336
- LBM หญิง = 0.29569 x (น้ำหนักตัวคิดเป็นกิโลกรัม) + [(0.42813 x (ส่วนสูงเป็นเซนติเมตร)] – 43.2933
ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. มีน้ำหนักตัว 65 กิโลกรัม และมีความสูง 165 เซนติเมตร มีกิจกรรมปานกลาง (ทำงานออฟฟิศ และออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำวันละ 1 ชั่วโมง) เมื่อคำนวณน้ำหนักตัวหลังหักไขมันแล้ว จะได้ค่า LBM เท่ากับ (0.32810 x 65 = 21.3265) + (0.33929 x 165 = 55.98285) – 29.5336 = 44.77575 ดังนั้น ค่า LBM จึงเท่ากับ 47.8 กิโลกรัม
เมื่อได้ค่า LBM มาแล้วก็ไปหาค่า BMR โดยใช้สูตร BMR = 370 + (21.6 x LBM) เมื่อนำมาคำนวณจะได้ BMR = 370 + (21.6 x 47.8) = 1,402.48 ดังนั้นแคลอรี่ใช้ต่อวัน (BMR) คือ 1,402 กิโลแคลอรี่ หรือคิดเป็น 58.4 แคลอรี่ต่อชั่วโมง
เมื่อเราได้ค่า BMR ของเรามาแล้ว จึงเอามาค่านี้มาคูณด้วย “ตัวเลขปัจจัยกิจกรรม” ซึ่งจะมีค่าตั้งแต่ 1.2-1.9 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ามีกิจกรรมหนักหรือเบา ซึ่งผลคูณที่ได้คือจำนวนแคลอรี่ที่ตัวจะใช้ในแต่ละวัน (TDEE) จากตัวอย่างเราทราบว่านาย ก. มีกิจกรรมปานกลาง ดังนั้น ค่าตัวเลขปัจจัยกิจกรรม ก็น่าจะมีค่าประมาณ 1.5 เมื่อเอามาคูณกับ BMR ก็จะได้จำนวนแคลอรี่ที่ต้องใช้ในแต่ละวัน (TDEE) เท่ากับ 2,103 กิโลแคลอรี่
ที่มา – medthai.com